ขนาดวิดีโอ: 1280 X 720853 X 480640 X 360
แสดงแผงควบคุมโปรแกรมเล่น
เล่นอัตโนมัติ
เล่นใหม่
ยกคณะจุลกฐิน เชียงใหม่ ทอดที่วัดภูเขาทอง ตรังวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่วัดภูเขาทอง ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้มีการประกอบพิธีทอผ้าเพื่อทอดจุลกฐิน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทางภาคเหนือมาสู่ที่จังหวัดตรังภาคใของไทย เป็นครั้งแรกการทำผ้าไตรจีวร สำหรับมาทอดที่วัดภูเขาทองในลักษระนี้ ก่อนการทอผ้าจุลกฐินในวันนี้ ได้มีการเตรียมการปลูกฝ้ายในพื้นที่บริเวณวัดภูเขาทอง ไว้หนึ่งแปลงขณะนี้ฝ้ายออกดอกและบานแล้ว ให้ผลผลิตได้แล้ว ประกอบกับช่วงนี้ทางใต้เป็นหน้าทอดกฐิน ญาติโยมพุทธบริษัทจากจังหวัดเชียงใหม่กว่า 100 ชีวิต พร้อมด้วยอุปกรณ์ทอผ้า ได้มาปักหลักกันเพื่อทอผ้าเป็นจีวรเพื่อทอดจุลกฐิน โดยช่วงเช้าวันนี้ได้มีพิธีบวงสรวงเจ้าที่ประจำต้นฝ้ายโดยมีการเชิญมโนราห์ มารำถวายเพื่อบวงสรวงในวันนี้ หลังจากบวงสรวงแล้วเสร็จก็จะมีการประกอบพิธีเก็บฝ้ายเมื่อได้ฝ้ายมาแล้ว ขบวนกาคือ ก็จะไปดีดฝ้ายจากเม็ด เพื่อผลิตเป็นเส้นด้าย ต่อจากนั้นก็ผ่านกระบวนการทอผ้าขึ้นมา เป็นผืนผ้าเป็นจีวรเพื่อนำไปย้อมสีเหลือง มีวัตถุดิบที่ใช้เป็นขมิ้น แก่นไม้ขนุน แก่นไม้ฝาง ขั้นตอนทั้งหมดนั้นจะต้องเริ่มจากเก็บดอกฝ้ายจนผลิตผ้าแล้วเสร็จเป็นผืนผ้าให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง โดยเริ่มจากพิธีบวงสรวงช่วงบ่ายวันนี้ และจะต้องทอผ้าไตรจีวรให้แล้วเสร็จ สามารถทอดกฐินได้ในวันพรุ่งนี้ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการทอผ้าการทำการถวายจุลกฐินที่วัดภูเขาทองในครั้งนี้เป็นความร่วมมือของชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เข้ามาร่วมการทอผ้าในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นชัดเจนคือกุศโลบายของบรรพบุรุษการทอดผ้าจุลกฐินคือการสร้างความรักสามัคคีความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ในชุมชนว่ามีความรักสามัคคีกันหรือไม่ ในการที่จะทอผ้าและทอดจุลกฐินให้วัด ในวันนี้จะพบว่าพี่น้องชาวตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เจ้าบ้าน ได้ให้ความร่วมมือต้อนรับช่วยเหลือดูแลพี่น้องจากจังหวัดเชียงใหม่และคณะเป็นอย่างดีในการผลิตผ้าเพื่อทอดในงาน จุลกฐินในครั้งนี้นางพิมพ์ชม มุกแก้วสรวัชร์ เจ้าภาพจุลกฐิน กล่าวว่า เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการทอผ้าจีวรเพื่อทอดเป็นจุลกฐินจากชาวพุทธที่เดินทาสงมาจากจังหวัดเชียงใหม่มาทอดที่วัดภูเขาทอง จังหวัดตรัง คณะจากเชียงใหม่มาด้วยกัน 100กว่าชีวิต ขนอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือเพื่อมาผลิตผ้าจีวรจากต้นฝ้ายในแปลงที่ปลูกในวัดจนผลิตเสร็จและทอดภายใน 24 ชั่วโมง การทอดจุลกฐินได้เป็นมหากุศลอย่างหนึ่งตนเองนั้นร่วมงานกับคณะกลุ่มทอผ้ามาหลายปี ปีนี้เป็นปีแรกที่นำคณะมาทอผ้าและทอดกฐิน หรือจุลกฐินครั้งแรกในจังหวัดบ้านเกิดของตนเองสักครั้ง และเลือกที่จะทอดวัดภูเขาทองแห่งนี้การจะไปทอดจุลกฐินที่ไหน จะต้องมีการวาแผนเพื่อทำการปลูกฝ้ายไว้ล่วงหน้า เมื่อปลุกฝ้ายจะต้องถามเสมอว่าฝ้ายออกดอกแล้วหรือยัง ที่วัดภูเขาทองฝ้ายออกดี แต่ฝนตกชุกในภาคใต้เรา หลักของการทอดจุลกฐินคือ ความรักสามัคคีของคนในชุมชน ต้องทอผ้า ไตรจีวรให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง แล้วนำมาทอดให้กับวัดนั้น ๆ คณะจากจังหวัดเชียงใหม่และคนในชุมชนเชื่อมั่นว่าจะทอผ้าแล้วเสร็จและสามารถทอดได้ในวันพรุ่งนี้ คืนนี้จะต้องไม่นอนทอผ้าให้เสร็จเพื่อทอดกฐินในวันพรุ่งนี้ให้กับวัดภูเขาทองแห่งนี้ >>>>>>>>>>>>>>
ยกคณะจุลกฐิน เชียงใหม่ ทอดที่วัดภูเขาทอง ตรัง
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่วัดภูเขาทอง ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้มีการประกอบพิธีทอผ้าเพื่อทอดจุลกฐิน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทางภาคเหนือมาสู่ที่จังหวัดตรังภาคใของไทย เป็นครั้งแรกการทำผ้าไตรจีวร สำหรับมาทอดที่วัดภูเขาทองในลักษระนี้ ก่อนการทอผ้าจุลกฐินในวันนี้ ได้มีการเตรียมการปลูกฝ้ายในพื้นที่บริเวณวัดภูเขาทอง ไว้หนึ่งแปลงขณะนี้ฝ้ายออกดอกและบานแล้ว ให้ผลผลิตได้แล้ว ประกอบกับช่วงนี้ทางใต้เป็นหน้าทอดกฐิน ญาติโยมพุทธบริษัทจากจังหวัดเชียงใหม่กว่า 100 ชีวิต พร้อมด้วยอุปกรณ์ทอผ้า ได้มาปักหลักกันเพื่อทอผ้าเป็นจีวรเพื่อทอดจุลกฐิน โดยช่วงเช้าวันนี้ได้มีพิธีบวงสรวงเจ้าที่ประจำต้นฝ้ายโดยมีการเชิญมโนราห์ มารำถวายเพื่อบวงสรวงในวันนี้
หลังจากบวงสรวงแล้วเสร็จก็จะมีการประกอบพิธีเก็บฝ้ายเมื่อได้ฝ้ายมาแล้ว ขบวนกาคือ ก็จะไปดีดฝ้ายจากเม็ด เพื่อผลิตเป็นเส้นด้าย ต่อจากนั้นก็ผ่านกระบวนการทอผ้าขึ้นมา เป็นผืนผ้าเป็นจีวรเพื่อนำไปย้อมสีเหลือง มีวัตถุดิบที่ใช้เป็นขมิ้น แก่นไม้ขนุน แก่นไม้ฝาง ขั้นตอนทั้งหมดนั้นจะต้องเริ่มจากเก็บดอกฝ้ายจนผลิตผ้าแล้วเสร็จเป็นผืนผ้าให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง โดยเริ่มจากพิธีบวงสรวงช่วงบ่ายวันนี้ และจะต้องทอผ้าไตรจีวรให้แล้วเสร็จ สามารถทอดกฐินได้ในวันพรุ่งนี้
การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการทอผ้าการทำการถวายจุลกฐินที่วัดภูเขาทองในครั้งนี้เป็นความร่วมมือของชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เข้ามาร่วมการทอผ้าในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นชัดเจนคือกุศโลบายของบรรพบุรุษการทอดผ้าจุลกฐินคือการสร้างความรักสามัคคีความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ในชุมชนว่ามีความรักสามัคคีกันหรือไม่ ในการที่จะทอผ้าและทอดจุลกฐินให้วัด ในวันนี้จะพบว่าพี่น้องชาวตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เจ้าบ้าน ได้ให้ความร่วมมือต้อนรับช่วยเหลือดูแลพี่น้องจากจังหวัดเชียงใหม่และคณะเป็นอย่างดีในการผลิตผ้าเพื่อทอดในงาน จุลกฐินในครั้งนี้
นางพิมพ์ชม มุกแก้วสรวัชร์ เจ้าภาพจุลกฐิน กล่าวว่า เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการทอผ้าจีวรเพื่อทอดเป็นจุลกฐินจากชาวพุทธที่เดินทาสงมาจากจังหวัดเชียงใหม่มาทอดที่วัดภูเขาทอง จังหวัดตรัง คณะจากเชียงใหม่มาด้วยกัน 100กว่าชีวิต ขนอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือเพื่อมาผลิตผ้าจีวรจากต้นฝ้ายในแปลงที่ปลูกในวัดจนผลิตเสร็จและทอดภายใน 24 ชั่วโมง การทอดจุลกฐินได้เป็นมหากุศลอย่างหนึ่ง
ตนเองนั้นร่วมงานกับคณะกลุ่มทอผ้ามาหลายปี ปีนี้เป็นปีแรกที่นำคณะมาทอผ้าและทอดกฐิน หรือจุลกฐินครั้งแรกในจังหวัดบ้านเกิดของตนเองสักครั้ง และเลือกที่จะทอดวัดภูเขาทองแห่งนี้
การจะไปทอดจุลกฐินที่ไหน จะต้องมีการวา
แผนเพื่อทำการปลูกฝ้ายไว้ล่วงหน้า เมื่อปลุกฝ้ายจะต้องถามเสมอว่าฝ้ายออกดอกแล้วหรือยัง ที่วัดภูเขาทองฝ้ายออกดี แต่ฝนตกชุกในภาคใต้เรา หลักของการทอดจุลกฐินคือ ความรักสามัคคีของคนในชุมชน ต้องทอผ้า ไตรจีวรให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง แล้วนำมาทอดให้กับวัดนั้น ๆ คณะจากจังหวัดเชียงใหม่และคนในชุมชนเชื่อมั่นว่าจะทอผ้าแล้วเสร็จและสามารถทอดได้ในวันพรุ่งนี้ คืนนี้จะต้องไม่นอนทอผ้าให้เสร็จเพื่อทอดกฐินในวันพรุ่งนี้ให้กับวัดภูเขาทองแห่งนี้
>>>>>>>>>>>>>>