ประวัติวัดหัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 8 ก.พ. 2025
- ที่นี่...หัวสำโรง
ทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของวัดหัวสำโรง
ประวัติศาสตร์ความเป็นมา วัดหัวสำโรง
หัวสำโรง ถูกกวาดต้อนมาสมัย ปลาย ราชกาลที่ ๒ ต้นรัชกาลที่ ๓ มาอยู่เป็นเกาะๆ เขมรส่วนเขมร ลาวส่วนลาว เห็นได้ทุกวันนี้ ดงน้อย ดงยาง (เป็นเขมร) หนองบัว บ้านกลาง (เป็นลาว) ที่ไม่รวมกัน เพราะกลัวปรึกแผ่น มาตีไทยเลยให้กระจายเป็นเขมรและลาว
หัวสำโรง คือ เขมร ที่อพยพมาจาก พระ ตะบอง ซึ่งมาตั้งรกราก และทำความดีให้พระเจ้าตาก ได้เห็น คือกองทัพผ่านมา แถบย่านนี้ ประชาชน ได้ทำข้าวคั่วตากแห้ง แล้วมาบดเป็น เสบียง นำไปกินตามทางที่ทัพผ่าน เลยให้ความดีวันนี้ เป็นคนหัวดี ให้ชื่อว่า “หัวสำโรง”
ประชาชนก็มาตั้งรกรากอยู่ที่นี่เป็นกลุ่มจึงสร้างวัดขึ้นมาเรียกว่า “วัดหัวสำโรง” มีการสร้างวัดหล่อพระพุทธทรงเดียวกับวัดแจ้งบางคล้าและวัดปากน้ำโจ้โล้ และได้สร้างโบสถ์ครอบพระตามหลัง โดยเงินบริจาคของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตัววัด และศาลาการเปรียญ ซึ่งประชาชนช่วยกันสร้าง ส่วนใหญ่เป็นเงินของ นายต่วน นางสอน ได้มีใจศรัทธา สร้างศาลาการเปรียญหลังแรก เมื่อ เดือนสิบสอง แรม ๑๐ ค่ำ วันศุกร์ พ.ศ ๒๔๖๗ จำนวนทั้งหมด ๒๕๖๐ บาท ซึ่งเงินสมัยนั่นถือว่าเยอะมาก และสร้าง บรรมาศยกเมือง แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ พ.ศ. ๒๔๖๙ บริจาคทรัพย์ในการก่อสร้างสิ้นเงิน ๑๐๐๐ บาทถ้วน
ซึ่งต่อมา นายต่วน นางสวน โสมเมา ถวายที่ดินให้วัดอีกจำนวนหนึ่งด้วย และโรงเรียนหลังเก่า อาจารย์จุ้ย(เจ้าอาวาสวัด) ได้ร่วมกับประชาชนทั่วไป รวมทั้ง ยายบุญมี นายต่วน นางสวน โสมเมา ได้สร้างโรงเรียนหลังแรกซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวทรงสูง เสารอย สามารถโยกเคลื่อนย้ายได้
ส่วนเสาหงส์สร้างพร้อมกับโบสถ์ ประวัติมีดังนี้ พม่า มอญ เห็นเสาหงส์ไม่ได้ทำลายวัดเพราะถือว่า เป็นสกุลเดียวกัน หรือ พวกเดียวกัน เหตุผลเพราะมีรูปตัวหงส์ ( หงสาวดี )
ส่วนบ่อน้ำที่วัดหัวสำโรง ถือว่า เป็นเพชรยอดมงกุฎ ของตำบลหัวสำโรง มีลวดลาย ขอม โบราณ แกะสลักที่เสา และบริเวณที่นั่งพัก เพื่อสรงน้ำพระ เป็นจำนวนหลายต้นมากมายถึงทุกวันนี้ยังคงสภาพเกือบเหมือนเดิม มีชำรุดบ้างเป็นบางส่วน
ส่วนประตู หน้าต่าง ของโบสถ์ วัดหัวสำโรง เป็นฝีมือของหลวงพ่อเฉย วัดอ่าวช้างไล่ และคณะนายนอม สามีป้าเป๋ง แกะสลักกันและบานประตูในในกุฏิวัดหัวสำโรงยังมีอยู่ทุกวันนี้
หน้าบันศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหัวสำโรงก็ฝีมือหลวงตาเฉย และหลวงตาเฉยได้เรียนรุ่นเดี่ยวกับ เหมเวชกร นักวัดภาพมือหนึ่งของประเทศไทย
ยังมีเรื่องสนุกๆอีกมากมายที่น่าศึกษาอยากทราบเรื่องรายละเอียดก็สามารถมาศึกษาที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหัวสำโรง
ส่วนประวัติเจ้าอาวาสวัดหัวสำโรงโดยทีมงานที่นี่...หัวสำโรง ได้ไปสอบถามผู้ที่รู้และได้เล่าสู่กันมารุ่นต่อรุ่นดังนี้
หลวงตา ปลั่ง ร.ศ. ๑๔๙๖
หลวงตา รุ่ง (ไม่ทรายฉายา)
หลวงตา นวน (ไม่ทราบฉายา)
อาจารย์ สง ( ไม่ทราบฉายา )
อาจารย์ จุ้ย เขมังกะโล
อาจารย์ ริน ปัญญาโณ
อาจารย์ ทอง (หรือตอง) ( ไม่ทราบฉายา )
พระครูธำรงพัฒนกิจ (เผื่อน)
อาจารย์ พระสุทิน (พระแบ) ปณฺณภาโร (รักษาการเจ้าอาวาส)
หมายเหตุ
หลักฐานอ้างอิง
จาก คุณครูฉันทนา (ครูแต๋ว ) สระบุรินทร์
ประธานที่ปรึกษา ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหัวสำโรง
หลักฐานอ้างอิง
จากคุณปู่แจ้ เสาวกุล
ประวัติเจ้าอาวาสตำบลหัวสำโรง
หลักฐานอ้างอิง
จากคุณพ่อประเสริฐ เสาวนา
ประวัติเจ้าอาวาสตำบลหัวสำโรง
#ที่นี่หัวสำโรง
#วัดหัวสำโรง
#สำนักงานเทศบาลตำบลหัวสำโรง
#แปลงยาว
#ฉะเชิงเทรา
#8ริ้ว
หนูเคยเรียนคะชอบมากๆเลยคะมีเเต่เพื่อนดีๆแต่ย้ายมาบ้านเกิดพอมาดูร้องไห้หนักมาคะ