ไขรหัส พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย EP164

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ส.ค. 2022
  • พุทธสูญสิ้นจากอินเดีย ตอนที่ 7 นี้เรามาไขระหัส 5 ข้อ ว่าเหตุใด พุทธศาสนาจึงสูญสิ้นจากอินเดียกันนะครับ พร้อมกับมุมมองในพุทธศาสนาต่ออินเดียของท่าน ชวาหะร์ลาล เนรูห์ รัฐบุรุษและนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย...สำหรับ ชุด"พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย" นี้จะเป็น เหตุการณ์พุทธศาสนาในอินเดีย นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 311 - พ.ศ.2400 แบ่งออกเป็น 7 ตอนจบ ด้วยกัน ดังนี้
    ตอนที่1 ปฐมยุคมิคสัญญี พระเจ้าปุษยมิตรล่าค่าหัวพระสงฆ์
    ตอนที่ 2 พระเจ้ากนิษกะ ความแตกแยกครั้งใหญ่เรื่องนิกายมหายาน
    ตอนที่ 3 ราชวงค์คุปตะยุคพราหมณ์กลืนพุทธ
    ตอนที่ 4 พระเจ้าศศางกา ผู้ปราบพุทธ ยุคมิคสัญญี ครั้งที่ 2 + พระเจ้าหรรษวรรษธนะ ทรงกอบกู้พุทธ
    ตอนที่ 5 นิกายมนตรยาน ยุคเสื่อมแห่งพุทธศาสนา และเรื่องของราชวงค์ปาละ
    ตอนที่ 6 นาลันทา ลมหายใจเฮือกสุดท้าย ยุคมิคสัญญี ครั้งที่ 3
    ตอนที่ 7 ไขรหัส พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย
    สำหรับช่องคุณภาพของชาวพุทธเราอีกช่อง ผมขอแนะนำช่อง @daosayam เป็นช่องที่นำเสนอโบราณสถานในอินเดียซึ่งมีเนื้อหาวิชาการครบถ้วนและน่าติดตามมากครับผม
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 161

  • @user-cv1zh6bt3q
    @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +5

    ต้นเหตุของพุทธหมดไปจากอินเดียมีหลายปัจจัยจริงๆครับ เราไม่อาจโทษฝ่ายใดได้ทั้งหมด เพราะแม้แต่พุทธก็ทำลายตัวเองเช่นเดียวกัน ผมอยากให้เราศึกษาเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศาสนามากกว่านะครับ

    • @user-eg3yf1bv1t
      @user-eg3yf1bv1t ปีที่แล้ว +1

      ไม่เเปลกครับอิสลามมาตีเมืองพุทธ

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      "แม้แต่พุทธก็ทำลายตัวเองเช่นเดียวกัน"
      "พุทธ"แปลว่าอะไร.?
      หรือ"พุทธ"หมายถึงอะไร.?
      นั้นสิปราชญ์บัณฑิตถึงว่า"คน"ไม่รู้ภาษาจึง"มโน"คิดเองพิมพ์เองว่า"แม้แต่พุทธก็ทำลายตัวเองเช่นเดียวกัน"
      > โตมาถึงวันนี้พึ่งเห็นข้อความนี้
      > "แม้แต่พุทธก็ทำลายตัวเองเช่นเดียวกัน"

    • @wadtteampalace
      @wadtteampalace 6 หลายเดือนก่อน +1

      แม้จะทำลายกันเองจริง ก็ไม่เอากันถึงกับล้างให้เหี้ยนทั้งแผ่นดิน ที่สูญหายไปจากอินเดียเพราะคนที่เผยแพร่ถูกฆ่า หนังสือศึกษาสถานทึ่ถูกเผาทำลาย ถ้าพระยังอยู่ หนังสือยังอยู่ วัดที่พระอยู่ยังไม่ถูกทำลาย พุทธจะไม่มีวันสูญสิ้นจากแผ่นดินอินเดีย

    • @CONVERSELIFE
      @CONVERSELIFE 3 หลายเดือนก่อน

      พุทธบริษัท4 คือปัจจัยหลักของการล่มสลายในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน
      พุทธบริษัท4 ไร้ศักยภาพ ไร้ความแข็งแกร่ง ไร้การสืบสานพุทธวจนะที่ถูกต้องตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      ถ้าถามว่า ณ.ปัจจุบัน ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ จริงหรือไม่..
      ก็ตอบได้เลยว่า ไม่จริง...
      จากการวิเคราะห์ของผู้รู้ทางพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า
      มีผู้รู้ในพุทธศาสนาจริงๆแค่ 2% อีก15% พอรู้บ้างเล็กน้อย ส่วน80% ไม่รู้อะไรเลย

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +2

    ข้อมูลที่ 5
    จากคำปรารภของ ท่านพระครูธรรมธร สุมนต์ นนฺทิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดจากแดง (๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘) ว่า
    การศึกษาพระไตรปิฎก
    ..... จำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์อัฏฐกถา ฎีกา หรือปกรณ์ต่าง ๆ อันรจนาขึ้นโดยท่านผู้ทรงความรู้ ซึ่งบางท่านก็อยู่ในฐานะตั้งเจตนาปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล และบางท่านก็เป็นพระอริยเจ้า อรรถกถาบางส่วนก็เป็นพระพุทธพจน์ที่ตรัสขยายความที่ทรงย่อไว้
    ..... การที่ปุถุชนยุคสมัยนี้ จะทำการศึกษาพระบาลี (พระไตรปิฎก) โดยเฉพาะ ย่อมจะยังความเข้าใจให้ต้องตามนัยที่พระบาลีนำพาไว้ย่อมไม่ใช่ฐานะ การนำคัมภีร์ต่าง ๆ ดังกล่าวมาประกอบ...ขยาย จึงเป็นหนทางสู่การศึกษาให้เข้าใจกว้างขวางลุ่มลึก ด้วยความอนุเคราะห์ที่ท่านให้ไว้...

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 3 (ต่อ 3)
    ..... ฉะนั้น ผู้หวังความเจริญในพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงสำเหนียกศึกษา และตั้งความเคารพยำเกรงในพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้ว อย่างหนักแน่น ยกพระธรรมวินัย ให้เป็นหลัก เป็นที่ตั้ง เป็นประธาน ที่เรียกว่า ธัมมาธิปไตย แล้วศึกษาและปฏิบัติไปตามสมควรแก่เหตุผลของธรรมนั้น ๆ ที่เรียกว่า ธัมมานุธัมม ปฏิบัติ ด้วยการปฏิบัติตามหลักแห่งความเจริญ ๕ ประการ คือ
    ..... ๑. การตั้งใจฟังพระสัทธรรมโดยเคารพ (สกฺกจฺจํ ธมฺมํ สุสฺสูสํ) หมายความว่า ในขณะที่ฟังพระสัทธรรมใดอยู่ ก็ตั้งใจฟัง มีความเคารพยาเกรงในพระธรรมที่ฟัง เคารพในบุคคลผู้แสดงธรรม เคารพในสถานที่ที่ฟังธรรม เคารพในบุคคลผู้ร่วมฟังธรรม ไม่ทำกิจอย่างอื่นในเวลาฟังธรรม ที่เป็นการไม่เคารพในพระธรรม ด้วยการสำเหนียกว่า เป็นบุญของเราเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีอัตภาพครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ทั้งได้พบพระพุทธศาสนา ได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้ฟังธรรมคาสอนของพระพุทธเจ้า เพราะสิ่งเหล่านี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลก ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
    ..... การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ที่มีอาการครบบริบูรณ์ เป็นการยาก (กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ) เพราะหลายคนเกิดมา มีอาการไม่ครบบริบูรณ์ ไม่บกพร่องทางกาย ก็บกพร่องทางด้านจิตใจ หรือทั้ง ๒ อย่าง
    ..... การมีชีวิตอยู่รอดไปได้วันหนึ่ง ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นการยาก (กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ) เพราะโลกเต็มไปด้วยภัยอันตรายนานัปประการ
    ..... การได้ฟังพระสัทธรรม คำสอนของสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็เป็นการยาก (กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ) เพราะการที่บุคคลผู้ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติให้รู้ให้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วนำความจริงนั้นมาบอก มาสอน มาอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ใส่ความคิดความเห็นของตน ที่เป็นการบิดเบือนพระสัทธรรมเข้าไปนั้น ก็เป็นการยาก
    ..... การอุบัติเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นเหตุอันสัตว์โลกได้ยาก (กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท) เพราะผู้ที่จะบาเพ็ญบารมี เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องทาด้วยความหนักแน่น และใช้เวลายาวนานหลายโกฏิกัปป์
    ..... ๒. สำเหนียกศึกษา ท่องบ่น สาธยาย พระธรรมวินัย โดยเคารพ (สกฺกจฺจํ ธมฺมํ ปริยาปุณํ) ได้แก่ เคารพยาเกรงในพระธรรมวินัยที่ศึกษาเล่าเรียน เคารพในผู้ให้การอบรมสั่งสอน เคารพในสถานที่เรียน เคารพในบุคคลผู้เรียนด้วยกัน
    ..... ๓. ทรงจำข้ออรรถข้อธรรมที่สำคัญ ๆ ไว้ให้ได้ (สกฺกจฺจํ ธมฺมํ ธารณํ) เหมือนกับบุคคลที่บรรจงประคับประคองรักษาแก้วมณีอันมีค่าไว้ไม่ให้สูญหายไปโดยคิดว่า พระธรรมวินัยนี้ เป็นสิ่งมีค่าเหนือสิ่งอื่นใด
    ..... ๔. หมั่นเพ่งพินิจพิจารณาเนื้อความของข้อธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้อย่างดีแล้วนั้นเนือง ๆ (สกฺกจฺจํ ธาตานํ ธมฺมานํ อตฺถํ อุปปริกฺขณํ) เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจความหมายของข้อธรรมนั้น ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    ..... ๕. ขวนขวายปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่เหตุผล หรือ ขอบเขตของธรรมนั้น ๆ ไม่ให้ผิดเพี้ยน หรือ เกินขอบเขตของธรรมนั้น ๆ จนเสียธรรม (สกฺกจฺจํ อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมํ ปฏิปตฺติ)
    ..... เมื่อบุคคลปฏิบัติให้ครบบริบูรณ์ทั้ง ๕ ข้อนี้แล้ว ก็จะมีความเจริญในพระสัทธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ถ้าขาดตกบกพร่องไปข้อใดข้อหนึ่ง ก็ไม่เจริญเท่าที่ควร หรือเกิดความเสื่อมทราม ดังกล่าวแล้วได้

  • @old-man919
    @old-man919 9 หลายเดือนก่อน +1

    คุณสังเกตุให้ดีนะผมอธิบายไม่ถูก คือ เปรียบเทียบ วัดสวนโมกข์ที่ไชยา ตอนอาจารย์พุทธทาส ภิกขุยังมีชีวิตอยู่ คนเต็มวัดแม้แต่ต่างชาติก็มาหาสนทนากับท่าน .ตอนนี้เป็นวัดที่แทบจะไม่มีคนเข้า ร้านค้าบริเวณนั้นหายเกือบหมด เป็นเพราะอะไร เปรียบเทียบกับวัดหลวงพ่อทวดปัตตานี คนยังเต็มวัดร้านค้าไม่หายไปไหนมีแต่เพิ่มขึ้น ที่อินเดียก็เช่นกัน วัดเชตวันมหาวิหาร ผมว่าคงจะเป็นแบบวัดไชยานั้นแหละตอนพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่คนคงเต็มหลังจากนั้นคงหาไปเรื่อยจนไม่มีคน ประเทศไทยก็เช่นกันตอนนี้มีวัดร้างมากเช่นกัน

  • @user-uj7lw3hk8b
    @user-uj7lw3hk8b 11 หลายเดือนก่อน +3

    เพิ่งมาเจอยูทูป นี้
    ขอบคุณครับ ที่ทุ่มเท นำเสนอ สาธุ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  11 หลายเดือนก่อน

      ผมไม่ได้หวังรายได้อะไร เพราะจริงๆได้วันละเฉลี่ยไม่ถึงบาทด้วยซ้ำ แต่หวังเผยแพร่ศรัทธาในพุทธศาสนาและกำลังใจก็จากก็มาจากผู้ชมเช่นท่าน ขอบพระคุณที่ติดตามรับชมครับผม

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ปัจจุบันนี้เรามักจะได้ยินได้ฟังการกล่าวหรือแสดงข้อธรรมแปลก ๆ
    ..... ที่ผุดโผล่กันออกมามากมาย จนบางครั้งบางทีก็นามาติดยึดบดบังข้อ ธรรมอันลึกซึ้งของพระพุทธภาษิตไป แล้วก็กลายเป็นว่าผู้กล่าวคำนั้น ๆ เป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง เช่น ยกตัวเองเป็นแบบอย่างบ้าง กล่าวตอบ สนองความถูกใจของผู้ฟังเป็นสาคัญบ้าง กล่าวคำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน ยกข้อธรรมมาคว่ำ ๆ หงาย ๆ
    ..... ซึ่งก็เป็นได้ว่าที่ผู้กล่าวไม่ได้คิดถึงลาภผลเป็นเป้าประสงค์ แต่มุ่งจะเข้าถึงผู้รับฟัง หรือแม้แต่คำคมโดนใจต่าง ๆ ก็ไม่ควรไปล่วงเกินท่าน ผู้กล่าว เพราะท่านก็มีวัตถุประสงค์ดีต่อผู้ที่ได้ฟังให้ดูง่ายต่อความเข้าใจ
    ..... แต่ทั้งนี้ที่นำมากล่าวก็เพียงจะโยงมาหาคำว่า "ตถาคต พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น (ยถาวาที ตถาการี) ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น (ยถาการี ตถาวาที)" การส่องเข้าไปดูพฤติกรรมของผู้กล่าวธรรมว่าเขาทาอย่างที่พูดอย่างไรแค่ไหนหรือไม่ หรือเนื้อธรรมตรงต้องตามพระพุทธพจน์แค่ไหน ก็เพื่อประโยชน์ในการคัดสรร 'พระสัทธรรม' ที่ทรงคุณค่าแก่ตัวเรา โดยเฉพาะในแง่ที่เปรียบเทียบกับท่านพระอรรถกถาจารย์ก็ดี ท่านพระฎีกาจารย์ก็ดี เวลาท่านกล่าวธรรมจะต้องอ้างอิงพระพุทธพจน์เสมอ ไม่อาจเอื้อมเอาความคิดของตนมาปนเปื้อนเลื่อนลอย หรือยกมาเป็นของตน ไม่ยกมาแบบขาด ๆ เกิน ๆ เพราะท่านเคารพในพระปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ..... ที่จริงเราก็อย่าไปเพ่งโทษผู้อื่นเขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน... ใครทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น จะดีจะชั่วอยู่ที่ตนฉะนั้น เราก็ต้องการเพียงแต่ยกมาเป็นอุทาหรณ์เท่านั้น การรู้จักเลือกเฟ้นความคิดเห็นที่ถูกตรง ย่อมได้ชื่อว่าเป็นส่วนเริ่มต้นแห่งสัมมามรรคมิใช่หรือ ?

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      ขอบพระคุณในข้อมูลดีๆที่นำมาแบ่งปันเป็นวิทยาทานธรรมทานกันครับผม

    • @tete4910
      @tete4910 ปีที่แล้ว +1

      @@user-cv1zh6bt3q ครับ ยินดีครับ ๆ

    • @tete4910
      @tete4910 ปีที่แล้ว +1

      @@user-cv1zh6bt3q ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ อย่างนี้เช่นกันครับ เพื่อให้เห็นคุณค่า และให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ต่อพุทธศาสนายิ่ง ๆ ขึ้นไป

  • @permsingthayom
    @permsingthayom ปีที่แล้ว +3

    พุทธจริงๆนั้นบริสุทธิ์ไร้หนามไร้เปลือกปกป้องตัวเองจึงง่ายต่อการถูกทำลาย....ประเทศไทยที่พุทธตั้งอยู่ได้เพราะพุทธถูกจัดให้เป็นสถาบันหลักของชาติ(มีคนไทยนี่แหล่ะเป็นหนามเป็นเปลือกป้องกันไม่ให้พุทธถูกมาทำลายไปได้ง่ายๆ)

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 2 (ต่อ 5)
    ..... เมื่อได้พิจารณาเห็นเช่นนี้ ก็อาจที่จะอำนวยประโยชน์โสตถิผล ให้บุคคลนั้นได้รับความสำเร็จตามความประสงค์ของตน ๆ คือ เป็นสาวกโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ สัมมาสัมโพธิญาณ สมดังที่บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวไว้ว่า
    . . . . สยํ พุทฺโธ สมฺโพเธสิ
    . . . . ธมฺเมปิ ธมฺมสตฺติโย
    . . . . อโห โน ตสฺส สุตตฺตํ
    . . . . อโห โน ธมฺมจินฺตนํ ฯ
    ..... แปลความว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้ทรงมีชัยชนะต่อเวรภัย ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก พระองค์นั้นย่อมทรงรู้แจ้งนามรูปวิถีที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปสืบเนื่องกัน ติดต่อกันไม่ขาดสาย ตามธรรมชาติของจิตตนิยาม และทรงรู้แจ้งอานาจปัจจยธรรมทั้ง ๒๔ ประการ ที่ช่วยอุปการะให้ผลเกิดขึ้นโดยลำพังพระองค์เอง กับทรงแสดงให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายได้รู้เห็นในเรื่องเหล่านี้ด้วย โอ เป็นที่น่ายินดีจริงหนอ ที่พวกเราทั้งหลายได้รับผลอันล้าเลิศในการที่ได้มาเป็นสาวก สาวิกา แล้วได้รับการอบรมฟังธรรมคาสั่งสอนของพระองค์นี้ และเป็นที่น่าปลื้มใจยิ่งจริง ๆ หนอ ในเมื่อเราได้พิจารณาถึงเหตุผลที่เกิดขึ้นติดต่อกันตามสภาพธรรมล้วน ๆ โดยไม่ใช่เป็นสัตว์เป็นบุคคลแต่ประการใดแล้ว ทำให้เราได้รับผลคือเกิดปัญญารู้เห็นแจ่มเเจ้งกว้างขวางในธรรมที่เป็นอนัตตะ ฯ
    ..... พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมทรงคุณอำนวยประโยชน์ให้แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ได้รับความสุขความเจริญ คือความสุขกายสุขใจทั้งในภพนี้และภพหน้า ตลอดจนเข้าถึงพระนิพพานอันสงบจากทุกข์ทั้งปวง แต่ถึงกระนั้นก็ตามก็ยังมิได้รับการแพร่ หลายหรือเจริญขึ้นเหมือนกับศาสนาอื่น ๆ และประเทศที่ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้วนั้น ก็ยังไม่ได้รับการอบรมธรรมคำสอนที่สมบูรณ์ ทั้งยังไม่มีการแพร่หลายทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชนอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้นั้นก็เพราะพวกเราเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ยังดำเนินกิจการในด้านพระพุทธศาสนายังไม่ถูกต้องดีพอ ทั้งความเห็นความเข้าใจก็ยังขาดตกบกพร่องอยู่ จึงทำให้ความเป็นไปของบุคคลประเภทนี้เหมือนกับคำสุภาษิตที่กล่าวว่า คนตาบอดไม่กลัวผี
    ความเป็นไปแห่งการงานและความคิดเห็นของพุทธมามกชนบางพวก ที่เป็นไปในทานองคนตาบอดไม่กลัวผีเหล่านี้นั้น คือ
    ..... ๑. แม้ว่าผู้ที่สำเร็จเป็นอริยบุคคลโดยอาศัยการปฏิบัติวิปัสสนา ปรากฏมีอยู่ก็ตาม แต่บางท่านก็ยังกล่าวว่า ในสมัยปัจจุบันนี้พระอริยบุคคลมีไม่ได้ ผู้ที่กล่าวดังนี้ก็เพราะว่าผู้นี้ไม่รู้จักประมาณตนของตน ว่าตนนี้ได้รับการศึกษาดีพอแล้วหรือยัง และได้รับการอบรมข้อปฏิบัติวิปัสสนาที่ถูกต้องสมบูรณ์หรือเปล่า ฉะนั้น บุคคลประเภทนี้จึงเป็นบุคคลดังที่กล่าวว่า คนตาบอดไม่กลัวผี
    ..... ๒. การแสดงและการศึกษาพระอภิธรรม ย่อมมีหลักฐานปรากฎอยู่ในพุทธประวัติและพุทธานพุทธประวัติ คือพระสารีบุตรและสานุศิษย์ ๕๐๐ รูป พระนาคเสน เป็นต้น จนถึงการยกสังคายนาครั้งที่ ๖ ทั้งได้มีการจารึกลงในใบลานบ้าง เป็นหนังสือบ้างที่มีอยู่ทั่วไป ถึงกระนั้นบางท่านก็ยังกล่าวว่าพระอภิธรรมนี้มิใช่เป็นพุทธภาษิต บางท่านก็กล่าวว่ามิใช่เป็นข้อธรรมที่พวกมนุษย์จะพึงศึกษา ผู้ที่กล่าวดังนี้ก็เพราะว่าเป็นผู้ที่ไม่รู้จักประมาณตนของตน ว่าตนนี้ได้ศึกษาในข้อธรรมนั้น ๆ ทั่วถึงดีแล้วหรือยัง และเคยได้เห็นหนังสือพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา โดยชัดเจนบ้างหรือเปล่า เมื่อได้เห็นแล้วได้อ่านเข้าใจในข้อธรรมนั้นหรือไม่ ควรจะพิจารณาใคร่ครวญตรวจดูตนให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ฉะนั้น บุคคลที่กล่าวดังนี้จึงเป็นบุคคลดังที่กล่าวว่า คนตาบอดไม่กลัวผี

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      ปราชญ์บัณฑิตแท้จริงรู้จริง
      อะไรคือ"ศาสนา"
      อะไรคือ"ลัทธิ"

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      เวไนยสัตว์เช่น
      "ชฎิลสามพี่น้อง"(องค์พี่)
      ก็ยังโอหังต่อพระพุทธเจ้าเลย
      ประสีประสาอะไรกับสัตว์ทั่วๆไป
      (แม้ฆฏิกาพรหมฺผู้ไม่แจ้งทั้งวิชชาและอวิชชาก็หลงตนเช่นชฎิลฯ)

  • @user-bw1rj2jk6j
    @user-bw1rj2jk6j ปีที่แล้ว +2

    พุทธกำลังกลับฟื้นในอินเดียครับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      สาธุๆๆครับผม

  • @bhodiforyou3348
    @bhodiforyou3348 ปีที่แล้ว +2

    เอาเถอะใครจะเชื่ออย่างไรก็ตามใจ พระพุทธองค์ตรัสไว้แล้วในกาลามสูตร คำสอนที่ถูกต้องมีอยู่ ปรากฏอยู่ในปิฏก ทั้ง 3 ศึกษาเอาเอง ไม่ศึกษาก็ไม่เป็นไร เป็นเรื่องของบุคคล

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ศาสนาเรากว้างขวางมาก ตัวใครตัวมันเลยครับงานนี้ แต่อย่างน้อยก็นับว่าเป็นบุญมากเลยครับที่พวกเรายังเกิดมาทันพระศาสนา

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 2 (ต่อ 3)
    ..... ในหมู่ชนชาวพระพุทธศาสนาของเราทั้งหลายนี้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือหนุ่มสาว แก่เฒ่า เพียงใดก็ตาม ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องศาสนาพุทธดีพอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ไม่ได้รับการศึกษาในด้านพระอภิธรรมเหล่านี้ ก็คงมีความเห็นความเข้าใจคล้อยตามลัทธินั้น ๆ ไปด้วย อุปมาเหมือนผู้ที่ใกล้ชิดต่อกับชาวประมงหรือพรานป่าอยู่เสมอ ๆ ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นกลับกลายเป็นชาวประมงหรือพรานป่าไปได้ฉันใด บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ไม่ได้รับการศึกษาดีพอในด้านพระอภิธรรม ย่อมจะกลับกลายไปได้ฉันนั้น
    ..... แต่เป็นที่น่าเสียดายอยู่ว่า บรรดาผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ เหล่านั้นมีความเข้าใจต่อพระบรมศาสดาของเราว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในหมู่ลัทธิเหมือน ๆ กัน หรือเท่า ๆ กันกับผู้ที่เป็นศาสดาของเขาเท่านั้น ไม่เข้าใจว่าพระองค์เป็นผู้ทรงคุณอันเลิศหาที่เปรียบมิได้ สมดังที่มีคาถาพระบาลีมาใน คัมภีร์ สุโพธาลังการะ แสดงไว้ว่า
    . . . . สุชนา สุชนา สพฺเพ
    . . . . คุเณนาปิ วิเวกิโน
    . . . . วิเวก น สมายนฺติ
    . . . . อวิเวกิชนนฺติเก ฯ
    ..... แปลความว่า สัปบุรุษคือบัณฑิต และอสัปบุรุษคือคนพาลทั้งหลาย แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันโดยคุณธรรมก็จริง แต่ก็ไม่ทาให้เข้าถึงความแตกต่างกันอันสมควรในบรรดาชนที่ไม่มีวิจารณปัญญาทั้งหลาย กล่าวคือชนทั้งหลายที่ไม่มีวิจารณปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาที่สาคัญนั้น คงมีแต่ปัญญาธรรมดา และมารยาสาไถย อิจฉาริษยาเหล่านี้ ย่อมไม่ได้กระทำให้ บุคคลทั้งสองฝ่ายต่างกัน คงเห็นว่าเสมอเหมือนกันหมดทั้งสิ้น ฯ

    • @user-io8nm8qw2q
      @user-io8nm8qw2q ปีที่แล้ว

      มันเป็นมนุษยธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นเองจะอวยยังไงก็ไร้ค่าจะงมงายคือทางหลงที่ทำไห้เพ้อเจ้อจั

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      ไม่แตกฉาน"บาลี"แท้จริง
      อย่าริ"อวดรู้"อภิธรรมเลย
      ปราชญ์บัณฑิตท่านกล่าวว่า
      อย่าริอวดรู้ดี,อย่าริอวดรู้ชั่วไปกว่าพระพุทธเจ้าแลปราชญ์บัณฑิตพุทธศาสตร์แม้ภิกษุใหม่สามเณรน้อยที่บวชในวันนั้น

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      @@user-io8nm8qw2q
      คำว่า"มนุษย์"
      มนุษย์แท้จริงไม่โอหังต่อปรมัตถ์ธรรม
      เว้นแต่สัตว์โลกเท่านั้นที่โอหังต่อเบญจศีลเบญจธรรม
      "เบญจศีลเบญจธรรม"
      คือ.....
      มนุษยธรรมเป็นธรรมของมนุษย์
      เทวธรรมเป็นธรรมของเทวดา
      วิหารธรรมเป็นธรรมของพรหมฺ
      อริยธรรมเป็นธรรมของพระอริย
      "เบญจศีลเบญจธรรม"
      ไม่มีในหมู่สัตว์อบายภูมิทั้งหลาย
      "อบายภูมิ"ไม่มีศาสนาเป็นสถานะ
      ( เดรัจฉานเปรตอสูรกายนรกไม่มีและไม่ถือศาสนาเป็นสถานะ จิตใจพวกนี้มีเพียงแค่สัญชาตญาณอบายเป็นสรณะ )

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    สาธุ ขอบคุณมากครับ ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลนะครับ;
    ข้อมูลที่ 1
    จาก บางตอนจาก คำนำ น. ก ของ ท่านพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พ.ศ. ๒๕๐๗ ใน หนังสือหนังสือปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๙ เล่ม ๑ สมถกรรมฐานทีปนี (หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท) รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ ฉ. พ.ศ. ๒๕๕๔
    คำแนะนำก็ดี คำสั่งสอนตักเตือนก็ดี
    ..... เหล่านี้ได้ชื่อว่า ศาสนา สิ้น ดังนั้นคำสอนนี้ไม่ว่าจะเป็นของศาสดาใด ๆ เมื่อพิจารณาดูเพียงผิวเผินก็กล่าวได้ว่า เป็นการดีทั้งสิ้น แต่ถ้าหยิบขึ้นมาพิสูจน์ดูกันโดยรอบคอบแล้ว ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ ทั้งนี้เพราะบุคคลที่ตั้งตนเป็นศาสดาของชาวโลกมีคุณธรรมและความรู้ไม่เหมือนกันนั้นเอง คือ ศาสดาบางท่านความรู้ยังไม่ละเอียดถี่ถ้วน จิตใจก็ยังไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมองอยู่ด้วย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ โทสะ โมหะ อิสสา มัจฉริยะ วิจิกิจฉา และสติสัมปชัญญะก็ไม่สมบูรณ์ ฉะนั้น ศาสนาของศาสดาจำพวกนี้ แม้ว่ามีคนนับถือบูชามากมายเพียงใดก็ตาม จะตัดสินชี้ขาดลงไปว่า เป็นคำสอนที่ถูกต้องสมบูรณ์ดีทุกประการโดยอาศัยจำนวนคนนั้นหาถูกต้องไม่ ที่ถูกจะต้องยกคาสอนนั้น ๆ ขึ้นมาพิสูจน์ดูด้วยเหตุผลว่าจะผิดหรือถูกเพียงใด เมื่อพิสูจน์แล้วก็จะเห็นว่าเป็นคาสอนที่มีข้อความในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดที่ต้องตัดออก แก้ไข และเพิ่มเติมก็มี
    ..... ส่วนศาสดาบางท่าน มีพระโคตมพุทธะ พระกัสสปพุทธะ เป็นต้นนี้ ความรู้ก็ละเอียดถี่ถ้วน จิตใจก็บริสุทธิ์ผ่องใส ปราศจากตัณหา มานะ ทิฏฐิ โทสะ โมหะ อิสสา มัจฉริยะ วิจิกิจฉา และสติสัมปชัญญะก็สมบูรณ์ เหตุนั้น ศาสนาของศาสดาจาพวกนี้ แม้ว่าจะมีคนเคารพนับถือเป็นจำนวนน้อยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นคำสอนที่ถูกต้องและสมบูรณ์โดยแน่นอน เพราะมีข้อความในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ไม่ต้องตัดออก แก้ไข หรือเพิ่มเติมโดยประการใด ๆ เลย ในเรื่องนี้ ถ้าผู้มีปัญญา ในเหตุผลดีพอ และมีจิตใจเป็นกลาง มิได้มุ่งอยู่แต่ในเรื่องลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญแล้ว ก็จะพิจารณาเห็นได้โดยชัดแจ้ง

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      สาธุๆๆครับผม

    • @tete4910
      @tete4910 ปีที่แล้ว

      @@user-cv1zh6bt3q เช่นกันครับ ยินดีครับ

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 3
    จาก บางตอนจาก น. ๙๕ นิคมกถา, น. ๙๙ ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาธรรมที่ถูกต้อง, น. ๘๐ คุณสมบัติของนักศึกษา ในตอน โครงสร้างหลัก สูตรในอุดมการณ์ น. ๗๒ ของ หนังสือตามรอยบารมี พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมคณะปาโมกข์ อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผู้รวบรวมและเรียบเรียง พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (กุยรัมภ์) ฉ. พ.ศ. ๒๕๖๑
    พระสัทธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    ..... เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะมีความละเอียดลึกซึ้ง เต็มไปด้วยสาระประโยชน์ และเป็นสิ่งที่สูงส่ง เปรียบเสมือนน้ามันพญาราชสีห์ ที่มีคุณค่าในการที่จะใช้ประกอบเป็นกระสัยยารักษาโรค บุคคลจะสามารถเก็บน้ามันพญาราชสีห์ไว้ให้ได้นั้น ต้องใช้ภาชนะทองคาอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะสามารถเก็บรักษาไว้ได้ ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่น เช่น ภาชนะดิน ภาชนะสาริด ภาชนะทองแดง ภาชนะดีบุก ภาชนะเงิน เป็นต้น บรรจุไว้ น้ามันพญาราชสีห์นั้น ก็จะซึมหรือระเหยออกไปหมด ไม่ตั้งอยู่ในภาชนะเหล่านั้นได้ เพราะภาชนะเหล่านั้นไม่สมควร ไม่ทรงคุณค่าที่จะบรรจุน้ามันพญาราชสีห์ไว้ได้ ฉันใด พระสัทธรรมคาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้น เหมือนกัน
    บุคคลผู้หวังความเจริญในพระสัทธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ต้องทำตนให้เป็นดังภาชนะทองคำที่ทรงคุณค่าสมควรที่จะรองรับ และทรงพระสัทธรรมคำสอนไว้ได้ด้วยดี คือ
    ..... ๑. สามารถทรงไว้ได้ซึ่งอรรถ คือ ความรู้ความเข้าใจความหมายของพระสัทธรรมนั้น ๆ อย่างถูกต้อง และแจ่มแจ้ง ทุกแง่มุม ไม่ผิดเพี้ยน ตกหล่นไป
    ..... ๒. สามารถทรงไว้ได้ซึ่งพยัญชนะ คือ หัวข้อธรรม ชื่อของธรรมนั้น ๆ ชื่อหมวดธรรมนั้น ๆ พร้อมทั้งข้ออธิบาย รายละเอียดของข้อธรรม หรือหมวดธรรมนั้น ๆ ทั้งตัวหนังสือ สำเนียง และเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้สื่อความหมายให้รู้เข้าใจกัน
    ..... ๓. สามารถทรงสภาวะของตนไว้ได้ คือ ให้อยู่ได้เท่าเดิม ก่อนเวลาที่เริ่มเข้ามาศึกษาพระสัทธรรม ไม่ให้ประพฤติเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่น่าปรารถนา หรือขาดจิตสำนึกของความเป็นกัลยาณชน คือ ประพฤติสวนทางกับหลักธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา
    ..... ๔. สามารถพัฒนาศักยภาพของตน คือ บารมีธรรมให้ดีขึ้น ให้สมควรกับเป็นผู้ศึกษาพระสัทธรรม ได้แก่ การสำเหนียกศึกษา ประพฤติปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนั้น ๆ ด้วยการงดเว้นจากบาปธรรมทั้งปวง ทำกุศลทุกอย่างให้ยิ่งขึ้นไป จนครบบริบูรณ์ และขวนขวายทำจิตใจของตนให้สะอาดผ่องแผ้ว ห่างไกลจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองและประทุษร้ายกาย ใจ ทุกประการ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      เป็นหลักสำคัญเลยครับ สาธุๆๆครับผม

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 3 (ต่อ 4)
    ..... ฉะนั้น การที่จะทำตนให้เป็นดังภาชนะทองคำ เพื่อให้สามารถรองรับและทรงไว้ได้ซึ่งพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันทรงคุณค่า เปรียบดังน้ามันพญาราชสีห์ ต้องทำกิจทุกอย่าง
    ..... ๑. ด้วยความหนักแน่น และมีระเบียบวินัย
    ..... ๒. ด้วยความเคารพยำเกรง มีหิริและโอตตัปปะ
    ..... ๓. ด้วยการสร้างจิตสำนึกในความเป็นกัลยาณชน
    ..... ๔. ด้วยปัญญา ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
    ..... ก็สามารถพัฒนาศักยภาพ ทั้งทางร่างกาย (บุคคลิกภาพ) และจิตใจ (มารยาท จรรยาบรรณ) ให้ดียิ่งขึ้นไป และมีความเจริญรุ่งเรืองในพระสัทธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างยั่งยืน
    ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาธรรมที่ถูกต้อง
    ..... ๑. ทำให้ทราบถึงหลักธรรมอันเป็นแก่นแท้ คือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นผู้เข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
    ..... ๒. ทำให้เข้าใจเรื่องธรรมชาติของชีวิตและโลกมากขึ้น
    ..... ๓. ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ตามความเป็นจริงมากขึ้น อันเป็นความรู้ที่มีอยู่เฉพาะในคำสอนของพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    ..... ๔. ทำให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ เป็นประทีปส่องทางให้ดำเนินไปสู่พระอมตะนิพพานได้โดยสวัสดิภาพ
    คุณสมบัติของบุคคลผู้จะสามารถศึกษาหลักธรรมได้สำเร็จตามเป้าหมาย ต้องสมบูรณ์ด้วยเหตุหลายประการ กล่าวคือ
    ..... ๑. ศรัทธา ต้องเป็นผู้มีศรัทธาที่ถูกต้องและมั่นคงในพระพุทธศาสนา
    ..... ๒. สติปัญญา ต้องเป็นผู้มีสติปัญญาระลึกรู้เหตุผลของสรรพสิ่งได้อย่างเท่าทัน ไม่หลงใหลไปตามกระเเสโลกกระแสสังคม
    ..... ๓. กำลังกาย ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมารบกวน หรือบั่นทอน
    ..... ๔. กำลังทรัพย์ ต้องมีทรัพย์ในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการดารงชีพและการทาบุญกุศลพอสมควร ไม่อัตคัดขัดสน
    ..... ๕. โอกาส ต้องมีโอกาสเหมาะสม กล่าวคือ มีสถานที่ศึกษาเล่าเรียนไม่ไกลเกินไป มีครูอาจารย์ผู้อบรมสั่งสอนอย่างพร้อมสรรพ มีผู้รับผิดชอบให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
    ..... ๖. เวลา ต้องมีเวลาว่าง ไม่มีอุปสรรคใด ๆ มาขัดขวางการศึกษาเล่าเรียน หรือ สามารถตัดปลิโพธิเครื่องกังวลต่าง ๆ ได้
    ..... ๗. ไม่มีกิเลสเครื่องบั่นทอนในกำรทำความดี มีมารยาสาไถย โอ้อวด มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      #ปัญญาวิมุตและเจโตวิมุตปัญญาคือแก่นแท้พระพุทธศาสนามิใช่ ปัญญาโลกียะและเพียงแค่สัญชาตญาณอบายสี่
      > #อจินไตย

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 2
    จาก บางตอนจาก คำปรารภเบื้องต้น น. ๕ ของหนังสือปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหะและนามรูปวิถีวินิจฉัย พร้อมด้วยภาพวิถี (หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี) รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดพิมพ์โดย มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ ฉ. พ.ศ. ๒๕๕๗
    คำว่า ศาสนา นั้น
    ..... มาจากคำบาลีที่ว่า สาสน นั่นเอง ฉะนั้น คำว่า ศาสนา นี้ จึงหมายความว่า เป็นธรรมที่เบียดเบียนประทุษร้ายต่อกิเลสทั้งปวง ดังมีวจนัตถะแสดงว่า กิเลเส สาสติ หึสตีติ = สาสนํ (สสุ ธาตุ, ยุ ปัจจัย, สสุ = หึสาย ) หรืออีกนัยหนึ่ง คำว่า ศาสนา หมายความว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการอบรมสั่งสอนมนุษย์ พร้อมทั้งเทวดาและพรหม ชื่อว่า สาสนะ หรือธรรมที่เป็นเหตุแห่งการอบรมสั่งสอนมนุษย์ พร้อมเทวดาและพรหม ชื่อว่า สาสนะ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า สเทวกํ โลกํ สาสติ เอตฺถาติ = สาสนํ (วา) สเทวกํ โลกํ สาสติ เอเตนาติ = สาสนํ (สาส ธาตุ ยุ ปัจจัย, สาส = อนุสิฏฺฐิมฺหิ)
    ..... ศาสนา คือ คำสอนซึ่งเป็นที่นิยมนับถือของชาวโลกนั้น มีอยู่หลายศาสนาด้วยกัน บรรดาผู้ที่นับถือศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ ต่างก็มีหน้าที่ที่จะต้องชี้แจงแสดงถึงบุคคลที่เป็นศาสดาของตน ๆ พร้อมทั้งประวัติ กับคำสอน และระเบียบเสมอไป สำหรับประวัติและคาสอนของศาสดาอื่น ๆ เหล่านั้น อาตมาจะไม่ขอกล่าว เพราะท่านทั้งหลายก็คงจะทราบดีอยู่แล้ว
    ..... เมื่อได้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างประวัติ คำสอน ระเบียบ ของพระพุทธองค์กับศาสดาอื่น ๆ เหล่านั้น ก็จะพึงเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันคือ ว่าโดยประวัติ เหมือนหนึ่งการเกิดขึ้นของแก้วมณีและเพชรที่ดีเลิศกับก้อนกรวด ว่าโดยคำสอน แล้วเหมือนหนึ่งหลักสูตรในมหาวิทยาลัยกับหลักสูตรในโรงเรียนประชาบาล ว่าโดยระเบียบ เหมือนหนึ่งระเบียบของกษัตริย์กับของชาวป่า
    ..... ฉะนั้น ความเห็นความเข้าใจและการปฏิบัติของผู้ที่นับถือศาสนา ต่าง ๆ จึงมีความแตกต่างกัน คือ ความเห็น ความเข้าใจ และการปฏิบัติของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนั้น เหมือนของผู้ที่เดินไปในท่ามกลางแสงสว่าง ส่วนความเห็น ความเข้าใจ และการปฏิบัติของผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ เหล่านั้น เหมือนกับผู้ที่เดินไปในท่ามกลางความมืด

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      รู้จักคำว่าศาสนาจริง
      ก็ควรใช้ภาษาพยัญชนะ"ศาสนา"เป็นไม่วิบัติ

  • @user-cl6nv7eq2n
    @user-cl6nv7eq2n ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณมากครับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      ขอบพระคุณเช่นกันครับผม

  • @thimmee.948
    @thimmee.948 ปีที่แล้ว +1

    Thanks for sharing 🙏

  • @greenagro6668
    @greenagro6668 6 หลายเดือนก่อน

    ้เป็น7อีพีที่น่าชื่นชม
    ขอให้ปรับปรุงระบบเสียงครับ

  • @user-yr6ph9ix9s
    @user-yr6ph9ix9s ปีที่แล้ว +1

    ต้องขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้ครับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณเช่นกันครับที่ติดตามรับชมเป็นกำลังใจ

  • @ManJeweler
    @ManJeweler ปีที่แล้ว +1

    เป็นกำลังใจ ที่ท่านทำรายการดีๆออกมา

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมากครับผมสำหรับกำลังใจและการติดตามรับชม

  • @Li-jj8yl
    @Li-jj8yl ปีที่แล้ว +1

    ขออนุโมทนาบุญด้วยสาธุสาธุสาธุ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมากครับผม

  • @user-lh2dt6ne6s
    @user-lh2dt6ne6s ปีที่แล้ว +2

    ผมนับถือพุทธ ที่ยึดหลักธรรมชาติ
    ผมชอบมุสลิมที่ยึดหลักวิทยาศาสตร์
    ถ้าทุกคนรองศึกษาในทุกศาสนาแล้วจะเข้าใจว่าความขัดแย้งด้านศาสนานั้นเกิดจากตัวบุคคลมิใช้ศาสนาขัดแย้งกัน คริสก็เคยทำสงครามกับมุสลิม

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      สาธุๆๆครับผม

    • @user-lh2dt6ne6s
      @user-lh2dt6ne6s ปีที่แล้ว +2

      จะบอกว่าผมเป็นพุทธปลอมก็ได้นะเพราะผมไม่ศรัทธาในพระสงฆ์ที่ไม่ตัดกิเลสหวังยศชั้นพระอยู่ มนุษย์ไม่ใช้ธรรมชาติหรอครับ
      กฏมุสลิมบางข้อถูกพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์แล้วนะ เช่นการคริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งมีการวิจัยแล้วว่ามันมีสารบางอย่างที่หมักหมมอยู่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง รองหางานวิจัยดูก็ได้ครับ ไม่ว่าจะศาสนาไหนข้อให้ทุกคนรักในสันติภาพโลกเรากว้างใหญ่ยิ่งนักมีอีกเป็นพันศาสนาที่ยังไม่ถูกเผยแพร่

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      @@user-lh2dt6ne6s ถูกแล้วครับ พุทธศาสนาก็สอนให้เราคิดก่อนและใช้ปัญญาในความเชื่อ แม้ศาสนาพราหมณ์เอง ข้อวัตรบางประการก็ทรงสรรเสริญ มิได้ตำหนิทุกเรื่อง ข้อไหนถูกข้อไหนดีก็คือธรรมะตัวเดียวกันครับ เช่นความเมตตาก็มีทุกศาสนา ก็เมตตาตาซึ่งเป็นธรรมะตัวเดียวกัน มีมากบ้างน้อยบ้างก็ว่ากันไปครับผม ขึ้นอยู่กีบตัวบุคคลด้วย

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      มีทั้งเห็นด้วยและเห็นต่างกัน เป็นเรื่องธรรมดา ถือว่าทุกๆท่านมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันนะครับ ใครคิดเห็นอย่างไร ผมในฐานะคนทำคลิปก็ขอขอบคุณในมุมมองต่างๆ ของทุกๆท่านเลยนะครับ และที่เข้ามาติดตามรับชมเป็นกำลังใจให้กัน ขอบพระคุณครับผม

    • @user-fg3lq6dd6w
      @user-fg3lq6dd6w ปีที่แล้ว

      @@user-lh2dt6ne6s อามีน.ค่ะ

  • @user-cl6nv7eq2n
    @user-cl6nv7eq2n ปีที่แล้ว +2

    รอต้อนที่7อยู่ครับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ตอนนี้คือตอนที่7(ตอนจบ) แล้วครับผม แต่ไม่ได้ระบุว่าตอนที่7ในชื่อเรื่องเพราะเกรงว่าคนจะมองว่ายาวและพากันเลื่อนผ่าน ขอบพระคุณครับผม

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 3 (ต่อ 2)
    พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนา
    ก. ทำตัวอ่อนต่ออุปนิสัย
    ..... เป็นคนเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและดียิ่งขึ้น กลายเป็นคนอ่อนต่อศักยภาพที่เรียกว่า ถูกพระสัทธรรมเหยียบ เหมือนถูกมนต์สะกด บางคนบางท่าน เกิดจิตวิปลาส เป็นผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ เพราะประพฤติปฏิบัติผิดต่อพระธรรมวินัย นั่นเอง
    ข. มีพฤติกรรมสวนกระแสพระสัทธรรม เช่น
    ..... ๑. มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะเบาะแว้ง) บุคคลอื่นตักเตือนไม่ได้ (อติมานี)
    ..... ๒. มักโกรธ หงุดหงิดราคาญง่าย ไร้เหตุผล (โกธาภิภูโต)
    ..... ๓. พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่และบุคคล ขาดความสุขุมคัมภีรภาพ (พหุภาณี)
    ..... ๔. เป็นคนเจ้าเล่ห์ มารยา มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ดี หน้าด้าน ไม่รู้จักอาย เป็นคนเก้อยาก (สาเถยยมายาวี)
    ..... ๕. มีความมักมาก แสวงหาปัจจัย โดยไม่ชอบธรรม ชอบคลุกคลีในทางที่ไม่เหมาะสม (ปาปิจโฉ)
    ..... ๖. เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ชอบกอบโกย ชอบสะสม ชอบใช้อภิสิทธิ์ หรือวางอำนาจเหนือบุคคลอื่น มีอัธยาศัยคับแคบ ไม่ต้องการเห็นคนอื่นดีกว่าตน (ถัทธี)
    ..... ๗. เป็นคนเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้า มุ่งหน้าแต่เรื่องลาภสักการะ ชื่อเสียง ยศตาแหน่ง เป็นต้น (อามิสาภิมุขี)
    ..... ๘. หันหลังให้พระสัทธรรม คือ ไม่ชอบฟังพระสัทธรรม ชอบหมกมุ่นในเรื่องเดรัจฉานกถา หรือไม่ให้ความสำคัญแก่พระสัทธรรม สนใจและให้ความสาคัญแต่ในเรื่องทางโลก (โลกาธิปไตย หรือ โลกานุวัฒน์) หรือเอาความคิดความเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นเครื่องตัดสิน (อัตตาธิปไตย) ขาดความมั่นคง และขาดความเคารพยาเกรงในพระสัทธรรม (สัทธัมมปฏิมุขี)
    ..... ๙. ขาดจิตสำนึกในความเป็นกัลยาณชน ขาดความยั้งคิด ปล่อยตัว ปล่อยใจไปตามกระแสกิเลส (มุฏฐัสสติ)
    ..... ๑๐. มีความคิดไม่เฉียบเเหลม ขาดโยนิโสมนสิการพิจารณาเหตุผลและเหตุการณ์ไม่รอบคอบ (อคัมภีรปัญโญ)
    ..... ซึ่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนเหล่านี้ ทำให้ผู้ที่เข้ามาศึกษา หรือปฏิบัติในพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เสื่อมถอยจากบารมีธรรมที่จะพึงได้พึงถึง หรือ ทำให้บารมีธรรมเก่าเสื่อมสูญไปหมดไป บารมีธรรมใหม่ ก็ไม่เกิดขึ้น ผลสุดท้าย กลายเป็นคนตาบอดหมดบุญไป

  • @user-ou6fv5iw3d
    @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว +1

    องค์ธรรมแก่นแท้พระพุทธศาสนาคือปัญญาวิมุติและเจโตวิมุตปัญญา
    องค์ธรรมมิจฉาทิฏฐิเป็นลัทธิต่างๆเช่นพรามณ์ฮินดูซิกอิสลามเป็นต้น
    โดยเฉพาะองค์ธรรมของลัทธิอิสลามเป็นสัญชาติญาณปรกติของสัตว์อบายภูมิสี(๑.ดิรัจฉาน ๒.เปรต ๓.อสูรกาย ๔.นรก) สัตว์อบาย ๔ ทั้งหลายเหล่านี้ดำรงชีวิตด้วยสัญชาติญาณเท่านั้น ชีวิตสัตว์อบาย ๔ เหล่านี้ไม่ประกอบด้วยแม้ปัญญาโลกียะเลย
    สัญชาติญาณอบาย ๔ และปัญญาโลกีย์มิใช่แก่นแท้ของศาสนา
    พุทธองค์ทรงตรัส คำสอนไม่มีอริยสัจจ์ ๔ เป็นมิจฉาทิฏฐิ,เป็นลัทธิเป็นโมฆะบุรุษ เช่นครูทั้งหก เจ้าลัทธิทั้งหก เป็นต้น
    คำว่า"ศาสนา"คือคำสั่งสอนของผู้รู้อริยสัจจ์สี่จริงสมเป็นบรมศาสดาทั้งสามโลก
    คำว่า"ลัทธิ"คือคำสั่งสอนของผู้ไม่รู้อริยสัจจ์สี่จริงเป็นแค่เจ้าลัทธิต่างๆเท่านั้น

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      น้อมกราบสาธุๆๆขอรับกระผม...ก็ถือว่าเป็นวาทะที่โต้แย้งความเชื่ออื่น เป็นวิชาการด้านศาสนาที่โต้ตอบกัน อินเดียสมัยก่อนก็แสดงธรรมโต้กันทำนองนี้ แต่สมัยนี้ยุคเราจะเข้าใจแบบใด ก็พิจารณาด้วยตนเองนะครับ ส่วนกระผมพอจะเข้าใจสิ่งที่พระอาจารย์กำลังอธิบาย สื่อสาร กราบนัสการขอรับกระผม

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 2 (ต่อ 4)
    ..... อนึ่ง ผู้ที่มีความเชื่อถือแต่ในฝ่ายรูปธรรมอย่างเดียวนั้น ย่อมจะพิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลที่เกี่ยวกับรูปฝ่ายเดียว ฉะนั้น เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นคว้าหาเหตุผลที่เกี่ยวกับรูปตั้งแต่สิ่งที่ใหญ่ที่สุด แล้วค่อย ๆ ลดลงไป ๆ ตามลาดับ ๆ จนกระทั่งถึงเล็กที่สุดที่อนุมานเรียกกันว่าปรมาณู แต่ถึงกระนั้นก็ยังมิอาจที่จะพิจารณาได้ว่า ในปรมาณูเม็ดหนึ่ง ๆ นั้น มีสภาพของรูปอะไรบ้างที่รวมกันอยู่ จึงทำให้เม็ดปรมาณูเกิดขึ้นได้ สำหรับพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวเรานี้ พระองค์ย่อมทรงทราบถึงความเป็นไปอยู่ของเม็ดปรมาณูอันหนึ่ง ๆ ว่า มีรูปอะไรบ้างที่รวมกันอยู่จึงทำให้ปรมาณูมีขึ้น พระองค์ทรงสามารถแยกจำนวนรูปในเม็ดปรมาณูที่เล็กที่สุดอยู่แล้วออกเป็น ๘ ส่วนได้อีก กล่าว คือเป็น ปถวี อาโป เตโช วาโย วณฺโณ คนฺโธ รโส โอชา และปรมาณูที่เล็กที่สุดนี้ ยังเป็นไปด้วยอานาจของปัจจัยอีก ๕ ปัจจัย คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ที่เข้าช่วยอุปการะในคราวเดียวกัน จึงทาให้ปรมาณูเม็ดหนึ่ง ๆ นั้น ปรากฏเป็นไปได้ตามสมควรแก่เหตุปัจจัย ดังที่กล่าวมาแล้ว
    ..... วิทยาศาสตร์อย่างสูงสุดนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้วเฉพาะหน้ามวลหมู่เทพยดา, มาร, พรหมทั้งหลายที่ในดาวดึงสาเทวโลก ซึ่งชาวเราทั้งหลายเรียกกันว่า อภิธรรมปิฎก นั้นเอง
    ...... ในสมัยที่ลัทธิต่าง ๆ กำลังแพร่หลายอย่างไพศาล ดังที่เราได้เห็นกันอยู่ ณ บัดนี้นั้น บุคคลใดมาเคารพนับถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บุคคลนั้นก็นับว่าเป็นผู้มีโชคดีอย่างที่สุดหาอะไรจะมาเปรียบเทียบมิได้ ต่อมา ถ้าหากว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาเล่าเรียน ท่องจำ ในพระอภิธรรม มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อนัตตลักขณสูตร มงคลสูตร เหล่านี้เป็นต้นได้อีก ก็ย่อมเป็นสิริสวัสดิมงคลแก่ตนของตนอย่างสูงสุด ต่อมาถ้าผู้นั้นได้มีโอกาสปลีกตน หลีกเร้นออกไปอยู่แต่ผู้เดียว ในสถานที่ที่ห่างไกลจากเสียงอื้ออึง เอิกเกริก เฮฮา ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชาวบ้าน คงได้รับแต่ความเงียบสงัดมีแต่เสียงสายลมพัดผ่านไปมา ในท้องอากาศพร้อมกับใบไม้ไหวในขณะที่ต้องลม ซึ่งกำลังเป็นไปตามธรรมชาติอย่างเดียวเท่านั้น เเล้วก็จะพิจารณาเห็นการเกิดขึ้นติดต่อกันตามลำดับแห่งนามรูปวิถีของชนทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกว่า กายใจของเราและของคนอื่นที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นแถว ๆ ที่เป็นนามรูปวิถีนี้นั้น เป็นธรรมที่เกิด ขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ปัจจยุปบันเกี่ยวเนื่องกันโดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเข้ามาจัดเเจง คงเป็นไปตามธรรมนิยาม จิตตนิยาม (ความแน่นอนแห่งจิต ที่ต้องเป็นไปอย่างนั้น) เท่านั้น

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ขนาดโลกกลมเหมือนผลมะขามป้อมยังทรงทราบ ทรงเป็นพระสัพพัญญู กราบสาธุๆๆครับผม

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 2 (ต่อ 2)
    ..... อนึ่ง คำสอนของศาสดาอื่น ๆ ที่นอกจากพระพุทธองค์ ไม่มีการสอนถึงความเป็นไปของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นรูป นาม โดย ความเป็นอนัตตะ มีแต่การแสดงยกอัตตทิฏฐิที่เห็นว่า รูป นาม เป็นตัวตนขึ้นแสดงตามโวหารชาวโลก อันเป็นเหตุให้เกิดแต่มิจฉาทิฏฐิต่างๆ และความสนุกสนานเพลิดเพลิน กับความหลง ความถือตัว ความสงสัยเหล่านี้ให้เจริญขึ้นเท่านั้น อนัตตสัมมาทิฏฐิไม่มีโอกาสที่จะปรากฎขึ้นได้ ดังที่อาตมาภาพได้ยกขึ้นเปรียบเทียบไว้ ณ เบื้องต้นว่าบรรดาชาวโลกที่นับถือศาสนาดังกล่าวแล้วนี้ อุปมาเหมือนหนึ่งผู้ที่ได้เดินทางไปในท่ามกลางความมืด
    ..... ส่วนคำสอนของพระบรมศาสดาแห่งชาวเรานี้ นอกจากอาณาเทศนา (การแสดงธรรมในลักษณะเป็นข้อบังคับ คือ พระวินัยปิฎก) โวหารเทศนา (การแสดงความยักย้ายสานวนให้เหมาะสมแก่จริตอัธยาศัยของผู้ฟัง คือ พระสุตตันตปิฎก) แล้ว ยังมีกำรสอนการแสดงถึงปรมัตถเทศนา (การแสดงเจาะจงเฉพาะเนื้อหาของธรรมชั้นสูง ไม่เกี่ยวด้วยท้องเรื่อง หรือโวหาร ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่การดับทุกข์ คือ พระอภิธรรมปิฎก) อีกด้วย ได้แก่ ความเป็นไปของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นรูป กับนามที่เกิดขึ้นตามสภาพธรรมนิยาม (ความแน่นอนแห่งธรรม ที่ต้องเป็นไปอย่างนั้น) โดยอาศัยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เพื่อจะให้ผู้ฟังหรือผู้ศึกษำได้รับความรู้ความเข้าใจที่จะทำลายล้างอัตตทิฏฐิที่เป็นมูลรากของมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือตัว ความสงสัยให้หมดสิ้นไป แล้วกลับให้อนัตตสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นมูลรากแห่งความเลื่อมใส ความพยายาม ความระลึก ความตั้งมั่น ความเห็นความเข้าใจในสิ่งที่สมควรเกิดขึ้น ดังที่อาตมาภาพได้ยกขึ้นเปรียบเทียบไว้ ณ เบื้องต้นว่าบรรดาชาวโลกที่นับถือศาสนาพุทธนั้น เหมือนหนึ่งผู้ที่ได้เดินทางไปในท่ามกลางแสงสว่าง
    ..... ถ้าจะกล่าวโดยตรงแล้วศาสนาอื่น ๆ ที่นอกจากพระพุทธศาสนานั้น ไม่มีการกล่าวถึงสภาพของนามธรรมที่มีหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ ที่ทาให้สัตว์ทั้งหลายได้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ นับตั้งแต่การเห็นการได้ยินเป็นต้น จนกระทั่งถึงการคิดนึกในกิจการทั้งปวงนั้น ว่าเป็นสภาพของนามธรรมแต่ประการใดไม่ เพียงแต่กล่าวกันว่าได้ใช้สมองทำการงานอย่างนั้นบ้างอย่างนี้บ้างเท่านั้น อุปมาเหมือนหนึ่งหมอกลางบ้าน เมื่อได้พบเห็นคนไข้เป็นไข้ไทฟอยด์อย่างหนักอยู่ ก็เข้าใจว่าเป็นไข้ที่ผิดเจ้าป่า หรือถูกเจ้าป่าเข้าสิง แล้วก็ใช้ยากลางบ้านเป็นเครื่องรักษาบ้าง ใช้คาถาเสกเป่า รดน้า มนต์บ้าง เมื่อเห็นคนไข้มีอาการสั่น ก็เข้าใจว่าเจ้าป่าสิงแล้ว ก็ใช้ไม้เฆี่ยนเป็นทานองขับไล่ผีดังนี้ ผลที่สุดคนไข้ก็ต้องถึงแก่ความตาย เพราะอาศัยความเข้าใจผิดของหมอกลางบ้านนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่กล่าวว่าได้ใช้สมองทางานอย่างนั้นอย่างนี้ก็ฉันนั้น ซึ่งแท้ที่จริงนั้นการกล่าวกันว่าสมองโปร่ง, สมองโล่ง, สมองทึบ, หรือปวดสมองต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ข้อนั้นก็เนื่องมาจากความเป็นไปของจิตตชรูป ซึ่งเกิดมาจากนามธรรม มีโลภะ,โทสะ, โมหะ, ปัญญา, สัทธา เป็นต้น ที่ได้แผ่ซึมซาบตลอดทั่วไปในสรีระร่างกายนั้นเอง

    • @user-io8nm8qw2q
      @user-io8nm8qw2q ปีที่แล้ว

      การไม่มีลูกมีเมียไม่ขยายพันธไม่ใช่เป็นการทำความดีจะ

    • @user-io8nm8qw2q
      @user-io8nm8qw2q ปีที่แล้ว

      การไม่ทำมาหาเเดกขอเเดกฟรีตลอดชีวิตก็ไม่ใช่เป็นการทำความดีจะ

    • @user-io8nm8qw2q
      @user-io8nm8qw2q ปีที่แล้ว

      การละทางโลกก็ไม่ใช่เป็นการทำความดีจะคิดหน่อยจะ

    • @user-io8nm8qw2q
      @user-io8nm8qw2q ปีที่แล้ว

      อย่าหลอกชาวโลกไห้โง่อีกนะจะ

    • @user-io8nm8qw2q
      @user-io8nm8qw2q ปีที่แล้ว

      ภูฏานทำไมถึงล้าหลังไม่ทันชาวโลกละจะเพราะงมงายไงละจะ

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 1 (ต่อ 2)
    ..... เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อาจมีผู้ถามว่า ถ้าศาสนาของพระโคตมพุทธะนี้ดีเลิศถึงปานนั้นแล้ว เหตุไฉนประชาชนชาวโลกจึงมิได้ยอมรับนับถือและประพฤติปฏิบัติตามทั่วไปทั้งหมดเล่า คงมีเพียงแต่บางส่วนเท่านั้นที่เคารพนับถือ ที่เป็นดังนี้ก็เนื่องด้วยเหตุที่เกี่ยวกับภายในพระพุทธศาสนากับเหตุที่เกี่ยวกับประชาชนชาวโลกติดต่อเนื่องกันทั่วไปไม่ได้นั้นเอง ดังนั้น จึงเป็นที่เคารพนับถือแก่ชาวโลกทั่วไปหมดไม่ได้
    เหตุที่เกี่ยวกับภายในพุทธศาสนานั้น คือ
    ..... ๑. เป็นศาสนาที่ดีเลิศ กล่าวคือ ทำการอบรมขัดเกลา กาย วาจา ใจของชาวโลกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งแต่ขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุด
    ..... ๒. มีเนื้อความละเอียด สุขุม คัมภีรภาพ
    ..... ๓. ทำให้ผู้ปฏิบัติตามได้รับผลอย่างมหาศาล คือ พ้นจากอบายภูมิ ทั้ง ๔ ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดจนเข้าสู่พระนิพพาน
    ..... ๔. เป็นคำสอนที่ทำลายล้าง ตัณหา มานะ ทิฏฐิ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ วิจิกิจฉา
    ..... ๕. การเผยแผ่ของพุทธศาสนิกชนไม่กว้างขวางทั่วไป ทั้งในทางภูมิประเทศและทางภาษา
    ..... ๖. การรู้ในปริยัติและปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไม่สมบูรณ์ ยังมีขาดตกบกพร่องอยู่มาก
    ..... ๗. ทายกทายิกาที่มีอำนาจและไม่มีอำนาจ ทำการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ แก่ภิกษุสามเณร ก็หาได้ปรารภถึง ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ หรือ คันถธุระ วิปัสสนาธุระ ของภิกษุสามเณรแต่อย่างใดไม่ มีแต่การปรารภไปในเรื่องชอบพอ รักใคร่ คุ้นเคย หรือสมณศักดิ์ ตำแหน่ง
    ..... ๘. ความสามัคคีภายในวงเเห่งพุทธศาสนิกชน ทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ก็มีน้อย

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      สาธุๆๆครับผม

    • @user-io8nm8qw2q
      @user-io8nm8qw2q ปีที่แล้ว

      อวยไห้ตายยังไงก็ขายไม่ออกหรอกจะมันมีเเต่มโนจินตนาการเพ้อฝันจะ

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 4
    จาก บางตอนจากเรื่อง ความเสื่อมและภัยพุทธศาสนา โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีประวัติ จ. นนทบุรี ในหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้
    การรักษาพระพุทธศาสนาไว้นั้น พระองค์ตรัสไว้ว่า
    ..... ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะต้องรู้หลักธรรมเข้าใจคำสั่งสอนของพระองค์แล้วนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง พูดสั้น ๆ ว่ารู้คำสอนและปฏิบัติได้ถูกต้อง
    ..... ๒. ให้สามารถยิ่งกว่านั้นอีก คือนอกจากรู้เข้าใจปฏิบัติได้ถูกต้องด้วยตนเองแล้ว ยังนำไปบอกกล่าวชี้แจงสั่งสอนคนอื่นได้ด้วย คนที่จะไปบอกกล่าวแนะนำสั่งสอนชี้แจงคนอื่นได้นั้น จะต้องมีความสามารถที่จะแนะนาสั่งสอน และต้องมีน้ำใจประกอบด้วยเมตตากรุณา บางคนถึงจะมีความสามารถแต่ไม่มีน้ำใจกรุณา ก็ไม่ใส่ใจที่จะสอนก็ไม่ได้ผลเหมือนกัน จึงต้องมีทั้งน้ำใจ ต้องมีทั้งความสามารถ แล้วก็เอาธรรมไปแนะนาสั่งสอนแก่คนอื่นต่อไป
    ..... ๓. ข้อสุดท้ายว่า ถ้ามีการจาบจ้วง คำว่าจาบจ้วงนี่เป็นภาษาโบราณ หมายความว่า มีการกล่าวร้ายต่อพระศาสนา หรือมีการสั่งสอนลัทธิที่ผิดจากธรรมผิดจากพระวินัยขึ้น ก็สามารถกล่าวแก้ชี้แจงกำราบได้ เรียกว่ากำราบปรับวาทได้
    ..... เงื่อนไขคุณสมบัติของพุทธบริษัท ๓ ประการนี้ เราจะต้องเอามาเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับสำรวจตรวจสอบพุทธศาสนิกชนว่า จะสามารถรักษาพระศาสนาได้หรือไม่ เพราะว่าเมื่อตรัสหลักการ ๓ ประการนี้ ก็เท่ากับว่าพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพาน ได้ทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้แก่เราแล้ว ถ้าพุทธศาสนิกชนไม่มีคุณสมบัติ ๓ ประการนี้แล้ว ก็จะรักษาศาสนาของพระพุทธเจ้าไว้ไม่ได้ พระพุทธศาสนาก็ต้องเสื่อมแน่นอน
    พุทธศาสนาสูญหายด้วยเหตุ ๕ อย่าง ... จาก อํ. ปญฺจก. คือ
    ..... ๑. พุทธบริษัท ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
    ..... ๒. พุทธบริษัท ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
    ..... ๓. พุทธบริษัท ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
    ..... ๔. พุทธบริษัท ไม่พิจารณาธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ
    ..... ๕. พุทธบริษัท ไม่ยอมปฏิบัติธรรมตามที่ตนเข้าใจแล้วโดยเคารพ
    เหตุให้สูญหายอีก ๕ ประการ ... จาก อํ. ปญฺจก. คือ
    ..... ๑. พุทธบริษัท เรียนธรรมมาผิด ๆ พลาด ๆ
    ..... ๒. พุทธบริษัท เป็นคนหัวดื้อ ว่ายาก ขาดการอดทน
    ..... ๓. พุทธบริษัท ที่เป็นพหูสูตรคงแก่เรียน เรียนจบแล้วไม่ยอมรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
    ..... ๔. พุทธบริษัท ชั้นผู้นำหมู่คณะ เป็นคนมัวเมาลาภสักการะ
    ..... ๕. พุทธบริษัท แตกความสามัคคีกัน

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      จริงแท้แน่นอนเลยครับผม

    • @tete4910
      @tete4910 ปีที่แล้ว +1

      @@user-cv1zh6bt3q ครับ

  • @adsl8995
    @adsl8995 ปีที่แล้ว +1

    ศาสนาพุทธแบบอินเดียดดังเดิมที่ยังเหลือคือ พุทธแบบ เนวา ครับ ใครอยากรู้ว่าพุทธยุคสุดท้ายก่อนฟื้นฟูใหม่เป็นอยากไรก็ไปดูครับ ก็จะเข้าใจครับว่าทำไมถึงหายไปจากอินเดีย

    • @adsl8995
      @adsl8995 ปีที่แล้ว

      th-cam.com/video/01O0bpdsKx4/w-d-xo.html มีแต่พิธี ทั้งรำ ทั้งเต้น ไม่เหลือพระสงฆ์เลย

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      เดี่ยวคงต้องตามรอยวงค์ศากยะดูแล้วครับ ข้อมูลทำให้อยากไปดูต่อ

    • @adsl8995
      @adsl8995 ปีที่แล้ว +1

      @@user-cv1zh6bt3q การขาดพระสงฆ์นี้ล่ะครับ คือสิ่งที่ทำให้พระศาสนาเสื่อม

    • @adsl8995
      @adsl8995 ปีที่แล้ว

      @@user-cv1zh6bt3q มีอีกเรื่องครับ ไปที่อินเดีย เนปาล ได้เจอ สถานที่ๆว่าอดีตที่ตั้งเจดีย์ทองของพระกัสปพุทธเจ้าไหมครับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      จริงครับ ขาดพุทธบุตรก็นับถอยหลังได้เลย

  • @Thawatchai-lc5zz
    @Thawatchai-lc5zz ปีที่แล้ว +1

    ส่วนใหญ่แล้วทุกๆความเห็นของนักวิชาการจะไม่เช้าประเด็นกับความเป็นจริง ผมพอจะยอมรับได้ก็คือความเห็นของท่านหลวงปู่พระพรหมคุณาภรณ์เท่านั้น นอกจากนั้นคิดเตลิดกันไปใหนไม่รู้

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      ท่านเป็นปราชญ์ศาสนาแห่งยุคเลยครับ ผมก็นับถือท่านมาก

  • @pysalpiyapand7736
    @pysalpiyapand7736 ปีที่แล้ว +1

    นำความจริงมาเผยแพร่ให้ผู้ที่ไม่รู้ได้เข้าใจดีมากๆครับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมากเลยครับผม

  • @user-ns3ue8ku7d
    @user-ns3ue8ku7d ปีที่แล้ว +1

    .กว่าจะพบเจอพระพุทธเจ้า..เฮ๊อ..

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      สาธุๆๆครับคุณยาย

    • @xxx966553
      @xxx966553 ปีที่แล้ว

      การที่พระโพธิสัตว์จะเสด็จอุบัติลงมาเป็นพระพุทธเจ้า ท่านเลือกหลายอย่าง เช่นอายุของมนุษย์ไม่นานเกินไม่เร็วเกินไป และชนชาติที่ยอมรับคำสอนท่านยอมรับพระเพณีของพระ(เพราะต้องมีพระวินัยตามมา) เวลาที่เหมาะสมว่าชนชาตินั้นถึงเวลาที่จะสอน ไม่ว่าชนชาตินั้นจะย้ายไปอยู่ที่ไหนพระพุทธศาสนาก็จะเจริญตามไปที่นั่นด้วย คุณคิดดูดีๆมีชนชาติไหนบ้าง ก็ไทยลาวพม่ามอญไทใหญ่เรานี่ละ ศาสนาแค่ย้ายจากแดนกำเนิดตามชนชาติที่ยอมรับคำสอนท่านก็แค่นั้นสมัยพุทธกาลท่านก็นั่งสอนคนไทยลาวพม่ามอญเขมรไทใหญ่เราทั้งนั้นไม่ใช่แขกพวกที่ครองอินเดียปัจจุบันหรอกพวกนี้มาทีหลัง

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 1 (ต่อ 3)
    เหตุที่เกี่ยวกับประชาชนชาวโลกนั้น คือ
    ..... ๑. ชนชาวโลกส่วนมากมีจิตใจปราศจากอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่หนึ่ง ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... ๒. ชนชาวโลกส่วนมากเป็นอันธปุถุชน คือ ไม่มีปัญญาที่จะรู้ถึง รูป นาม ขันธ์ ๕ และเหตุผลได้ ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่สอง ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... ๓. ชนชาวโลก ที่ไม่มีบุญบารมีนั้นมีจำนวนมาก ที่มีบุญบารมีนั้นมีจานวนน้อย ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่สาม ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... ๔. ชนชาวโลกมีจิตใจน้อมอยู่แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับตัณหา มานะ ทิฏฐิ โทสะ โมหะ อิสสา มัจฉริยะ วิจิกิจฉามาก ไม่ยอมรับฟังการบอกเล่าถึงเรื่องเหล่านี้ว่ามีโทษเพราะกลัวว่า ถ้าขืนรับฟังแล้ว ก็จะทำให้การงานที่เกี่ยวกับการบำรุงบำเรอตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น ที่กำลังเป็นไปอยู่นั้นต้องลดน้อยลง ขาดความสนุกสนาน รื่นเริง เป็นที่น่าอนาถใจยิ่ง ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่สี่ ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... ๕. ภูมิประเทศก็ห่างไกลจากกันและกัน ภาษาพูดก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่ห้า ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... ๖. ชนชาวโลกที่มีศรัทธาน้อย วิจิกิจฉามาก และปัญญาความรอบรู้ในเรื่องเหตุผลก็ยังอ่อน มีแต่มิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ จะต้องได้รับคำสอนจากผู้ที่มีความรู้ในด้านปริยัติและปฏิบัติอย่างสมบูรณ์โดยถูกต้องเท่านั้น จึงจะทำให้ศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ปัญญารอบรู้ในเรื่องเหตุผลเจริญขึ้น ทำลายวิจิกิจฉา มิจฉาทิฏฐิที่มีอยู่ให้หมดไป มิฉะนั้น ก็หมดไปไม่ได้ มีแต่จะเพิ่มขึ้นทวีคูณ ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่หก ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... ๗. อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ที่แก่กล้าจักเกิดขึ้นแก่ชาวโลกได้นั้น จะต้องมีการรู้เห็นในเรื่องของพุทธศาสนิกชนที่มีเกียรติมีอำนาจทั้งหลายถวายการสงเคราะห์อนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ แด่ภิกษุสามเณรที่มี ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ หรือ ภิกษุสามเณรที่กาลังดำเนินงานในด้านปริยัติและปฏิบัติอย่างจริงจังเท่านั้น จึงจะทำให้อินทรีย์ ๕ แก่กล้าเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าการรู้เห็นในการอนุเคราะห์ สงเคราะห์ นี้เป็นไปตรงกันข้ามแล้ว อย่าว่าแต่ผู้ที่ไม่มีความเคารพนับถือศาสนาพระโคตมพุทธะเลย แม้แต่ผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว อินทรีย์ ๕ ก็จักไม่มีโอกาสเกิดขึ้น มิหนำซ้ำยังเข้าใจผิดไปว่า ในพุทธศาสนานี้ ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ การปริยัติ ปฏิบัติ มิใช่เป็นสิ่งสาคัญแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่เจ็ด ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... ๘. ชนชาวโลกจะเชื่อถือในศาสนาของพระโคตมพุทธะได้นั้น จะต้องได้รู้เห็นความสามัคคี ทั้งกาย ใจ ในกิจการต่าง ๆ ภายในวงพุทธศาสนิกชนทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรชิต ที่ดำเนินไปเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะทำให้มีจิตใจเกิดความเลื่อมใสขึ้น ฉะนั้น จึงขัดกันกับ ข้อที่แปด ฝ่ายพุทธศาสนา
    ..... เหตุต่าง ๆ เท่าที่ได้กล่าวแล้วนี้ จะเห็นได้โดยง่ายทั่วไป ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนที่มีความเลื่อมใสในศาสนาของพระโคตมพุทธะด้วยดีอยู่แล้วนั้น จงพยายามประพฤติปฏิบัติตามหลักคาสอนที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ให้บริบูรณ์ด้วยดี ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ ตลอดจนการเผยแผ่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อการทรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา แล้วทำการแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมเหตุภายในที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาในข้อ ๕ - ๖ - ๗ - ๘ ซึ่งเป็นกิจการของพุทธศาสนิกชนโดยตรงให้ถูกต้องโดยสมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยลาดับเท่าที่จะทาได้ เมื่อได้พร้อมใจกันประพฤติปฏิบัติและแก้ไขปรับปรุงในข้อ ๕ - ๖ - ๗ - ๘ ดังที่กล่าวแล้วนั้นให้ดีขึ้นเพียงใด เหตุอันเป็นคุณภาพของพระพุทธศาสนาในข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ ก็จักแผ่ไปในประชาชนชาวโลกได้มากเพียงนั้น

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ข้อ3นั้น เคยฟังมาจากอาจารย์เสถียรฯ ท่านก็มีความเห็นในแนวนี้ครับ สาธุๆๆครับผม

    • @tete4910
      @tete4910 ปีที่แล้ว

      @@user-cv1zh6bt3q ออครับ ๆ, ตั้งแต่ข้อมูลที่ 1 - 2 เป็นความเห็นของ ท่านพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ครับ

  • @user-mb3pv4bk8k
    @user-mb3pv4bk8k 11 หลายเดือนก่อน +1

    🌾 ๕๐๐๐ปี ๕ ยุค. ๑๐๐๐ปี ๑ยุค เป็นไปตามอายุศาสนาที่พระองค์ตรัสไว้.
    ...คำสอนพระพุทธศาสดาถูกกลืนกินจากคนนอกศาสนาและแอบนำธรรมคำสอนไปแฝงในศาสนาตัวเอง.
    ...แม้ลูกหลานของพระเจ้าอโศกยังทำลายล้างพุทธศาสนา.
    ...เดียรถีย์ไม่หมดไปจากพระพุทธศาสนา...

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  10 หลายเดือนก่อน +1

      ตอกสลักใหม่ สลักเก่าก็ค่อยๆเลือนหายไป

  • @user-ns3ue8ku7d
    @user-ns3ue8ku7d ปีที่แล้ว +2

    ปัจจุ.บัญ.กะยุยาก.อะ

  • @user-cl6nv7eq2n
    @user-cl6nv7eq2n ปีที่แล้ว +2

    เกินขึ้น ตั่งอยู่ ดับ แล้ว ก็ เกิน ดับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ใช่แล้วครับผม

  • @user-nz3fg4ex7k
    @user-nz3fg4ex7k 8 หลายเดือนก่อน

    ไม่มีใครมาทำลายพุทธศาสนา แต่พุทธศาสนาทำลายกันเอง แตกแยกกันเอง

  • @liveoverrated4449
    @liveoverrated4449 ปีที่แล้ว +1

    🧐🧐🧐

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      😀😀😀

    • @liveoverrated4449
      @liveoverrated4449 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่ดีครับ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณเช่นกันครับผมสำหรับกำลังใจและการติดตามรับชมครับผม

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +2

    เหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพาน โดย อ.เสถียร โพธินันทะ ครับ
    th-cam.com/video/Rs0xLELedHo/w-d-xo.html

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      สาธุๆๆครับ แฟนคลับท่านเลยครับ

    • @tete4910
      @tete4910 ปีที่แล้ว +1

      @@user-cv1zh6bt3q ครับ

  • @phongchakprapasirirat65
    @phongchakprapasirirat65 10 หลายเดือนก่อน +2

    ถึงจะสูญสิ้น ไปจาก อินเดีย แต่พระพุทธศาสนาอยู่ในไทยและประเทศในเอเซียใต้ ซึ่งไทยคือการกำเนิดใหม่ ต่อจากอินเดีย

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  10 หลายเดือนก่อน

      ถูกต้องแล้วครับ

    • @mekjunjumrern6726
      @mekjunjumrern6726 4 หลายเดือนก่อน

      อาจเสื่อมจากไทย แต่จะไปเจริญที่อื่นต่อไป ทุกวันนี้เสื่อมยาก เพราะมีบันทึกเป็นกิจจะลักษณะ คำสอนของพุทธจะยังคงอยู่อีกนาน ผู้คนเจริญขึ้นเทคโนเจริญขึ้น คำสอนใดล้าสมัยก็อาจหายไปได้เช่นกัน (มันเป็นไปตามกาล)

  • @guindy756
    @guindy756 ปีที่แล้ว +2

    พุทธที่ไทยก็ไม่ใช้พุทธเต็มร้อย

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      เห็นด้วยเลยครับผม ภาพรวมเราเริ่มออกห่างพุทธแท้แล้ว

    • @user-lv7hf9jz1o
      @user-lv7hf9jz1o ปีที่แล้ว +1

      เป็น พุช ครับ ไว้ไม่เลือกทุกสิ่งอย่าง

  • @user-fw8zr5cu9d
    @user-fw8zr5cu9d ปีที่แล้ว

    ผมไม่เข้าใจ​ ทำไมคนไทยบ้านเรา​ ถึงชอบดูถูกคนอินเดีย​ เรียกว่า​ เเขกบ้าง​ นู้นนี้นั่น​ ทั้งๆ​ พุทธ​ศาสนา​ ก็กำเนิดมาจาก​ อินเดีย​

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +2

      น่าจะติดสำนวนดั้งเดิมมาครับ จริงๆแขกคือผู้มาเยือน แต่อีกความหมายหนึ่ง บางคนก็เรียกอิสลาม ฮินดู ซิกซ์ว่าแขก ไม่ต่างจากเรียกคนอเมริกาว่าฝรั่ง ส่วนตัวผมมองว่าไม่ใช่การดูถูกนะครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองครับผม แต่ผมเชื่อว่าคำๆนี้ อนาคตคงค่อยๆใช้น้อยลงเพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยใช้กันแล้วครับผม ถ้าผมเผลอเรียกคำนี้ ก็ขออภัยด้วยนะครับ แต่ผมยืนยันว่าตัวผมไม่ใช่คำดูถูกนะ อย่างพระพุทธเจ้า บางครั้งผมก็พูดว่าทรงเป็นคนแขกเหมือนกัน โดยนัยคนเอเชียใต้ครับผม

    • @LilPunOishi
      @LilPunOishi ปีที่แล้ว +1

      เวลาคนมองพูดถึงแขกผมว่าเขาคือคนที่รวยและขยั่นเพราะเริ่มจากค้าขายนะไม่นับว่าดูถูก

    • @meefamily5141
      @meefamily5141 11 หลายเดือนก่อน +1

      เรียกแขก ดูถูกหรอ ? มันเป็นคำตัวแทนตั้งแต่โบราณแล้ว คนไทยเรียกตามความเคยชินไม่ได้ดูถูกเด้อ😂😂 อาชีพส่วนใหญ่ของแขกคือพ่อค้า !! บางทีคนอยุธยาโบราณแยกไม่ออกน่ะ ว่าเค้ามา จาก อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน ? จึงเรียกรวมๆตามกายภาพ เครื่องแต่งกาย ทรงผม แบบนี้ ว่าแขก!! เหมือนประเทศทางตะวันตก ก็เรียกฝรั่ง เดิมทีจากฝรั่งเศสที่มากันเยอะ!!

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลที่ 2 (ต่อ 6)
    ..... อนึ่ง เรื่องที่เกี่ยวกับความเห็นความเข้าใจและกิจการบางอย่างของพุทธมามกชนทั้งที่มีอำนาจและไม่มีอำนาจที่กำลังดำเนินอยู่ เมื่อว่าตามสภาวะแล้วยังไม่ถูกต้องทีเดียว ถูกแต่ตามโวหารเท่านั้นก็ยังมีอยู่อีกมาก แต่อาตมาภาพจะไม่ยกขึ้นมากล่าว ขอให้ผู้มีปัญญาทั้งหลายจงพิจารณาดูด้วยตนเอง
    ..... ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย เมื่อได้ทราบถึงกิจการที่กาลังเป็นไปอยู่ เหมือนกับคนตาบอดไม่กลัวผีนี้แล้ว ขอจงได้ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยเทอญ
    ..... อนึ่ง ชนทั้งหลายที่อยู่ในโลกด้วยกันทุกวันนี้ ล้วนแต่พากันเสาะแสวงหาวิชาความรู้ต่าง ๆ เพื่อจะได้นามาประดับสติปัญญาของตน ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะมีความเห็นว่า บุคคลใดขาดเสียซึ่งวิชาความรู้เสียแล้ว บุคคลนั้นก็ย่อมจะได้รับแต่ความลาบาก เพราะมิอาจที่จะยกฐานะ คือความเป็นอยู่ของคนให้รุ่งโรจน์ได้ มีแต่การใช้กำลังกายเป็นที่พึ่งฝ่ายเดียว มิอาจที่จะอาศัยปัญญา อันเป็นกำลังทางใจให้เป็นที่พึงแก่ตนได้
    ..... ด้วยเหตุนี้ วิชาที่ชนทั้งหลายมุ่งหวังอยู่ทั่วทุกคนนั้น ก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือวิชาทางโลกอย่างหนึ่ง วิชาทางธรรมอย่างหนึ่ง วิชาทางโลกนั้นย่อมให้ ผู้ศึกษาได้รับผลแต่ในปัจจุบันชาติ ๆ นี้ชาติเดียว หาได้ติดตามตนไปในภพอื่น ๆ ได้ไม่ มิหนำซ้าวิชาบางอย่างก็ทาให้ผู้ศึกษาได้รับผลร้ายอีกด้วยก็มี ส่วนวิชาทางธรรมนั้น ไม่มีการให้โทษแม้แต่ประการใด ๆ มีแต่ทำให้ผู้นั้นได้รับความสุขใจปรากฏเกิดขึ้นถ่ายเดียว และต่อไปในภายภาคหน้าก็ยังช่วยอุดหนุนให้ได้รับความสุขที่เกี่ยวกับมนุษย์ เทวดา ตลอดจน ถึงพระนิพพานอีกด้วย ความสุขทั้ง ๓ อย่างนี้ พระนิพพานเป็นความสุขอย่างยิ่ง เพราะไม่มีการผันแปรเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างอื่น คงมีแต่ความ สุขที่สงบจากทุกข์ทั้งมวล
    ..... เมื่อได้พิจารณาใคร่ครวญดูในวิชาที่เป็นทางธรรมโดยถี่ถ้วนแล้ว วิชาทางธรรมที่จะอำนวยผลให้ผู้ศึกษาได้รับความสุขในพระนิพพานโดยเร็วนั้น ได้แก่ วิชาความรู้ที่เกี่ยวกับพระอภิธรรม กล่าวคือ รูปนามและบัญญัติ ส่วนวิชาทางธรรมที่นอกจากนี้ เพียงแต่เป็นเครื่องประกอบ ผู้ที่จะได้รับความรู้ในรูปนามและบัญญัติ ซึ่งเป็นวิชาทางค้นพระอภิธรรมนั้น มีอยู่ด้วย กัน ๒ ทาง คือ ทางปริยัติและทางปฏิบัติ รู้โดยทางปริยัติ เรียกว่า สุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา รู้โดยทางปฏิบัติ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ความรู้ที่เป็นปริยัติและปฏิบัติ ทั้ง ๒ ทางนี้ รู้โดยอาศัยปริยัติเป็นการรู้โดยกว้างขวาง พร้อมทั้งบัญญัติของรูปนามเหล่านั้นด้วย ส่วนการรู้โดยอาศัยการปฏิบัตินั้น เป็นการรู้ที่เข้าถึงสภาพธรรมของรูปนามที่กาลังเป็นไปปรากฏชัดเจนแก่ปัญญาของตน ๆ ที่กำลังเพียรเพ่งพินิจอยู่ แต่ความรู้นั้น ถ้ารู้โดยอาศัยการปฏิบัติอย่างเดียวแล้ว ถึงแม้ว่าจะรู้ถึงสภาพธรรมโดยปัญญาของตน ๆ ก็ตาม แต่ก็มิอาจรู้ทั่วถึงบัญญัติของสภาพธรรมนั้น ๆ ได้ ทั้งยังจัดว่าเป็นความรู้ที่ยังแคบอยู่

  • @tete4910
    @tete4910 ปีที่แล้ว +1

    การเสื่อมสลายของพุทธศาสนา โดย อ.เสถียร โพธินันทะ ครับ
    th-cam.com/video/OjRd1f_U1yY/w-d-xo.html

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว

      สาธุๆๆเป็นหนึ่งในปาฐกถาจารย์ที่ผมชอบฟังท่านมากเลยครับ

    • @tete4910
      @tete4910 ปีที่แล้ว +1

      @@user-cv1zh6bt3q ครับ ผมก็ตามฟังตลอดเลยครับ ฟังไปด้วย ทบทวนไปด้วย

  • @user-ub9cu8cc8l
    @user-ub9cu8cc8l ปีที่แล้ว +4

    ขนาดในไทยเอง ยังไม่ใช่พุทธแท้เลย เหล่าพระสงฆ์ในไทย ทำพิธีรีตองเยอะแยะเต็มไปหมด

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +2

      จะออกแนวมนตรยานด้วยครับทรงนี้

    • @user-ub9cu8cc8l
      @user-ub9cu8cc8l ปีที่แล้ว +1

      @@user-cv1zh6bt3q บิดเบียนคำสอน ตอนผมบวช อาจารย์แต่ละท่านสอนไม่เหมือนกันซักอย่าง บางที อาจารย์สอนกรรมฐานทะเลาะกันเองก็มี ว่าสายของตนเองเจ๋งกว่า เจอพระบางรูป ยังห้อย อีงั่ง อีเป๊อะ ที่เอวอยู่เลย เจอมาทุกรูปแบบ ตอนผมบวช ไม่ต่างจาก ฆาราวาส

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  ปีที่แล้ว +1

      ก็คือว่าเป็นรายปัจเจกบุคคลกันไปเนอะครับ รูปไหนปฎิบัติดีปฎิบัติชอบเราก็กราบสาธุๆๆด้วยเศียรด้วยเกล้า

    • @user-eg3yf1bv1t
      @user-eg3yf1bv1t ปีที่แล้ว

      @@user-cv1zh6bt3q
      ใช่ครับ เเต่อิสลามน่ากลัวกว่า

    • @user-ou6fv5iw3d
      @user-ou6fv5iw3d ปีที่แล้ว

      #ปุจฉาฯวิสัชชนา
      "ขนาดในไทยเอง ยังไม่ใช่พุทธแท้เลย"
      ในฐานะที่คุณกล่าวเช่นนั้นเพื่อเป็นธรรมทานช่วยอธิบายพุทธแท้ตามที่คุณเข้าใจสิ
      และข้อความต่อ.....
      "เหล่าพระสงฆ์ในสงฆ์ในไทย ทำพิธีรีตรองเยอะแยะเต็มไปหมด"
      (ชัดเจนคนไม่รู้ธัมมะจริงแท้มักแสดงวาทกรรมโวหารออกมาแบบมั่วเหมาเรื่องชั่วๆตามลักษณะ"คนไม่รู้ภาษา"แท้จริง
      เพราะมะโนคนเช่นนั้นส่วนมากจะกล่าวตามสัญญาจำนั้นตามสัญชาติญาณที่จดจำมาแล้ว(ก็ดี)ไว้พิจารณะแยกแยะถูกผิด
      >แต่คนส่วนมากขาดโยนิโสมนสิการด้วยปัญญาให้รู้รอบก่อน(จึง"แค่จำว่าตามเขา"เช่นนั้นเองจึงผิดเป็นส่วนมาก)
      ศาสนาแท้จริงมีองค์ประกอบ
      องค์ประกอบของศาสนาแท้มี ๕ ประการ คือ
      ๑. พุทธคุณมี ๕๖ ประการ
      (มีอะไรบ้างค้นคว้าเองศึกษาเองจะได้มีสัญญาคือมรดกธรรมที่ดี
      ทำให้เกิดปัญญาโลกีย์โดยตามลำดับ
      ที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้จักโยนิโสมนสิการด้วย นั่นแหละเรียกชื่อปัญญาญาณทัศนะเหตุถึงปัญญาโลกุตตระตั้งแต่โสดาปัตติมรรคและที่สุดคือ ปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติปัญญา
      ๒. ธรรมคุณมี ๓๘ ประการ
      (ควรค้นคว้าศึกษาฯเช่นเดียวกับข้อ ๑ นั่นแหละ)
      ๓. สังฆคุณมี ๑๔ ประการ
      (เช่นเดียวกับข้อ ๒ นั้นแหละ)
      ๔. พุทธศาสนวัตถุ(มีมากมาย
      แปลว่าและหรือหมายถึงว่า>
      วัตถุนั้นๆคือสิ่งแทนคำสอนอันเป็นอภิมหามงคล เช่น.....
      พระไตรปิฎก,คัมภีร์,ตำราพุทธศาสน์,รูปหรือภาพพุทธปฎิมากร,เจดีย์พระมหาบรมธาตุ,สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล,โบสถ์วิหารวัด และพระภิกษุแม้สมมุติสงฆ์โดยพระธรรมและพระวินัย
      (คงรู้อรรถ,รู้ธรรมในธรรมของพยัญชนะในภาษาไทยนะจ๊ะ)
      ย้ำ และขอย้ำ ๆ ว่า
      #และนี่แหละหนึ่งเดียวคือเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่ลัทธิอื่นๆไม่สามารถอาจจะเทียบได้เลย
      #เหตุผลเพราะรูปธรรมนั้นๆคือนามธรรมของพุทธคุณฯธรรมคุณฯและสังฆคุณรวมเป็นอภิมหาคุณ๑๐๘
      อัปปะมาโณพุทโธฯอัปปะมาโณธัมโมฯอัปปะมาโณสังโฆแปลว่า
      คุณของพระพุทธเจ้าประมาณไม่ได้,คุณของพระธัมประมาณไม่ได้,คุณของพระสงฆ์ประมาณไม่ได้
      (ยอดนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่อาจสามารถประมาณคุณพระรัตนตรัยได้เลยแต่คนส่วนมากริประมาณผิดฯ)
      (>สรรพสัตว์ทั้งหลายเมื่อมีโอกาสได้เกิดเป็นคนแล้วโดยเฉพาะโชคดีได้พบพระพุทธศาสนาแล้วด้วยในชาตินี้ก็ควรศึกษาพุทธศาสน์ให้รู้จริงจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของกิเลสมารนะจ๊ะ)
      ๕. #พุทธศาสนพิธี
      แปลและหมายความว่า
      พิธีคือการกระทำตามคำสั่งสอนของผู้รู้จริงตามวันนักขัตฤกษ์ต่างๆเช่นวันมาขบูชา,วิสาขบูชา,อัฏฐบารมีบูชา,เข้าออกพรรษา,วันสราท,วันตักบาตรเทโว,วันลอยกระทงวันสงกรานต์เป็นต้น
      และสำคัญยิ่งคือพิธีการสมาทานศิล๕, ศิล๘ อุโบสถศิลแสดงตนเป็นพุทธมามกะและพิธีการถวายทานต่างๆมีสังฆทานเป็นต้น
      #ปราชญบัณฑิตท่านกล่าวให้รู้ว่านี่แหละคือขนบธรรมเนียมประเพณีจารีตแห่งวัฒนธรรม
      #หมายเหตุองค์ประกอบของศาสนาข้อที่๕นี้พิจารณาโดยหลักธรรมแล้วเห็นว่ามีความสำคัญที่สุด
      #สรุปบุคคลใดหากไม่เห็นความสำคัญองค์ประกอบศาสนาข้อที่๕แสดงว่าจิตใจคนนั้นเสื่อมจากศาสนาแล้วจ้า
      #ปัจฉิมลิขิตแสดงว่าคนๆนั้นไม่รู้จักศาสนาแท้จริงคือเป็นคนไม่มีศาสนาในใจจริงแท้แน่นอน
      อนุญาติ
      0896299145
      ยุตฺติโกภิกษุนามะ
      ภิกษุชาญชัย ชนะสุมน
      แสดงความคิดเห็นศาสนา

  • @user-qg4do1kv1j
    @user-qg4do1kv1j 11 หลายเดือนก่อน +1

    สากลยังไง?มีแต่เรื่องเล่า ยากที่จะเข้าใจ

    • @user-cv1zh6bt3q
      @user-cv1zh6bt3q  11 หลายเดือนก่อน

      เช่นจะไม่เน้นอนุรักษ์นิยมเป็นต้น ครับผมลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ จะมีคำอธิบายอยู่ ขอบพระคุณที่รับชมครับผม