สารให้ความหวานเทียมอันตรายกว่าน้ำตาลหรือไม่

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 5 ธ.ค. 2022
  • สามารถไปอ่านงานวิจัยที่สรุปเรื่องนี้ได้ที่นี่ครับ
    www.frontiersin.org/articles/...
    สิ่งที่ยังสรุปไม่ได้จากงานวิจัย แต่ "อาจจะ" เป็นไปได้ของสารให้ความหวานเทียมคือ ผลต่อระบบหัวใจหลอดเลือด ความจำเสื่อม มะเร็ง สามารถตามไปอ่านงานเหล่านี้ได้ที่นี่ครับ ปล งานเหล่านี้ไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสรุปเป็นแบบที่งานเขาสรุปนะครับ เพราะมันไม่ใช่ Prospective trial เหมือนที่ผมอธิบายรายละเอียดในคลิปครับ
    1) www.bmj.com/content/378/bmj-2...
    2) www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    3) journals.plos.org/plosmedicin...

ความคิดเห็น • 504

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +114

    สารให้ความหวานเทียมอันตรายกว่าน้ำตาลหรือไม่ #น้ำตาลเทียม #artificialsweeteners
    สรุปว่า Artificial sweeteners ปลอดภัยกว่าน้ำตาลปกติ และข้อมูลที่ว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆนั้นยังไม่ชัดเจน ยังถือว่าสามารถบริโภคได้หากไม่มากจนเกินไป
    เราทราบแล้วว่าน้ำตาลมีปัญหากับร่างกายค่อนข้างเยอะ จึงมีการนำน้ำตาลเทียมมาใช้ น้ำตาลเทียมแบ่งเป็นหลักๆ ได้ 2 แบบคือ
    1. ให้พลังงานได้ เรียกว่า sugar alcohol เป็นแอลกอฮอล์(ไม่ใช่เหล้า) บวกกับน้ำตาล เป็นสารที่ให้ความหวานได้ที่ให้พลังงานต่ำกว่าน้ำตาลทั่วๆไป เข่น Xylitol (ที่เราเห็นใส่ในหมากฝรั่ง) จะช่วยลดแบคทีเรีย และ ช่วยลดความเป็นกรด ในช่องปาก ทำให้ฟันไม่ผุ , Sorbitol, Erythritol, Mannitol (หรือที่ลงท้ายด้วย tol มักจะเป็นน้ำตาลที่มีแอลกอฮอล์) ยังสามารถให้พลังงานกับร่างกายได้
    ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +13

      2. ไม่ให้พลังงาน หรือให้น้อยมากจนเราไม่จำเป็นต้องนับ เรียกว่า Artificial sweeteners เช่น Aspartame (ในน้ำอัดลมมี Aspartame เป็นหลัก), Stevia (หญ้าหวาน) ชื่อเต็มคือ Stevioside, Advantame, Neotame, Acesulfame, Sucralose, Saccharin
      ตัว Receptor ไม่จำเป็นต้องจับความหวานจากน้ำตาลเพียงอย่างเดียว สามารถจับได้จากสารให้ความหวานเทียมได้ โดยจะไปกระตุ้นร่างกายให้หลั่งอินซูลินได้
      วิธีการหลั่งอินซูลินจะมี 2 Phase คือ
      - Cephalic phase คือน้ำตาลไปจับกับตัวรับไม่ว่าจะเป็น ลิ้น ปากหรือทางเดินอาหารส่วนต้น แล้วทำให้เราหลั่งอินซูลินออกมา (หลั่งเพียงเล็กน้อย ในขณะที่รอสักพัก น้ำตาลจะดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงขึ้น ทำให้กระตุ้นอินซูลินให้ออกมามากกว่าเดิม
      ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +10

      แต่น้ำตาลเทียมไม่ได้ทำให้น้ำตาลในร่างกายสูง ดังนั้นอินซูลินจึงหลั่งเพียง phase เดียว คือ Cephalic phase
      แต่ในงานวิจัยยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะในบางงานวิจัยพบว่าสามารถกระตุ้นอินซูลิน Blood phaseได้ แต่ในบางงานวิจัยไม่พบว่ากระตุ้นเลย
      ตรงนี้มีความสำคัญเพราะ หากมีการกระตุ้นอินซูลินออกมาเรื่อยๆ มีความเชื่อว่ามีเหตุผลที่ทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ด้วยเหตุผลเดียวกับที่เรากินน้ำตาลเข้าไปมากๆ แล้วทำให้หลั่งอินซูลินบ่อยเกินไป
      แต่ในทางทฤษฎีไม่น่าจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ ที่สำคัญงานวิจัยขัดกันเยอะอยู่ และทำให้ระยะเวลาไม่มาก (ไม่กี่เดือน) หรือ เป็นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลย้อนหลัง แล้วดูคนที่กินสารให้ความหวาน แต่งานวิจัยแบบนี้ไม่สามารถกำหนดได้ว่าเขากินจริงๆหรือเปล่า ไม่สามารถตรวจสอบได้
      ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +1

      สารให้ความหวานบางตัว เช่น Aspartame, Acesulfame สามารถดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดได้โดยตรง จึงมีความคิดว่าถ้าไปจับกับตัวรับ เช่น ตัวรับชนิดเดียวกับทางเดินอาหาร มีอยู่ที่ตับอ่อน เนื้อเยื่อไขมัน ในคนที่เป็นเบาหวาน หรือ คนที่มีภาวะดื้ออินซูลิน จะมีปัญหา หรือ คนที่รับประทานของหวานที่เป็นน้ำตาลมากๆ จะไปส่งผลต่อระบบไขมันต่างๆ ทำให้เกิดไขมันสะสมได้ ตรงนี้เป็นเพียงทฤษฏี แต่ในทางปฏิบัติยังไม่พบว่ามี
      บางอย่างดูดซึมหมด บางอย่างดูดซึมไม่หมด ส่วนที่เหลือก็ส่งไปจนถึงลำไส้ใหญ่ ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรีย ที่เป็น Gut biomicrome ถ้าน้ำตาลเทียมลงไปถึงลำไส้ใหญ่ บางตัวใช้ได้ บางตัวใช้ไม่ได้ ทำให้มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียไม่สมดุล หรือเรียกว่า Dysbiosis ทำให้ผลิตสารผิดปกติแล้วนำไปสู่โรคต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นท้อง หรือ การอักเสบต่างๆ ซึ่งมีคนเชื่อว่า การอักเสบเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองได้ หรือบางคนจะนำไปสู่ เบาหวาน โรคอ้วน แก่ก่อนวัย แต่ทั้งหมดเป็นข้อสันนิษฐาน ไม่สามารถพิสูจน์ได้
      ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +9

      แต่เรารู้ว่าสารให้ความหวานสามารถทำให้เกิด Dysbiosis ได้ เช่น Acesulfame สามารถดูดซึมได้ 100% ดังนั้นจึงไม่เหลือลงไปถึงลำไส้ใหญ๋ ทำให้ไม่สามารถทำให้เกิด Dysbiosis ได้ แต่พวกหญ้าหวาน อาจมีส่วนที่ไปถึงข้างล่างได้ ดังนั้น ไม่ใช่ทุกตัวที่สามารถเป็นแบบนี้ได้
      - Blood phase เมื่อกินน้ำตาลเข้าไป น้ำตาลเข้าไปในเส้นเลือดแล้ว ร่างกายจะหลั่ง อินซูลินขึ้นมาใน phase นี้มากมายกว่า cephalic phase เป็นร้อยเท่า
      มีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อเรากินสารให้ความหวานไปแล้วจะทำให้ร่างกายเราไปหาความหวานอย่างอื่นเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือเรียกว่า Reward theory หรือ ทฤษฎีการให้รางวัลตัวเอง เช่น เวลาที่เรากินอาหารที่มีน้ำตาลแล้ว รู้สึกสมองปลอดโปร่ง มีพลัง คิดอะไรก็ออก เพราะสมองเราใช้น้ำตาล มีงานวิจัยที่กล่าวถึงเรื่องนี้ สามารถดูได้ในลิงค์ใต้คลิป พบว่าเวลาที่เรากินเข้าไปแล้ว Reward ต่ำลง จะรู้สึกว่าไม่สุดเหมือนกินของหวานธรรมดา แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเรามีพฤติกรรมที่กินอย่างอื่นที่หวานเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เพิ่มเแคลอรี่เข้าไป
      ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +9

      และมีงานวิจัยว่าที่เราให้กินสารให้ความหวาน แล้วทำให้เราอยากกินอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล เพราะบางคนกินแล้วรู้สึกไม่เต็มที่ไม่พอใจ จึงอาจไปกินอาหารหวานแบบเดิมและกินมากกว่าเดิม โดยรวมแล้วเรายังไม่พบว่าเป็นแบบนั้นได้ พบแต่ทางทฤษฎี แต่ทฤษฎีนั้นมีที่มาและหลักฐานว่ามีส่วนบ้างในทฤษฎี Reward
      มีหลักฐานที่อ่อนมากว่า Aspartame จะทำให้เป็นอัลไซเมอร์ ทำให้เป็นเบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เป็นมะเร็ง สามารถอ่านงานวิจัยได้ในลิงค์ใต้คลิป จากที่คุณหมอดูงานวิจัยมาพบว่าเป็นงานวิจัยที่มองย้อนไปในอดีต แล้วถามคนแต่ละกลุ่มว่าคนแต่ละคนให้ข้อมูลอย่างไรบ้าง จะให้ข้อมูลจริงหรือไม่ก็ไม่สามารถบอกได้ และมีตัวแปรหลายๆตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าอ้วนเท่าไหร่ กินอย่างไร แคลอรี่เท่าไหร่ ออกกำลังหรือไม่
      ตอนที่6

  • @dreamife808
    @dreamife808 ปีที่แล้ว +50

    กินอะไรก็ได้ ไม่มากไม่น้อยเกิน น้ำตาลปกติ ถ้ากินในปริมาณที่ไม่มากเกินมันก็มีประโยชน์ แต่ที่มีโทษคือกินมากเกินไป สารให้ความหวานเทียม ตอนนี้ไม่รู้อย่างไง แต่ก็ไม่ควรจะกินมากเกินไป เอาจริง ๆ คือเราก็ควรลดการกินหวานลงให้มันเหมาะสม

    • @suchai5328
      @suchai5328 ปีที่แล้ว +3

      พูดถูกต้องครับ ผมเห็นด้วย ขอบคุณครับ

    • @bankberserk3572
      @bankberserk3572 ปีที่แล้ว +1

      ปกติเวลากิน คนมักไม่รู้ว่ามากหรือน้อยครับ

    • @Amphioxus2010
      @Amphioxus2010 ปีที่แล้ว +2

      น้ำตาลปกติเราได้จากแป้งอยู่แล้วครับ การกินน้ำหวานที่ใส่น้ำตาลถือว่ากินน้ำตาลเยอะเกินไป

  • @boonyarithdumrongpalasith5501
    @boonyarithdumrongpalasith5501 ปีที่แล้ว +1

    ชัดเจนครับคุณหมอ ฟังเข้าใจง่ายครับ

  • @gaewaleegaewalee7941
    @gaewaleegaewalee7941 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ🙏

  • @theurk3325
    @theurk3325 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับคุณหมอ 🙏🏻🙏🏻
    ตอบคำถามคาใจผมได้หลายอย่างเลย

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏🙏👍👍👍👍👍

  • @jiddey
    @jiddey ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับหมอ
    เอาให้เคลียร์ทุกประเด็นไปเลย

  • @tyk3086
    @tyk3086 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะคุณหมอ ชอบทุกคริปที่นำความรู้มาให้

  • @kridsana22able
    @kridsana22able ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณ​มาก​ครับ​

  • @suwannamongkoladisai3118
    @suwannamongkoladisai3118 ปีที่แล้ว

    ชอบท่ีมีแบบสรุปด้วยค่าคุณหมอ🎉🎉🎉

  • @__Nie__
    @__Nie__ ปีที่แล้ว +1

    กำลังหาข้อมูล​เรื่องนี้อยู่เลยค่ะ ขอบคุณ​ค่ะคุณหมอ 😆😊

  • @WD_MyImage
    @WD_MyImage ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับคุณหมอ กำลังอยากรู้เรื่องนี่เลยครับ

  • @krongkaewarunsiri8866
    @krongkaewarunsiri8866 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณค่ะอนุโมทนาสาธุค่ะ🙏❤️

  • @user-tb6fx1mj2r
    @user-tb6fx1mj2r ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณมากๆค่ะ คุณหมอ ที่ให้ความรู้ในการดำรงค์ชีวิต

  • @Kittiya.B
    @Kittiya.B ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ เป็นประโยชน์มากค่ะ

  • @dttd6340
    @dttd6340 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ อ.
    .. กำลังอยากรู้เลยครับ

  • @Nonglek265
    @Nonglek265 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ สงสัยมานานแล้ว

  • @user-kq3zh2rb4i
    @user-kq3zh2rb4i ปีที่แล้ว

    ชอบที่คุณหมอสรุปแต่แรกให้ฟัง สำหรับผู้ที่ไม่อยากฟังนาน ค่ะ ข้อมูลมีประโยชน์มากๆ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ

  • @bcggccgh8063
    @bcggccgh8063 10 หลายเดือนก่อน +1

    รักคุณหมอเลย ขอบคุณครับ

  • @user-nl3do1vr2n
    @user-nl3do1vr2n ปีที่แล้ว

    🍀ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากค่ะ ขอบให้อ.หมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ🍀

  • @user-xo5lc7sr5b
    @user-xo5lc7sr5b ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีครับ คุณหมอ
    ฟังเพลินทุกคริปเลยครับ
    😊🦉🐜

  • @akkapongsungkajuntra7828
    @akkapongsungkajuntra7828 ปีที่แล้ว +1

    ฟังทุกวันเลยได้ความรู้...

  • @wanidayarnruksa5554
    @wanidayarnruksa5554 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณมากค่ะ ทุกอย่างที่คุณหมอบอกมี งานวิจัยมารองรับ ได้ความรู้เพิ่มเติม เป็นประโยชน์มาก ค่ะ

  • @nutthathaparnthong6888
    @nutthathaparnthong6888 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากค่ะ❤️🙏

  • @wanichadisharoon5166
    @wanichadisharoon5166 ปีที่แล้ว

    ว้าว! สาระนี้ดิฉันก็อยากรู้มานานแล้วเหมือนกันค่ะ ดีใจจังเลยที่คุณหมอเอามาบรรยาย!ขอบคุณมากค่ะ❤

  • @PlumeSkoii
    @PlumeSkoii ปีที่แล้ว +6

    ส่วนตัวแล้ว 'สุขภาพ' ต้องมาพร้อมกับ 'ความอร่อย' .. อาหาร/เครื่องดื่มบางอย่าง สารให้ความหวานมันก็แทนน้ำตาลไม่ได้จริงๆ รสชาติผิดเพี้ยนไปหมด ฟีลลิ่ง อิ๊วว มากๆ ยิ่งถ้าคนที่ต่อมรับรสไวจะรู้เลย เช่น สารพวกหญ้าหวาน ส่วนตัวทานแล้วรู้สึกหวานกว่าน้ำตาล แถมหวานคาปากลิ้นชาอยู่อย่างนั้นเป็นหลายชั่วโมง กินก็ไม่สุด จะหยุดก็เสียดาย เผลอๆพอไม่อร่อยก็ไปหาอย่างอื่นกินชดเป็นการเพิ่มแคลเพิ่มไปอีก (แถมสมองก็จะรวนไปเลยเพราะมันหวานติดลิ้น) น้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาลบางยี่ห้อก็เช่นกัน สรุป อะไรอร่อยดีบุ๋มก็ว่าดี หากกินอย่างพอดี ถูกสุขลักษณะ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย นอนให้พอ ฝึกจิตให้เป็น ใช้ชีวิตให้ไม่ประมาท ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะหอมหวานโดยไม่ต้องพึ่งน้ำตาลหรือสารให้ความหวานใดๆเลย

  • @nuchareekul7910
    @nuchareekul7910 ปีที่แล้ว +4

    กำลังอยากฟังเรื่องนี้เลยค่ะ ตรงใจมากๆ

  • @likhitpayakkha4968
    @likhitpayakkha4968 ปีที่แล้ว +3

    ชอบตรงสรุปครับ ถ้าเวลาฟังน้อย ก็ปังเลยครับ
    ขอบคุณครับอาจารย์

  • @wachiras2684
    @wachiras2684 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะคุณหมอ พอดี ใช้หญ้าหวานอยู่ค่ะ แต่ใช้น้อยค่ะ

  • @gunkondon136
    @gunkondon136 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดี​ค่ะ​คุณหมอ​ เข้ามารายงานตัว​ ติดตามตลอดค่ะ

  • @sangthailofthouse2511
    @sangthailofthouse2511 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณความรู้ที่คุณหมอ แนะนำค่ะ...พอฟังคุณหมอแล้ว.. ..เริ่มกลัว ..แต่ไม่เลิกกิน..ขนมเค้ก..และอื่น ๆ ...แต่คงต้องหวานน้อยลงค่ะ...ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ..

  • @kritsanaphatpornsuwan3563
    @kritsanaphatpornsuwan3563 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ😍😍😍😍

  • @Sstnwn
    @Sstnwn ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอที่คอยมาให้ความรู้ในหลายๆเรื่องเลยค่ะ เป็นความรู้ประดับสมองมาก

  • @kanokpornmartinez9609
    @kanokpornmartinez9609 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ กินบ้าง แต่ไม่บ่อย จ้า

  • @brisha.j
    @brisha.j ปีที่แล้ว +1

    Thank you for this video really helpful and informative I used to curious about the side effects of it now I know 😊

  • @ICEWRSR
    @ICEWRSR ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจในปัจจุบันจริงๆค่ะ หลายคนก็กำลังกังวลเพราะเครื่องดื่มยุคใหม่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเยอะเลยค่ะ เห็นเครื่องหมายทางเลือกสุขภาพนี่ก็คว้าลงตะกร้ามาเลยเหมือนกัน

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีคะ ขอบคุณมากๆคะคุณหมอที่มาให้ความรู้เรื่องสารให้ความหวานเทียมได้ความรู้ดีดมีประโยขน์มากคะ ตาก็ทานหญ้าหวานแทนน้ำตาลคะ 👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🌹🇹🇭😷🌹❤️

  • @AdinatinGmail
    @AdinatinGmail ปีที่แล้ว +1

    ไม่เป็นความดันทั้งต่ำและสูง สุขภาพทั่วไปแข็งแรงมากค่ะ เคยใช้หญ้าหวานแล้วความดันตกอย่างชัดเจนค่ะ

  • @ALL86898
    @ALL86898 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ วันนี้ตื่นสายเลยเมื่อคืนสามทุ่มฟังคุณหมอจนจบขอบคุณมากๆค่ะ คุณหมอพูดคล่องเข้าใจง่ายนะคะ มีคนเข้าไปฟังประมาณสองร้อยกว่าคน เวลา1ช.มน้อยไปนะคะ มีคนขอให้ต่อ.เวลานั่นคือยังเข้ามาฟังกันอีกถ้าเวลามากขึ้น อย่างไรก็ดีใจค่ะที่วันนี้ตั้งใจรอฟังและได้ฟังจนจบเลยค่ะ😊👍👏⚘️❤️

  • @salfaria
    @salfaria ปีที่แล้ว

    ความรู้ล้วนๆ ขอบคุณมากๆครับ ผมใช้ Sucralose + Erythriol อยู่ครับ สงสัยมานานแล้วว่า ทำไมถึงมีท้องเสีย แต่ทำไมเวลาเปลี่ยนไปใช้ Stevia + Erythriol จะไม่มีปัญหาท้องเสียเลย แรกๆไม่เข้าใจครับ แต่ตอนนี้เข้าใจเลย ขอบคุณมากๆนะครับ

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ จากที่ฟังคุณหมออธิบายหลายๆเรื่องมักจะเน้นย้ำให้เดินสายกลางดีที่สุด เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะแม้กระทั่งความสุขมีมากไปก็ไม่ดีทำให้เราลืมตัวใช้ชีวิตแบบไม่ระมัดระวังนะคะ ขอบคุณที่ให้ความรู้ดีๆค่ะ

  • @user-bq2xv9bg6z
    @user-bq2xv9bg6z ปีที่แล้ว +10

    ถูกใจคลิ๊ปนี้ครับผม คุณหมอสรุปฟันธงตอนแรกเลย ฟังรายละเอียดต่อไปจะไม่เครียด บางครั้งไม่มีความรู้ทางด้านนี้ฟังไปบางทีเครียดทั้งทำความเข้าใจทุกคำพูด บางทีต้องสรุปเองไม่รู้ถูกผิด ตินนี้ไม่เครียดและฟังสบายๆ

  • @amybusakorn2750
    @amybusakorn2750 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์ อธิบายได้ละเอียดมากๆค่ะ ไม่เขียนยาวไปก่อกวนแล้วค่ะ ขอโทษอีกครั้งนะค่ะ🙏🙏🙏⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️ 22:05

  • @comserveitserve7165
    @comserveitserve7165 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ คุณหมอฮีโร่

  • @krunok8012
    @krunok8012 ปีที่แล้ว

    ถึงแม้ไม่ได้แสดงความคิดเห็นมานานแต่ก็ฟังคุณหมอมาโดยตลอดนะคะ ที่บ้านคือไทยแท้แต่โบราณคือจะทานขนมหวานหลังทานข้าวทุกวัน ทราบว่าน้ำตาลเป็นโทษต่อร่างกายเลยเปลี่ยนมาใช้น้ำตาลเทียมซึ่งคุณหมอมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ ขอยกให้คุณหมอเป็นคุณหมอฟ้าประทาน...ขอบคุณมากนะคะ

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณนะคะ มีบางช่วงที่อยากทานขนมหวานมากๆ ก้เลยเลี่ยงขนมหวานที่ทำจากน้ำตาลแต่ไปทานขนมที่ใช้หญ้าหวานแทนคะ แต่ตอนนี้ก้เลิกทานขนมที่ใช้หญ้าหวานไปแล้วคะ กลัวจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายในระยะยาวคะ 🙏

  • @user-gv7mc7qe2q
    @user-gv7mc7qe2q ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับ😍

  • @user-fw4is5gi3x
    @user-fw4is5gi3x ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณ.คุณหมอมากค่ะที่มาให้ความรู้แก่ประชาชน

  • @chaloeypornchansin9892
    @chaloeypornchansin9892 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดี​ค่ะ​อาจารย์​หมอ​ ที่บ้านไม่ทานหวานค่ะ​ ทานกาแฟ​ดำไม่ใส่น้ำตาลค่ะ​ ขอบคุณ​สำหรับข้อมูลดีๆนะคะ​

  • @sathitapannikorn234
    @sathitapannikorn234 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ ❤

  • @patitazeepongsekul3967
    @patitazeepongsekul3967 ปีที่แล้ว +1

    THanks for information

  • @thawanratsiri8212
    @thawanratsiri8212 ปีที่แล้ว

    โหหหห ตรงประเด็นเลยค่ะ บางทีเราก็อยากได้ข้อสแบบเร็วๆ

  • @chanurakp3463
    @chanurakp3463 ปีที่แล้ว +28

    ขอบคุณคุณหมอครับ ชอบวิธีการนำเสนอของคุณหมอมากครับ ทั้งสรุปรวบยอด และขยายรายละเอียด ตามความสนใจและเวลาของแต่ละคน ให้ความรู้ที่ชัดเจน พอจะเข้าใจตามได้
    ทัศนคติที่บริสุทธิ์ และความตั้งใจจริงของคุณหมอน่าชื่นชมมากครับ

  • @jumilya.1689
    @jumilya.1689 ปีที่แล้ว +5

    Too much of a good thing is bad = ทางสายกลางดีที่สุด
    แต่คลิปความรู้ดี ๆ มีประโยชน์ช่อง Dr.Tany มีหลาย ๆ คลิปคือดี ได้ประโยชน์กับทุกคนค่ะ
    Not too much, never enough 👍

  • @jaur8183
    @jaur8183 ปีที่แล้ว

    ชอบที่มีบทสรุปตอนเริ่มต้นเข้าใจง่ายดีครับ ฟังต่อจนจบเช่นเดิม

  • @montripongkumpai1930
    @montripongkumpai1930 ปีที่แล้ว +1

    สุดยอดเลยครับ

  • @UdomlakSk
    @UdomlakSk ปีที่แล้ว +5

    ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะคะคุณหมอ
    หนูอยากให้คุณหมอช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกซักเรื่องได้มั้ยคะ คือ เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวฝึก นักเรียน ร.ด. โหด ไตวาย 23 คน อยากทราบว่ามันเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างคะ ถึงได้เป็นพร้อมๆ กันได้ค่ะ

  • @sussib967
    @sussib967 ปีที่แล้ว +19

    ขอบคุณ คุณหมอที่สุดเลยค่ะ เป็นอีกหนึ่งคนที่คิดเช่นหลายๆ ท่านในที่นี้ ว่าอยากฟังคุณหมอให้ความรู้เรื่องน้ำตาลแท้ เทียม ปกติไม่กินหวาน แต่สามีซื้อสเตเวียติดบ้าน เผื่อกรณีที่ต้องใช้น้ำตาล (ซึ่งก็คิดว่าเราใช้น้อยนะคะ อย่างซื้อกระป๋อง 75กรัม ปีนึงก็ใช้เหลือเกินครึ่ง น่าจะใช้ไป 1/3) แต่ทุกครั้งที่ใช้ รวมถึงนานๆ ทีที่อยากดื่มอะไรหวานๆ สามีก็จะเลือกแบบน้ำตาล 0% เราก็จะเกิดคำถามว่าจะมีผลเสียต่างๆ ตามที่ได้ยินนู่นนี่มั้ย

  • @jackcarbin5389
    @jackcarbin5389 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับอาจารย์ เรื่องสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้คงมีการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารต่อไปเรื่อยๆ ครับ ถ้าอาจารย์มีอะไรอัพเดทหรือมีประเด็นใหม่ๆ กรุณาให้ความรู้ด้วยครับ ด้วยความเคารพและนับถือครับ

  • @nurseza22
    @nurseza22 5 หลายเดือนก่อน +2

    ขอนอกเรื่อง ทำไมพี่หล่อขนาดนี้ ปกติเวลานี่ดูคลิปจะชอบมองหน้าคนพูดไปด้วยจะได้มีสมาธิ แต่อันนี้คือฉันเขินอ่ะ แพ้คนไทป์นี้มาก55555555555+ เสียงหล่ออีก ชาติที่แล้วเคยกู้ชาติมาหรอคะ หน้าใสมากกกกกกกกก

  • @napasorn21
    @napasorn21 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ 😊😊

  • @BIG-BERLER
    @BIG-BERLER ปีที่แล้ว +2

    รสชาติสารให้ความหวาน มันต่างกันกับความหวานจากน้ำตาลอ้อย มะพร้าว ต้นตาล
    คุณหมอบอกไว้ ว่าทานอะไรมากไป แม้ว่าจะเป็นของดี ก็มีโทษ … ทานหวานจากธรรมชาติ ในปริมาณที่เหมาะสมกับเรา ตามที่หมอแนะนำเพื่อสุขภาพที่ดีนะครับ ขอบคุณมากครับคุณหมอ❤

  • @pookpuir.9653
    @pookpuir.9653 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ สมันก่อนพ่อกะแม่พี่ก็ซื้อสารให้ความหวานมาใช้แทนน้ำตาล แต่ไม่อร่อยเท่า เลยเลิกใช้ค่ะ บางทีก็ใช้น้ำผึ้ง ส่วนพี่ไม่กินหวานมาก เวลาสั่งเครื่องดื่มเน้นหวาน25-50% ถ้าทานก๋วยเตี๋ยวหรืออื่นๆนี่ไม่ปรุงเลยค่ะ คิดว่าที่ร้านคงใส่มาเยอะแล้ว ยิ่งแก่ยิ่งพยายามทานจืดลงค่ะ😅😅😅

  • @wanpenleohirun8153
    @wanpenleohirun8153 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ🙏

  • @megasawa
    @megasawa ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณมากครับ ที่ผมเข้าใจมาตลอดก็ถูกต้อง ว่า กินน้ำตาลเทียมได้ แต่อย่ากินมาก กินแทนน้ำตาลคือดี ไม่กินก็คือดีที่สุด แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็กิน แล้วผลเสียน้อย ถ้ากินไม่เยอะ ปล่อยให้พวกสุดโต่งเขา ไม่แตะเลยล่ะกัน

  • @tindoto
    @tindoto ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ

  • @andrewsumet
    @andrewsumet ปีที่แล้ว +2

    เชื่อ​มี้ยครับว่ากำลังหาข้อมูลพอดี​ เพราะตัวเองทานอยู่​ มาเจอคลิปนี้พอดี​ ขอบคุณครับ

  • @user-ww9jf9ec6c
    @user-ww9jf9ec6c ปีที่แล้ว +1

    รักคุณหมอ​แทน​นี่​ รักแท้รัก​ออเร​งจิ​

  • @sriratdecha8809
    @sriratdecha8809 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับ!

  • @Kamura13
    @Kamura13 ปีที่แล้ว +1

    ชัดเจนครับหมอ ไลฟ์โค้ชโบท็อกซ์กับลุงคณิตฯ บางคนเอาข้อมูลพิเรนๆ มาเผยแพร่ ทำจนเข้าใจผิดเยอะมาก อยากให้ระวังการรับสื่อมากๆ ครับ

  • @silfarzz
    @silfarzz ปีที่แล้ว +19

    ผมตัดหวานมาได้หลายปีละคับ แต่บางครั้งก็ให้รางวัลตัวเองบ้างพวกชานมไข่มุกแต่ก็จะสั่งหวานแค่ 25% พอเราไม่ได้ติดหวานแล้ว แล้วสั่งหวานแค่นี้ก็นับว่าหวานอร่อยจนพึงพอใจแล้ว พอให้เพื่อนมากินมันบอกไม่อร่อย 555555 แต่ผมก็หุ่นดีสุดในกลุ่มนะซิกแพ็คลางๆตลอดปีพอใจละ

    • @CherryChonny
      @CherryChonny ปีที่แล้ว +1

      Koi the black tea latte หวาน 25% อร่อยมากค่ะ😋

    • @chruang9498
      @chruang9498 7 หลายเดือนก่อน

      งดหวานเหมือนกันค่ะ เวลาอยากทานชานมไข่มุกจะทานแบบ0%เพราะตัวไข่มุกมันหวานพอแล้วค่ะ (คิดเอาเอง)

  • @supaveethana4984
    @supaveethana4984 ปีที่แล้ว +4

    เท่าที่เคยทานความหวานจากน้ำตาลเทียม(บางตัว) รสชาติยังสู้ความหวานจากน้ำตาลแท้ๆไม่ได้นะครับ
    อาจจะมีเรื่องของกลิ่นเป็นองค์ประกอบด้วย น้ำตาลธรรมชาติแต่ละอย่างก็จะมีกลิ่นรสเฉพาะตัว

  • @darat9504
    @darat9504 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @singhara592
    @singhara592 ปีที่แล้ว +1

    ความพอดีไม่มากไม่น้อยดีที่สุดค่ะอาจารย์หมอ ขอบคุณข้อมูลค่ะ อยากรู้ที่ชัดเจนแบบนี้มานานแล้วค่ะ❤🙏

  • @kenkennykan
    @kenkennykan ปีที่แล้ว +1

    ขอขอบคุณ

  • @piluntanakotchamit3232
    @piluntanakotchamit3232 ปีที่แล้ว +3

    ขอแชร์ประสบการณ์ในส่วนความรู้สึกหิวกับภาวะอารมณ์กับการทานสารให้ความหวานค่ะ ส่วนตัวเริ่มทานอาหารและขนมคลีนตั้งแต่ปี2019 โดยส่วนมากเกือบ 95% ของร้านที่ซื้อจะใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวาน ในช่วงแรกที่ทานรู้สึกอิ่มนานแล้วก็ไม่หิว ไม่กินจุกจิกค่ะ อารมณ์ดีด้วย เหมือนตอนได้ทานขนมปกติ แต่พอทานทุกวันในแง่เรื่องความหิวยังเหมือนเดิม แต่ด้านอารมณ์รู้สึกได้เลยว่าอยากทานขนมคลีนมากๆ ถ้าไม่ได้ทานมือจะสั่นแล้วก็หงุดหงิดเพิ่มขึ้นที่ไม่ได้ทานเพราะจะอยากทานมากๆ จนเหมือนได้ดูคลิปของคุณมินชี่พูดการทานสารให้ความหวานว่าสามารถทำให้เราติดเหมือนภาวะติดน้ำตาลในช็อกโกแลตได้ เลยลองหยุดทานแล้วดื่มน้ำเยอะๆ ผ่านไป 1 อาทิตย์ดีขึ้นค่ะ เลยได้ข้อสรุปกับตัวเองเลยว่าทานทุกอย่างแต่พอดี ไม่ควรพึ่งพาแค่สารให้ความหวานเพียงอย่างเดียว ควรสลับทานน้ำตาลปกติบ้าง งดหวานบ้างสลับๆกันไป ปัจจุบันก็ยังทานอาหารและขนมคลีนอยู่ค่ะ แต่ความถี่ไม่มากเท่าช่วงแรกแล้ว บวกกับออกกำลังกายทำให้สามารถทานอาหารได้ปกติ อิ่มนานไม่กินจุกจิกค่ะ ส่วนด้านอารมณ์ก็ไม่ได้รู้สึกโหยหาขนมคลีนเหมือนช่วงทานทุกวันแล้ว

  • @jarayahongthong1455
    @jarayahongthong1455 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคะ

  • @user-do4vm1ix5j
    @user-do4vm1ix5j ปีที่แล้ว

    สวัสดีคร่าาา🙏พี่หมอ.. หัวข้อโดนใจ/ตั้งใจฟังมากๆค่ะ😊ขอบคุณพี่หมอมากๆค่ะ.

  • @soontareesoontaree6725
    @soontareesoontaree6725 ปีที่แล้ว +1

    ถึงอย่างไร คำว่า "เทียม" ก็ สู้ของ "แท้" ไม่ได้ และคุณหมอก็บอกว่า ผลวิจัยฯ ยังสรุปไม่ได้ ของที่ดีที่สุด มากไป ก็อาจจะไม่ดี ก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับ "ตัวเรา" ที่จะประพฤติปฏิบัติ อย่างมี "สติ" ย้ำ 🥰🥰🥰

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov ปีที่แล้ว

    ค่ะคุณหมอ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลเทียมหรือน้ำตาลจริง ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ขอบคุณสำหรับความรู้ที่เป็นประโยชน์ค่ะคุณหมอแทน

  • @vitbabababa
    @vitbabababa ปีที่แล้ว +11

    คอตรักช่องคุณหมอเลยครับ คุณหมอพูด Long Take ได้เก่งมากๆ ดูเป็นข้อมูลที่จริงใจสุดๆ เลยครับ มีทั้งแบบละเอียดทั้งแบบรวบรัดในคลิปเดียว Content จริงใจกับแฟนคลับแบบนี้ ขอให้ 1 ล้านฟอลไวๆ นะครับ

    • @Pploveda
      @Pploveda ปีที่แล้ว +1

      สิ่งที่ทำให้ฟังอาจารย์แบบสบายใจและเชื่อถือ คืออาจารย์ไม่เคยขายของเลยครัย

  • @brisha.j
    @brisha.j ปีที่แล้ว +5

    Sweeteners That Are Good for Your Health
    1. Stevia. Stevia is a very popular low calorie sweetener. ...
    2. Erythritol. Erythritol is another low calorie sweetener. ...
    3. Xylitol. Xylitol is a sugar alcohol with a sweetness similar to that of sugar. ...
    4. Yacon syrup. Yacon syrup is another unique sweetener.

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin ปีที่แล้ว

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @Pploveda
    @Pploveda ปีที่แล้ว +5

    ขอแชร์นะครับอาจารย์ ตัวผมเองตรวจพบว่าเป็น DM T2 2 ปีก่อน ผมพยายามคุมอาหารหลังจากนั้น สิ่งที่ผมทานประจำคือ น้ำอัดลม ที่ขายในไทย ตระกูล free และ zero ทั้งหลาย ที่มี AzeK sucralose aspatam แทบทุกวันวันละมากกว่า 500 ml แต่ไม่เกิน 1 L ไม่กินของหวานใดๆเลย รวมถึงน้ำหวานที่เป็นน้ำตาล ปกติ ผ่านไป 1 ปี น้ำหนักลดผิดปกติ เลยสงสัยว่าเรามี DKA หรือเปล่า สรุปว่า DTX หลัง NPO 9-10 hrs 260 + Hba1c 11
    คำว่าพอดี แบบที่อาจารย์บอก มันคือเรื่องจริงครับ ทุกๆท่าน
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ

  • @user-mr8fp6lo6g
    @user-mr8fp6lo6g ปีที่แล้ว

    สวัสดีเจ้า❣❣❣❣❣

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ เป็นคนไม่กินหวาน ที่บ้านไม่ซื้อน้ำตาลหรือน้ำตาลเทียมไว้เลย ขอบคุณข้อมูลนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 ปีที่แล้ว +9

    ไม่ค่อยได้ทานน้ำตาลเทียมเลยค่ะ ถ้ายังไม่ผลงานวิจัยที่ระบุว่ามีอันตราย การทานน้ำตาลเทียมก็เป็นทางเลือกนะคะ #แต่ถ้าไม่มีพฤติกรรมการทานหวานมากเกินไป ก็คงไม่จำเป็นต้องทานน้ำตาลเทียมนะคะ🤩 #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @kputube5093
    @kputube5093 ปีที่แล้ว

    Thanks!

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +15

    Dysbiosis หรือ สังคมแบคทีเรียในลำไส้ผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับภาวะการอักเสบในร่างกาย (inflammation) เช่น ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease) โรคอ้วน (obesity) ภาวะไขมันพอกตับ (fatty liver) โรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (autoimmune condition) รวมถึงการศึกษาล่าสุดที่พบว่า gut dysbiosis มีความเชื่อมโยงกับภาวะสมองเสื่อม (dementia) อีกด้วย ซึ่งการเกิด gut dysbiosis ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจากอาหารการกิน หรือ น้ำตาลเทียมที่เราบริโภคเข้าไป

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณค่ะน้องทริป

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูล

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว

      @@Lek44888 ยินดีค่ะพี่เล็ก...

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      @@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย...

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว

      @@FragranzaTrippa เมื่อวานไลฟ์สด ไม่เห็น น้องทริป กับน้องชล หรืออ่านไม่ทัน

  • @junehadid1299
    @junehadid1299 ปีที่แล้ว +1

    โดยส่วนตัวลองทาน ทั้งสองแบบ รู้สึกหิวเร็วไม่ต่างกัน ทุกวันนี้ ถ้าอยากหวานจริงๆ เช่นช่วงวันนั้นของเดือน ก็คือ ทานน้ำตาล น้ำหวานจริงไปเลย เดือนนึง สามสี่วัน

  • @sattawatsuntisurat6237
    @sattawatsuntisurat6237 ปีที่แล้ว +11

    น้ำอัดลมแบบน้ำตาลเทียมไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แต่ทำไมพอผมเลิกดื่มแล้ว น้ำหนักมันลดลงได้ครับ ทั้งๆที่ผมก็กินทุกอย่างเหมือนเดิม ลดลงประมาณ 2 กิโล
    ตอนนี้ผมเลิกดื่มน้ำอัดลมมาเป็นปีแล้ว หยดเดียวก็ไม่กิน ผมดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว
    แต่อย่างนึงที่ผมแน่ใจคือ น้ำอัดลมแบบน้ำตาลเทียมทำให้ติดหวานแน่ๆครับ ดื่มแล้วก็อยากดื่มอีกไม่สิ้นสุด ติดหวานไปเรื่อยๆ จนขาดความยับยั้งชั่งใจในการกินได้ง่ายๆ เผลอๆอาจไปกินโรตี เอแคร์ ชาไข่มุก แบบไม่รู้ตัว

    • @livejapan6376
      @livejapan6376 ปีที่แล้ว +5

      อาจารย์ ผมท่านหนึ่ง ศิษย์รุ่นพี่ อจ ธานี ท่าน เข้าห้องผ่าตัด ท่านก็ดื่ม แต่พวกของหวานที่ ไม่ใช่ น้ำตาล ผล สุดท้าย ผ่าน ไป 15 ปี ท่านก็ ป่วย ด้วย โรคเบาหวาน และ โรคต่างๆก็เข้ามา ท่านเป็น อาจารย์หมอ 1 ใน 50 ท่าน ที่ ฝีมือ ความเก่ง ด้านศัลยกรรม เฉพาะทาง
      สรูปที่ได้ ของหวาน ทุกชนิด ทำให้เกิด โรคเบาหวาน ในที่สุด ปัจจุบัน ท่าน จากไปด้วย ภาวะรวมๆกัน
      คนส่วนมากนิยามไว้ว่า
      ความรุ้ท่วมหัว เอาตัวเองไม่รอด ส่วนตัว งดของหวาน เกือบ ทุกชนิด
      มะเร็ง ในญี่ปุ่น
      การใช้เคมีบำบัด มะเร็งกลับ มาเหมือน เดิม จากประสบการณ์จริงๆ มันกลับมาจริงๆครับ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +11

      อย่างที่ผมบอกครับ ถ้าเราทานอะไรมากไปต่อให้ดูเหมือนมันไม่มีปัญหา มันก็ไม่ใช่หรอกครับ ยังไงก็มีปัญหาเมื่อมันมากไปครับ และการที่น้ำหนักลดลง ก็ต้องไปดูเรื่องอื่นๆทั้งหมดครับ น้ำหนักมันไม่ได้เกี่ยวแค่เฉพาะสิ่งที่กิน นอกจากนี้ยังขึ้นกับว่าเรากินทุกอย่างแบบเดิมแน่ๆรึเปล่า มีหลายครั้งที่คนไข้ผมก็คิดว่าตัวเองกินดีแล้ว แต่น้ำหนักไม่ลง พอมีเหตุให้มานอน รพ กินอาหาร รพ น้ำหนักก็ลดได้ พอให้เอาอาหารที่บ้านมาได้ เราดูแต่ละอย่างมันก็ชัดเจนว่าทำให้น้ำหนักขึ้น แต่คนไข้ไม่รู้ครับ

    • @user-br7jm3vb6j
      @user-br7jm3vb6j ปีที่แล้ว +1

      ยิ่งดื่มยิ่ง ขี้เกียจ ชิวๆ ไปเรื่อย อ่ะครับ เดี๋ยวทำให้กินอย่างอื่นเพิ่มไปด้วย ไม่กินเลยดีที่สุดครับ หักดิบเลย หวานๆ ทำให้ง่วงนอน ตื่นมาไม่สดชื่นด้วยครับ

  • @Hellobeaver428
    @Hellobeaver428 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ จริงครับ สารให้ความหวาน ข้อมูลยังคลุมเครือมาก ครับ เอาเป็นว่า occasionally eat พอ. ทุกวันนี้ ใช้ stevia ครับ 555

  • @user-ur7pw9gz8n
    @user-ur7pw9gz8n ปีที่แล้ว

    สวัสดีคะคุณหมอ

  • @paemitmaiteetour1111
    @paemitmaiteetour1111 ปีที่แล้ว +1

    ยุคแรกที่เป็น Dm.1 เคยได้ใช้สารให้ความหวาน แอสปาร์เทม (Aspartame) แบรนด์สีน้ำเงิมเข้มๆ มาพบว่า ไม่โอเค ราคาแพงอยู่_กล่องหนึ่งร้อยซอง เฉลี่ยอยู่ 2-3 บาทกว่า เวลานั้นไม่ค่อยมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกใช้ได้มากเท่าไหร่ 😅เลิกใช้มาใช้
    🌿หญ้าหวาน ในช่วงที่น้ำตาลสูงๆ
    หลังสุด กินน้ำตาลดีกว่า (ลืมพก หญ้าหวานมา😅) และเทียบค่าเฉลี่ยในการใช้อืนซูลิน💉เอง🙋‍♀️🎒 ดูค่ะ 😅

  • @eBeiChannel
    @eBeiChannel ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ ถ้าสมมุติมีการใช้สารให้ความหวานในขนมเช่นพวกขนมคีโตพอกินแล้วมีการหลั่งอินซูลินออกมาแต่กลับไม่มีกลูโคสให้จัดเก็บล้วอินซูลินที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดเหล่านั้นจะส่งอะไรต่อร่างกายหรือระบบต่างๆภายในร่างกายมั้ยคะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +3

      มันไม่ได้ออกมามากหรอกครับ ไม่ได้มีผลอะไรครับ

  • @metheewatchakittikorn4796
    @metheewatchakittikorn4796 ปีที่แล้ว

    ผมเคยดื่มชาหญ้าหวาน ถ้า1-2 แก้ว สดชื่นมีแรง ถ้าเกินกว่านั้นกลายเป็นหมดแรงเฉยเลยครับ

  • @LiveNotInfinite
    @LiveNotInfinite ปีที่แล้ว +1

    เห็นด้วยครับ หมอแทน ของดีกินมากอาจไม่ดี ของไม่ดีกินน้อยอาจจะดี สายกลางครับ น่าจะเหมาะกับชีวิตที่เป็นสุขแล้วครับ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny ปีที่แล้ว +2

    😮เรากลัวพวกของแปลกๆค่ะ เวลาเห็นสินค้า ใส่พวกสารชื่อแปลกๆ เราคิดว่า ยอมกินน้ำตาลปกติดีกว่า แต่กินน้อยๆ ค่ะ แอสปาร์แตม เจอบ่อยมากๆค่ะ
    วันนี้ได้ความรู้จากคุณหมอ ขอบคุณมากค่ะ จะได้กลัวน้อยลงค่ะ 😊

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭♥️♥️♥️♥️♥️👍👍👍👍👍

  • @mintjl
    @mintjl ปีที่แล้ว +5

    กินของหวานแล้วรู้สึกมีพลังเป็นรีวอร์ดจริง ๆ ค่ะ แล้วก็ให้รีวอร์ดตัวเองทุกวันเลยค่า 😂