อธิบดีกรมประมง ลงพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ | 10 ก.ค.67 | เพชรบุรีนิวส์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ส.ค. 2024
  • อธิบดีกรมประมง ลงพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ
    วันที่(10 กรกฎาคม 2567) นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง และคณะ ลงพื้นที่เพชรบุรี โดยมี นายอาคม ชุ่มธิ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ นายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ และนายสมบุญ ธัญญาผล ประมงจังหวัดเพชรบุรี ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี
    นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงห่วงปัญหาปลาหมอคางดำ ซึ่งนับเป็นการแพร่ระบาดของเอเลียนสปีชีส์วายร้ายแห่งลุ่มน้ำ “ปลาหมอคางดำ” ที่กำลังก่อผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำ เร่งเแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เพื่อลดปริมาณและควบคุมการระบาดโดยเร็วที่สุด โดยการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4 n ในปลาหมอคางดำ ที่จะดำเนินการ 18 เดือน ตั้งแต่เดือนนี้ จนถึง มกราคม 2569 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี
    สำหรับ ปลาหมอคางดำ เป็นปลาที่สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพบการระบาดใน 14 จังหวัด คือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบศีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำเป็นปัญหาต่อชาวประมง และเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก
    โดยกรมประมงได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวประมงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควบคุมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในหลายรูปแบบ ทั้งส่งเสริมการใช้ปลาหมอคางดำเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร สำเร็จรูปทดแทนปลาปน ใช้เป็นอาหารในการเลี้ยงปูทะเล เป็นวัตถุดิบในการ ทำน้ำหมักชีวภาพ และวิธีการ การสร้างประชากรปลาหมอคางดำให้มีโครโมโซม 4 ชุด ปล่อยลงแหล่งน้ำที่มีการระบาดในจำนวนมากพอที่จะทำให้ประชากรปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำมีโครโมโซม 3 ชุด ซึ่งเป็นหมันไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ เป็นหนึ่งแนวทางในการควบคุมการเพิ่มจำนวนประชากรปลาหมอคางดำ ควบคุมจำนวนปลาหมอคางดำ จะช่วยให้การเพิ่มจำนวนปลาหมอคางดำรุ่นใหม่ลดลง จนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ในอนาคตต่อไป

ความคิดเห็น •