กรณียเมตตสูตร (บทสวด พร้อมคำแปล) วัดไตรสิกขาทลามลตาราม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ก.ย. 2024
  • กรณียเมตตสูตร นิยมใช้สวดกัน เพื่อป้องกันภยันตรายทั้งหลาย มิให้มากร้ำกราย และเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวของที่มาพระสูตร ที่ปรากฏในอรรถกถา นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกันว่า พระสูตรนี้เป็นที่ยำเกรงของภูติผีปีศาจ และทำให้ผู้สวดสาธยายเป็นที่รักใคร่ในหมู่เทพยดาทั้งหลาย
    การสาธยายพระสูตรนี้ ยังมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต เนื่องจากเป็นพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนถึงแนวทางการในการปฏิบัติให้เป็นที่รักใคร่ ให้เป็นผู้มีเสน่ห์ ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ตรวจสอบตนเองให้พ้นจากการกระทำชั่ว และเจริญเมตตาอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งไม่เพียงยังความสงบแก่จิตใจของตนเองเท่านั้น แต่ยังความสงบสันติแก่สรรพสัตว์และสากลโลกอีกด้วย นับเป็นพระสูตรที่มีคุณประโยชน์มหาศาล
    อีกทั้งเป็นการแสดงคุณสมบัติของผู้ปรารถนาสันติ คือทางแห่งผู้สงบ หรือทางแห่งคนดี หรือบัณฑิต ดังพุทธภาษิตที่ว่า บัณฑิตชอบสันติ (ความสงบ) (สนฺติมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา )
    เนื้อหาของพระสูตรนี้ เป็นคาถามีทั้งหมด 10 บท สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ บทที่ 1 - บทที่ 3 เป็นการแนะนำการปฏิบัติตน เพื่อให้เกิดความอ่อนน้อมถ่อมตน ตรวจสอบคุณสมบัติให้อยู่ในกรอบอันดีงาม พร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำได้ และทำให้เป็นคนมีเมตตา แสดงความเอื้อเฟื้อต่อสรรพสัตว์อยู่เป็นนิจ ซึ่งโดยสรุปแล้ว
    เนื้อหาส่วนแรก ได้ระบุถึงคุณสมบัติของบุคคลอันพึงประสงค์ไว้ดังนี้
    สักโก เป็นคนกล้าหาญ
    อุชุ เป็นคนตรง คือมีกายสุจริต วจีสุจริต
    สหุชุ เป็นคนตรงจริง ๆ คือมีมโนสุจริตด้วย
    สุวะโจ เป็นคนว่านอนสอนง่าย
    มุทุ เป็นคนอ่อนโยน
    อะนะติมานี เป็นคนไม่หยิ่ง ไม่ถือตัว
    สันตุสสะโก เป็นคนสันโดษ
    สุภะโร เป็นคนเลี้ยงง่าย
    อัปปะกิจโจ เป็นคนไม่แบกภาระมาก มีห่วงมาก
    สัลละหุกะวุฒติ เบากาย เบาใจ
    สันติณตริโย เป็นผู้สำรวมอินทรีย์
    นิปะโก เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว
    อัปปะคัพโภ เป็นคนไม่คะนอง
    กุเลสุ อะนะนุทคิทโธ เป็นผู้ไม่ติดในตระกูล
    ส่วนที่ 2 คือระหว่างบทที่ 4 - บทที่ 5 เป็นการแผ่เมตตา และส่วนที่ 3 ระหว่างบทที่ 6 - บทที่ 10 เป็นการเจริญพรหมวิหาร และอานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหาร ว่าสามารถนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ ดังที่ระบุผลไว้บทที่ 10 ดังนี้
    ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน หรือ "ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ" ในบาทที่ 1 ในบทที่ 10 เป็นการระบุถึงคุณสมบัติของผู้บรรลุโสดาบัน กล่าวคือ พระอริยะบุคคลผู้มีสัมมาทิษฐิ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ปราศจากความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยและอริยสัจสี่ และมีศีลครบถ้วน อันคุณสมบัติสังเขปของลักษณะพระโสดาบันที่สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
    กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง หรือ "ขจัดความใคร่ในกามได้" ในบาทที่ 3 ในบทที่ 10 เป็นการระบุถึงคุณสมบัติของผู้บรรลุสกทาคามี กล่าวคือ พระอริยะบุคคลผู้สามารถละกามฉันทะ และปฏิฆะ อันหมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ
    นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ หรือ "จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้" ในบาทที่ 4 หรือบาทสุดท้าย ในบทที่ 10 เป็นการระบุถึงคุณสมบัติของผู้บรรลุอนาคามี คือ พระอริยะบุคคลผู้ไม่กลับบมาเกิดอีก บำเพ็ญเพียรภาวนาต่อไปในพรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะบรรลุอรหันต์นิพพานจากพรหมโลก

ความคิดเห็น • 7

  • @minmontrachimphadit7778
    @minmontrachimphadit7778 3 ปีที่แล้ว +1

    อธิษฐานจิตให้กุนที ธรณีสูบ

  • @minmontrachimphadit7778
    @minmontrachimphadit7778 3 ปีที่แล้ว

    อธิษฐานจิตให้ท่านเอ๋อ ถูกไล่ออกจากราชการ

  • @pinyapatk.820
    @pinyapatk.820 3 ปีที่แล้ว +2

    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ

  • @เฉลยพรชูวงษ์
    @เฉลยพรชูวงษ์ 2 ปีที่แล้ว

    สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

  • @naruenatinchabok5834
    @naruenatinchabok5834 8 หลายเดือนก่อน

    3.30

  • @minmontrachimphadit7778
    @minmontrachimphadit7778 3 ปีที่แล้ว

    อธิษฐานจิตให้ศัตรูกลับใจมาเป็นมิตร

  • @ssa789
    @ssa789 3 ปีที่แล้ว

    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ