อุทยานดอกไม้ ขิม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ย. 2020
  • ทำนองเพลงนี้ ครูชูศักดิ์ รัศมีโรจน์ดัดแปลงจากทำนองเพลงไทยเดิม"แขกหนัง" ที่มีความไพเราะอ่อนหวานอยู่แล้ว เมื่อมาประกอบเข้ากับคำร้องที่มีภาษางดงาม บรรยายถึงพรรณไม้ต่าง ๆ ด้วยสัมผัสที่สละสลวย ยิ่งทำให้เพลงนี้ไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น เล่ากันว่าครูสกนธ์ มิตรานนท์แต่งเพลงนี้ให้กับคนรักของท่านที่ชื่อ"อุบล" ซึ่งต่อมาก็คือภรรยาของท่านนั่นเอง
    นับเป็นความมหัศจรรย์คำร้องของเพลงเพลงเดียว ที่ชื่อของดอกไม้นานาพันธุ์ได้ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นเนื้อร้องในเพลงเดียวได้อย่างงดงามสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งคำร้องและทำนองของนักแต่งเพลงคู่ขวัญ คือ สกนธ์ มิตรานนท์ และ ชูศักดิ์ รัศมีโรจน์ เพลงนี้ดังมากจนมีเพลง “อุทยานผลไม้” และ “อุทยานผี” ขึ้นล้อเลียน
    เป็นเพลงที่มีประวัติในการนำมาเป็นโจทย์เพื่อการตั้งปัญหาเพลงให้ผู้ฟังร่วมสนุกในรายการวิทยุต่าง ๆ มากที่สุดเพลงหนึ่ง กับคำถามคำเดียวกันที่ว่า “มีดอกไม้รวมกี่ชนิดในเพลงนี้” คำตอบที่ถูกต้องมีสองคำตอบคือ ๔๙ ชนิด และ ๔๘ ชนิด
    นั่นคือคำตอบที่ว่า ๔๙ ชนิด นั้น ไม่ได้รวม “ผกา” จากชื่อเต็มว่า “ผกากรอง” เอาไว้ด้วย ส่วนคำตอบว่า “๔๘ ชนิด” ไม่ได้รวม “ผกา” ไว้ เพราะถือว่าคำว่า “ชมผกา” ในตอนต้นเพลงนั้นมีความหมายสมบูรณ์อยู่แล้ว คือ “ชมดอกไม้” (ผกา แปลว่า ดอกไม้) ไม่มีเหตุผลใดที่ผู้ประพันธ์เนื้อร้องจะตัดทอนชื่อ “ผกากรอง” มาใส่ไว้ในเพลง ฉะนั้นคำว่า “ผกา” ในบทเพลงนี้จึงไม่ใช้ชื่อพรรณไม้
    ข้อมูลจาก
    youtube.com saisampan.net
    นสพ.แทบลอยด์ไทยโพสต์ ๒๑-๒๗ เมย. ๒๕๖๒
    #ขิมบรรเลง #เพลงอุทยานดอกไม้#ครูต่อ

ความคิดเห็น •