ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (History of the State Railway of Thailand)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 13 พ.ย. 2021
  • ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย การขนส่งโดยทางรถไฟได้เริ่มมีชีวิตจิตใจขึ้น
    จนสำเร็จเป็นรูปร่างอันสมบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยาม
    ตั้งแต่ กรุงเทพมหานคร ถึงเมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433
    เดือนตุลาคม 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการ มีพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ( K. Bethge ) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ
    พร้อมกันนั้นได้ เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ ปรากฏว่า มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้คำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท
    เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ.2434
    ในปี พ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา สำเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้
    ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป
    ต่อจากนั้นก็ได้เปิดการเดินรถต่อไปอีกเป็นระยะ ๆ จากอยุธยา ถึง แก่งคอย มวกเหล็ก ปากช่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2443 การสร้างทางรถไฟสายนครราชาสีมา ได้เสร็จเรียบร้อย
    และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 รวมระยะทางจาก กรุงเทพ - นครราชสีมา ทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร
    ปัจจุบัน ณ วันที่ 14 กันยายน 2559 การรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมความยาวทั้งสิ้น 4,507.884 กิโลเมตร

ความคิดเห็น • 8

  • @jackvoraphakdee
    @jackvoraphakdee 2 ปีที่แล้ว +2

    ชอบ...วิธีการอ่านของ🙂คนอ่านมากๆๆๆ

  • @user-kg5qg6tr9n
    @user-kg5qg6tr9n ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ.

  • @user-nx3dg9wo9p
    @user-nx3dg9wo9p 2 ปีที่แล้ว +1

    👍

  • @yesnook3272
    @yesnook3272 2 ปีที่แล้ว +1

    ได้ความรู้ดีมากขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ดีๆครับ

  • @user-lp3ov5ri4f
    @user-lp3ov5ri4f 2 ปีที่แล้ว

    หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจไทยทุกแห่ง มีทั้งคนดีตั้งใจทำงาน และยังมีคนไม่ดีแฝงตัวหาประโยชน์ใส่ตนแฝงอยู่ด้วยทั้งสิ้น ร.ฟ.ท.ก็หนีกฏแห่งกรรม หรือชะตากรรมนี้ไม่พ้น เช่นต้นไม้ป่าไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติในเขตทางรถไฟ บางที่ถูกบุคคลปริศนาว่าจ้างให้กลุ่มคนรับจ้างเหมาตัดหญ้าไปตัดทำลายป่าหญ้า ต้ยไม้จนเตียนโล่ง ต้นไม้เหล่านั้นมิได้กีดขวางการเดินรถไฟเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะขึ้นอยู่ห่างทางรถไฟหลายเมตร พอตัดหญ้าฟันต้นไม้แล้วยังไม่พอ มันยังจุดไฟเผาซ้ำ จนเกิดควันคละคลุ้งไปทั่ว รบกวนประชาชนที่อาศัยข้างเคียง แถมสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่อาศัยป่าข้างทางรถไฟประทังชีวิตก็ไร้ที่อยู่อาศัยไปด้วย เพราะป่าไม้ริมทางรถไฟถูกมนุษย์ไม่ดีมันทำลายหมด เมื่อไหร่คนพฤติกรรมเลวๆ แบบนี้จะหมดไปจากการรถไฟเสียที ต้นไม้ต้นหญ้าที่เหลืออยู่จากการใช้พื้นที่เพื่อสร้างทางรถไฟใหม่ จะยืนหยัดเป็นป่าสร้างความสบายตาให้คนโดยสารรถไฟต่อไป

  • @user-lj1sh5iz2p
    @user-lj1sh5iz2p 2 ปีที่แล้ว

    2433ไทยมีรถไฟหลังพม่า ของพม่า2420

    • @user-ry4wg6wp2d
      @user-ry4wg6wp2d ปีที่แล้ว +1

      อังกฤษสร้างให้พม่า