EP.182 ประเภทจักรยานเสือภูเขา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2024
  • ประเภทจักรยานเสือภูเขา #ประเภทจักรยานเสือภูเขา
    จักรยานเสือภูเขา (Mountain bike)
    เป็นจักรยานที่เราเห็นกันมากที่สุด เหมาะมากสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะว่าปั่นง่าย ลุยได้กับทุกสภาพพื้นในบ้านเรา จะขรุขระหรือทางเรียบก็ไปได้สบาย
    จุดเด่นของเจ้าเสือภูเขาคือ จักรยานที่มีโช๊ค ส่วนใหญ่จะมีโช๊คหน้า หรืออาจจะเป็นคันที่มีทั้งโช๊คหน้าและหลัง เพื่อรองรับแรงกระแทกได้ดี ท่านั่ง องศาค่อนข้างนั่งได้ธรรมชาติ ไม่ต้องก้มแบบเสือหมอบ
    จักรยานเสือภูเขา ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้งานแบบออฟโรด การขี่ขึ้นเขา ขี่ตามทางวิบาก หรือถนนลูกลัง เป็นจักรยานที่มีมีความแข็งแรงมากกว่าจักรยานประเภทอื่นๆ อุปกรณ์เสริมจะเยอะเป็นพิเศษ เช่น โช๊คหน้า-หลัง, เกียร์ 16 - 27 เกียร์ ราคาก็เริ่มตั่งแต่หลักพัน ไปจนถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่นำประกอบ และวัสดุการผลิต ซึ่ง จักรยาน MTB เมืองไทยนิยมกันมาก เพราะเป็นจักรยานที่ปั่นสนุก ขี่ได้เกือบทุกสภาพพื้นถนน หากใครที่คิดจะขับ เจ้าเสือภูเขา ก็สามารถเลือกซื้อได้ตามงบประมาณของแต่ละคน บวกกับความชอบ
    สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
    / @cyclingstory456

ความคิดเห็น • 9

  • @suwitmoonsri2296
    @suwitmoonsri2296 2 ปีที่แล้ว +3

    แวะมาช่วยแอ๊ดเพิ่มเติมอีกคลิป เพราะมีน้อยช่องไม่กี่ช่องที่ออกมาพูดคุยเกี่ยวกับเสือภูเขานะครับ ประเภทเสือภูเขา ผมจะแยกย่อยออกมาระหว่าง หางแข็ง และ ฟูลซัส สำหรับประเภทหางแข็ง แยกออกมาได้ดั่งนี้ 1. XC หรือคอร์สคันทรี (ทั้งหางแข็งและโช้คหน้าหลัง) จะมีระยะโช้คยุบที่ 80 มิล ล้อขนาด 27.5 อย่างเดียว( size S คนปั่นส่วนสูงต่ำกว่า 170 ลงมา ) แต่หากเป็น size M (คนปั่นสูง 170ขึ้นไป) ล้อจะมีทั้งสองขนาดคือ 27.5 และ 29 นิ้ว ส่วนขนาด L จะมีล้อขนาด 29 อย่างเดียว ระยะยุบของโช้คหน้า 100 - 120มิล ไม่เกินนี้ หลายๆแบรนด์ปจุบันผลิตมาแบบนั้น ส่วนองศาคอของ XC จะอยู่ราวๆ 67.5 - 66 องศา และ Seat tube จะมีขนาดยาวและสูง ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการออกแบบมาเพื่อใส่ Dropper seat post เหมือนกลุ่มเสือภูเขาอื่นๆ อาจจะมีบ้างบางยี่ห้อ เพราะ XC ออกมาเพื่อความเร็วแต่ไม่สามารถโลดโผนได้เท่าเสือภูเขาอื่นๆ โช้คหน้าแกนขนาด 32มิล เช่น Fox 32 น้ำหนักรถจะเบา ต่ำกว่า 11 กิโลกรัม บางรุ่นท๊อปตัวหลายแสน น้ำหนักแค่ 7.5 กิโลกรัม จำไม่ผิดเหมือนจะเป็นของ Canondale น้ำหนักเบาแต่ราคาหนักเหลือเกิน 😄
    2. ประเภท Trail ซึ่งมีทั้งหางแข็งและ ฟูลซัส ขนาดล้อตาม size ของจักรยานเหมือน XC แต่...โช้คจะมีระยะยุบที่ยาวกว่าคือ 130 - 150 มิล ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 140 มิลลิเมตร ล้อมีสองขนาด 27.5, 29 (size S , M ) และ 29 (size L) การออกแบบของรถรุ่นนี้มีความพยายามผสมกันระหว่าง XC และ Enduro เข้าด้วยกัน บางยี่ห้อเรียกว่า All mountain คือจะปั่นเหมือน XC และลงเขาผาดโผนเหมือน Enduro ความลาดเอียงขององศาคอ จะมากกว่า XC คือ 66, 64.5 , 65 องศา และองศาของ seat tube จะเอียงมากกว่า XC (74, 75 องศา) และสั้นกว่าเพื่อใส่ Dropper seat post และออกแบบมาเพื่อการกระโดดโลดโผนเหมือน BMX เอามาผสมกัน (เอาให้เห็นภาพชัดๆไปดูยี่ห้อ Canyon Stoic 4 หางแข็ง) และจุดศูนย์กลางล้อหลังจากกระโหลก จะมีระยะสั้น (425-435 มิล) ซึ่งเราจะสังเกตุเห็นได้ว่าล้อหลังจะถูกดันเข้ามาหากระโหลก ในขณะเดียวกันล้อหน้าเอียงพุ่งออกไปข้างหน้า เพราะด้วยองศาคอที่เอียงมากกว่า XC ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการชนมากขึ้น แกนโช้คจะมีขนาด 34 - 36มิล น้ำหนักตัวรถประมาณ 13 -14.5 กิโลกรัม
    3. ENDURO ในปจุบันมีทั้งหางแข็งและฟูลซัส โช้คมีระยะยุบตั้งแต่ 150-170 มิล ( เห็นบ่อยๆคือ 150-160 ทั้งหางแข็งและฟูลซัส) ล้อ 27.5 และ 29 นิ้ว องศาคอจะเอียงมากกว่าประเภทอื่น คือ 63, 64 องศา บางรุ่น 65 ไม่ได้ต่างจากประเภท Trail มากนัก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 63 , 63.5 และ 64 องศา ( Slack head angle) พอๆกับ Down hill เพียงแต่ Down hill ระยะยุบ 170 มิลขึ้นไป ขนาดแกนโช้ค 36,38 มิล ส่วนใหญ่ มักจะใส่ โช้คหน้าแกนขนาด 36 มิล น้ำหนักตัวรถจะอยู่ที่ 14 -15.3 กิโลกรัม
    4. Down Hill อันนี้แตกต่างจากเสือภูเขาประเภทอื่นชัดเจน ระยะยุบของโช้คที่มากกว่า 170 - 220มิล ความลาดเอียงของคอที่เอียงมากกว่าประเภท ที่ 1 และ 2 คือ 63 องศา ฐานล้อหลังกับล้อหน้าจะยาวกว่า เพื่อการทรงตัวเวลาพุ่งลงเขาเร็วๆ น้ำหนักที่มาก ไม่เหมาะสม เอามาปั่นทางเรียบและปีนเขา มีเอาไว้ลงเขาอย่างเดียว แกนโช้คหน้าจะอยู่ที่ 38 และ 40 ใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่มและหนักมาก เช่น Fox 38, Fox 40 เป็นต้น โดยรวมน้ำหนักรถจะประมาณ 15 + กิโลกรัมขึ้นไป
    สรุป...โดยทั่วไปเสือภูเขาตัวที่แตกต่างจากเพื่อนโดยสิ้นเชิงเลยคือ คอร์สคันทรี หรือ XC ส่วนประเภท 2,3 ระหว่าง Trail กับ Enduro การออกแบบจะคล้ายๆกัน ไม่ว่าจะเป็นองศาคอ องศาที่นั่ง และฐานล้อระหว่างล้อหน้าล้อหลัง ลักษณะการนำไปปั่นไม่แตกต่างมากนัก ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเภท Trail หลายๆยี่ห้อพยายามที่จะออกแบบและเคลมว่า สามารถปั่นได้เหมือน XC ปีนป่ายได้ดี และซิ่งลงเขา ได้อย่าง Enduro ที่มีนิยามออกมาอีกประเภทคือ All mountain Bike คือคันเดียวทำได้ทุกอย่าง (จริงๆมันก็ประเภท Trail นั่นแหละ) และเอาเข้าจริงๆมันทำและทดแทนไม่ได้ทั้งหมด สำหรับมือใหม่ ผมแนะนำ XC หางแข็ง อย่างเดียวเลย ไม่แนะนำฟูลซัส หาความต้องการของตัวเองให้เจอ รูปแบบการปั่นที่ตัวเองชอบที่สุดๆที่ใจต้องการ (ที่ไม่ใช่แค่ความอยาก เพราะความอยากเดี๋ยวก็หาย) เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะคนที่งบไม่เยอะ และกำลังหาจักรยานสักคันมาปั่นออกกำลังกาย XC ก็พอแล้ว เพราะฟูลซัสค่าบำรุงรักษาไม่ถูก ที่สำคัญแพง 50,000 อัพ(นี่ถูกสุดละ) และการเซ็ทอัพยุ่งยาก ขอให้สนุกกับการปั่นครับ

    • @cyclingstory456
      @cyclingstory456  2 ปีที่แล้ว +1

      ยินดีเลยมากๆครับ อยากสมาชิกเเละเพื่อนๆ ของช่องปั่นกาเรื่องได้อ่าน Comment นี้นะครับ เป็นประโยชน์มากๆ ครับ สำหรับเเฟนๆเสือภูเขา

    • @suwitmoonsri2296
      @suwitmoonsri2296 2 ปีที่แล้ว

      @@cyclingstory456 เช่นกันครับ มีเข้ามาเม้นเรื่อยๆครับ

  • @Winwin-ds7cc
    @Winwin-ds7cc 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณครับ ที่ให้ความรู้

  • @jirapankulsattapirom2324
    @jirapankulsattapirom2324 2 ปีที่แล้ว +3

    ถ้าพี่ตัดรูปพี่ออกให้เหลือแต่เสียง เอาภาพจักรยานรายละเอียดของแต่ละแบบแทน รึไม่ก็เอาภาพพี่ให้เล็กลงรึเอาไปไว้มุมๆหน่อยจะดีมากเลย

  • @pratchayaphantongkaeo1778
    @pratchayaphantongkaeo1778 2 ปีที่แล้ว +1

    ติดตามครับผม/fc.

  • @stockjomthong2667
    @stockjomthong2667 2 ปีที่แล้ว +1

    ทำไมเขาแข่งเสือภูเขาชิงแชมป์โลกเขาไม่มีโช๊คหลังครับมีแต่โชคหน้า

    • @nonstop8429
      @nonstop8429 ปีที่แล้ว

      แล้วแต่สนามครับ ถ้า XC ทางโหดๆต้องลง drop บ่อย เขาก็ใช้ fullsus ล้วนๆ ลอยข้ามไปเลย แต่ถ้าทางง่ายๆแบบบ้านเรา หางแข็งก็พอ