ครูดี้...ครูกาแฟ แห่งเปียงซ้อ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2024
  • กาแฟจาก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน เป็นกาแฟคุณภาพดีมาก
    แต่ชาวบ้านไม่ได้กินกาแฟของตัวเอง เราอยากให้ชาวบ้านได้กินกาแฟของเขา
    ในฐานะครู จึงพยายามศึกษาเพื่อนำความรู้มาถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน
    จากไร่ข้าวโพด ทุกวันนี้เปลี่ยนเป็นดอยกาแฟ
    เกิดการรวมกลุ่มมีแบรนด์ของตัวเอง เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้
    จากพื้นที่ที่เคยเป็นภูเขาหัวโล้น เพราะการเผาป่าเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่นับตั้งแต่ปี 2552 ที่ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เข้ามาพัฒนาพื้นที่ด้านแหล่งน้ำ ดิน และส่งเสริมอาชีพเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และในปี 2556 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชุมชนฟื้นฟูป่าและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างสมดุล โดยดำเนินงานโครงการปลูกป่าฯ และส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ที่ บ้านเปียงซ้อ ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ชาวบ้านเปียงซ้อเริ่มเปลี่ยนจากปลูกข้าวโพดมาปลูกกาแฟกันมากขึ้น
    “กาแฟ อ.เฉลิมพระเกียรติ เป็นกาแฟคุณภาพ และมีหลากหลายสายพันธุ์” ครูดี้-นพดล แสนอินต๊ะ รองผู้อำนวยการ กศน. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยเต๋ย ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน “ครู กศน.” ผู้คลุกคลีอยู่ในพื้นที่และเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยภารกิจหลักของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” คือ การสอนการสร้างงาน สร้างอาชีพ “ครูดี้” จึงมีแนวคิดที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องกาแฟให้กับชาวบ้าน เริ่มตั้งแต่สอนเพาะ สอนปลูก เก็บผลผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการผลิต โดยขอความรู้จากทางมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ
    “ครูดี้” บอกว่า นอกจากกาแฟของ อ.เฉลิมพระเกียรติ จะเป็นกาแฟที่มีคุณภาพมาก สถานที่ท่องเที่ยวของ อ.เฉลิมพระเกียรติ เริ่มได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว นี่คือโอกาสที่ดีของชาวบ้านที่จะพัฒนาผลผลิต เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและเติบโตไปพร้อมกัน
    และสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่ม และสร้างแบรนด์ “กาแฟภูแว” คือ กาแฟคุณภาพที่มาจากความคิดและความพยายามของ “ครูดี้-ครูกาแฟแห่งบ้านเปียงซ้อ” ที่พยายามสร้างให้กาแฟจาก อ.เฉลิมพระเกียรติ มีตัวตน และสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟใน ต.ขุนน่าน
    ทุกวันนี้ วิถีชีวิตของชาวบ้าน ต.ขุนน่าน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก เปลี่ยนจากไร่ข้าวโพดเป็นไร่กาแฟ ไร่มันสำปะหลังเป็นไร่กาแฟ ชาวบ้านสามารถสร้างแบรนด์ สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาจากผลผลิตของตัวเอง
    “ภารกิจของครู กศน. คือ การสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับคนในชุมชน เมื่อเห็นชาวบ้านเข้มแข็ง เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง รวมกลุ่มให้เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ นี่คือ สิ่งที่ภูมิใจมากครับ”
    #เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง #มูลนิธิปิดทองหลังพระ #เศรษฐกิจพอเพียง #กาแฟ #เปียงซ้อ #ขุนน่าน #เฉลิมพระเกียรติ #ภูแว #กาแฟภูแววิว #ภูแววิว #แม่ฟ้าหลวง #ศศช #กศน #อาทิตย์ทรงกลด #เกอิชา #กาแฟเกอิชา #อราบิก้า #คาร์ติมอร์ #ปลูกป่า #สร้างรายได้

ความคิดเห็น • 1

  • @khaten3723
    @khaten3723 ปีที่แล้ว

    ไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง ไร่กาแฟ พืชเชิงเดี่ยวไม่ต่างกันเลย ..ความมั่นคงคนในพื้นที่ไม่ได้กำหนดเองแต่เกิดจากการพึ่งพาคนซื้อกาแฟและนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่ยั่งยืนเลย