ฉลามกบ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ต.ค. 2024
  • ฉลามกบ
    ชื่ออังกฤษ Brownbanded bamboo shark
    ชื่อวิทยศาสตร์ Chiloscyllium punctatum, Müller and Henle,1838
    ที่อยู่อาศัย ทะเลฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
    ฉลามทำหน้าที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารเพราะฉลามทำหน้าที่กำจัดปลาที่เชื่องช้า ป่วย หรือใกล้หมดอายุตามวัย รักษาสมดุลประชากรปลากินพืชให้อยู่ในระดับพอเหมาะ สำหรับประเทศไทยไม่มีการทำการประมงฉลามโดยตรง ส่วนใหญ่ฉลามเป็นสัตว์น้ำพลอยจับได้ (by - catch) อีกทั้งฉลามยังถูกนำมาปรุงเป็นอาหารโดยเฉพาะเมนูซุปหูฉลามส่งผลให้ปริมาณฉลามในธรรมชาติลดจำนวนน้อยลง กรมประมงได้จัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย (National Plan of Action for Conservation and Management of Shark, Thailand: NPOA - Sharks) (แผน 5 ปี 2563 - 2567) ภายใต้กรอบแผนปฏิบัติการสากลเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการฉลาม (International Plan of Action for the Conservation and Management of Shark: IPOA - Sharks) โดยจะศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลชีววิทยา นิเวศวิทยา การใช้ประโยชน์ฉลามในน่านน้ำไทย การประเมินสถานภาพและภัยคุกคามที่เกิดจากการประมงและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อฉลามพร้อมกำหนดมาตรการอนุรักษ์ควบคุมการทำการประมงและการค้าฉลามที่สอดคล้องกับกฎระเบียบ ข้อกำหนด และพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรฉลาม
    สำหรับฉลามกบจากรายงานพบว่ามีจำนวนลดน้อยลงสอดคล้องกับรายงานบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุฐานะสถานภาพของปลาฉลามกบไว้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หมายถึง ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ การประเมินจะดูจากสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามหรือสิ่งมีชีวิตที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ในปี 2564 กรมประมงจึงได้คัดเลือกฉลามกบเข้ารวมโครงกาฯ โดยมีแผนศึกษาวิจัยพร้อมปล่อยฉลามกบที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์ในเขตพื้นที่ปะการังเทียมของกรมประมงจำนวน 100 ตัว ปัจจุบันดำเนินการปล่อยไปเรียบร้อยแล้วจำนวน 60 ตัว ส่วนที่เหลืออีก 40 ตัว คาดว่าจะปล่อยเดือนกรกฎาคม 2564

ความคิดเห็น •