ชัวร์ก่อนแชร์ : ไฮโดรเจนลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันใช้ได้ จริงหรือ ?

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 มิ.ย. 2022
  • 5 มิ.ย. 65 - บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความแนะนำ ไฮโดรเจนพลังงานร่วม เพื่อช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองในช่วงน้ำมันแพง แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
    🎯 ตรวจสอบกับ ดร.นภดล กลิ่นทอง
    ที่ปรึกษาสมาชิกอุ่นใจใกล้ช่าง
    🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์
    -----------------------------------------------------
    📌 สรุป 📌
    Q : ระบบการเติมน้ำเข้าไปเพื่อเอาไปแยกเป็นก๊าซไฮโดรเจน นำเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์เพื่อสันดาปช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงแบบที่เขาแชร์กันนี้ จริงไหมครับ ?
    A : อันนี้จริงครับ มีงานวิจัยประเทศไทยก็ประมาณปี 2541 แต่เป็นแค่งานวิจัยในระบบ ที่เราเห็นตามคลิปเขาเรียกเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วม ก็คือปริมาณไฮโดรเจนที่ผลิตได้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพื่อเติมไปในท่อร่วมไอดีหรือเติมไป หลังจากหม้อกรองอากาศบางค่าย หรือบางบริษัท อาจจะใช้วิธีการเติมก่อนที่เข้ากรองอากาศ แต่ส่วนใหญ่จะเติมที่ท่อร่วมไอดีเลย ก็กลายเป็นว่าอากาศเรามีไฮโดรเจนผสมอยู่ เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงแต่ไม่มีคาร์บอน มันจึงเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด แต่เป็นการที่ผลิตออกมาในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น ในการที่จะผสมกับอากาศแล้วยังใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติอยู่ รถไฮโดรเจนที่ใช้งานในประเทศไทยนะครับ สำหรับประเทศไทยก็เป็นระบบเชื้อเพลิงร่วมอย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว
    Q : ที่ปรึกษาสมาชิกอุ่นใจใกล้ช่าง ยังอธิบายเพิ่มเติมไว้แบบนี้ครับ ?
    A : การที่เปลี่ยนแปลงเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วมที่ใช้ไฮโดรเจนสิ่งที่ตามมา คือต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับ แล้วต้องสังเกตได้ว่าเวลาที่ไฮโดรเจนเข้ามาเรารู้สึกว่าเบาเท้า อย่างเหมือนในคลิปวิดีโอบอกคันเร่งจะต้องเหยียบน้อยลง เพราะว่าปริมาณไฮโดรเจนนี่มันช่วยในการลุกไหม้อยู่ แล้วมันก็แทนเชื้อเพลิงได้ในระดับหนึ่งแต่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับ เช่น เหยียบคันเร่งทันทีทันใดมีการเร่งแซงบ่อย ๆ ปริมาณไฮโดรเจนที่ผลิตได้ในปริมาณเล็กน้อยขนาดนั้น จะไม่เพียงพอในการเป็นเชื้อเพลิงเข้าไป
    Q : แล้วเรื่องอัตราการประหยัดหล่ะครับ ?
    A : มีงานวิจัยของประเทศไทยนี่หล่ะทำในรถยนต์ค่ายยุโรปอยู่ค่ายหนึ่ง ก็เป็นเชื้อเพลิงร่วมเหมือนกันประหยัดได้ถึง 40 กิโลเมตรต่อลิตร ต้องมีไม่ต่ำกว่า 20 แน่นอนขึ้นอยู่กับการขับด้วยว่าความเร็วเท่าไหร่ เพราะปริมาณไฮโดรเจนที่ผสมเพราะการผลิตถ้าผลิตที่ในถังเก็บที่น้อย ๆ มันก็ไม่เพียงพอที่จะไปชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง
    Q : เรื่องน้ำที่ใช้ก็มีความสำคัญ ?
    A : ไฮโดรเจนที่เป็นเชื้อเพลิงร่วมในมุมมองผม คือน้ำที่เราใช้มันต้องเป็นน้ำที่ไม่มีสารแขวนลอย คือสารที่เป็นพิษต่าง ๆ เช่น กำมะถันอะไรต่าง ๆ ที่เครื่องยนต์ไม่ชอบไม่ควรมีปนไปในน้ำหรือปนไปในตัวไฮโดรเจนที่เข้าเครื่องยนต์ เพราะถ้าเป็นกรดเมื่อไหร่ มันก็ไปกัดกร่อนชิ้นส่วนในระยะยาวได้ เพราะฉะนั้น โดยหลัก ๆ แล้วเขาต้องมีการทำความสะอาด ต้องเช็กปริมาณก๊าซตัวก๊าซที่เกิดขึ้นว่ามันสะอาดไหมจริง ๆ ต้องมีการควบคุมแล้วก็ดูความบริสุทธิ์ของไฮโดรเจนด้วย
    Q : รวมถึงการปรับแต่งเครื่องยนต์ ?
    A : สำหรับตัวเครื่องยนต์นั้น เนื่องจากไฮโดรเจนมีค่าความร้อนมากกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงถึง 3 เท่า เพราะฉะนั้น แล้วปัญหาตามมาคือ ต้องสังเกตอาการเครื่องยนต์ต้องไม่มีการน็อกการเขกเวลากดคันเร่ง แล้วเวลาเร่งไปแล้วถ้ามีเสียงเขกเสียงน็อกแสดงว่ามันเกิดการลุกไหม้ที่รุนแรงอาจจะเกิดการชิงจุด ฉะนั้น ต้องมีการดัดแปลงก็คือเรื่ององศาจุดระเบิดอันนี้คือเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการใช้ไฮโดรเจน
    Q : ที่ปรึกษาสมาชิกอุ่นใจใกล้ช่าง มีคำแนะนำไว้แบบนี้ครับ ?
    A : คนที่อยากติดตั้งคือไปขอรถต้นแบบหรือรถตัวอย่างที่เขาติดตั้งแล้วทดลองขับก่อนว่า พฤติกรรมการขับที่ท่านขับอยู่ปกติเหมือนรถน้ำมันท่านรับได้ไหม และประหยัดได้จริงไหม ต้องดูว่าการขับต้องขับแบบไหนด้วย ต้องมีการเลี้ยงคันเร่งพยามให้รักษาคันเร่งให้คงที่เข้าไว้ ไม่ใช่เร่งเหมือนปกติหมด เช่น เร่งแซงไปเรื่อยเปื่อยนะครับ อย่างนี้ไม่ได้ เพราะว่าปริมาณกระป๋องน้ำเพียงเล็กน้อย มันไม่เพียงพอที่จะผลิตไฮโดรเจนที่ตอบสนองได้อย่างความเร็ว รอบของเครื่องยนต์ได้ เพราะว่าการติดตั้งครั้งหนึ่งก็ใช้เงินเยอะ แล้วปัญหาที่ตามมาก็คือ เรื่องของการบำรุงรักษาหลังการติดตั้ง แล้วต้องศึกษาความเชี่ยวชาญและปริมาณรถยนต์ที่เขาติดตั้งไปแล้วว่ารุ่นไหนบ้าง รุ่นเรามีไหม แม้กระทั่งรถยนต์รุ่นเดียวกันถ้ากำลังอัดไม่เท่ากันองศาจุดระเบิดมีข้อผิดพลาดอยู่ รถยนต์แต่ละคันก็มีเรื่องของการติดตั้งการจูนการปรับแต่งที่ไม่เหมือนกันด้วยครับ
    Q : ดังนั้นสรุปแล้วระบบการเติมน้ำเข้าไปเพื่อเอาไปแยกเป็นก๊าซไฮโดรเจน นำเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์เพื่อสันดาปช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง แบบที่เขาแชร์กันนี้ เป็นยังไงครับ ?
    A : ระบบเชื้อเพลิงร่วมที่เป็นไฮโดรเจนกับเชื้อเพลิงน้ำมันมีมานานแล้ว ผู้ที่ต้องการติดตั้งต้องศึกษาข้อดีข้อเสียให้ดี ตั้งแต่พฤติกรรมการขับปริมาณที่จะเติมไฮโดรเจนเข้าไปว่าเหมาะสมไหม รวมทั้ง การศึกษาจากอู่ติดตั้งด้วยว่าผู้ติดตั้งมีความชำนาญไหม แชร์ต่อได้ครับ แต่ต้องมีคำแนะนำเพิ่มเติมครับ
    👉 ปัจจุบันเริ่มมีการนำเชื้อเพลิงทางเลือกมาให้ผู้ใช้รถยนต์ได้เลือกใช้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาข้อดี ข้อเสียอย่างรอบคอบ รอบด้านนะครับ
    #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare
    -----------------------------------------------------
    🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯
    LINE | @SureAndShare หรือคลิก line.me/ti/p/%40sureandshare
    FB | / sureandshare
    Twitter | / sureandshare
    IG | / sureandshare
    Website | www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
    TikTok | / sureandshare
    ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | www.tnamcot.com
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 46

  • @pannatatjuthasmith239
    @pannatatjuthasmith239 ปีที่แล้ว +12

    1. ปชช.ควรทราบเสียก่อนว่า รถไฟฟ้าที่มีใช้กันอยู่ มันมีอยู่ 5 ชนิด
    - รถไฮบริด HEV - รถไฮบริดเสียบปลั๊กได้ PHEV - รถเสียบปลั๊ก BEV หรือ ที่ชอบเรียกย่อๆว่า รถ Ev
    - รถแบบ E POWER หรือ รถ EV +เครื่องยนต์ +เครื่องปั่นไฟ - รถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel cell หรือ FCEV
    2. รถไฟฟ้าทั้ง 5 ชนิด 3 ชนิดหลัง จะมีชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อนที่น้อยลง การมีชิ้นส่วนที่น้อยลง เป็นผลดีต่อ
    บ.แม่เจ้าของแบรนด์ แต่ เป็นผลเสียร้ายแรงต่อ บ.Oem รับจ้างผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
    3. รถเสียบปลั๊ก แบบ EV ....จริงแล้ว นวัตรกรรมนี้ เป็นได้แค่ นวัตรกรรมย้ายที่ปล่อยมลพิษ จากรถ ไปเป็น รฟฟ.แทน
    เป็น รถที่ช่วยรักษาผลประโยชน์ จากภาคขนส่งให้ยังตกแก่กลุ่มทุนผูกขาดเดิมๆ คือ รฟฟ. บ.ถ่านหิน และ บ.ปิโตรเลียม
    และ นวัตรกรรมนี้ ยังช่วยยืดอายุ ระบบเปโตรดอลล่า ของ อเมรืกา ที่เอาเปรียบชาวโลกมานาน จากยุค ปธน.นิคสัน
    ให้ยังสามารถยืดยาวออกไปอีกได้
    ( เปโตรดอลล่า คือ การใช้อำนาจ ของ อเมริกา บังคับชาวโลก ให้ซื้อปิโตรเลียม เป็นดอลล่า เป็นการเพิ่มความสำคัญให้ดอลล่า )
    ( และ พาลนำไปสู่ การพิมพ์แบงค์ดอลล่า โดยไม่ต้องมี ทองคำต้ำในที่สุด ดังนั้นที่ผ่านมา )
    ( กลุ่มทุนผูกขาดของอเมริกา ถึงชอบทุบราคาทองคำ มาตลอด และ การเข้าไปเขมือยแหล่ง )
    ( ปิโตรเลียมของชาตือื่นๆ โดยระบบสัมปทานบ้าง หรือ ไม่ก็ปล้นเอาดื้อ อย่างที่ประเทศ ซีเรีย )
    ( เคนโดนกลุ่มไอซิส ลูกสมุนอเมริกัน ปล้นน้ำมันดิบไปให้ พวกตน )
    4. ในรถไฟฟ้าทั้ง 5 ชนืด ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น.....มีเพียงชนิดเดียว ....ที่สามารถจะตอบโจทย์จริง คือ
    รถไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง หรือ FCEV เท่านั้น ....เพราะ
    - FCEV กำเนิดไฟฟ้าในตัวเองได้ จากปฏิกริยาไฟฟ้าเคมี โดยไ ม่มีการสันดาปลุกไหม้เลย / รฟฟ.เสียผลประโยขน์
    - FCEV ใช้เวลาเติมเชื้อเพลิงสั้น และ วิ่งได้ไกลเหมือน รถใช้น้ำมัน รถใข้แกส หรือ เครื่องสันดาปภายใน
    - FCEV ให้ประสิทธิภาพเชิงพลังงาน สูงกว่ารถรถเครื่องสันดาปภายใน แต่ มีชิ้นส่วนน้อยกว่า / บ.Oem ชิ้นส่วนยานยนต์
    เสียผลประโยชน์
    - เชลล์เชื้อเพลิง ณ ปัจจุบัน มีอยู่ 4 ชนิด แยกตามชนืดของเชื้อเพลิง คือ ไฮโดรเจน โปรเพน เมทานอล เอทานอล
    แต่ ที่นำมาพัฒนาใช้กับ รถยนต์ไฟฟ้า มีอยู่ 2ชนิด คือ ไฮโดรเจน กับ เอทานอล
    - เซลล์เชื้อเพลิง เกือบทุกชนิด จะปล่อยของเสีย หลังกระบวนการผลิตไฟฟ้า ออกมาเป็นไอน้ำบริสุทธิ์
    - และ เชื้อเพลิง..ทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังสามารถผลิตขึ้นมาได้ โดยอาศัยกระบวนการสะอาดใหม่ๆ ที่ไม่ต้อง พึงพา
    ปิโตรเลียม รฟฟ. และ ถ่านหิน / กลุ่มทุนผูกขาดพลังงานเดิม เสียผลประโยชน์ ทั้งหมด รฟฟ. บ,ถ่านหิน บ.ปิโตรเลียม
    5 ปัญหาของพลังงานทางเลือก ที่ช้าในการพัฒนา และ ผลักดันให้ ปชช.ใช้งานจริง นั่นคือ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน.
    - ผลประโยชน์พวกนี้ ภายในประเทศไทย....เกิดจากการ แปรรูป ปตท. และ การเปืดช่องให้มี รฟฟ.เอกชนผลิคไฟ
    คู่ขนานกับ รฟฟ.รัฐ แล้วส่งมาขาย ปชช.ในสายส่งเดียวกัน
    - รูปแบบของผลประโยชน์ทับซ้อน คือ การเข้าไปถือหุ้นพลังงาน ของ นายทุน นกม. ต่างชาติ
    และ การอวยวาระให้ ขรก.ที่มีอำนาจกำกับดูแล เข้าไปนั่วกินเงินเดือนบอร์ด ในธุรกิจพลังงานเอกชน
    - และ ผลประโยชน์ทับซ้อน ยังเป็นต้นตอสำคัญ ของ ปัญหา แกส ไฟฟ้า น้ำมัน...ของไทยแพงในที่ผ่านมา
    และ แพงมาก่อนโควิตด้วย
    - จีน สามารถพัฒนา รถ EV และ รถ FCEV.......ได้ไกลกว่า ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศต้นคิด รถยนต์แบบเซลล์เชื้ เพลิงไฮโดรเจน
    และ เอทานอล
    นั่นเพราะ การปกครอง แบบ คอมมิวนิสต์ยุคใหม่ 1 ประเทศ 2 ระบบ ของจีน ไม่มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แบบ
    ประเทศ ปชต.ทั้งหลาย.......จีนกำลังพยาม พัฒนารถขนส่งมวลชน รถบรรทุกของตน...ไปเป็นระบบ FCEV ไม่ใช่ Ev
    และ รวมถึงกำลังพัฒนา กระบวการกรีนไฮโดรเจน ให้มีต้นทุนที่ต่ำลง และ แยกผน่วยผลิตกระจายออกไป แบบไม่รวมศูนย์

    • @stockjomthong2667
      @stockjomthong2667 ปีที่แล้ว +1

      สุดยอดครับ

    • @johnlee8863
      @johnlee8863 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณครับ

    • @user-sq9gg7ly8g
      @user-sq9gg7ly8g ปีที่แล้ว

      ชัดเจนคับ

    • @zeroprozone
      @zeroprozone หลายเดือนก่อน

      ข้อ3ดีกว่า ผลักมลพิษไปที่โรงผลิตที่เดียว เกิดมลพิษที่เดียวออกกฏควบคุมมลพิษที่เดียว ดูPM2.5สิ จุดความร้อนเกิดกี่ที่ จะให้ตามแก้ทุกที่ มันยากขนาดไหน

    • @pannatatjuthasmith239
      @pannatatjuthasmith239 หลายเดือนก่อน

      @@zeroprozone มันไม่ได้ดีจริงนะสิ เพราะ การผลักดัน
      Ev = อุ้ม ( รฟฟ. บ.ถ่านหิน บ.ปิโตรเลียม ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน
      ที่สะท้อนออกมาในรูปของ ( แกส ไฟฟ้า น้ำมัน ) ไทยแพงเวอร์
      รากตอปัญหานี้ มาจาก การแปรรูป ปตท. และ การแก้ กม.ให้มี รฟฟ.เอกชน คู่ขนานนั่นเอง
      Ev = เสียเวลาจอดชาร์จนาน วิ่งได้ทางสั้น นน.เยอะ / แบต ยังเสือกราคาแพงเวอร์อีก
      Ev = มันเป็นรถที่มีชิ้นส่วน ในระบบขับเคลื่อนน้อย แต่ เสือกตั้งราคาขาย แพงเวอร์ ไม่สมเหตุสมผล

  • @user-xm8im6go8f
    @user-xm8im6go8f ปีที่แล้ว +6

    ทีมงานควรจะสอบถามผู้มีความรู้หลายๆท่าน มาประกอบกันเพื่อความถูกต้อง
    ถ้าเข้าใจเรื่อง กฏการอนุรักษ์พลังงาน คุณต้องปวดหัวแน่ๆ ถ้าได้ดูคลิปนี้
    ผมดูแล้ว สิ่งที่พูดในคลิป ไม่ต่างจาก "เครื่องจักรนิรันดร์" เลย พลังงานที่ใช้แยกมาจากไหน แยกได้แล้วเอาไปใช้ที่ไหน ถ้าทำได้จริงแล้วจะเติมน้ำมันทำไม ถอดถังน้ำมันทิ้งไป ใส่เครื่องแยกไฮโดรเจนแบบเต็มระบบ แล้วเติมน้ำเปล่าอย่างเดียวง่ายกว่า
    อยากเห็นผลทดสอบที่มีการออกแบบการทดลองที่ได้มาตรฐาน จากรถรุ่นเดียวกัน เทียบระหว่างรถที่ติดอุปกรณ์ กับ รถแบบปกติ แบบนี้เราจะเห็นได้ชัดๆ วิ่งเทียบกันบนสายพานเลย แล้วเอาตัวเลขผลทดสอบมาคุยกัน วิ่งกันยาวๆเลย น้ำมัน 1 ถังเต็มๆ ติดกับไม่ติด ต่างกันแค่ไหน แต่เชื่อว่า คงไม่มีวันได้เห็น เพราะ มันเป็นไปไม่ได้

  • @user-AekSiamThai1986
    @user-AekSiamThai1986 ปีที่แล้ว

    ไฮโดรเจน สามารถให้ค่าการจุดระเบิดได้ดีไหม

  • @user-vd1ep2yd6u
    @user-vd1ep2yd6u 27 วันที่ผ่านมา

    ง่สยๆ้เต่ประดิษเเผงใช้เองเลยชื้อราคาเเพงทำวงจรรีเลย์ควบคุมไฟด้วยเพื่อที่จะป้อนกระเเสไฟให้เเผงถ้าก๊าชพอจะช่วยประหยัดได้30-40%ได้เลยทำมาเเล้ว

  • @MrLeo1623
    @MrLeo1623 ปีที่แล้ว +2

    เอาไฮโดรเจน 100% เลย..ไม่ต้องใช้น้ำมัน..ปนะหยัด😁

  • @tamerand9648
    @tamerand9648 ปีที่แล้ว

    เคยลองใช้หรือยัง

  • @kpaccess
    @kpaccess ปีที่แล้ว

    Toyota Mirai รถยนต์ที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง โดยแปลงเป็นไฟฟ้า
    พลังงานสะอาดที่ภาครัฐควรส่งเสริมให้ใช้

  • @meechaikunavudhi3911
    @meechaikunavudhi3911 ปีที่แล้ว +4

    ผมเคยติดแล้วเครื่องแยกน้ำเปนH2 แรกๆดูดีครับคล้ายๆแรงขึ้น
    ต่อมาก็ไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงใช้ราว1ปี ต้องซื้อน้ำพิเศษนี้จากร้านแต่ไม่ได้ซื้อเลิกใช้แล้ว-อุปกรณ์ยังคาเครืองอยู่-ไม่มีร้านรับติดตั้งแล้วเลิกกันนานแล้ว-ไม่เคยเห็นโฆษณา

    • @thaidamrongkai3194
      @thaidamrongkai3194 2 หลายเดือนก่อน

      ขอซื้อต่อได้ไหมครับ

  • @user-dk8hp7le8w
    @user-dk8hp7le8w 4 หลายเดือนก่อน

    ข้อเสียคือถ้าแก๊สคาหรือหลงเหลืออยู่ในห้องเครื่องแปรกลับเป็นน้ำอาจจะทำให้เสียหายได้

  • @user-oc1vf9kx4n
    @user-oc1vf9kx4n ปีที่แล้ว

    ชัวร์​ครับ... แต่.. ต้องเป็น​ของ​อาจารย์​สุมิตร​ ... ณ อยุธยา​

  • @wiwioto6898
    @wiwioto6898 ปีที่แล้ว

    เชื้อเพลิงร่วม 3 ระบบ
    คนไทยทำใช้มาสิบปีล่ะ
    ผ่าเครื่องมาดู เครื่องปกติ
    ...ศึกษา ก่อนตัดสินใจ
    ...

  • @user-yg6wj2yp5q
    @user-yg6wj2yp5q ปีที่แล้ว

    องศา มีผลอย่างไรครับ ทำไมถึงต้องปรับครับ ท่านใดทราบชี้แนะหน่อยครับ

    • @chodmaisamsee2302
      @chodmaisamsee2302 ปีที่แล้ว

      องศา ในที่นี้หมายถึงมุมการจุดระเบิด เชื้อเพลิงที่มีความไวไฟสูง ก็ต้องดั้งให้มุมการจุดระเบิดให้อ่อนตามด้วย ไม่เช่นเครื่องจะมีอาการเข็ค

  • @samihla1
    @samihla1 ปีที่แล้ว

    ต้องใช้อุปกรณ์หลายตัวในการที่จะทำให้เกิด ไฮโดรเจน. ทำไมไม่เอาก๊าซไนโตรเจนมาใส่โดยตรงเลย โดยใช้วาล์วควบคุมอัตราไหลของก๊าซ

  • @firstaha8017
    @firstaha8017 ปีที่แล้ว

    ถ้าเปลี่ยนจากน้ำมันมาใช้น้ำเลยทันทีนี่ รถพังเลยมั้ยครับ

  • @InThailand-ne5sl
    @InThailand-ne5sl ปีที่แล้ว +2

    มันใช้น้ำอย่างเดียวได้ ไม่ต้องใช้น้ำมันเลยยังได้.ทำไมถึงทำเป็น ระบบ ร่วม ซะงั้น..ก็แก้ปัญหาที่มันเกิดขึ้นได้นี่..รถมันกินก๊าชไฮโดรเจนไม่พอ ก็เพิ่มแผ่นสร้างก๊าชให้มันพอซะ รถแต่ละคันกินน้ำมันไม่เท่ากัน ก๊าชก็เช่นกัน เพราะรถแต่ละคันมี ความจุของกระบอกสูบต่างกัน..มันก็เท่านั้น มีอะไร ยาก..ที่ตอบมาของแอดมิน มีตรงบ้างไม่ตรงบ้าง..ก็แล้วแต่...ตามบายเลย.

    • @user-tt4mb1eg4h
      @user-tt4mb1eg4h ปีที่แล้ว

      เยี่ยมๆมาก ข้อมูลเจ่ง

    • @Goliath2012Thai
      @Goliath2012Thai ปีที่แล้ว

      ​@@user-ko4wf2fw1k หงส์ทอง เขาทำอุปกรณ์แบบนี้ ออกมาติดตั้งแล้ว ในโตต้า วีโก้ และรีโว่ ไปค้นหาดูใน .ยูทูปนี่แหละ ระบบ Reformer

    • @GaMeR-bw1io
      @GaMeR-bw1io ปีที่แล้ว

      เขาต้องใช้น้ำมันปั่นไฟเข้าแบต แล้วใข้ไฟจากแบตไปแยกน้ำได้ไฮโดรเจน เอาไปร่วมเผาไหม้กับน้ำมัน จริงๆ คือไม่มีรถใดๆเลยที่ใช้ไฮโดรเจนจากน้ำเท่านั้น ล้วนแต่เผาร่วมกับน้ำมันทั้งสิ้น หากจะไม่ใช้น้ำมันเลย คือต้องแยกน้ำมาบรรจุแก๊สไฮโดรเจนให้มากไว้ก่อนเลย

    • @Nid-Lanam
      @Nid-Lanam ปีที่แล้ว +1

      ถ้าตามรูปแบบในคลิปไม่มีทางจะทดแทนได้แบบ 100% ครับ
      ตามที่ท่านแสดงความคิดเห็นผมมั่นใจว่าท่านยังไม่เคยทำแน่นอน

    • @navara2076
      @navara2076 11 หลายเดือนก่อน

      ทำรถใช้เองเลย

  • @samuelsong8930
    @samuelsong8930 5 หลายเดือนก่อน

    มันเป็นนใจกรรมใหม่ อาจต้องใช้เวลาหลายสิบปีก่อนที่จะออกมาให้ใช้

  • @user-pk8iv4lr4r
    @user-pk8iv4lr4r ปีที่แล้ว

    ต้องมาฟังรายการชัวร์ก่อนแชร์ใช่มั้ยถึงจะแชร์ได้

  • @user-nk7nz1xf2w
    @user-nk7nz1xf2w 9 หลายเดือนก่อน

    โอ้งั้นก็แบบเก่าดีที่สุดแล้ว

  • @user-wh2to2ib4m
    @user-wh2to2ib4m ปีที่แล้ว +1

    ใช้ได้จริงเนอะแต่ความร้อนมันเยอะแต่ไม่มีควันเขม่าทางท่อไอเสีย

    • @chalamlooktlye5006
      @chalamlooktlye5006 ปีที่แล้ว

      ถ้าเราใช้แอมโมเนีย ช่วยหล่อเย็นได้ ก็คงจะดีขึ้น

    • @user-ld2rd7jv1o
      @user-ld2rd7jv1o ปีที่แล้ว

      หาอัตราส่วนกำลังอัดใหม่ ไฮโดรเจนร้อนจริงแต่ความร้อนสะสมน้อยกว่าเพราะมันเย็น แถมมีออกซิเจนเยอะกว่าน้ำมัน น้ำมันe85 เย็นก็ว่าเบนซิน ออกเทนสูงกว่าเบนซิน แต่ปล่อยความร้อนยน้อยกว่าเลยต้องเพิ่มอัตราส่วนกำลังอัดเยอะ
      ผมเคยจูนรถมอเตอร์ไซค์บ้านใช้e85 กัดอัตรส่วนกำลังอัด13-14:1ผลคือเครื่องยนต์ยังร้อนน้อยกว่า เครื่องที่ใช้น้ำมันเบนซิน 95ที่อัตราส่วนกำลังอัด 11:1 มอเตอร์ไซค์แม่บ้านใช้อัตราส่วนขนาดนี้ แทบน็อคแล้วในรอบสูงๆ แต่e85สบาย
      ส่วนไฮโดรเจน ต้องดูว่าใช่อัตราส่วนเท่าไร แน่นอนมันเย็นแน่ แต่ความร้อนของมันที่รับได้อัตราส่วนเท่าไรนี้แหละ
      จากที่ผมคิดคืออัตราส่วน 7:1ก่อนเลย เทียบเท่ารถ2t
      เพราะมันน่าจะร้อนมาก ให้พลังงานว่าน้ำมันถึง3เท่านี้ไม่ธรรมดาแน่นอน

  • @user-ix2vp4gd9t
    @user-ix2vp4gd9t ปีที่แล้ว

    ผมเห็นเขาบอกว่า รถใช้น้ำ100%
    อยู่ระยองนี้เอง

    • @lungraspanta6254
      @lungraspanta6254 7 หลายเดือนก่อน

      ภูมินทร์ รัศมี นะสิ เงียบไปแล้ว

  • @SS-og1hw
    @SS-og1hw ปีที่แล้ว

    แล้วเอาH2มาจากใหนล่ะ?ครับ ต้องใช้พลังงาน มั้ย?ถ้าใช้พลังงาน รถเอามาจากใหน? +,÷,×แล้ว จะออกแนว ไม่ประหยัด เสียมากกว่านะ @ไปคุยกับคนขาย เขาก็ต้องบอกว่าใช้ได้,ประหยัด,ดีน่าซี่ lol

    • @trtonkaoruangkao7009
      @trtonkaoruangkao7009 ปีที่แล้ว

      H2 หาง่ายกว่า N2 อีก เครื่องแยกด้วยไฟฟ้าเองก็ไม่ได้แพงมาก ถ้าใช้ร่วมกับโซล่าเซลล์

  • @pookpunsoft
    @pookpunsoft ปีที่แล้ว

    ใช้แปลงเป็นระเบิดแค็ปซูลดีกว่า เพราะพลังงาน H2O จะมีการแยกธาตุออกมา เป็นไฮโดเจนบริสุทธิ์ และออกซิเจนสะอาด แต่ปัญหาคือ การจุดระเบิด น่าไปพัฒนาเป็นระเบิดแค็ปซูลจะเหมาะกว่า คิดว่า หากทำได้ การทำลายล้างในวงการอาวุธสงครามจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างหลายเท่าตัวครับ

    • @user-qw1jr1ux6p
      @user-qw1jr1ux6p 8 หลายเดือนก่อน

      ผู้ก่อการร้าย ถูกใจสิ่งนี้ เอาไว้จอดใต้ตึกสูงแบบคอนโด แล้วปล่อยให้ไฮโดรเจน ลอยขึ้นบนคอนโด ..อธิบายแค่นี้ครับ ...ต่อไปอาจจะมีป้ายห้ามจอดรถใต้คอนโดแน่นอน ถ้ารถระบบไฮโดรเจนผลิตออกมาเป็นการค้า ครับ

    • @NCG3869
      @NCG3869 6 วันที่ผ่านมา

      นี่แหละเนอะ ที่เขาว่า ตอนเรียน ก็ไม่ ให้หัดตั้งใจเรียน เขาใช้ไอโซโทป ของไฮโดรเจน ทำระเบิด H-Bomb นิวเคลียร์ฟิวชั่วชั่น มาตั้งแต่ยุคปี 1960 แล้ว ไอ้ทิดเอ้ย หาความรู้ใส่หัวอีกเยอะๆ

  • @TechNoIndy
    @TechNoIndy ปีที่แล้ว +2

    ค่าบำรุงรักษา โคตรจุกจิก
    ค่าติดตั้ง5หมื่น คำนวณยังไงก็ไม่คุ้มค่าสักนิด

  • @MrCA-zr2qx
    @MrCA-zr2qx ปีที่แล้ว

    ไม่คุ้มครับ

  • @wichitkrisboonchu3892
    @wichitkrisboonchu3892 ปีที่แล้ว +1

    ใช้ไฟฟ้าจากไดชาร์จรถยนต์มาเปลี่ยนน้ำเป็นไฮโดรเจน ไดชาร์จก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อเพิ่มพลังงานไฟฟ้าไปเปลี่ยนน้ำให้เป็นไฮโดรเจน ดูไปดูมามันก็น่าจะเหมือนเดิมพลังงานที่ได้มาก็น่าจะเท่ากับเชื้อเพลิงที่ใส่เข้าไป(สังเกตุดูเวลาเราเปิดไฟใหญ่หน้ารถ รอบเครื่องจะเพิ่มรอบสูงขึ้นมาหน่อยนึง หมายถึงต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น) อันนี้คิดเอาเองรอผู้รู้จริงช่วยอธิบายเพิ่มครับ

  • @hongdark9840
    @hongdark9840 ปีที่แล้ว

    หาคนใช้จริงมาบอกดีกว่า อันนี้ยังมโน50%