ศกุนตลา - นันทิดา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 พ.ย. 2024

ความคิดเห็น • 9

  • @samphongsamphong9853
    @samphongsamphong9853 หลายเดือนก่อน

    นันธิดาร้องเพลงนี้ใด้สุดไพเราะคือไพเราะณที่นี้คือใช้ภาษาใด้สลวยสวยงามชัดถ้อยชัดคำไม่คลุมเครือ

  • @เดอะเบสท์-ฉ4ด
    @เดอะเบสท์-ฉ4ด 6 หลายเดือนก่อน

    ❤❤❤❤

  • @wachirapornphayakhaphiban6330
    @wachirapornphayakhaphiban6330 4 ปีที่แล้ว +2

    งดงามมากค่ะ

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 ปีที่แล้ว +2

    ศกุนตลา
    .
    เรื่องของนาง #ศกุนตลา หรือ #ศกุนฺตโลปาขฺยาน เป็นนิทานย่อยที่เล่าแทรกไว้ในมหากาพย์ #มหาภารตะ เริ่มเรื่องจากการสนทนาของพระราชา พระนามว่า ชนเมชยะกับพระฤาษีไวศัมปายนะ เพื่อพรรณนาลำดับกษัตริย์ราชวงศ์ปุรุ แห่งจันทรวงศ์
    .
    นามของนางศกุนตลา แปลว่า ผู้เนื่องด้วยนก เป็นธิดาของนางฟ้าเมนกา ซึ่งพระอินทร์ส่งมาเพื่อทำลายตบะของพระมหาฤาษีวิศวามิตร หลังจากคลอดแล้วมารดาทิ้งนางไว้กลางป่ามีฝูงนกคอยดูแล
    .
    ต่อมานางพบรักกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งนครหัสตินาปุระ ผู้สืบสายมาจากพระพุธ ปฐมกษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ จนตั้งครรภ์ แต่ถูกพระฤๅษีทุรวาสสาปให้สวามีจดจำนางไม่ได้ เหตุนี้นางศกุนตลาจึงน้อยใจบริภาษสวามีอย่างเด็ดเดี่ยว ในที่สุดพระอินทร์จึงต้องช่วยให้ทั้งสองได้กลับมาครองรักกันอีกครั้ง
    .
    โอรสของท้าวทุษยันต์กับนางศกุนตลา คือ #พระภรตมุนี สอนศาสตร์นาฏศิลป์ ผู้รวบรวมอาณาจักรน้อยใหญ่เข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น จึงถือว่าทรงเป็นบรรพบุรุษแห่งกษัตริย์ #อินเดีย ทั้งปวง รวมถึงราชวงศ์ปาณฑพและเการพผู้ก่อสงครามมหาภารตะด้วย พระนามของพระภรตนี้เองที่เป็นต้นเค้าของการเรียกอินเดียว่า ดินแดน #ภารตะ
    .
    ต่อมา กวีชื่อ #กาลิทาส ได้เก็บความจากศกุนฺตโลปาขฺยานมาเรียบเรียงเป็นบทละครที่เรียกว่านาฏะกะ และได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถูกแปลเป็นภาษาตะวันตก กระทั่ง #พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากฉบับภาษาอังกฤษเป็นบทละครรำภาษาไทย เมื่อปี ๒๔๕๕ ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์ที่มาไว้ตอนหนึ่งว่า
    .
    “การแต่งบทลครเรื่องศกุนตลาเป็นภาษาไทยนี้ ข้าพเจ้าตั้งรูปตามใจของข้าพเจ้าเอง คือให้เหมาะแก่การที่จะเล่นเป็นลครอย่างไทยได้ ไม่ได้เดินตามแบบนาฏะกะฉบับเดิม แต่หาได้คิดเพิ่มเติมข้อความอันใดลงไปโดยอำเภอใจนอกเรื่องไม่”
    .
    พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ถือเป็นบทพระราชนิพนธ์แปลจากวรรณคดีอินเดียเรื่องแรกในรัชกาลที่ ๖ นอกจากแสดงความงดงามทางวรรณศิลป์แล้ว ยังสะท้อนความนิยมในวรรณกรรมอินเดีย ตลอดจนเชิดชูบทบาทของสตรีตามแนวคิดสมัยใหม่ ที่พึงมีคุณลักษณะเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว และรักศักดิ์ศรีของตน

  • @atsawanuntipkaew6617
    @atsawanuntipkaew6617 7 ปีที่แล้ว +7

    ศกุนตลา นางฟ้าแมกฟ้าฤาไฉน
    นางดินเดินเดียวเปลี่ยวใจ
    นางไม้แนบไม้มิได้ปาน
    น้ำค้างค้างกลีบกุหลาบอ่อน
    คือเนตรบังอรหยาดหวาน
    โอษฐ์อิ่มพริ้มรัตน์ชัชวาล
    เพลิงบุญอรุณกาล ผ่านทรวง
    ศกุนตลา นางฟ้าแมกฟ้าจากสรวง
    คลื่นสมุทรสุดฤทัยไหวปวง
    คือทรวงนางสะท้อน ถอนใจ
    *ยอดมณีศรีศิลป์ปิ่นสรรค์
    หล่อหลอมจอมขวัญ ผ่องใส
    คือแก้วแพร้วพร่างกระจ่างใจ
    อาบไออำมฤต นิตย์นิรันดร์ (ซ้ำ)

  • @ปวริศาเข็มโพชน์-ป2ศ

    ชอบมากค่ะ

  • @PEARLPNN
    @PEARLPNN 7 ปีที่แล้ว +2

    เพราะค่ะ