เรื่องที่ 6.1.1 ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 เม.ย. 2024
  • @monchaiponyiamnicknameauu4655 @Highlight @Follower
    มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช
    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
    หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น Principles of Economics (60120)
    หน่วยที่ 6 ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดและตลาดผู้ขายน้อยราย
    ตอนที่ 6.1 ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
    หัวเรื่อง
    เรื่องที่ 6.1.1 ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
    เรื่องที่ 6.1.2 ราคาและปริมาณการผลิตในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
    เรื่องที่ 6.1.3 การเปรียบเทียบตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดและตลาดแข่งขันสมบูรณ์
    เรื่องที่ 6.1.4 การโฆษณาของหน่วยธุรกิจในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
    แนวคิด
    1.ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก สินค้าของหน่วยธุรกิจแต่ละรายผลิตมีความแตกต่างกันแม้ว่าจะสามารถทดแทนกันได้ หน่วยธุรกิจเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของหน่วยธุรกิจในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดจะมีค่ามากกว่าในตลาดผูกขาด หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากตลาดได้อย่างเสรีโดยมีกำไรเป็นแรงจูงใจให้เข้าสู่ตลาด และขาดทุนเป็นแรงผลักดันให้ออกจากตลาด
    2.หน่วยธุรกิจในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดโดยทั่วไปจะกำหนดราคาและปริมาณผลิตเพื่อกำไรสูงสุด ปริมาณผลิตที่จะได้กำไรสูงสุดก็คือ ปริมาณผลิต ณ ระดับที่รายรับส่วนเพิ่มเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม ขณะที่ราคาจะถูกกำหนดโดยเส้นอุปสงค์ ณ ระดับการผลิตนั้น ในระยะสั้นหน่วยธุรกิจอาจได้กำไรเกินปกติ กำไรปกติ หรือขาดทุนก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วหน่วยธุรกิจในตลาดนี้จะได้รับเพียงกำไรปกติ
    3.หน่วยธุรกิจในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดไม่เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากไม่เกิดการผลิต ณ ระดับที่ต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด และไม่เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากเกิดการผลิต ณ ระดับที่ราคาสินค้าสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม หน่วยธุรกิจในตลาดแข่งขันสมบูรณ์เกิดการผลิตและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากเกิดการผลิต ณ ระดับที่ต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุดและระดับราคาสินค้าเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม ระดับราคาสินค้าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จึงต่ำกว่าในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดขณะที่ปริมาณผลิตจะมากกว่า
    4.หน่วยธุรกิจในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้นได้โดยการโฆษณาทำให้สามารถผลิตสินค้าในปริมาณมากขึ้น เกิดการประหยัดจากขนาดการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงนอกจากนี้การโฆษณายังเพิ่มความนิยมในตัวสินค้าของหน่วยธุรกิจ ทำให้ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าของหน่วยธุรกิจลดลง หน่วยธุรกิจจึงสามารถตั้งราคาให้สูงขึ้น ส่งผลให้กำไรสูงขึ้นด้วย
    จาก นาย มนต์ชัย พลเยี่ยม ( 5990008889 )
    แขนงวิชาการจัดการการเกษตร
    วิชาเอกธุรกิจการเกษตร
    ชื่อปริญญา: เกษตรศาสตรบัณฑิต(การจัดการการเกษตร)
    Bachelor of Agriculture (Agricultural Management)
    กษ.บ.(การจัดการการเกษตร)
    B.Ag.(Agricultural Management)
    สาขาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ความคิดเห็น •