ล่องเรือพระนคร สามชั้น - วงมโหรีเครื่องใหญ่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 31 ต.ค. 2020
  • ล่องเรือพระนคร สามชั้น
    ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ครูมนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ)
    เพลงล่องเรือพระนคร สองชั้น เป็นเพลงร้องในการแสดงละครนอกบางเรื่อง เป็นการร้องต้นเสียงกับลูกคู่เท่านั้น ไม่มีทำนองดนตรีรับ มีปรากฏอยู่ในการแสดงละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ทรงบรรจุทำนองเพลงนี้และทรงเรียกเพลงนี้ว่า "เพลงสุวรรณหงส์"
    ต่อมาเมื่อครูมนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) ได้รับการร้องขอจากนิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ประพันธ์เพลงสำหรับบรรเลงเป็นเพลงส่งท้าย หรือที่เรียกว่า "ลำลา" หรือ "เพลงลา" เพื่อใช้บรรเลงในงาน "ครุศาสตร์คอนเสิร์ต ครั้งที่ ๑๑" ในชื่องาน "๙ ทศวรรษ ครูมนตรี ตราโมท" ครูมนตรี ตราโมท จึงได้นำเพลงล่องเรือพระนคร มาแต่งขยายเป็นสามชั้น เพราะเห็นว่าของเดิมในอัตราสองชั้น มีทั้งสร้อย ทั้งดอก อยู่แล้ว เหมาะที่จะนำมาเป็นเพลงลาหรือเพลงส่งท้าย บทเพลงนี้ลักษณะอยู่ที่การว่าดอกที่แตกต่างจากเพลงลาอื่นๆ กล่าวคือ ท่อน ๓ ให้เครื่องดนตรี รับก่อนแล้วจึงค่อย ว่าดอก 1 ครั้ง แล้วย้อนกลับไปบรรเลงทางเครื่องแล้วว่าดอกอีก 1 ครั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบการว่าดอก อีกรูปแบบที่ครูมนตรี ตราโมทถ่ายทอด ผ่านบทเพลงนี้
    บทเพลงนี้นำออกแสดง และขับร้องครั้งแรกโดย รศ.ดร.พรรณราย ทรัพยประภา และอ.ดนตรี ตราโมท ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๓ หลังจากครั้งนั้น เพลงนี้เคยนำออกแสดงอีกครั้งในงาน "จุฬาวาทิต ครั้งที่ ๑๑" ณ เรือนไทย จุฬา ฯ ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓
    ๓๐ ปี ถัดมา เพลงนี้ได้นำออกแสดงอีกครั้ง ในงาน "สิบรอบปีครูมนตรี ตราโมท ความรุ่งโรจน์แห่งดนตรีสยาม" วาระ ๑๒๐ ปี ครูมนตรี ตราโมท เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูและรำลึกคุณูปการของครูมนตรี ตราโมท ต่อสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    สำหรับการแสดงในครั้งนี้ เป็นการบรรเลงด้วยวงดนตรีไทยเครื่องใหญ่ (มโหรีเครื่องใหญ่) บรรเลงโดยอาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควบคุมการบรรเลงโดย ผศ.สงบศึก ธรรมวิหาร รศ.ดร.กรรณิการ์ สัจกุล และ อ.ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
    ควบคุมการบรรเลงโดย
    ผศ.สงบศึก ธรรมวิหาร
    รศ.ดร.กรรณิการ์ สัจกุล
    อ.ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
    รายชื่อนักดนตรี
    1. นักร้อง นายพศวัต คชเดช
    2. นักร้อง น.ส.นันท์นภัส อรรถกฤษณ์
    3. ซอสามสาย อ.เอกวิทย์ ศรีสำอางค์
    4. ซอสามสาย ผศ.ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง
    5. ซอด้วง ผศ.ดร.วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช
    6. ซอด้วง อ.สุขสันต์ พ่วงกลัด
    7. ซออู้ อ.วิโรจน์ อ่อนสำลี
    8. ซออู้ อ.วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์
    9. จะเข้ อ.เหมราช เหมหงษา
    10. จะเข้ อ.รวี อ่างทอง
    11. ขลุ่ยเพียงออ ร.อ.สมนึก แสงอรุณ
    12. ขลุ่ยหลิบ อ.ไพฑูรย์ อุณหะกะ
    13. ระนาดเอก อ.นวลจันทร์ ศุภพัฒน์
    14. ระนาดเอกเหล็ก นายชินาวัตร ประฐมธานี
    15. ระนาดทุ้ม อ.ณรงค์ศักดิ์ แย้มสุวรรณ
    16. ระนาดทุ้มเหล็ก รอง ผอ. นิตยา ศุภพัฒน์
    17. ฆ้องวงใหญ่ ผอ.ลัดดา จักษา
    18. ฆ้องวงเล็ก อ.สุทธิพงษ์ นนท์ธนารักษา
    19. ฉิ่ง อ.มนพ จักษา
    20. กลองแขก นายภูวิศ แถวเพีย
    21. กลองแขก นายภคดล แถวเพีย
    22. กรับพวง อ.ดวงพร พารุณ
    23. กรับพวง ทันตแพทย์หญิง ดร. ลาวัลย์ ต้นสกุลรุ่งเรือง
    24. โหม่ง นายธีรวิชชุ์ อรรถศิริ
    25. ฉาบเล็ก นายพีรทัต วงษ์ประเสริฐ
    ต้นฉบับไฟลเสียงโดย นางสาวกัสมาพร เพ่งเล็งดี
    ขอขอบพระคุณ
    มูลนิธิมนตรี ตราโมท ในพระราชูปถัมภ์
    สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความคิดเห็น • 1

  • @user-qs7cw3jf8p
    @user-qs7cw3jf8p 3 ปีที่แล้ว +1

    ไพเราะมากค่ะ เป็นครั้งแรกท่ีได้ฟังผลงานเพลงล่องเรือพระนคร สามชั้น