(คลิปเต็ม) เลิก "แบล็กลิสต์" ใช้ "เครดิตสกอริ่ง"? | ฟังหูไว้หู (17 ม.ค. 66)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 16 ม.ค. 2023
  • ฟังหูไว้หู | 17 ม.ค. 66 On Air
    .
    เลิก "แบล็กลิสต์" ใช้ "เครดิตสกอริ่ง"?
    .
    ฟังหูไว้หู ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 21.00 น.
    ทางช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30

ความคิดเห็น • 215

  • @sittiphoomthaweekarn5899
    @sittiphoomthaweekarn5899 ปีที่แล้ว +9

    อาจารย์วีระ รู้เรื่อง บูโร มากกว่า อรรถวิท อรรถวิท จับเพะชนแกะ ระบบมันก็ถูกต้องแล้วรายงานก็ตามจริง จ่ายช้าก็คือช้า ก็ต้องมีในระบบ เพื่อให้คนให้กู้ตัดสินใจ
    แบบใหม่ใช้เครดิตรสกอริ่งกู้ 5 อย่าง ถึงมีจ่ายดีมากกว่า 4 อย่าง จ่ายไม่ดี 1 อย่าง ต่อให้เงินเดือนเป็นแสน Bank ก็ไม่สนใจหรอก ก็ดูแต่ที่จ่ายไม่ดี 1 อย่างนั่นแหละ ... มันก็ไม่ปล่อยอยูดี
    เอาค่าไฟ ค่าน้ำ มาเวทน้ำหนักด้วย ได้อย่างไร มีใครที่ไม่จ่ายบ้าง เพราะมันต้องใช้งานทุกวัน ยิ่งบอกว่าเอาประวัตร เป๋าตังค์ Sopee , Lazada มาคิดด้วย ปญอ สุด ซื้อของพวกนี้ ไม่จ่ายเงิน เขาก็ไม่ส่งให้ ก็สรุปว่าจ่ายทุกคน ... ให้ดูข้อมูลพวกนี้ได้ แต่ไม่ให้คนให้กู้เห็นข้อมูลการชำระเงิน งง ไหม

    • @user-dm4tm9xy5n
      @user-dm4tm9xy5n ปีที่แล้ว +2

      มีคนเข้าใจอาจารย์แล้ว ..

    • @GGcxvw558
      @GGcxvw558 ปีที่แล้ว

      นี้แหละถูก พวกน้ำไฟจะมีน้ำหนักแค่ไหนเชียว สั่งของ เพื่อ? เขาคงจะส่งอะเนาะ มันใช้เป็นคะแนนไม่ได้
      จ่ายช้า แถมค้างมานาน bank เขาก็จะจ้องตัวนั้นแหละว่าทำไม มันคืออาการคนชักหน้าไม่ถึงหลัง

  • @khunmomsiri
    @khunmomsiri ปีที่แล้ว +20

    อาจารย์วีระเก่งมาก พูดอธิบายให้ชาวบ้านธรรมดาเข้าใจง่ายกว่าคุณอรรถวิทย์ นโยบายนี้ของพรรคกล้าฟังดูดีแต่จะทำได้ไหมนั่นอีกเรื่องเพราะคนไทย(อีกมากจำนวนนึง)ยังขาดวินัยและความรับผิดชอบทางการเงินเป็นนิสัย อีกอย่างไม่เห็นด้วยกับที่คุณอรรถวิทย์พูดว่าประเทศเราเป็นประเทศเดียวที่ยังใช้แต่เครดิตบูโรในการตัดสินใจของสถาบันการเงินในการออกสินเชื่อ ที่เยอรมันนีก็ยังใช้ระบบนี้ (ที่เยอรมันนีเขาใช้คำว่า Schufa) อย่างเข้มแข็งในการออกสินเชื่อ ใช่ค่ะที่เยอรมันนีก็ใช้ระบบการคำนวน Credit score ผ่านการชำระค่าน้ำค่าไฟค่าภาษีและประวัติต่างๆในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือแอพพลิเคชั่นทางการเงินแบบที่คุณอรรถวิทย์พูดเป๊ะเลย แต่ถ้าคุณติดแบล๊คลิสต์กับทาง Schufa มาก่อนหน้านี้แล้ว ต่อให้ปัจจุบันคุณจะมีประวัติการใช้จ่ายดีแค่ไหนก็อย่าหวังว่าธนาคารในเยอรมันนีจะปล่อยสินเชื่อ คืออันนี้เจอมากับตัวสามีเองที่เคยติดแบล๊คบิสต์และใช้หนี้ทั้งหมดจบไปแล้วเมื่อกว่าสิบปีก่อน สามียังต้องใช้ทนายในการยื่นขอต่อศาลเพื่อขอลบชื่อออกจากแบล๊คลิสต์ แล้วจึงสามารถกู้เงินได้อีกครั้งในการซื้อบ้าน คนเยอรมันกลัวการติดแบล๊คลิส์จากเครดิตบูโรมากๆ ส่วนตัวเองคิดว่ารัฐบาลเยอรมันเข้มงวดแบบนี้มันก็ช่วยให้คนของเขามีวินัยทางการเงินที่ดีมาก ที่เยอรมันนีสำหรับคนเยอรมันไม่มีสีเทาค่ะมีแต่ขาวกับดำ

    • @pawinsaiwiwat180
      @pawinsaiwiwat180 ปีที่แล้ว +9

      บริษัทเครดิตบูโร มี Credit Score มานานหลายปีแล้วค่ะ นโยบายนี้ มัน too late มากๆ
      ตอนแรกว่าจะโพสต์พรุ่งนี้ แต่อดใจไม่ได้ เพราะในคลิปมีการให้ข้อมูลผิดพลาดเต็มไปหมด
      เข้าประเด็นเลยละกันค่ะ
      1. Credit score ไม่ใช่เรื่องใหม่ และบริษัทเครดิตบูโร เค้ามีมานานแล้ว
      2. สถาบันการเงินไม่ได้ส่งข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ของลูกค้าที่มีการค้างชำระหนี้เท่านั้นค่ะ มันไม่มีระบบแบล็คลิสต์
      มันเป็นการส่งข้อมูล facts คุณจะจ่ายงวดตรงเวลาหรือจ่ายไม่ตรง สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้บริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมายค่ะ
      และการรายงานข้อมูล fact แบบนี้ ทำกันทั่วโลกค่ะ
      3. การเสนอว่า จะไม่ให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย ได้รับข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าเลย โดยจะให้สถาบันการเงินได้ไปแต่คะแนนที่คำนวณมาจากการคำนวณปนๆ หลายสิ่งอย่างเท่านั้น ... แล้วสถาบันการเงินทั้งหลายจะรู้ยอดหนี้คงค้างรวมทั้งหมดของคนขอกู้ภายในระบบการเงินไทยได้ยังไง จะเตรียมตัวรับมือได้ยังไงเมื่อลูกหนี้เริ่มไปค้างชำระที่สถาบันการเงินอื่น และตัวเองอาจจะกลายเป็นรายต่อไปที่ไม่ได้เงิน
      .. ถ้าแก้ กฏหมาย เป็นแบบที่เสนอตามนโยบายนี้จริง สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ คนจะไปขอกู้หลายสถาบันซ้อนๆ กันเยอะขึ้น เพราะแต่ละสถาบันไม่รู้ภาระหนี้ที่มีอยู่ของลูกค้ารายนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่กล้าปล่อยเพราะไม่รู้ว่าคนที่มาขอกู้ไปค้างหนี้ที่อื่นไว้เท่าไหร่
      สิ่งที่เสนอปรับแก้กฏหมายมานั้น จะทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า asymmetric information ค่ะ โดยหลักแล้ว asymmetric information จะก่อให้เกิด market failure หรือความล้มเหลวของตลาดค่ะ
      4. ทุกสถาบันการเงิน เค้ามี credit scoring model ของตัวเค้าเองมากันหลาย 10 ปีแล้วค่ะ
      📌
      ก่อนเสนออะไรแบบนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า credit scoring modelling มี 2 แบบค่ะ
      1. แบบที่ใช้ข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ในอดีตเพื่อบอกถึงพฤติกรรมเสี่ยง เพราะมีสมมติฐานว่าถ้าคนๆ นึงมีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต ก็มีโอกาสมีพฤติแบบเดียวกันในอนาคต
      อันนี้คือแบบที่ บริษัทเครดิตบูโรคำนวณอยู่ และสถาบันการเงินทั้งหลายก็สามารถซื้อข้อมูล credit score นี้ได้
      score แบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพฤติกรรมบนกิจกรรมชีวิตอื่นของคนหรือธุรกิจนั้น เช่น น้ำไฟ รายได้ อะไรอื่นมาประกอบ ... เพราะเป็นการใช้ข้อมูลเครดิตของแต่ละคนที่มีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบการเงินไทยในการคำนวณ เรียกว่ามี full credit information
      2. แบบที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้และยอดหนี้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ transaction อื่นๆ มาประกอบเพื่อทำนายโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากความสามารถในการชำระหนี้ อันนี้เป็นการทำ credit scoring/rating ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มีฐานข้อมูลระดับชาติ
      ... ที่ต้องใช้ข้อมูลปัจจัยอื่น ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนาย ไม่ใช่เพื่อเป็นการปรับให้ credit score ดูบวก หรือดูดีขึ้น
      นั่นเพราะว่าไม่ได้มีข้อมูลหนี้และการชำระหนี้ของคนๆ นั้นที่มีอยู่ในระบบการเงินไทยทั้งหมด มันยังมีอะไรที่ต้องทาย ต้องเดา ก็เอาปัจจัยอื่นมาช่วยทาย ช่วยเดา
      และในปัจจุบัน credit score ของบริษัทเครดิตบูโร เค้าก็ไม่ได้ใช้แค่ข้อมูลหนี้และการชำระหนี้นะคะ เค้าใช้ข้อมูลประเภทอื่นด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ... เพราะฉะนั้นที่เสนอปรับแก้มาในคลิป มันช้าไปแล้วค่ะ เค้าทำกันไปหมดแล้ว
      และเรื่องแบล็คลิสต์เพียงเพราะผิดนัดชำระหนี้ครั้งเดียว มันไม่น่าจะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวอะไรกับเครดิตบูโรค่ะ ไม่งั้นสถาบันการเงินทั้งหลายคงไม่เหลือคนให้ปล่อยกู้ได้แล้วค่ะ
      โดยทั่วไป การจะปล่อยสินเชื่อให้คนที่เคยมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำหนดระดับความเสี่ยงที่รับได้ของเหล่าสถาบันการเงินทั่วโลก ... เค้าเรียกว่า risk management ค่ะ ใครอื่นจะออกกฏบังคับให้ปล่อยหรือไม่ปล่อยสินเชื่อกลุ่มเสี่ยงได้คะ
      ก่อนเสนอ ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึก หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อให้รู้สิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ไม่ใช่เพื่ออดีตที่ผ่านมาแล้ว
      #เศรษฐศาสตร์วันละนิด
      ที่มาของรูปและประเด็นในโพสต์นี้
      th-cam.com/video/URBUR0nrpgc/w-d-xo.html
      facebook.com/100051922635891/posts/pfbid0GNgEMZxqHoFFh4j7ddeHdz2eDJMVJj143gUNsehWicFrL5CQKsnNLUxk8UruWQWnl/?mibextid=UUgoR4

    • @pataivasupanrajit3815
      @pataivasupanrajit3815 ปีที่แล้ว

      @@pawinsaiwiwat180 รูปเคารพ ที่กำหนดตัวอักษรบนกระดาษฯ /กติกาโลกเขียนไว้ โดยมนุษย์เพื่อมนุษย์...สากลปฏิบัติ เสมือนต้องกราบไหว้บูชา ด้วยกฏนี้/ จะรู้มากกว่านี้ไม่มีกฏฯไหนโดยมนุษย์ ที่ตรงข้อเท็จจริง-ระหว่างกับความจริงที่จะแยก 5.5 ล้าน ความเหมือนความต่างได้... ก็หมุนๆเหมาๆ ตามโลกไป!!!

  • @lekpornpoj
    @lekpornpoj ปีที่แล้ว +15

    การให้สินเชื่อเป็นเรื่องของธนาคารซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอกชน ถ้าเครดิตลูกหนี้ไม่ดี จะไปบังคับให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้อย่างไร เมื่อมีความเสี่ยงเพิ่ม แล้วถ้าลูกหนี้เบี้ยว จะทำยังไง

  • @anusorn7
    @anusorn7 ปีที่แล้ว +9

    พิธีกรชาย ชอบพูดสวน ตอนเขากำลังอธิบาย เสียอารมณ์

    • @nawusayipsunam1643
      @nawusayipsunam1643 ปีที่แล้ว +1

      พิธีกรชายมารยาทไม่ดี ชอบขัดทั้งๆที่สาระไม่มาก น่าจะปล่อยให้แขกพูดให้จบก่อนครับ

  • @winaiassawatham7816
    @winaiassawatham7816 ปีที่แล้ว +14

    ก่อนอื่นของชมเชยรายการที่เอานโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงมาถกเถียงให้ชัดเจน ไม่ให้ฝ่ายการเมืองพูดแต่เรื่องดีเท่านั้น เรื่องระบบบูโร ถ้าทำให้เกิดภาระความรับผิดชอบต่อองค์กรที่ต้องส่งข้อมูล โดยไม่มีประโยชน์อันใดด้วย องค์กรไหนๆ ก็คงไม่อยากเข้าร่วมเพราะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายและความรับผิดชอบ การที่นำส่งไม่ครบความจริงแล้วเป็นผลดีมีทั้งผลดีและไม่ดี แล้วแต่กรณีเป็นราย ๆ ไป แต่การจะเอาการใช้จ่ายจำเป็นค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ไปร่วมด้วยเป็นเรื่องสร้างความยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปอีก เพราะบางครั้งคนก็จ่ายค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ล่าช้าแต่ไม่ได้มีปัญหาในการหามาชำระ แต่ติดขัดว่าไม่ได้จ่ายผ่านออนไลน์หรือแอฟต่าง ๆ การใช้ฐานข้อมูลเรื่องเงินกู้ยืมผมคิดเพียงพอแล้ว การปล่อยให้เข้าถึงสินเชื่อสำหรับซื้อสินค้าบริการง่ายเกินไป ผลดีมีแต่ผู้ขาย แต่ในแง่ระบบเงินจะสร้างปัญหามากกว่า เพราะผู้ขายทำการตลาดมุ่งเน้นขาย แต่ถ้าผู้ซื้อเข้าถึงสินเชื่อง่ายเกินไป ก็จะเกิดการใช้จ่ายแบบไม่มีความรอบคอบ แค่ปัจจุบันนี้ สินค้าที่มีมูลค่าให้ไม่มีต้องมีชำระเงินเดือนดาวน์ ก็เกิดหนี้เสียมากมายแล้ว เพราะบางคนไม่สนใจกำลังซื้อของตัวเองอยากได้ของมาก่อน บางครั้งยังมีการตลาดแถมทอง ให้สินเชื่อเกินมูลค่าสินค้าเพื่อจูงใจให้ซื้อ พอมีหนี้เน่าคนที่เป็นหนี้ดีก็จะกระทบเพราะสุดท้าย ธนาคารก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อชดเชยหนี้เสีย จากทรัพย์สินที่ยึดคืนมาแล้วขายทอดตลาดไม่ครอบคลุมหนี้

    • @pawinsaiwiwat180
      @pawinsaiwiwat180 ปีที่แล้ว +3

      บริษัทเครดิตบูโร มี Credit Score มานานหลายปีแล้วค่ะ นโยบายนี้ มัน too late มากๆ
      ตอนแรกว่าจะโพสต์พรุ่งนี้ แต่อดใจไม่ได้ เพราะในคลิปมีการให้ข้อมูลผิดพลาดเต็มไปหมด
      เข้าประเด็นเลยละกันค่ะ
      1. Credit score ไม่ใช่เรื่องใหม่ และบริษัทเครดิตบูโร เค้ามีมานานแล้ว
      2. สถาบันการเงินไม่ได้ส่งข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ของลูกค้าที่มีการค้างชำระหนี้เท่านั้นค่ะ มันไม่มีระบบแบล็คลิสต์
      มันเป็นการส่งข้อมูล facts คุณจะจ่ายงวดตรงเวลาหรือจ่ายไม่ตรง สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้บริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมายค่ะ
      และการรายงานข้อมูล fact แบบนี้ ทำกันทั่วโลกค่ะ
      3. การเสนอว่า จะไม่ให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย ได้รับข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าเลย โดยจะให้สถาบันการเงินได้ไปแต่คะแนนที่คำนวณมาจากการคำนวณปนๆ หลายสิ่งอย่างเท่านั้น ... แล้วสถาบันการเงินทั้งหลายจะรู้ยอดหนี้คงค้างรวมทั้งหมดของคนขอกู้ภายในระบบการเงินไทยได้ยังไง จะเตรียมตัวรับมือได้ยังไงเมื่อลูกหนี้เริ่มไปค้างชำระที่สถาบันการเงินอื่น และตัวเองอาจจะกลายเป็นรายต่อไปที่ไม่ได้เงิน
      .. ถ้าแก้ กฏหมาย เป็นแบบที่เสนอตามนโยบายนี้จริง สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ คนจะไปขอกู้หลายสถาบันซ้อนๆ กันเยอะขึ้น เพราะแต่ละสถาบันไม่รู้ภาระหนี้ที่มีอยู่ของลูกค้ารายนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่กล้าปล่อยเพราะไม่รู้ว่าคนที่มาขอกู้ไปค้างหนี้ที่อื่นไว้เท่าไหร่
      สิ่งที่เสนอปรับแก้กฏหมายมานั้น จะทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า asymmetric information ค่ะ โดยหลักแล้ว asymmetric information จะก่อให้เกิด market failure หรือความล้มเหลวของตลาดค่ะ
      4. ทุกสถาบันการเงิน เค้ามี credit scoring model ของตัวเค้าเองมากันหลาย 10 ปีแล้วค่ะ
      📌
      ก่อนเสนออะไรแบบนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า credit scoring modelling มี 2 แบบค่ะ
      1. แบบที่ใช้ข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ในอดีตเพื่อบอกถึงพฤติกรรมเสี่ยง เพราะมีสมมติฐานว่าถ้าคนๆ นึงมีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต ก็มีโอกาสมีพฤติแบบเดียวกันในอนาคต
      อันนี้คือแบบที่ บริษัทเครดิตบูโรคำนวณอยู่ และสถาบันการเงินทั้งหลายก็สามารถซื้อข้อมูล credit score นี้ได้
      score แบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพฤติกรรมบนกิจกรรมชีวิตอื่นของคนหรือธุรกิจนั้น เช่น น้ำไฟ รายได้ อะไรอื่นมาประกอบ ... เพราะเป็นการใช้ข้อมูลเครดิตของแต่ละคนที่มีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบการเงินไทยในการคำนวณ เรียกว่ามี full credit information
      2. แบบที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้และยอดหนี้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ transaction อื่นๆ มาประกอบเพื่อทำนายโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากความสามารถในการชำระหนี้ อันนี้เป็นการทำ credit scoring/rating ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มีฐานข้อมูลระดับชาติ
      ... ที่ต้องใช้ข้อมูลปัจจัยอื่น ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนาย ไม่ใช่เพื่อเป็นการปรับให้ credit score ดูบวก หรือดูดีขึ้น
      นั่นเพราะว่าไม่ได้มีข้อมูลหนี้และการชำระหนี้ของคนๆ นั้นที่มีอยู่ในระบบการเงินไทยทั้งหมด มันยังมีอะไรที่ต้องทาย ต้องเดา ก็เอาปัจจัยอื่นมาช่วยทาย ช่วยเดา
      และในปัจจุบัน credit score ของบริษัทเครดิตบูโร เค้าก็ไม่ได้ใช้แค่ข้อมูลหนี้และการชำระหนี้นะคะ เค้าใช้ข้อมูลประเภทอื่นด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ... เพราะฉะนั้นที่เสนอปรับแก้มาในคลิป มันช้าไปแล้วค่ะ เค้าทำกันไปหมดแล้ว
      และเรื่องแบล็คลิสต์เพียงเพราะผิดนัดชำระหนี้ครั้งเดียว มันไม่น่าจะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวอะไรกับเครดิตบูโรค่ะ ไม่งั้นสถาบันการเงินทั้งหลายคงไม่เหลือคนให้ปล่อยกู้ได้แล้วค่ะ
      โดยทั่วไป การจะปล่อยสินเชื่อให้คนที่เคยมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำหนดระดับความเสี่ยงที่รับได้ของเหล่าสถาบันการเงินทั่วโลก ... เค้าเรียกว่า risk management ค่ะ ใครอื่นจะออกกฏบังคับให้ปล่อยหรือไม่ปล่อยสินเชื่อกลุ่มเสี่ยงได้คะ
      ก่อนเสนอ ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึก หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อให้รู้สิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ไม่ใช่เพื่ออดีตที่ผ่านมาแล้ว
      #เศรษฐศาสตร์วันละนิด
      ที่มาของรูปและประเด็นในโพสต์นี้
      th-cam.com/video/URBUR0nrpgc/w-d-xo.html
      facebook.com/100051922635891/posts/pfbid0GNgEMZxqHoFFh4j7ddeHdz2eDJMVJj143gUNsehWicFrL5CQKsnNLUxk8UruWQWnl/?mibextid=UUgoR4

  • @eddyeddy9802
    @eddyeddy9802 ปีที่แล้ว +27

    คุณหลบแบลคลิสต์ มันจะไม่กระทบแค่คนปล่อยสินเชื่อจะรับความเสี่ยงที่มากขึ้นนะครับ แต่คนที่ไม่มีประวัติการผ่อนมาก่อนจะถือเป็นกลุ่มเสี่ยงหมดเลย ทำให้การกู้ทั้งระบบยากขึ้น เพราะเขาจะเลือกปล่อยกู้เฉพาะคนมีประวัติผ่อนดีเท่านั้น หรือถ้าจะปล่อยกู้ให้คนไม่เคยมีประวัติมาก่อน จะให้วงเงินที่น้อยลงมากๆ

  • @nithiket2448
    @nithiket2448 ปีที่แล้ว +6

    ถ้ายกเลิกได้ ก็จะดีครับ ถ้าทำได้จริง ทำจริงนะครับ เพราะเหมือนปิดกันคนที่เคยติด แล้วปัจจุบัน การเงินเขาดีขึ้นมาแล้ว แต่มันยังติด อยู่ในระบบครับ

  • @akaradatea9394
    @akaradatea9394 ปีที่แล้ว +11

    อาจารย์ วีระ เก่งมากครับ ฟังบุบเข้าใจปับแล้ว อธิบายเจ้าใจง่าย ขอบคุณครับ

    • @pawinsaiwiwat180
      @pawinsaiwiwat180 ปีที่แล้ว

      บริษัทเครดิตบูโร มี Credit Score มานานหลายปีแล้วค่ะ นโยบายนี้ มัน too late มากๆ
      ตอนแรกว่าจะโพสต์พรุ่งนี้ แต่อดใจไม่ได้ เพราะในคลิปมีการให้ข้อมูลผิดพลาดเต็มไปหมด
      เข้าประเด็นเลยละกันค่ะ
      1. Credit score ไม่ใช่เรื่องใหม่ และบริษัทเครดิตบูโร เค้ามีมานานแล้ว
      2. สถาบันการเงินไม่ได้ส่งข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ของลูกค้าที่มีการค้างชำระหนี้เท่านั้นค่ะ มันไม่มีระบบแบล็คลิสต์
      มันเป็นการส่งข้อมูล facts คุณจะจ่ายงวดตรงเวลาหรือจ่ายไม่ตรง สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้บริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมายค่ะ
      และการรายงานข้อมูล fact แบบนี้ ทำกันทั่วโลกค่ะ
      3. การเสนอว่า จะไม่ให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย ได้รับข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าเลย โดยจะให้สถาบันการเงินได้ไปแต่คะแนนที่คำนวณมาจากการคำนวณปนๆ หลายสิ่งอย่างเท่านั้น ... แล้วสถาบันการเงินทั้งหลายจะรู้ยอดหนี้คงค้างรวมทั้งหมดของคนขอกู้ภายในระบบการเงินไทยได้ยังไง จะเตรียมตัวรับมือได้ยังไงเมื่อลูกหนี้เริ่มไปค้างชำระที่สถาบันการเงินอื่น และตัวเองอาจจะกลายเป็นรายต่อไปที่ไม่ได้เงิน
      .. ถ้าแก้ กฏหมาย เป็นแบบที่เสนอตามนโยบายนี้จริง สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ คนจะไปขอกู้หลายสถาบันซ้อนๆ กันเยอะขึ้น เพราะแต่ละสถาบันไม่รู้ภาระหนี้ที่มีอยู่ของลูกค้ารายนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่กล้าปล่อยเพราะไม่รู้ว่าคนที่มาขอกู้ไปค้างหนี้ที่อื่นไว้เท่าไหร่
      สิ่งที่เสนอปรับแก้กฏหมายมานั้น จะทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า asymmetric information ค่ะ โดยหลักแล้ว asymmetric information จะก่อให้เกิด market failure หรือความล้มเหลวของตลาดค่ะ
      4. ทุกสถาบันการเงิน เค้ามี credit scoring model ของตัวเค้าเองมากันหลาย 10 ปีแล้วค่ะ
      📌
      ก่อนเสนออะไรแบบนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า credit scoring modelling มี 2 แบบค่ะ
      1. แบบที่ใช้ข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ในอดีตเพื่อบอกถึงพฤติกรรมเสี่ยง เพราะมีสมมติฐานว่าถ้าคนๆ นึงมีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต ก็มีโอกาสมีพฤติแบบเดียวกันในอนาคต
      อันนี้คือแบบที่ บริษัทเครดิตบูโรคำนวณอยู่ และสถาบันการเงินทั้งหลายก็สามารถซื้อข้อมูล credit score นี้ได้
      score แบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพฤติกรรมบนกิจกรรมชีวิตอื่นของคนหรือธุรกิจนั้น เช่น น้ำไฟ รายได้ อะไรอื่นมาประกอบ ... เพราะเป็นการใช้ข้อมูลเครดิตของแต่ละคนที่มีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบการเงินไทยในการคำนวณ เรียกว่ามี full credit information
      2. แบบที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้และยอดหนี้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ transaction อื่นๆ มาประกอบเพื่อทำนายโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากความสามารถในการชำระหนี้ อันนี้เป็นการทำ credit scoring/rating ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มีฐานข้อมูลระดับชาติ
      ... ที่ต้องใช้ข้อมูลปัจจัยอื่น ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนาย ไม่ใช่เพื่อเป็นการปรับให้ credit score ดูบวก หรือดูดีขึ้น
      นั่นเพราะว่าไม่ได้มีข้อมูลหนี้และการชำระหนี้ของคนๆ นั้นที่มีอยู่ในระบบการเงินไทยทั้งหมด มันยังมีอะไรที่ต้องทาย ต้องเดา ก็เอาปัจจัยอื่นมาช่วยทาย ช่วยเดา
      และในปัจจุบัน credit score ของบริษัทเครดิตบูโร เค้าก็ไม่ได้ใช้แค่ข้อมูลหนี้และการชำระหนี้นะคะ เค้าใช้ข้อมูลประเภทอื่นด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ... เพราะฉะนั้นที่เสนอปรับแก้มาในคลิป มันช้าไปแล้วค่ะ เค้าทำกันไปหมดแล้ว
      และเรื่องแบล็คลิสต์เพียงเพราะผิดนัดชำระหนี้ครั้งเดียว มันไม่น่าจะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวอะไรกับเครดิตบูโรค่ะ ไม่งั้นสถาบันการเงินทั้งหลายคงไม่เหลือคนให้ปล่อยกู้ได้แล้วค่ะ
      โดยทั่วไป การจะปล่อยสินเชื่อให้คนที่เคยมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำหนดระดับความเสี่ยงที่รับได้ของเหล่าสถาบันการเงินทั่วโลก ... เค้าเรียกว่า risk management ค่ะ ใครอื่นจะออกกฏบังคับให้ปล่อยหรือไม่ปล่อยสินเชื่อกลุ่มเสี่ยงได้คะ
      ก่อนเสนอ ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึก หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อให้รู้สิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ไม่ใช่เพื่ออดีตที่ผ่านมาแล้ว
      #เศรษฐศาสตร์วันละนิด
      ที่มาของรูปและประเด็นในโพสต์นี้
      th-cam.com/video/URBUR0nrpgc/w-d-xo.html
      facebook.com/100051922635891/posts/pfbid0GNgEMZxqHoFFh4j7ddeHdz2eDJMVJj143gUNsehWicFrL5CQKsnNLUxk8UruWQWnl/?mibextid=UUgoR4

  • @pairatyimwilai4411
    @pairatyimwilai4411 ปีที่แล้ว +5

    หัวข้อวันนี้ เวลาน้อยไปครับ เราเลยเห็นอ.วีระจี้ ตัด (แบบคนรู้แล้ว) มากไปหน่อย ย้ำว่าเพราะเวลามีแค่นี้ เรื่องที่เราควรรู้เพิ่มเติมไปด้วยในมุมมองผม คือ ข้อมูลด้านอื่นที่เอามาใช้ จะเอามาอย่างไร แล้วตัวอย่างการประมวลผล ตัวอย่างการคำนวณสกอร์ จากข้อมูลประวัติการชำระหนี้ การจ่ายค่าไฟ การซื้อของออนไลน์ พวกนี้แปลงมาเป็นสกอร์อย่างไร ถ้าได้เห็นตัวอย่างสักนิดจะดีมาก

  • @keatisaksri-on6535
    @keatisaksri-on6535 ปีที่แล้ว +23

    มองร้าย = ส่งเสริมให้คนก่อหนี้ง่ายขึ้น // มองดี = ช่วยเปิดโอกาสให้เข้าถึงสินเชื่อตามสภาพของแต่ละคน

    • @user-mu2zs5dc9q
      @user-mu2zs5dc9q ปีที่แล้ว

      ใช่เลยครับผม ส่วนตัวผมมองว่า หลัง จากผ่าน วิกฤต คนมักจะ บอบช้ำ เพราะฉะนั้นจึงต้องออกมาตรการที่ช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา เพื่อให้ไปต่อได้ ไม่ใช่ออกมาตรการคุมกำเนิด เพื่อไม่ให้โต จนเกินไปแบบนี้ไม่ใช่

    • @user-xr6mz8ei7g
      @user-xr6mz8ei7g ปีที่แล้ว +1

      ผมว่าเอียงไปทางมองร้ายมากกว่า ส่งเสริมให้กู้

    • @BUDDY-.-JA_4199
      @BUDDY-.-JA_4199 ปีที่แล้ว +1

      มองใหม่ ตามคลิป คือ เดิมทีแค่ yes or no ถ้าไม่ได้ จะไปดอกแพง เขาแค่ให้โอกาส คนที่พอได้ดอกต่ำ ได้ถูกพิจารณา

    • @1jury233
      @1jury233 ปีที่แล้ว

      เหรียญมีสองด้าน เช่นกัน

    • @user-xr6mz8ei7g
      @user-xr6mz8ei7g ปีที่แล้ว

      @@BUDDY-.-JA_4199 สุดท้ายปลายทางก็ก่อหนี้ครับ

  • @PPA1119
    @PPA1119 ปีที่แล้ว +2

    ลบอะไรก็ไม่มีประโยชน์ เพราะ ธนาคารหรือบริษัทเงินทุน ต่างมีข้อมูลเก็บไว้เป็นของตนเอง ใครเคยติดต่ออะไรไว้เขาจดจำไว้หมด ใครคิดว่าลบเครดิตพูโลแล้วจะมีผลดี ผิดหมดไม่มีประโยชน์อะไรเลย

  • @nirotemangkornsri7418
    @nirotemangkornsri7418 ปีที่แล้ว +3

    ประเด็นแรก สรุปก็ขึ้นกับระบบการคิดคะแนนนั่นแหละ ลูกหนี้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ปัญหาคือปัจจัยอะไรที่นำมาคิดคะแนน แล้วถ่วงน้ำหนักยังไง ซึ่งปกติธนาคารก็จะใช้อยู่แล้วเช่นเวลาขอสินเชื่อก็จะขอหน้าสมุด บ/ช หรือสลิปเงินเดือน หรือหลักประกันอื่นๆซึ่งก็ขึ้นกับเงื่อนไขแต่ละธนาคาร การคิดสกอริ่ง ก็เอาสิ่งเหล่านี้มาทำให้เป็นมาตรฐานเดียว ทีนี้ก็อยู่ที่ธนาคารจะเชื่อถือคะแนนนี้มากน้อยแค่ไหน หรือสบายใจพิจารณาเอง
    ประเด็นที่ 2 ถ้าหากมีการคิดสกอริ่ง ถ้ามีโครงการใดๆทางการเงินจากภาครัฐที่สนับสนุนประชาชน เกณฑ์การช่วยเหลือต้อง "บังคับ" ให้คิดจากสกอริ่งหรือคะแนนกลางนี้เป็นหลัก ไม่ใช่ว่าธนาคารรับการสนับสนุนจากภาครัฐไปแล้วเอาไปปล่อยให้ลูกค้าของตัวเองเป็นหลัก ตัวอย่างโครงการอะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับสินเชื่อช่วงโควิดเนี่ย สุดท้ายก็ตกแค่ลูกค้าธนาคารนั้นๆเท่านั้นเอง ส่วนคนนอกขาจรก็จะตอบกลับง่ายๆว่าคุณสมบัติไม่ครบ

    • @user-pt8rm6rs7v
      @user-pt8rm6rs7v ปีที่แล้ว

      นโยบายแบบนี้ผิดหวังสำหรับคนติดบูโรนึกว่าจะปิดแล้วบูโรหาย

  • @9genuine
    @9genuine ปีที่แล้ว +3

    อยากได้คะแนนเสียงจนหน้ามืดตามัว ... เป็นวิธีการหาเสียงที่พังมาก เสียดายที่เราแอบเชียร์พรรคนี้ แต่พอเห็นนโยบายนี้ ก็ "เลิกกัน"

  • @mercedezbenz4476
    @mercedezbenz4476 ปีที่แล้ว +2

    หน้าที่ของลูกหนี้ คือการชำระหนี้ มันปกติ ก็เลยจดแค่ลูกหนี้ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ของลูกหนี้ คือพวกผิดนัดชำระ ดังนั้นมันจะมีแต่ลูกหนี้ที่ปกติ กับลูกหนี้ที่มีประวัติผิดนัด ผมไม่เห็นด้วยกับระบบที่พรรคกล้านำเสนอเลย

  • @user-ul1ez5ok9h
    @user-ul1ez5ok9h ปีที่แล้ว +6

    ใช้ scoring ได่ แต่ไม่ใช่รายงานแค่ scoring ต้องรายงานรายละเอียดขอมูลทั้งหมดครับ ถ้าไม่รายงาน ธนาคารและสถาบันการเงินจะยิ่งระวังและกู้เงินยากมากขึ้น

    • @GGcxvw558
      @GGcxvw558 ปีที่แล้ว

      ถูก จริงถ้าไม่ให้ข้อมูลเขาเขาก็ต้องระวังมากขึ้น เป็นปกติ
      หรือไม่ก็ตั้งองค์กรแชร์ข้อมูลเองเลย คราวนี้แหละตรวจสอบยากกว่าเดิมอีก

    • @toomdeedenon3126
      @toomdeedenon3126 ปีที่แล้ว

      ใช่ ธนาคาร สถาบันการเงินจะยิ่งขอข้อมูลมากขึ้น ยิ่งยุ่งยาก และสุดท้ายอาจจะตัดปัญหาเพราะต้นทุนสูงขึ้น ปล่อยสินเชื่อยากกว่าเดิม

  • @tomsettanan6914
    @tomsettanan6914 ปีที่แล้ว +2

    ค่อยๆครับอาจารย์ ฟังเค้าอธิบายให้จบก่อน แล้วค่อยถามแทรกดีไหมครับ

    • @user-eo6xi9kn6y
      @user-eo6xi9kn6y ปีที่แล้ว

      ชอบถามแทรก เร่ืองยิ่งบานปลาย กลายเป้นไม่รู้เรื่อง

  • @kukkik6839
    @kukkik6839 ปีที่แล้ว +1

    เครดิตบูโรเก็บประวัติภาระหนี้สินและประวัติชำระเงิน ธนาคารที่ขอประวัติมาก็ไปพิจารณาเอาว่าจะอนุมัติสินเชื่อหรือไม่ อย่าใช้คำว่า blacklist ให้คนทั้งประเทศเข้าใจผิด
    คำว่า blacklist หมายถึง คนที่มีชื่อในรายการ blacklist ห้ามทำธุรกรรม เช่น ระบบฝากถอนของธนาคาร ใครมีชื่อใน blacklist ของปปง., ก่อการร้าย, ล้มละลาย ห้ามทำธุรกรรมทุกกรณี
    ส่วนข้อเสนอที่แสดงแค่คะแนนเครดิต ไปสรุปรายละเอียเลยว่าใช้เงื่อนไขอะไรบ้าง ไม่ใช่ลอยๆ แบบนี้ ยิ่งห้ามแสดงประวัติ แบงค์ไม่เห็นข้อมูล ยิ่งระวังมากไปกันใหญ่ คนที่มีวินัยการชำระเงินในอดีตก็อยากโชว์ประวัติให้เห็นมากกว่าปะ

  • @user-rr8zd5nr4b
    @user-rr8zd5nr4b ปีที่แล้ว +2

    ภาษาชาวบ้านแล้วแบบนี้กับบางคนใช้คำว่าดินพอกหางหมู ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น จะไม่เสียหายต่อระบบหรอครับ

  • @ThePeteBkk
    @ThePeteBkk ปีที่แล้ว +2

    ผมคิดว่าเครดิตสกอริ่ง ไม่ได้แก้ปัญหากู้เงินของประชาชนและมีข้อเสียมากกว่าข้อดี
    1. ถึงแม้ว่าแบล๊กลิส กรีนลิส บลูลิซ หรือจะสีอะไรก็ตาม จะถูกกำจัดออกไปและใช้เครดิตสกอร์ริ่งแทน มันยังจะมีอยู่ดีโดยผู้ให้กู้จะไม่ปล่อยกู้หากคะแนนสกอร์จะต่ำกว่าคะแนนที่เขารับได้ โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในหรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคาร รัฐจะมาบังคับให้เขาปล่อยกู้ไม่ได้ มันเป็นเรื่องภายในของธนาคารโดยธนาคารจะขอข้อมูลอื่นๆ จากผู้ขอกู้เพื่อจะประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ผู้กู้จะไม่ทราบว่าข้อมูลชิ้นใดจะทำให้เขากู้ไม่ได้หรืออยู่ในบัญชีดำ (แบล๊กลิส) ธนาคารไม่ต้องอธิบาย และข้อมูลที่ธนาคารได้จากเครดิตบูโรเป็นเพียงหนึ่งในข้อมูลที่จะใช้พิจารณา และผมไม่เชื่อว่าธนาคารไหนจะยอมถ้าจะได้แค่เครดิตสกอร์อย่างเดียวมาพิจารณาปล่อยกู้
    2. ทุกวันนี้ก็มีบริษัทจะปล่อยกู้โดยโฆษณาว่าหากติดแบล๊กลิสก็กู้ได้ แน่หล่ะที่ดอกเบี้ยจะแพงขึ้น แต่นี่มันก็สะท้อนความเสี่ยงที่จะโดนเบี้ยวหนี้ ใช่หรือไม่
    3. ข้อมูลเชิงบวกที่จะต้องให้เครดิตบูโรในการคำนวณตัวสกอร์ริ่ง มันเกินความจำเป็นที่ต้องนำข้อมูลส่วนตัวไปให้ผู้อื่น ยิ่งในขณะที่ตนเองไม่กะว่าจะกู้เงินใคร ตอนนี้ข้อมูลที่เก็บคือข้อมูลหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือ ถ้าจะย้อนกลับไปในอดีต ก็มีจำนวนจำกัด ข้อมูลที่เป็นผู้กู้ที่ไม่ดี ไม่ชำระหนี้ก็จะโดนกำจัดหลังสามปี ยกตัวอย่าง แต่ตอนนี้โครดิตบูโรก็จะมีข้อมูลการใช้น้ำใช้ไฟ ข้อมูลส่วนตัวในพฤติกรรมชีวิต และอื่นๆ ซึ่งโดยปรกติ เราไม่ต้องแชร์กับใคร ถ้าธนาคารจะขอเพื่อประกอบการกู้เป็นครั้งคราวก็ไปอย่าง ไม่ใช้ต้องให้อยู่ตลอดเวลากับบุคคลที่สาม เราให้ข้อมูลเหล่านี้กับธุรกิจบางอย่างที่เราใช้บริการ แต่ไม่ให้เขาไปแชร์ข้อมูลนี้กับใครยกเว้นที่เรายินยอม แต่นี่ไม่ใช่ เครดิตบูโรจะขอไปก่อนเลย
    หากพรรคการเมืองต้องการให้ประชาชนได้เข้าถึงทุนง่ายขึ้น นโยบายเปิดให้มีผู้ปล่อยกู้เพิ่มมากขึ้นและลดการฮั้วกันระหว่างสถาบันการเงินน่าจะดีกว่า การที่มีผู้เล่นมากขึ้นก็จะแข่งขัน (อย่างปลอดภัย)มากขึ้น การปล่อยกู้ก็ละเอียดอ่อนมากขึ้น ในอดีตเราเคยทำแบบนี้มาแล้วแต่ก็ล้มเหลวเพราะว่าการกำกับดูแลและลงโทษสถาบันการเงินมันอ่อน ยิ่งเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทเงินทุน ส่วนมากก็คือบริษัทลูกของธนาคารเอง เขาจะแข่งกับบริษัทพ่อแม่เขาหรือ ในที่สุดเขาก็ฮั้วกัน เป็นมวยล้มต้มคนดูในที่สุด ไม่ต่างอะไรกับการปล่อยกู้ยานพาหนะที่รัฐพยายามทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ก็ออกมาครึ่งๆกลางๆ ไม่ทราบว่าจะด้วยแรงกำไร/แรงเงินที่ทำให้รัฐฝ่อหรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าเครดิตสกอร์ริ่งก็จะได้ผลลัพธ์เชิงบวกน้อยกว่ามาก ดูเหมือนประชาชนจะได้อะไร แต่ในที่สุดเสียมากกว่าได้

  • @Pete_dp
    @Pete_dp ปีที่แล้ว +14

    เห็นด้วยกับการยกเลิกแบล็คลิส เพราะบางคนอาจจะเคยผิดชำระหนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันชำระหนี้หมดแล้ว แต่เวลาไปกู้ดันกลับไม่ได้ ถึงแม้ว่ารายได้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถกู้ได้

    • @chupongpanodom6370
      @chupongpanodom6370 ปีที่แล้ว +2

      ก็ผ่อนสินค้าเพื่อให้เกิดประวัติดีต่ออีก 2 ปีสิครับ แค่นี้ประวัติเก่าก็หายแล้ว ถ้ามีประวัติเก่าค้าง จะไปกู้ของแพงอย่างบ้านก็ไม่ผ่านหรอก

    • @Pete_dp
      @Pete_dp ปีที่แล้ว +1

      @@chupongpanodom6370 พูดง่ายเนอะครับ เงินสำหรับทำธุรกิจ หรือซื้อบ้านมันรอนานขนาด นั้นได้หรอ (บางช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำก็ต้องรีบกู้) ผมเองก็มีประสบการณ์ตรงคือไปค้ำหนี้ให้กับคนนึง แล้วเขาดันผิดชำระหนี้แต่ภายหลังแก้ไขปัญหานั้นเรียบร้อยแล้ว 2 ปีต่อมาผมจะกู้ซื้อบ้านประมาณ 10ล้าน แต่ธนาคารปฏิเสธ โดยมีเหตุผลว่าเคยติดแบล็คลิสเมื่อ 2 ปีก่อน ทั้งๆที่ฐานรายได้ผมมีความสามารถที่จะชำระหนี้ก้อนนี้หลายเท่า ผมเลยเห็นด้วยกับคุณอรรถวิชไงครับ ที่เขาบอกว่าธนาคารควรดูปัจจัยปัจจุบันของผู้กู้เป็นหลัก

    • @toomdeedenon3126
      @toomdeedenon3126 ปีที่แล้ว

      Blacklist เป็นแค่คำที่ธนาคารใช้อ้างไม่ปลีอยสินเขื่อ ส่วนในเครดิตบูโร มีแต่ข้อมูลว่าคนมีหนี้ ผ่อนชำระแบบไหน ปกติ ค้างไม่เกิน3เดือน หรือโดนดำเนินคดีอยู่ ในเวลา 3ปี ที่สถาบันการเงินส่งข้อมูลเข้ามาแจ้ง เพราะตอนนี้เขาเก็บข้อมูลแค่3ปี แต่ขัอมูลธนาคารอาจจะเก็บไว้ เป็น 10ปี เพราะไม่มีกฏหมายห้ามธนาคารเก็บข้อมูล ที่สำคัญเงินที่
      ปล่อยกู้ไม่ใช่ของอรรถวิช จะไปบอก สั่งธนาคาร ให้ปล่อยกู้ ให้คิดแบบนั้น แบบนี้ ไม่ได้

  • @chalermyouttwongsawiwatana1770
    @chalermyouttwongsawiwatana1770 ปีที่แล้ว

    ชื่นชอบ เทปนี้ มาก ครับ
    อาจารย์ ช่วยตบให้เข้าใจง่าย คุณอรรถวิชช์ ก็ให้ข้อมูลดี ครับ

  • @apichit-yu
    @apichit-yu ปีที่แล้ว +1

    ปกติผู้ปล่อยสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือไม่ ก็ทำ credit scoring อยู่แล้วนะครับ ข้อมูลจากเครดิตบูโร ก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำ ส่วนข้อมูลอื่นๆก็ขึ้นอยู่กับผู้ปล่อยสินเชื่อจะใช้ประเมินตามเกณฑ์

  • @lugiamonster
    @lugiamonster ปีที่แล้ว +3

    ส่วนตัว ไม่ต้องการให้องค์กรราชการบันทึกข้อมูลตัวเลขของการชำระปกติประจำเดือน เข้าไปกับธุรกรรมเอกชน เราสามารถสร้างสเตทเม้นด้วยวินัยตัวเอง และถึงแม้จะมีวิกฤตวินัยก็จะช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้ทั้งในทางธุรกรรม และการใช้จ่ายปกติ

  • @lifeguard2921
    @lifeguard2921 ปีที่แล้ว +4

    เชิญอุ้งอิงมาคุยเรื่อง600 บาทขั้นต่ำกับป.ตรี 25,000 หน่อยครับเชื่อว่าคนรอฟังเยอะ

    • @pairatyimwilai4411
      @pairatyimwilai4411 ปีที่แล้ว

      อ.วีระแกมีแนวคิดแบบนั้นอยู่นะ เคยพูดในอีกรายการว่าจะทำแบบนั้น เอานโยบายมาสับให้ดูกันไปเลย หวังว่าจะได้ทำจริง เพราะนโยบายพวกนี้ ฟังเองอาจได้แค่ เข้าใจ กับ ไม่เข้าใจ

  • @pichetlaosittisuk2261
    @pichetlaosittisuk2261 ปีที่แล้ว +2

    นโยบายดีมาก ยุติธรรมกับคนที่ชำระหนี้ตรงเวลาสม่ำเสมอจะได้กู้ดอกถูก เป็นแรงจูงใจให้คนอยากชำระหนี้ตรงเวลา

  • @user-ph7yv8hc8l
    @user-ph7yv8hc8l ปีที่แล้ว

    😮

  • @pansinghaprathumsri7396
    @pansinghaprathumsri7396 ปีที่แล้ว

    อจ.ด้วยความเคารพ.. ให้แขกพูดยาวๆอธิบายก่อนได้ไหมครับ

  • @xxxkanchana2931
    @xxxkanchana2931 ปีที่แล้ว

    พิธีกรมีความรู้จริงๆ พยายามให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายๆ แต่คือขัดจังหวะแขกรับเชิญตลอด ไม่ปล่อยให้เขาพูดให้จบก่อนแล้วค่อยอธิบาย แทรกตลอดเลย ดูแล้วอดหงุดหงิดไม่ได้เลย

  • @pachara875
    @pachara875 ปีที่แล้ว +1

    ตามความเห็น ให้ข้อมูลการชำระเงินเเบบเดิมถูกเเล้ว ถังเก็บเเค่ 3 ปี ถ้าจะกู้ต่อต้องสร้างวินัยการเงินขึ้นมาเองให้ได้ก่อนไปกู้ใหม่ ส่วน scoring เป็นหน้าที่ของเเต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงินเอาข้อมูลมาพิจารณาเองเเล้วให้ score อยู่เเล้ว ยกเว้นว่าจะออกนโยบายช่วยเหลือคนที่ชำระเงินไม่ได้ช่วงโควิดจริงๆ เท่านั้น เพราะวินัยการเงินปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ

  • @user-ki5rj3bb5r
    @user-ki5rj3bb5r ปีที่แล้ว

    Ok ชัดเจนเลือก

  • @beer-fv3yk
    @beer-fv3yk ปีที่แล้ว

    สวัสดีค่ะ

  • @ck0805000200
    @ck0805000200 ปีที่แล้ว

    ชอบๆ

  • @termsaksritrirat7458
    @termsaksritrirat7458 ปีที่แล้ว +1

    ข้อทักท้วงของ อจ. ถูกต้องครับ

  • @niorbox
    @niorbox ปีที่แล้ว

    แล้วทำไม shopee lazada GRAB etc
    เค้าต้องแชร์ข้อมูลให้ด้วยล่ะครับ คุณจะไปออกกมบังคับให้เค้าให้ข้อมูลหรือ ...

  • @jamesfurthertechnology
    @jamesfurthertechnology ปีที่แล้ว +5

    ชอบ ep นี้ครับ อาจารย์วีระและคุณอรรถวิชญ์ใจถึงมาก

    • @pawinsaiwiwat180
      @pawinsaiwiwat180 ปีที่แล้ว

      บริษัทเครดิตบูโร มี Credit Score มานานหลายปีแล้วค่ะ นโยบายนี้ มัน too late มากๆ
      ตอนแรกว่าจะโพสต์พรุ่งนี้ แต่อดใจไม่ได้ เพราะในคลิปมีการให้ข้อมูลผิดพลาดเต็มไปหมด
      เข้าประเด็นเลยละกันค่ะ
      1. Credit score ไม่ใช่เรื่องใหม่ และบริษัทเครดิตบูโร เค้ามีมานานแล้ว
      2. สถาบันการเงินไม่ได้ส่งข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ของลูกค้าที่มีการค้างชำระหนี้เท่านั้นค่ะ มันไม่มีระบบแบล็คลิสต์
      มันเป็นการส่งข้อมูล facts คุณจะจ่ายงวดตรงเวลาหรือจ่ายไม่ตรง สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้บริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมายค่ะ
      และการรายงานข้อมูล fact แบบนี้ ทำกันทั่วโลกค่ะ
      3. การเสนอว่า จะไม่ให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย ได้รับข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าเลย โดยจะให้สถาบันการเงินได้ไปแต่คะแนนที่คำนวณมาจากการคำนวณปนๆ หลายสิ่งอย่างเท่านั้น ... แล้วสถาบันการเงินทั้งหลายจะรู้ยอดหนี้คงค้างรวมทั้งหมดของคนขอกู้ภายในระบบการเงินไทยได้ยังไง จะเตรียมตัวรับมือได้ยังไงเมื่อลูกหนี้เริ่มไปค้างชำระที่สถาบันการเงินอื่น และตัวเองอาจจะกลายเป็นรายต่อไปที่ไม่ได้เงิน
      .. ถ้าแก้ กฏหมาย เป็นแบบที่เสนอตามนโยบายนี้จริง สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ คนจะไปขอกู้หลายสถาบันซ้อนๆ กันเยอะขึ้น เพราะแต่ละสถาบันไม่รู้ภาระหนี้ที่มีอยู่ของลูกค้ารายนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่กล้าปล่อยเพราะไม่รู้ว่าคนที่มาขอกู้ไปค้างหนี้ที่อื่นไว้เท่าไหร่
      สิ่งที่เสนอปรับแก้กฏหมายมานั้น จะทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า asymmetric information ค่ะ โดยหลักแล้ว asymmetric information จะก่อให้เกิด market failure หรือความล้มเหลวของตลาดค่ะ
      4. ทุกสถาบันการเงิน เค้ามี credit scoring model ของตัวเค้าเองมากันหลาย 10 ปีแล้วค่ะ
      📌
      ก่อนเสนออะไรแบบนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า credit scoring modelling มี 2 แบบค่ะ
      1. แบบที่ใช้ข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ในอดีตเพื่อบอกถึงพฤติกรรมเสี่ยง เพราะมีสมมติฐานว่าถ้าคนๆ นึงมีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต ก็มีโอกาสมีพฤติแบบเดียวกันในอนาคต
      อันนี้คือแบบที่ บริษัทเครดิตบูโรคำนวณอยู่ และสถาบันการเงินทั้งหลายก็สามารถซื้อข้อมูล credit score นี้ได้
      score แบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพฤติกรรมบนกิจกรรมชีวิตอื่นของคนหรือธุรกิจนั้น เช่น น้ำไฟ รายได้ อะไรอื่นมาประกอบ ... เพราะเป็นการใช้ข้อมูลเครดิตของแต่ละคนที่มีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบการเงินไทยในการคำนวณ เรียกว่ามี full credit information
      2. แบบที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้และยอดหนี้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ transaction อื่นๆ มาประกอบเพื่อทำนายโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากความสามารถในการชำระหนี้ อันนี้เป็นการทำ credit scoring/rating ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มีฐานข้อมูลระดับชาติ
      ... ที่ต้องใช้ข้อมูลปัจจัยอื่น ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนาย ไม่ใช่เพื่อเป็นการปรับให้ credit score ดูบวก หรือดูดีขึ้น
      นั่นเพราะว่าไม่ได้มีข้อมูลหนี้และการชำระหนี้ของคนๆ นั้นที่มีอยู่ในระบบการเงินไทยทั้งหมด มันยังมีอะไรที่ต้องทาย ต้องเดา ก็เอาปัจจัยอื่นมาช่วยทาย ช่วยเดา
      และในปัจจุบัน credit score ของบริษัทเครดิตบูโร เค้าก็ไม่ได้ใช้แค่ข้อมูลหนี้และการชำระหนี้นะคะ เค้าใช้ข้อมูลประเภทอื่นด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ... เพราะฉะนั้นที่เสนอปรับแก้มาในคลิป มันช้าไปแล้วค่ะ เค้าทำกันไปหมดแล้ว
      และเรื่องแบล็คลิสต์เพียงเพราะผิดนัดชำระหนี้ครั้งเดียว มันไม่น่าจะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวอะไรกับเครดิตบูโรค่ะ ไม่งั้นสถาบันการเงินทั้งหลายคงไม่เหลือคนให้ปล่อยกู้ได้แล้วค่ะ
      โดยทั่วไป การจะปล่อยสินเชื่อให้คนที่เคยมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำหนดระดับความเสี่ยงที่รับได้ของเหล่าสถาบันการเงินทั่วโลก ... เค้าเรียกว่า risk management ค่ะ ใครอื่นจะออกกฏบังคับให้ปล่อยหรือไม่ปล่อยสินเชื่อกลุ่มเสี่ยงได้คะ
      ก่อนเสนอ ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึก หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อให้รู้สิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ไม่ใช่เพื่ออดีตที่ผ่านมาแล้ว
      #เศรษฐศาสตร์วันละนิด
      ที่มาของรูปและประเด็นในโพสต์นี้
      th-cam.com/video/URBUR0nrpgc/w-d-xo.html
      facebook.com/100051922635891/posts/pfbid0GNgEMZxqHoFFh4j7ddeHdz2eDJMVJj143gUNsehWicFrL5CQKsnNLUxk8UruWQWnl/?mibextid=UUgoR4

    • @jamesfurthertechnology
      @jamesfurthertechnology ปีที่แล้ว +1

      @@pawinsaiwiwat180 คนละประเด็นคนละ point กันกับของคุณอรรถวิชญ์ครับ ผมเข้าใจ passion ของคุณอรรถวิชญ์ในการทำเรื่องนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และนโยบายนี้น่าจะมีผลทำให้ได้คะแนนเสียงจากคนที่มีประวัติหนี้เสียอีกหลายล้านคน แต่ในความเป็นจริงมันทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะระบบการเงินการธนาคารไทยจะไม่ได้รับความเชื่อถือจากธนาคารประเทศอื่น เวลาธนาคารไทยไปขอกู้จากธนาคารในต่างประเทศเพื่อมาปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารัฐหรือเอกชนในประเทศก็จะยากขึ้นและต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น

  • @use20567
    @use20567 ปีที่แล้ว +2

    ชอบนโยบายนี้มากค่ะ ไให้ไอโอประเมินแบะคัดกฤติกรรมการใช้เงินของคนผ่านแอฟเข้าใจคุณอรรถวิทแล้วค่ะชอบๆ

    • @pawinsaiwiwat180
      @pawinsaiwiwat180 ปีที่แล้ว +2

      ถ้ามีคนติดแบล็คลิสมากู้เงินคุณจะให้กู้มั้ย?

    • @GGcxvw558
      @GGcxvw558 ปีที่แล้ว

      เม้นแบบนี้แสดงว่าคุณยังไม่เข้าใจ
      แอพไม่ใช่สาระด้วยซ้ำ

  • @vipoosirirugs236
    @vipoosirirugs236 ปีที่แล้ว +1

    วิทยากรขัดขวางการอธิบายมากไป

  • @Tyoaewt666
    @Tyoaewt666 ปีที่แล้ว +1

    หาก อ. จะพูดแทรกทั้งเทป ทุกเทปขนาดนี้จะเชิญมาร่วมรายการทำไมครับ

  • @onggamer13
    @onggamer13 ปีที่แล้ว +1

    เขาใช้เก็บแค่ฐานข้อมูล แบล็คลิสเป็นชื่อเรียกกันเอง เราต้องลดหนี้ครัวเรือนทำไมไม่ส่งเสริมการลดหนี้บ้างอะ เอาเวลาคิดนโยบายอันอื่นมาดีกว่า น่าจะเป็น หรือ ใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีมาส่งเสริมระบบราชการแทนการสื่อสารด้วยหนังสือต่างๆ น่าจะดีกว่านะครับ วันๆนั่งตรวจแต่หนังสือบ้าบอคอแตกทำงานซ้ำซ้อน

  • @family7052
    @family7052 ปีที่แล้ว

    👍🏽👍🏽👍🏽👍🏽

  • @PerfectDCoLtd
    @PerfectDCoLtd ปีที่แล้ว +6

    สรุปคือ แบบเดิม ก็ยังมีประวัติ์เก็บไว้อยู่ เพียงแต่ ต้องขอรายละเอียดเพิ่ม ต่อไปแบ็งค์ก็ให้เซ้นต์อนุมัติ์เพื่อขอเช็ครายละเอียด ประวัติืที่เก็บไว้ 3ปี ด้วย อยู่ดี ถ้าไม่เซ้นต์ ก็จะบอกว่า ข้อมูลไม่พอในการ พิจราณา สินเชื่อ

  • @beenil9123
    @beenil9123 ปีที่แล้ว

    คิดได้ยังไง กรณ์ อยุ่วงการการเงิน มาตลอด อยุ่กระทรวงการคลัง แต่ดันออกนโยบายที่มันขัดกับวินัยทางการคลัง เพื่อคะแนนเสียงอันเล็กน้อย นี่เรอจะให้ ปชช เลือก

  • @noriko2524
    @noriko2524 ปีที่แล้ว +8

    อ.มาพูดเองเลยมั้ย ไม่ให้เขาพูดให้จบก่อนละ

  • @khamsuksirpanya7208
    @khamsuksirpanya7208 ปีที่แล้ว

    สุดยอดครับอาจารย์👍👍👍

  • @name..9116
    @name..9116 ปีที่แล้ว +1

    พรรคไหน.. ปิดทรัสต์/ไฟแนนซ์.. ล่ะ
    ใช้หนึ้ไป7แสนล้าน/ผ่านมา20กว่าปียังค้างอยู่6.8แสนล้าน​ นึกถึง.. แมงสาบ🤩

  • @ViVo-ew4cn
    @ViVo-ew4cn ปีที่แล้ว +3

    บ้าไปแล้ว.....ขืนเอา ค่าไฟค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าอื่นๆเข้าไปด้วย ยิ่งจะกู้ลำบาก ลองดูสิครับ มีคนค้างค่าโทรศัพท์ กี่สิบล้าน กี่เบอร์ที่ทิ้งค้าง ค่าไฟ ค่าน้ำ ไม่ใช่จะไม่ค้างครับ โดนตัดน้ำตัดไฟกันขนาดไหน เห้อ.....

    • @acat2555
      @acat2555 ปีที่แล้ว +3

      ผมมับ้านให้เช่า คนเช่าค้างประตำทั้งน้ำทั้งไฟ แบบนี้เจ้าของบ้านซวยด้วย

    • @GGcxvw558
      @GGcxvw558 ปีที่แล้ว

      @@acat2555 เออจริง ลืมนึกเคสนี้เลย
      น้ำไฟชื่อเข้าของบ้าน ซวยไม่รู้ตัว
      ยิ่งมีหลายหลังไม่อยากคิด😂😂

    • @toomdeedenon3126
      @toomdeedenon3126 ปีที่แล้ว +1

      จริง ยิ่งคนไทย มีนิสัยมีเงินไว้ใช้ส่วนตัวก่อน หนี้สินค่อยจ่ายวันสุดท้าย ก่อนจะโดนตัดไฟ ตัดน้ำ ทีนี้แหละ จะโดนทุกหย่อมหญ้า รากหญ้าก็ตายหมด🤣

  • @oatrobot9848
    @oatrobot9848 ปีที่แล้ว

    ให้เค้าอธิบายก่อนสิครับ แล้วอาจารย์จะสรุปตอยท้ายก็ได้ ฟังแล้วมันพูดขาดๆกายๆนะครับ ขอบคุณครับ

  • @santi4411198
    @santi4411198 ปีที่แล้ว +1

    เพิ่มภาระงาน ทำงานซ้ำซ้อน จะเอาค่าน้ำค่าไฟเข้าไปในระบบ Cradit รู้หรือเปล่าจะทำให้เพิ่มต้นทุนการปล่อยกู้ และจะทำให้ปล่อยยากขึ้น เกิดจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ช้า…นับรวมหมด..

  • @1914aloha
    @1914aloha ปีที่แล้ว +1

    ออกนโยบายเอาใจคนเป็นหนี้ แต่ไม่ได้ประโยชน์ และยิ่งทำให้คนมีหนี้มากขึ้น

  • @sumitja900
    @sumitja900 ปีที่แล้ว +5

    ถ้าชาวบ้านทั่วไปมาคุยกับคุณวีระ พูดหมกๆวนไปวนมา รับรองโดนกัดขาดสองท่อนไปแล้ว

  • @valeriebwiese9462
    @valeriebwiese9462 ปีที่แล้ว

    จังหวะ....
    สำคัญมาก.ในการสนทนา ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะขัดจังหวะ อรรถรสเสียหมด แม้ว่าจะอยากจะซักค้านอย่างไรก๋ต้องรอให้อีกฝ่ายกล่าวเสนอให้จบเสียก่อน
    ไม่ชมรายการนี้แล้วค่ะ bye

  • @user-pj8wd7ks6f
    @user-pj8wd7ks6f ปีที่แล้ว +2

    ไม่เห็นด้วยกับนโยบายเรื่องนี้ โดยเฉพาะราชการเป็นผู้ทำ

  • @user-ko5ux9hk7d
    @user-ko5ux9hk7d ปีที่แล้ว

    โต้แย้ง กันฟัง แล้ว จับ ใจ
    ความ ไม่รู้ เรื่อง ครับ

  • @user-xr3ni6ly5e
    @user-xr3ni6ly5e ปีที่แล้ว

    คนที่ควรใจเย็น คืออาจารย์ครับ

  • @NK-ng3tl
    @NK-ng3tl ปีที่แล้ว +4

    เดิมมีแต่ลบ กับ ศูนย์ ....แก้ให้มีบวก แล้วสรุปเป็นแต้ม ผู้ให้กู้จะได้ดูความเสี่ยงในการคิดดอกเบี้ย ก้อแค่นั้นแหละ

  • @pterapathana
    @pterapathana ปีที่แล้ว

    ครั้งแรกที่เห็นด้วยกับอรรถวิท และครั้งแรกที่เริ่มลำคานอาจารย์ เป็นคนรวยไม่เข้าใจคนจนแถมไม่เปิดโอกาสให้คนจน

  • @johnrunways776
    @johnrunways776 ปีที่แล้ว

    นโยบายดีนะ ดีมากด้วย แต่ก็เข้าใจยากมาก ๆ ด้วยเช่นกัน ... และที่สำคัญยากที่จะสื่อสารให้คนเข้าใจได้ในวงกว้าง

  • @JatupornChinrungrueng
    @JatupornChinrungrueng ปีที่แล้ว

    คือจะเอามาคิดคะแนน บวก ลบ อาจจะเป็นศูนย์ หรือยิ่งบวกยิ่งดี ทั้งที่ไปติดหนี้บางอย่างไม่จ่าย ไม่หนี จะเอา บุญมาล้างกรรม แล้วคนที่รับกรรมไม่ซวยเหรอ

  • @hectorsalamanca6222
    @hectorsalamanca6222 ปีที่แล้ว

    ชอบอาจารย์วีระ เวอชั่น ดุ เหมือนในรายการคุยได้คุยดี 5555

  • @weerachaiseeta6632
    @weerachaiseeta6632 ปีที่แล้ว +1

    การเก็บคะแนนจากประวัติการชำระค่าน้ำค่าไฟ ถ้าในกรณีที่เป็นบ้านที่ให้ญาติพี่น้องอยู่ หรือบ้านที่มีคนเช่าอยู่ไม่ใช่บ้านที่ผู้ขอกู้อยู่เอง แบบนั้นก็จะไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องนะครับ

  • @joomsunee151
    @joomsunee151 ปีที่แล้ว +3

    อย่าโกหก ขายฝัน กล้า แต่ไม่กล้า โดน กรณ์ หลอกมาแล้ว เอกสารมี แสดง (ขอมาได้)นะ

    • @hectorsalamanca6222
      @hectorsalamanca6222 ปีที่แล้ว +1

      กร อภิสิทธิ์ ชวน หลีกภัย พวกนี้เก่งเรื่องขายฝัน น้ำลายเยอะ

    • @13ileclub16
      @13ileclub16 ปีที่แล้ว +3

      @@hectorsalamanca6222 วิกฤติเศรษฐกิจทั้งต้มยำกุ้ง ทั้งแฮมเบอร์เก้อ..ก็พรรคที่มรึงด่าทั้งนั้นที่มันเข้ามาแก้ !!

    • @hectorsalamanca6222
      @hectorsalamanca6222 ปีที่แล้ว

      @@13ileclub16 มั่วแล้วไอ้สามกีบชังชาติ ลุงตู่ลุงป้อมต่างหากที่แก้ พรรค ปชป ขายฝันน้ำลายเยอะ เหม็นขี้ฟัน

    • @Pete_dp
      @Pete_dp ปีที่แล้ว +1

      โกหกอย่างไร เพราะกรณีที่คุณอรรถวิชบรรยาคือสิ่งชาวบ้านหลายคนเจอ

  • @user-xr6mz8ei7g
    @user-xr6mz8ei7g ปีที่แล้ว +1

    หลบแบลคลิ้สเพื่อก่อหนี้เพิ่ม ปัญหาไม่จบครับปัญหามันอยู่ที่วินัยคนกู้

  • @richman8780
    @richman8780 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าจะกังวนว่าจะมีคนที่ค้างค่าน้ำไฟหากจะดูประวัติ เชื่อเถอาะมีไม่มากที่จะได้ค้างค่าน้ำไฟ ทุกวันนี้ประชาชนรากหญ้า แทบไม่ได้ค้างค่าน้ำไฟหรอกเพราะไม่เกิน2เดือนมันก็ตัดไฟตัดน้ำละ ไม่มีก็ต้องดิ้นหามาจายจนได้

  • @cccc8732
    @cccc8732 ปีที่แล้ว

    ดีเซลคือต้นทุน หัวใจคนระดับล่างๆ ผมคิดว่าสมควรที่จะอุ้มราคาอย่างที่ว่า คือเอารายได้จาก 91-95-โซฮอล์ มาช่วยเฉลี่ย เพื่อสังคมไปด้วยกัน น่าจะช่วยกันได้ดีครับ

  • @AisAis-os7mc
    @AisAis-os7mc ปีที่แล้ว

    จริงเลย ข้อสอบร้อยข้อ ผิดข้อเดียว ตกชั้นเลย

  • @suwanasawachinda6228
    @suwanasawachinda6228 ปีที่แล้ว

    เชื่อว่า....
    พวกเจ้าสัวนายทุนสถาบันการเงินจะรวมตัวคัดค้าน
    ไม่ให้ยกเลิก....
    , ไม่ให้ทำเป็นคะแนนเครดิต (ทั้ง BL. & NCB.)

  • @andyl.l.5662
    @andyl.l.5662 ปีที่แล้ว

    มันคือการล้างไพ่
    ถ้านั่นคือการให้โอกาสครั้งใหม่

  • @GGcxvw558
    @GGcxvw558 ปีที่แล้ว

    Scoring ผมเข้าใจนะว่าต่างประเทศมี ไม่ติดที่เราจะทำ
    แต่raw data ที่เป็นบริบทต้องมีให้สถาบันการเงินด้วย ไม่ใช่การหมกไม่ยอมบอก อันนี้น่าเกลียด

  • @user-dm4tm9xy5n
    @user-dm4tm9xy5n ปีที่แล้ว +1

    อาจารย์วีระ เคยกล่าวแล้ว ว่าจะจัดหนัก นโยบาย ....

  • @sunin432
    @sunin432 ปีที่แล้ว +1

    นักการเมืองขายข่าว // บริษัทไฟแนนซ์ ธนาคาร เค้าก็เอาข้อมูลบูโรไปใส่ระบบ แล้วคำนวณเครดิต score ออกมาสิ
    สมมุติติด อยู่ที่ กรมบังคับคดี ฉีอโกงเค้ามา แบบนี้ ธนาคารเค้าก็ต้องการข้อมูล ถึงแม้จะผ่านมา 3 ปี 8ปี ใครก็ไม่ปล่อยหลอกครับ

  • @user-qr8ur9ob9k
    @user-qr8ur9ob9k ปีที่แล้ว

    ฟังเสียง อ.แล้วหายงัวเงียเลยไม่งั้นคงจะหรับต่อได่อีกได้ความรุ้จริงข้าแต่เราไม่มี คอม เลยไม่มีความรู้ทางนี้เลยขัาต้องขอโทษจริงๆข้า สวัดดีข้า

  • @pinyomeechumna9349
    @pinyomeechumna9349 ปีที่แล้ว +1

    นโยบายนี้ไม่ได้คะแนนเสียงหรอก ชาวบ้านฟังไม่รู้เรื่อง

  • @adisakb4573
    @adisakb4573 ปีที่แล้ว

    มีนะดีแล้วแค่นี้ก็กู้หนี้ยืมสินกันเยอะเกิน ควรมีวินัยในการเงิน ไม่งั้นมีอะไรกู้ดะ

  • @auychair.9431
    @auychair.9431 ปีที่แล้ว

    เจ้าของเงิน เขาพิจารณาให้กู้ เป็นสิทธิ์ของเขา นักการเมือง นำเงินส่วนตัวมาปล่อยกู้เิอง

  • @user-wx7yr5tc2t
    @user-wx7yr5tc2t ปีที่แล้ว

    แล้วเคยชำระหนี้เสีย แต่เคลียร์หมดแล้ว มีประวัติชำระดีมาเป็นปีๆ แต่ไม่มีธนาคารใหน ปล่อยกู้ คือถ้าคน5 ล้านคนมีสกอร์ดี ขึ้นได้รับเงินกู้ แล้วจะมีเงินหมุนเวียน ในระบบ อีกหลายล้านๆในระบบ

  • @zenitht
    @zenitht ปีที่แล้ว

    พิธีกร ผู้ชาย เป็นคนเข้าใจยาก

  • @ruklfc2400
    @ruklfc2400 ปีที่แล้ว

    เคยติดแบล็คลิสต์ นานแล้ว พอจะไปซื้อรถไฟแนนซ์บอกว่าติดแบล็คลิส 10 ปี มันไม่เห็นเหมือนกับที่กฏหมายบอกเลย
    เจ้าหน้าที่บอกประวัติเสีย อืม

  • @songforlife3121
    @songforlife3121 ปีที่แล้ว

    การปล่อยสินเชื่อ สถาบันการเงินมีเครื่องมือวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้อยู่แล้ว ลูกค้าบางประวัติเครดิตเสีย ก็ยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้ credit bureau ก็แค่มีไว้กีดกันลูกค้ารายย่อย สามปีที่ผ่านมา ปชช ไทยมีblacklist ติดตัวเพิ่มขึ้นอีกเยอะ ผมเห็นด้วยน่ะครับที่ควรset zeroใหม่ ให้โอกาส ปชช ได้สร้างเครดิตใหม่ แอพเงินกู้ ยังไม่เช็คประวัติเลย

  • @GGcxvw558
    @GGcxvw558 ปีที่แล้ว +4

    ถ้าธนาคารเขาไม่เห็นเขาก็ปรับเกณฑ์ขึ้นสิครับ
    ค้างเล็กค้างน้อยธนาคารเขามีวิจารณะญานอยู่แล้ว ถ้าชี้แจงได้ก็จบ คะแนนอย่างนี้ไม่มีประโยชน์อะไรพาลแต่มีปัญหา
    ต่อให้มันปล่อยได้จริงแบบเบลอๆไป npl พุ่งทำไง Scoring อยากทำ ทำไป แต่ไม่ต้องมาซ่อน raw data
    คุยกันให้จบเคลียล์ดีกว่า ตรงไปตรงมา มีหนี้กี่อันถ้าจบแล้วธนาคารเขาไม่ได้ติดอะไรหรอก
    อย่าหวังเอาแต่คะแนนเสียง จนสร้างความหายนะให้แก่สังคม

    • @GGcxvw558
      @GGcxvw558 ปีที่แล้ว

      ถ้าคุณจะช่วยคนไปหาวิธีแก้ fruad ดีกว่า อันนี้น่ากลัวกว่าบูโรเยอะ แถมโดนทีตลอดชีวิต ไม่มีสิทธิ์แก้ตัว

    • @toomdeedenon3126
      @toomdeedenon3126 ปีที่แล้ว

      +1

  • @user-iq6mo8kv9d
    @user-iq6mo8kv9d ปีที่แล้ว

    ไม่ตกผลึก

  • @verachonraungsamer6989
    @verachonraungsamer6989 ปีที่แล้ว +1

    ทุกวันนี้มันก็มีสกอร์อยู่แล้ว

  • @1914aloha
    @1914aloha ปีที่แล้ว

    ค่าน้ำค่าไฟ ที่ต้องจ่ายตรงเพราะมันโดนบังคับ ถ้าไม่จ่ายก็ไม่มีน้ำไฟใช้ ไม่ใช่ว่าเป็นรับที่รับผิดชอบหนี้ได้ดี คนละเรื่อง

  • @ktygtrann9174
    @ktygtrann9174 ปีที่แล้ว

    ได้สักเล่มฟรีๆก็ยังดี แค่3เล่มผมก็หมดหวังเลยสิครับ

  • @chainarongmhadtong8663
    @chainarongmhadtong8663 ปีที่แล้ว

    ผมเชื่อมั่นครับ เชื่อมั่น อ.สุรพล โอภาสเสถียร ว่าทำแบบที่ทำมาดีแล้ว

  • @warisaravichaipunpuk1671
    @warisaravichaipunpuk1671 ปีที่แล้ว

    ฟังไปฟังมา เหมือนดาบสองคม ดีก้อมี ร้ายก้อมี อาจทำให้ปล่อยยากเข้าไปอีก เปรียบเทียบ
    วีแชท ของจีน เขาเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายลูกค้าผ่านวีแชท ถึงพิจารณาปล่อยกู้เอง แข่งกับแบงค์จีนค่ะ

  • @user-jk1uh6ki8z
    @user-jk1uh6ki8z ปีที่แล้ว +1

    รู้จักแต่ซิฟิลิสท์😄

    • @acat2555
      @acat2555 ปีที่แล้ว

      พี่ใหญ่ หนองในเลยนะนั้น

  • @weed4903
    @weed4903 ปีที่แล้ว

    ดีสำหรับคนไม่มีสิทธิเข้าถึงเงินกู้ เพราะ พฤติกรรมการชำระเงินไม่ดีไง จะมาออกนโยบายแบบนี้ ถาม สถาบันการเงินยัง เขาจะยอมให้คุณทำเหรอ??? แล้วเขาจะยอมคุณทำไม ในเมื่อมันทำให้เขาเสี่ยงมากขึ้น

  • @sahaschairugmanus
    @sahaschairugmanus ปีที่แล้ว +1

    คนไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจเเอาแต่คิดจินตนาการไปเอง ความคิดแบบเด็กๆ แต่ในเชิงปฏิบัติทำได้ยาก ข้อมูลดิบดีแล้ว แต่อยู่ที่วิธีการของธนาคารและมาตรการของแบ้งค์ชาติที่จะทำให้คอสของธนาคารลดลงแล้วสามารถปล่อยกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยถูกลง ยกตัวอย่างเช่น มาตรการตั้งสำรองเท่ากับจำนวนเงินทีี่ปล่อยกู้ มาตรการการยึดทรัพย์ ฯลฯ ยกตัวอย่างกระบวนการยึดทรัพย์ของไทยยืดเยื้อมาก เป็นคอสของธนาคารแล้วมันก็ตกมาถึงผู้เป็นหนี้ ตรงนี้ถ้าคนมีสมองเปลี่ยนได้จะเป็นประโยชน์มากขึ้น เป็นต้น ยกตัวอย่างวิธีการลงเครดิต เช่นหากมีผู้กู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้ แต่ปิดบัญชีไปโดยโอนยกทรัพย์สินที่ไปค้ำประกันไว้ให้ทางธนาคารไป อย่างนี้ต้องบันทึกเป็นเครดิตปรกติ 10 และปิดบัญชีไปแล้วลงว่า 11 ตามแบบที่เคยลงๆๆมา ดังนั้นก็จะไม่มีประวัติใดๆ เพราะถือว่าได้ปิดบัญชีไปแล้วเป็นต้น

  • @sCisSoRzzz
    @sCisSoRzzz ปีที่แล้ว +2

    scoring มันมีมานานแล้วมั้ง

  • @user-ly4pq3rm2y
    @user-ly4pq3rm2y ปีที่แล้ว

    นักธุรกิจ ที่เป็นหนี้ร้อยล้าน พันล้าน ยังมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน กู้เงินมาฟื้นฟูกิจการ หรือกู้เงินมาพยุงธุรกิจ
    แต่ประชาชนทั่วไป มีหนี้สินหลักแสน กลับไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เพื่อฟื้นตัวจากการเป็นหนี้

  • @eimmybb_five-o7899
    @eimmybb_five-o7899 ปีที่แล้ว

    ไปๆมาๆคุณเอ๋ อรรถวิชช์โดนอ.วีระสวนกลับแบบคุณเอ๋แทบไปไม่เป็นน่ะคร้าบ

  • @pvmilk
    @pvmilk ปีที่แล้ว

    ไม่เห็นด้วยกับการหมกเม็ด ประวัติการชำระหนี้
    แต่เห็นด้วยกับการบังคับให้แบงค์แข่งขันกันมากขึ้น แบงค์รวยกันเหลือเกิน ไม่ค่อยทำอะไรให้เป็นประโยชน์เลย

  • @user-bv3xz1gk7i
    @user-bv3xz1gk7i ปีที่แล้ว +6

    ไม่ไหว มั่วมาก ค่าน้ำค่าไฟ ก็กู้มาจ่ายได้ ยิ่งเอามาดูยิ่งมั่ว จะละเอียดขึ้นทำไม
    เพราะมันวัดกันที่การกู้ แล้วก็จ่ายคืนตรงเวลา มันสะท้อนถึงความมีวินัยทางการเงินอยู่แล้ว
    พวกนี้น่าจะยิ่งปล่อยกู้ให้ แต่กลับสนับสนุนให้พวกที่กู้แล้วไม่ค่อยจ่าย มากู้ได้อีก
    โดยอาศัยการดูรายจ่ายอื่นๆที่เหมือนดูจ่ายได้ มันยิ่งทำให้เกิดปัญหาเข้าไปอีก
    เกิดหนี้ซ้ำซ้อนเข้าไปอีก

    • @user-mu2zs5dc9q
      @user-mu2zs5dc9q ปีที่แล้ว +1

      นโยบายนี้เกิดขึ้นเพราะคนที่โดนผมกระทบจากโควิด
      ก่อนหน้าโควิดจะมา พวกเขาใสสะอาดมากๆ
      แต่พอโควิดผ่านไป เขากลับมัวหมอง แต่อาจไม่ถึงกับล้ม แต่มันไม่ใสแล้ว
      แบบนี้ก็กู้มาแก้ปัญหา มาขยายธุรกิจไม่ได้สิ
      มองให้รอบด้านนึกถึงใจเขาใจเรา
      มองผ่านมุมมองคนอื่นบ้าง
      อย่ามองแต่มุมตัวเองเป็นหลัก

    • @pairatyimwilai4411
      @pairatyimwilai4411 ปีที่แล้ว +1

      ผมว่า เขามองช่องลักษณะนี้ด้วยนะ คือ ตรงที่เขาเน้นว่า มันมีแต่ขาวกับดำ ได้ กับไม่ได้ แทนที่จะ ได้ดอกต่ำ ได้ดอกสูง ไม่ได้เลย เขาคงยิงเน้นจุดนี้ คือก็ปล่อยกู้ในดอกที่สูงหน่อย ขายตรงนี้น่ะ

    • @GGcxvw558
      @GGcxvw558 ปีที่แล้ว +1

      @@user-mu2zs5dc9q covid เขาก็มีรหัสพิเศษให้อยู่แล้ว
      แต่นี้จะล้างทั้งระบบ ไม่ใช่

    • @user-mu2zs5dc9q
      @user-mu2zs5dc9q ปีที่แล้ว

      @@GGcxvw558 ถ้าไม่ล้างทั้งระบบ คนปล่อย จะไม่ยอมปล่อย เพราะเห็น ว่าติดนิดติดหน่อย ก็หาข้องอ้างไม่ให้ แต่รูปแบบใหม่ เปลี่ยนเป็น คะแนน อารมณ์ เด็กทำคะแนนได้ 79 ปัดขึ้นเป็น เกรด4 แต่ถ้า ได้ 85หรือ 90ขึ้น เปลี่ยนเป็น ดอกถูกๆ ถูกกว่า เดิมที่เคยได้ แบบ ดำกับขาว

  • @lungmheechannel
    @lungmheechannel ปีที่แล้ว

    เคยเชียร์คุณกรณ์ครับ ตอนนี้เลิกละ 5555

  • @suksangwansoongsak1258
    @suksangwansoongsak1258 ปีที่แล้ว

    ผมว่าผมเห็นด้วยนะกับคุณอรรถวิท มันควรจะเป็นแบบนั้น ดอกเบี้ยควรเป็นขั้นบันได ตามความเสี่ยง ไม่ใช่แบ่ง แบบขาวกับดำ

  • @wasantoch
    @wasantoch ปีที่แล้ว

    ไม่ต้องหลบแบล็คลิสหรอก แค่หนีคดีออกนอกประเทศจนหมดอายุความค่อยกลับมาเสวยสุขแบบชิวๆ

  • @user-eh1bh7px2k
    @user-eh1bh7px2k ปีที่แล้ว

    ค่าไฟเอฟทีที่ปรับใหม่ทำไมใช้ประเภทค่าไฟมาเป็นเกรณ์แทนที่จะใช้จำนวนหน่วยการใช้เป็นเกรณ์ไม่สมกับความหมายที่ว่าค่าไฟผันแปรที่ใช้เยอะจ่ายเยอะไม่ใช่เหรอ อย่างนี้เท่ากับช่วยคนรวยทำลายคนทำมาค้าขายเล็กๆน้อยนี่คับ

  • @user-bd3hc8kb1n
    @user-bd3hc8kb1n ปีที่แล้ว

    สรุปอาจารย์ผู้มากกว่าแขกรายการ ไม่ยอมให้แขกรายการพูดเลยตอบแทนเองหมด

  • @potawomuka
    @potawomuka ปีที่แล้ว +11

    Nonsense จ้า
    กู้เป็นล้าน แต่ไปดูจ่ายค่าน้ำค่าไฟรวมกัน 3,000 บาท
    อย่างที่คุณบอก Other people’s money
    NPL เกิด คุณไม่ได้เป็นคนจ่ายไง
    Credits Score เกาไม่ตรงจุดคัน
    ผมจ่ายน้ำไฟ shopee ผีบ้าบอและอื่นๆ ตรง
    แต่ไม่ชำระเงินกู้ยืมซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าจะดีหรอครับ
    กู้เงิน ก็ต้องดูที่การชำระเงินกู้
    ไม่จ่ายน้ำไฟ ก็โดนยกมิตเตอร์จ้า แค่นั้น
    อย่าสวยหรูเอาแต่หาเสียง ขาวดำเทา ลิเก

    • @Hope-ro5ow
      @Hope-ro5ow ปีที่แล้ว +3

      จริงครับไม่จ่ายค่าไฟ ก็ไม่มีไฟใช้ เท่านั่นเอง เกี่ยวอะไรกับเครดิต ไม่จ่ายค่าน้ำมันเค้าก็ไม่เติมให้ก็เท่านั่น😅

    • @kasempenpinonth2698
      @kasempenpinonth2698 ปีที่แล้ว

      คนที่มีปัญหา. ไม่ใช่คนกู้เป็นแสนเป็นล้านครับ. ไอ้พวก กู้หลักหมื่น. ที่ชีวิตมันสะดุดง่าย. บางทีโดนเพราะค้ำประกันอีก แยกแยะหน่อยว่าผู้ที่ได้ประโยชน์ เป็นคนรากหญ้าที่ขาดโอกาสในชีวิต

    • @potawomuka
      @potawomuka ปีที่แล้ว +2

      @@kasempenpinonth2698 ​
      ที่เห็นคือยกตัวอย่างครับ แยกแยะนะ
      เพื่อความสบายใจ กู้ 30,000 บาทไม่ยอมจ่าย แต่จ่ายค่าน้ำ 165 บาท ค่าไฟ 613 บาท ตรงทุกเดือน…
      รากหญ้า ขาดโอกาส ทุกรัฐบาล ทุกการเลือกตั้งก็หาเสียง และเน้นแบบนี้มาโดยตลอดเพราะมันเป็นฐานเสียงแหละครับ
      และทุกคนก็อยากช่วย เพราะประเทศเติบโตจากฐานรากยังไงก็ดีอยู่แล้ว
      แต่ลองดูสถตินะครับ ธกส กยศ ธอส สหกรณ์ครู สหกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ก่อให้เกิด npl มากมายขนาดไหน
      ที่จะบอกคือ นี่ขนาดมี blacklist (ไม่ต้องโลกสวยเลี่ยงบาลีเรียกเป็นอย่างอื่น)
      หนี้เสียยังขนาดนี้…
      คำว่า Credit มันก็บอกในตัวอยู่แล้วครับ
      คนเราเกิดมาไม่เท่ากันเข้าใจ
      ต้นทุนน้อยก็ตั้งใจเรียน ขยันขันแข็ง เดี๋ยวก็มี Credit เอง อุปสรรคต่างๆ มีทุกคนต่างกรรมต่างวาระว่ากันไป

    • @GGcxvw558
      @GGcxvw558 ปีที่แล้ว

      @@kasempenpinonth2698 โอกาสในชีวิตไม่เกี่ยวกับ score คนธรรมดาก็คะแนนดีปกติไม่ว่ารวยจน

    • @toomdeedenon3126
      @toomdeedenon3126 ปีที่แล้ว +1

      +1 เห็นด้วย ไม่จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟก็แค่โดนตัดน้ำตัดไฟ เทียบไม่ได้กับหนี้เงินกู้หลักแสน หลักล้าน

  • @iamjeed
    @iamjeed ปีที่แล้ว

    สักแต่ว่าอยากหาเสียง ไม่ได้นึกถึงผลกระทบที่แท้จริง แบงค์ปล่อยกู้ไปคนไม่ดีเป็นหนี้เสีย ต้นทุนแบงค์ก็เพิ่มขึ้น แบงค์ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ย และปล่อยสินเชื่อเข้มงวดขึ้น สุดท้ายลูกหนี้ดีๆ นี่แหละกลายเป็นคนเดือดร้อน