ตำนานเก่าแก่ เมืองง้าวเงิน (อำเภองาว จังหวัดลำปาง)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 31 ก.ค. 2023
  • อำเภองาว มีตำนานเล่าขานกันต่อๆ มา ในอดีตเมืองง้าวเงิน (หรืออำเภองาว) ปกครองโดยเจ้าแม่สุพกิจ (สัปปะกิ) ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครอง อยู่ที่วัดศรีมุงเมือง (วัดพระธาตุตุงคำในอดีต) ซึ่งเป็นเมืองโบราณของเมืองเขลางค์ (หรือเมืองลำปางในปัจจุบัน) เรียกชุมชนวัดศรีมุงเมือง และชุมชนบ้านใหม่
    ต่อมาเจ้ากะระปัต ผู้ครองเมืองภูกามยาว (เมืองพะเยา) ซึ่งเป็นพี่ของเจ้าแม่สัปปะกิ ต่อมาเจ้ากะระปัต ได้มาหาน้องที่เมืองง้าวเงิน (อำเภองาว) โดยขี่ม้ามาหยุดที่บ้านหนองเหียง และปลอมตัวเป็นขอทานมาขอข้าวกิน ฝ่ายเจ้าแม่สุพกิจ (สัปปะกิ) ได้เอาข้าวเน่าเสียให้เป็นทาน ทำให้เจ้ากะระปัตผู้พี่โกรธมาก และได้นำข้าวเน่าไปทิ้ง ซึ่งบริเวณนั้น ต่อมาเรียกว่า ห้วยข้าวเน่า อยู่ตำบลบ้านแหง และได้ส่งสารมาท้ารบ กับเจ้าแม่สุพกิจ (สัปปะกิ)
    ฝ่ายเจ้าแม่สุพกิจ (สัปปะกิ) ได้รวบรวมผู้คนในเมืองง้าวเงิน ขุดคันคูเมือง เพื่อป้องกันข้าศึก (ปัจจุบันคูเมือง อยู่ด้านหลังของบริเวณวัดศรีมุงเมือง) ต่อมาเจ้ากะระปัต ได้ยกทัพมาตีเมืองง้าวเงิน เจ้าสัปปะกิสู้รบเต็มความสามารถ แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ทัพเมืองพะเยา เจ้าแม่สัปปะกิ ได้หลบหนีไปถึงบ้านน้ำจำ (บ้านดอนมูลในอดีต) และเจ้าเมืองพะเยา ได้ติดตามมาจนถึงบ้านน้ำจำ พยายามจะประหารเจ้าแม่สัปปะกิ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเจ้าแม่สัปปะกิ ในอดีตชาติ เคยช่วยเหลือหอยทากไว้ 2 ตัว ให้พ้นจากการถูกไฟไหม้ และต่อมา หอยทากทั้ง 2 ตัว ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ มองเห็นถึงความเดือดร้อนของเจ้าแม่สัปปะกิ จึงช่วยเหลือนาง โดยปล่อยตุงลงมา ให้เจ้าแม่สัปปะกิจับ และดึงขึ้นไปบนสวรรค์ เจ้าแม่สัปปะกิ จึงรอดพ้นจากการถูกประหารชีวิต
    จากตำนาน และคำบอกเล่าดังกล่าว ชาวบ้านจึงได้ตั้งเสา เพื่อปักตุงซาววา (ธงยี่สิบวา) ขึ้น ที่บ้านน้ำจำ (ดอนมูล) โดยมีความเชื่อว่า เป็นการสะเดาะเคราะห์ ให้แก่เจ้าแม่สัปปะกิ หรือสะเดาะเคราะห์ ให้แก่ตนเองและครอบครัว หรือญาติมิตร สหาย ปู่ ย่า ตา ยาย และให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ฝนตกต้องตามฤดูกาล
    ต่อมาหลวงพ่อวิฑิตธรรมคุณ และหลวงพ่อพระครูสิทธิญาณโสภณ ได้ย้ายเสาตุงซาววา ไปไว้ที่วัดม่อนทรายนอน ซึ่งมีตำนานเล่าว่า อดีตของพระพุทธเจ้า ที่เสวยพระชาติเป็นทรายคำ หรือเนื้อทราย เมื่อนายพรานออกป่าล่าสัตว์ และได้พบทรายคำ จึงไล่ล่า ทรายคำได้วิ่งหนี โดยได้คาบมะม่วงลูกหนึ่งไว้ ด้วยความเหน็ดเหนื่อย จึงได้หยุดนอนพัก และได้คายมะม่วงลูกนั้น ไว้บนม่อนดอยลูกหนึ่ง ซึ่งต่อมา ม่อนดอยลูกนั้น จะได้ชื่อว่า ม่อนทรายนอน และมะม่วงลูกนั้น ได้เจริญงอกงาม กลายเป็นต้นใหญ่ วัดประดิษฐานองค์พระธาตุม่อนทรายนอน
    หลังจากนั้น ชาวบ้านอำเภองาว จึงได้ยึดถือเป็นประเพณี ในการถวายตุงซาววา (ธงยี่สิบวา) ในวันที่ 17 เมษายน และได้มีพิธีกรรมทางศาสนาเป็นประจำทุก ปีเพื่อสืบสานประเพณีโบราณ ไม่ให้สูญหาย และคู่กับบ้านเมือง จนมาถึงทุกวันนี้
    #นิทานพื้นบ้าน #ตำนาน #เมืองงาว
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 10

  • @user-xd1ih1gn7r
    @user-xd1ih1gn7r 16 วันที่ผ่านมา +1

    ของเก่าแก่ดูดีมากกว่า ดูขลังมาก

  • @foto8438
    @foto8438 10 หลายเดือนก่อน +2

    กำลังติดตามฟังครับ

  • @thanawanthongkam9297
    @thanawanthongkam9297 10 หลายเดือนก่อน +2

    สุดยอดค่ะแอด 😀❤👍✌✌

  • @werpool6475
    @werpool6475 10 หลายเดือนก่อน +2

    🎉ขอบคุณสำหรับความรู้ดีนะคะ♥️💐

  • @user-vf9fm6xc1y
    @user-vf9fm6xc1y 10 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบใจ๋เน้ออ้ายขี่เมี่ยงครับ...

  • @boysan218
    @boysan218 6 หลายเดือนก่อน +2

    ตำนานเหล่านี้เป็นเพียง เรื่องเล่าพื้นบ้านไม่มีเขียนหรือจารึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด

    • @keemiang
      @keemiang  6 หลายเดือนก่อน

      ครับ

  • @user-nx9ef4jw7n
    @user-nx9ef4jw7n 6 หลายเดือนก่อน +1

    👍👍👍🏵️🏵️🏵️🙏🙏🙏

  • @GfHv-ic6pg
    @GfHv-ic6pg 10 หลายเดือนก่อน +2

    เกวืยนเล่มนี้สวยมากค่ะสมัยพี่เป็นเด็กๆเคยนั่งมาแล้วนะคะ🙏👍💕💕💕

  • @user-ky5nf6si5x
    @user-ky5nf6si5x 10 หลายเดือนก่อน +2

    🙏💚💚❇️❇️