อาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 เม.ย. 2022
  • 🤱 “ภาวะตัวเหลือง” เป็นภาวะปกติที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบมากในทารกหลังคลอดถึง 70% ซึ่งอาการตัวเหลืองมักเป็นในวันที่ 2-3 และส่วนใหญ่จะหายได้เองไม่เกิน 3 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าระดับสารเหลืองมากกว่าปกติอาจทำอันตรายต่อสมองของทารกได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตลูกน้อย 👀 หากลูกมีอาการตัวเหลืองผิดปกติ ควรรีบพาลูกน้อยกลับไปปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการตรวจรักษาที่เหมาะสม 👨⚕️ ส่วนสาเหตุของอาการตัวเหลือง วิธีการสังเกต และวิธีการรักษาจะเป็นอย่างไร ไปดูรายละเอียดสาระความรู้ดีๆ จากนพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล กุมารแพทย์ด้านทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนครธน กันได้เลยค่ะ 👇
    🔸 ทารกตัวเหลืองมีลักษณะอย่างไร 🔸
    🔻 อาการตัวเหลืองของทารก คือ ภาวะที่ทารกมีผิวหนังและตาขาว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เกิดจากการที่มีการสะสมของของสารเหลืองในร่างกายมากกว่าปกติ ซึ่งสารเหลืองที่ว่านี้ปกติแล้วคือของเสียอย่างหนึ่งในร่างกาย อยู่ในเม็ดเลือดแดง เวลาที่เม็ดเลือดแดงสลายตัวก็จะมีการปล่อยสารเหลืองออกมาในกระแสเลือด ส่วน “ตับ” จะเป็นอวัยวะที่ช่วยในการกำจัดสารเหลืองนี้ โดยขับออกมาทางลำไส้ ผ่านออกมากับอุจจาระ
    --------------------------------------
    🔸 สาเหตุของอาการตัวเหลืองในทารก 🔸
    🔻 1. ทารกจะมีเม็ดเลือดแดงปริมาณมากกว่าผู้ใหญ่ : เพราะฉะนั้นเวลาเม็ดเลือดแดงมีการแตกสลาย ก็จะมีปริมาณสารเหลืองมากกว่าผู้ใหญ่
    🔻 2. ตับของทารกยังทำงานไม่เต็มที่ : ทารกแรกเกิด ใน 1 เดือนแรก ตับจะยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์มาก เพราะฉะนั้นการกำจัดสารเหลืองออกจากร่างกายจึงทำได้น้อย ทำให้ทารกจะมีอาการตัวเหลืองได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่
    🔻 3. ทารกยังปรับตัวได้ไม่ดี ติดหลับ : ใน 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกส่วนใหญ่จะยังปรับตัวได้ไม่ดี ทำให้ดูดนมได้น้อย ส่วนใหญ่จะหลับทั้งวัน พอกินนมได้น้อยลง อุจจาระได้น้อยลง ก็จะทำให้ตัวเหลืองมากขึ้น
    --------------------------------------
    🔸 วิธีการรักษาอาการตัวเหลืองในทารก 🔸
    การรักษาอาการตัวเหลืองขึ้นอยู่กับว่ามีอาการเหลืองมากหรือเหลืองน้อย โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
    🔻 1. ให้ลูกกินนม และขับถ่ายเยอะๆ : ถ้ามีอาการตัวเหลืองน้อย อาจจะลงปลุกลูกให้บ่อยขึ้น ถี่ขึ้น กินนมให้มากขึ้น ถ้าปกติดูดนมวันละ 8 รอบ ก็อาจจะเพิ่มเป็น 12 รอบต่อวัน ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง หรือทุกๆ 3 ชั่วโมง อย่าปล่อยให้ลูกหลับนานเกิน 3 ชั่วโมง สาเหตุที่ให้ลูกกินนมบ่อยๆ ก็เพื่อที่จะได้ขับถ่ายอุจจาระได้มากขึ้น ขับสารเหลืองได้มากขึ้นนั่นเอง
    🔻 2. การรักษาโดยการส่องไฟ : ถ้าปริมาณสารเหลืองมากขึ้น ก็อาจจะพามาพบแพทย์ แล้วจึงรักษาโดยการใช้คลื่นแสงสีฟ้า เป็นตัวจับ ทำให้สารเหลืองสามารถขับออกมาได้มากขึ้น
    🔻 3. การถ่ายเปลี่ยนเลือด : จะใช้ในกรณีที่ปริมาณสารเหลืองมากเกินไป อยู่ในระดับวิกฤติ ซึ่งการที่สารเหลืองมีปริมาณมากเกินไป จะส่งผลอันตรายต่อเด็กได้ ทำให้เด็กซึม ชัก หรือสมองพิการได้ ดังนั้นจึงต้องถ่ายเปลี่ยนเลือด เพื่อลดระดับสารเหลืองให้เร็วที่สุด เพื่อลดอันตรายต่อสมองของเด็ก
    --------------------------------------
    🔸 การกินน้ำเยอะๆ ตากแดด ช่วยรักษาตัวเหลืองได้ไหม 🔸
    🔻 การกินน้ำไม่เกิดประโยชน์ เพราะในนมมีน้ำเป็นองค์ประกอบเยอะอยู่แล้ว ในทางกลับกัน การให้ลูกกินน้ำเยอะๆ อาจทำให้เกิดโทษ เพราะไปแย่งพื้นที่กระเพาะ ทำให้เด็กอิ่มน้ำแทนที่จะกินนม ทำให้ลูกกินนมได้น้อยลง ถ่ายได้น้อยลง ทำให้อาการตัวเหลืองเป็นมากขึ้น การที่เราให้ลูกกินนมเยอะๆ ก็เพื่อที่จะให้เด็กถ่ายอุจจาระ ขับสารเหลืองออกมา
    🔻 ส่วนการตากแดดก็ไม่ช่วย เพราะคลื่นแสงที่ใช้ในการรักษาตัวเหลือง คือ คลื่นแสงสีฟ้าเท่านั้น ซึ่งในแสงแดดก็มีคลื่นแสงสีฟ้าอยู่ แต่มีในปริมาณน้อย การไปตากแดดกลับยิ่งทำให้เด็กได้รับคลื่นความร้อน ได้รับรังสี UV กับทำให้ผิวหนังไหม้หรือสูญเสียน้ำทางผิวหนังได้ ทำให้เด็กขาดน้ำได้
    --------------------------------------
    🔸 คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 🔸
    🔻 หลักการคร่าวๆ ในการสังเกตอาการเด็กตัวเหลืองที่บ้านสำหรับคุณพ่อคุณแม่ คือ ในสัปดาห์แรกหลังคลอดที่ลูกกลับถึงบ้าน ถ้าผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไม่มาก เหลืองจากบนลงล่าง เหลืองจากใบหน้าถึงแค่ระดับหน้าอกส่วนบน ถือว่ายังปกติ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยลูกในการขับสารเหลืองได้ โดยการปลุกลูกกินนมบ่อยๆ อาจจะเป็นทุก 1-2 ชั่วโมง แล้วก็คอยนับจำนวนอุจจาระ ปัสสาวะ ว่าลูกกินนมพอหรือไม่
    🔻 จำนวนอุจจาระควรเกิน 3 ครั้งต่อวัน หรือปัสสาวะให้เกิน 6 ครั้งต่อวัน ถ้าอุจจาระน้อย ปัสสาวะน้อยกว่านี้ อาจจะต้องปลุกลูกดูดนมให้บ่อยขึ้น ถี่ขึ้น เพื่อขับสารเหลืองออกมาได้มากขึ้น แต่ถ้าสังเกตแล้วผิวหนังลูกเหลืองมากขึ้น จากหน้าอกลงมาประมาณท้องหรือสะดือ แปลว่าเหลืองมากแล้ว ควรรีบพาลูกมาพบแพทย์ เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
    --------------------------------------
    ปรึกษากุมารแพทย์ด้านทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนครธน
    นพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล (bit.ly/3KgX7VE)
    --------------------------------------
    📞 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สุขภาพเด็ก ชั้น 2 โรงพยาบาลนครธน โทร. 0-2450-9999 ต่อ 1132-1133 (bit.ly/3kBeCDa)
    📢 หากไม่อยากพลาดข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อย่าลืมกด ติดตาม' และ 'กดกระดิ่ง' 🔔 ด้วยนะคะ ^^
    📢 หรือติดตามสาระความรู้เรื่องสุขภาพจากโรงพยาบาลนครธน ในช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
    👉 Facebook : / nakornthon
    👉 Line@ : goo.gl/rbuBMq
    👉 Website : www.nakornthon.com/
    👉 IG : / nakornthon
    #Nakornthon #เด็กตัวเหลือง #ภาวะตัวเหลือง #ทารกตัวเหลือง #ตัวเหลือง

ความคิดเห็น • 9

  • @namjung2375
    @namjung2375 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณความรู้ดีๆที่บอกกล่าวครับ

  • @anouchang
    @anouchang 9 หลายเดือนก่อน

    คุญหม่อครับฉันอยู่ไปเทดลาว ลูกของหนูเลึอดไม่ถุกกับหนูตวเหลือง คุณหม่อเขาบอกว่าเลึอดน้องต่ำมากให้ใส่เลึอด ตอนนี้น้องเขาได้3ปีแล้วน้องเขาเดีนไม่ได้เลยเป็นเพาะอะไรหรอ

  • @user-tw2pe1ss3p
    @user-tw2pe1ss3p 8 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณครับ

  • @GKk-ie2lm
    @GKk-ie2lm ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณ คุณหมอมากครับ

  • @user-lw5tx8hy4x
    @user-lw5tx8hy4x ปีที่แล้ว +1

    ขออนุญาตนะคะพอดีคลอดน้องได้ 2 วันหมอมาเจาะเลือดตรวจดูค่าเหลืองหมอบอกว่าอยู่ที่ประมาณ 9อันตรายมากไหมคะ

  • @user-tx2dz1nu6x
    @user-tx2dz1nu6x ปีที่แล้ว

    มีประโยชน์มากคะ

  • @yu-tu4eu
    @yu-tu4eu ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคุณหมอมากคะตอนนี้หลานคลอดได้6วันไปเจาะเลือดหมอให้นอนโรงบาลหมอบอกต้องเจาะเลือดเด็กทุกวัน แบบนี้ถูกต้องไหมคะสงสารเด็กจังคะ

  • @likgo23ssv70
    @likgo23ssv70 9 หลายเดือนก่อน

    รักสาใด้ใม่หม่อเดักอายุ5เดื่อน

  • @vivoy9431
    @vivoy9431 2 ปีที่แล้ว +1

    หมอค่ะ มีคนบอกว่านมเเพะจะช่วยรักษาตัวเหลืองจริงไหมคะ