โมเม้นต์น่ารักๆ ของนกตีทอง RELAX AND WATCH COPPERSMITH BARBETS LOVELY MOMENTS

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ม.ค. 2023
  • #coppersmithbarbet #นกตีทอง #birdsofthailand #นกเมืองไทย #cutestanimals
    นกตีทองพบได้ทั่วไปในเมืองไทย เวลาไปเดินตามสวนสาธารณะ ถ้าสังเกตดูดีๆ จะเห็นนกจีบกัน รวมถึงเจาะโพรง และมีวิธีการสื่อสารน่ารักๆ ระหว่างกัน รับชมได้ในคลิปนี้ค่ะ
    FACTS
    The coppersmith barbet (Psilopogon haemacephalus), also called crimson-breasted barbet and coppersmith, is an Asian barbet with crimson forehead and throat, known for its metronomic call that sounds similar to a coppersmith striking metal with a hammer. It is a resident bird in the Indian subcontinent and parts of Southeast Asia. It carves out holes inside a tree to build its nest. It is predominantly frugivorous, but has been observed eating insects, especially winged termites.
    Throughout its range, it inhabits gardens, groves and sparse woodland. Habitats with dead wood suitable for excavation of nests are important. The coppersmith barbet lives solitary or in small groups; larger parties have occasionally been sighted in abundantly fruiting Ficus trees. It appears to be fond of sunning in the morning on bare top branches of tall trees, often flitting about to sit next to each other. Its flight is straight, with rapid flaps.
    The nest holes are also used for roosting and some birds roost alone in cavities and these often roost during part of the day. Immatures will roost with the parents but often return to roost early so as not to be prevented by the parents from entering the roost cavity.
    The call is a loud rather metallic tuk…tuk…tuk (or tunk), reminiscent of a copper sheet being beaten, giving the bird its name. Repeated monotonously for long periods, starting with a subdued tuk and building up to an even volume and tempo, the latter varying from 108 to 121 per minute and can continue with as many as 204 notes. They are silent and do not call in winter
    The beak remains shut during each call - a patch of bare skin on both sides of the throat inflates and collapses with each tuk like a rubber bulb and the head is bobbed
    It breeds through much of the year with local variation. The breeding season is mainly February to April in India and December to September in Sri Lanka. Both sexes excavate the nest on the underside of a narrow horizontal branch. They also roost inside the nest holes.[18] The female lays three or four eggs. Both sexes incubate. The Incubation period is not well known, but has been estimated to be about two weeks. Often two broods are raised in quick succession.
    นกตีทอง (Megalaima haemacephala) เป็นนกโพระดก (Megalaimidae) ที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง รู้จักกันดีเพราะร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสม่ำเสมอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทองแดง) เป็นนกประจำถิ่นของเอเชียใต้ และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ ทำรังโดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโพระดกประเภทอื่น ๆ โดยมากกินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะแมลงเม่า (ปลวกมีปีก) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก
    นกมักจะอยู่ในสวน ป่าเล็ก ๆ และป่าโล่ง ๆ ที่ ๆ มีต้นไม้ตายแล้ว ขุดเจาะได้ง่าย เป็นลักษณะสำคัญของที่อยู่ของนก นกจะทำรังและนอนอยู่ในโพรงไม้ มักจะอยู่เดี่ยว ๆ เป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่อาจพบเป็นฝูงใหญ่บนต้นไทรที่ออกผลมาก นกชอบตากแดดตอนเช้า ๆ บนกิ่งไร้ใบบนต้นไม้สูง ๆ บางครั้งจะโฉบไปโฉบมาแล้วมาจับกิ่งใกล้ ๆ กัน นกบินเป็นเส้นตรง โดยกระพือปีกเร็ว ๆ
    รังที่เป็นโพรงจะใช้สำหรับพักด้วย นกบางตัวอยู่ตัวเดียว และบางพวกจะพักตอนกลางวันด้วย ลูกนกจะพักอยู่กับพ่อแม่ แต่บ่อยครั้งต้องกลับมาก่อน ไม่เช่นนั้น พ่อแม่อาจจะไม่ให้เข้ารัง
    นกร้องเสียงดัง คล้ายกับช่างเคาะโลหะ ดัง "ป๊ก...ป๊ก...ป๊ก" คล้ายกับช่างตีทอง (หรือตีทองแดง สำหรับฝรั่ง) ซึ่งให้ชื่อกับนก ร้องซ้ำ ๆ กันนาน โดยเริ่มเบา ๆ ก่อน แล้วดังขึ้นจนถึงระดับ เป็นจังหวะสม่ำเสมอที่ 108-121 ครั้งต่อนาที และอาจจะร้องถึง 204 ครั้ง นกไม่อ้าปากเวลาร้อง หนังที่คอทั้งสองข้างจะพองออกแล้วยุบ และจะผงกหัว ในการร้องแต่ละครั้ง นกจะไม่ร้องในฤดูหนาว
    นกผสมพันธุ์กันโดยมากทั้งปี โดยต่างกันในพื้นที่ต่าง ๆ ฤดูผสมพันธุ์ในอินเดีย อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ในศรีลังกา อยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกันยายน ทั้งตัวผู้ตัวเมียช่วยกันเจาะรัง ใต้กิ่งไม้ตามขวางกิ่งแคบ ๆ นกอาจจะพักนอนอยู่ในรังด้วย นกวางไข่ 3-4 ฟอง แต่เหมือนกับนกที่ทำรังในโพรงไม้อื่น ๆ เวลาฟักไข่นั้น ไม่ค่อยชัดเจน แต่ประมาณว่าอยู่ที่ 2 อาทิตย์ ทั้งตัวผู้ตัวเมียช่วยกันฟักไข่ บางครั้ง นกอาจจะมีลูกสองชุดติด ๆ กัน
    Thanks for info from Wikipedia.

ความคิดเห็น •