(ใหม่ล่าสุด) หนานติ๊บปาละ ตำนานบ้านสามขา (ตำบล หัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ย. 2024
  • ตำนานบ้านสามขา ตำบล หัวเสือ ชุมชนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา ในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
    ตามตำนานเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ตามคำบอกเล่าสืบกันมาว่า ในหมู่บ้านมีคนล่าสัตว์เลี้ยงชีพอยู่หลายครอบครัว วันหนึ่งมีชาวบ้านคนหนึ่งได้ออกล่าสัตว์ แล้วไปพบเห็นรอยเก้งกินลูกมะกอกป่า จึงตัดไม้ทำเป็นห้างหรือนั่งร้านอยู่บนต้นไม้เพื่อดักยิงเก้ง พลบค่ำลงเก้งตัวนั้น ได้ออกมากินมะกอกป่าอีก ชาวบ้านคนนั้นจึงใช้ปืนคาบศิลา ยิงเก้งถึงแก่ความตาย แต่พรานชาวบ้านผู้นั้น ไม่สามารถนำเก้งทั้งหมดกลับบ้านได้ เนื่องจากเป็นเก้งที่ใหญ่มาก จึงใช้มีดตัดเอาเฉพาะขาหลังเพียงขาเดียว ส่วนที่เหลือก็นำใบไม้มาปกปิดไว้กันไม่ให้คนอื่นมาเห็น
    รุ่งเช้า พรานคนดังกล่าวได้ชักชวนเพื่อนบ้านกลับไปเอาเนื้อเก้งที่เหลือ แต่เมื่อไปถึงที่ซ่อนเนื้อเก้งไว้ กลับไม่เจอเนื้อเก้งดังกล่าว เนื่องจากมีงูใหญ่มาพบเก้งที่เหลือสามขา จึงลากเข้าไปกินในถ้ำที่อยู่ทางทิศตะวันตก ชาวบ้านจึงพากันตามรอยงูใหญ่ที่ลากเก้งเป็นทางไป จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ปากถ้ำ จึงคิดว่างูใหญ่ตัวนั้นนำเก้งไปกินในถ้ำ ดังนั้นจึงพากันกลับบ้านเพื่อหารือว่าจะทำอย่างไรกับงูใหญ่ตัวนั้น
    เมื่อมีความเห็นสอดคล้องตรงกัน จึงหาเชือกมามัดเป็นเกลียวเส้นใหญ่และยาวที่สุด ได้นำเอาหูหิ้วถังตักน้ำมาทำเป็นขอเบ็ด ผูกกับเชือกแล้วฆ่าสุนัขตัวหนึ่งผูกติดกับเบ็ดหย่อนลงไปในรูถ้ำ ปลายเชือกผูกติดกับต้นไม้ที่ปากถ้ำ พอวันรุ่งขึ้นก็พากันมาดู เห็นเชือกตึงจึงรู้ทันทีว่างูใหญ่คงติดเบ็ดแล้ว จึงช่วยกันดึงงูออกมา แต่ดึงเท่าไหร่ก็ไม่สามารถดึงออกมาได้เนื่องจากงูใหญ่มาก จึงได้ระดมคนในหมู่บ้านทั้งชายและหญิงให้ไปช่วยกันทุกคน ยกเว้นหญิงหม้ายเพียงคนเดียวที่ไม่ไปช่วย พอชาวบ้านทั้งหมดมาถึงก็ได้ช่วยกันดึงอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ดึงไม่ออกเหมือนเดิม
    ชาวหมู่บ้านแห่งนั้นจึงได้นำเอา ช้างสามปาย ควายสามศึก เกวียนสามเล่ม ใช้เชือกผูกตามกัน แล้วควาญช้างก็ไส ช้างให้เดินหน้าและเฆี่ยนควายให้เดินตาม ในที่สุดก็สามารถดึงออกมาได้ เมื่อออกมาพ้นปากถ้ำแล้วก็ใช้เกวียนสามเล่มต่อกัน ใช้ช้างยกงูขึ้นใส่เกวียน แล้วจึงให้ช้างเดินนำหน้าช่วยลากงูไปจนถึงหมู่บ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านแล้วพวกเขา จึงพากันลงมือชำแหละเนื้องูออกมาทำเป็นอาหาร แจกจ่ายกันกินทั้งหมู่บ้าน มีทั้งเหล้ายา สาโท จ้อย ซอ กันอย่างสนุกสนาน ร่าเริงเต็มที่ ส่วนเนื้องูที่เหลือก็แบ่งปันกันทุกครัวเรือน ยกเว้นหญิงหม้ายผู้นั้นเพราะไม่ได้ไปช่วยเขาลากงู จึงไม่ได้รับส่วนแบ่ง
    พอเวลากลางคืน ตอนดึกได้มีเทวดามาเข้าฝันโดยแปลงตัวเป็นคนแก่ ผมขาว หนวดยาว หลังโก่งถือไม้เท้าขึ้นบันไดมาหาหญิงหม้ายคนนั้นแล้วกำชับว่า คืนนี้ถ้าได้ยินเสียงอะไรที่อึกทึกครึกโครม หรือเสียงอะไรก็ตามห้าม ออกจากบ้านเป็นอันขาด อย่าลงบ้านไปไหนเพราะจะเป็นอันตราย พอสั่งแล้วเทวดาก็หายวับไปกับตา พอหญิงหม้ายนอนหลับไปก็ตกใจตื่นเนื่องจากมีเสียงดังอึกทึกครึกโครมเหมือนแผ่นดินจะถล่มทลาย หญิงหม้ายผู้นั้นจึงรีบวิ่งออกมาจากประตูเรือน แต่พอนึกถึงคำเตือนของชายชราผมขาวผู้นั้นได้จึงกลับไปนอนดังเดิม
    ครั้นต่อมาได้ยินเสียงก็วิ่งออกนอกประตูเรือนมาดูอีก แต่ก็นึกถึงคำเตือนอีกครั้งก็กลับเข้าไปนอนทุกครั้ง พอครั้งที่สามวิ่งออกมาถึงหัวบันได สิ่งที่ปรากฏต่อสายตากลับมองดูเวิ้งว้าง บ้านเรือนที่ใกล้ชิดติดกันหายไปหมดไม่เหลือสักหลัง โล่งเป็นบริเวณกว้าง หญิงหม้ายรีบกลับเข้าไปนอน ไหว้พระสวดมนต์ พอรุ่งเช้าจึงออกมาดูข้างนอกเห็นบริเวณหมู่บ้านยุบลงไปหมด เหลือแต่บ้านของตนเพียงหลังเดียว หญิงหม้ายผู้นั้นจึงเก็บข้าวของที่มีค่าไปอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านที่ถล่มนั้น ปัจจุบันเรียกถ้ำนั้นว่า “ถ้ำย่าเถ็ก” บริเวณหมู่บ้านที่ถล่มลงไปนั้นปัจจุบันเรียกว่า “โป่งหล่ม”
    ต่อมามีชาวบ้านที่ยากจนไม่มีอันจะกินได้พากันรอนแรมออกป่าล่าสัตว์ อพยพมาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น ซึ่งมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก พอเพื่อนบ้านทราบข่าวเล่าสืบต่อๆ กันไป ก็เดินทางมาสมทบและอพยพมาเรื่อยๆ จนมาพบทำเลเหมาะ ดิน น้ำ อุดมสมบูรณ์ดี จึงพากันมาตั้งถิ่นฐานปลูกบ้านหลายหลังจนกลายเป็นหมู่บ้าน บริเวณนั้นมีต้นกล้วยป่าขึ้นเต็มไปหมด จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านแม่หยวก”
    ต่อมาต้นกล้วยได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น เพราะชาวบ้านขุดถางทำเป็นไร่นาไปหมด เมื่อไม่มีหยวกกล้วยเหลืออยู่แล้วจึงพากันเปลี่ยนชื่อบ้านใหม่ โดยให้ชื่อว่า "บ้านสามขา" ตามขาเก้งที่เหลือ ซึ่งหมายถึงความมั่นคง เปรียบดังก้อนเส้าสามก้อน และแก้วสามประการคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาจนทุกวันนี้
    วันเวลาผ่านมา จากตำนานเล่าขาน กลายเป็นนิทานก่อนนอน หรือเรื่องเล่ารอบกองไฟ ในค่ำคืนที่เหน็บหนาว ลูกหลานชาวบ้านสามขาทุกวันนี้ ยังจดจำที่มา แห่งตำนานประวัติหมู่บ้านของพวกเขาได้ และพยายามพลิกฟื้นนิทานดังกล่าว ให้กลายเป็นตำนานที่มีชีวิต ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า เพราะทุกวันนี้ พวกเขากำลังสร้างตำนานบทใหม่ ตำนานแห่งการอนุรักษ์ผืนป่าต้นน้ำ และการอยู่ร่วมกัน ระหว่างคนกับป่า
    #นิทานพื้นบ้าน #ตำนาน #หนานติ๊บปาละ

ความคิดเห็น • 11

  • @ดุษฎีล้อมเล็ก
    @ดุษฎีล้อมเล็ก 3 หลายเดือนก่อน +2

    คนแต่ก่อนน่าสงสารต้องต่อสู้.👍😂❤👍

  • @สุภาวดีเกียรติเจริญ-ฬ4ฟ
    @สุภาวดีเกียรติเจริญ-ฬ4ฟ 3 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะ​ คุณขี้เมี่ยง​ ❤️❤️❤️

  • @BigBBig135
    @BigBBig135 2 หลายเดือนก่อน +1

    สุดยอดบ้านสามตำนานเจ้าพ่อติ็บปะละของชาวลำปางที่เข้าเครพนันถือข้าพเจ้าครัว๑๓๕สาธุสาธุด้วยด้วยเทิญอ

  • @คําใสแสนปิงวัง
    @คําใสแสนปิงวัง 3 หลายเดือนก่อน +1

    🙏🌹❤️👍สวัสดีค่ะคุณขี่เมี้ยง

  • @KasemWannasuwong
    @KasemWannasuwong 2 หลายเดือนก่อน

    ชื่อทุ่งนาในหมู่บ้านคงจะมีที่มาที่ไปเหมือนกันครับแอดชื่อทุ่งวัดห่าง[วัดร้าง]ทุ่งนาบ้านเก่าทุ่งปากถ้ำคนทำนาก่อเจอก้อนอิฐเจอเบี้ยที่เขาใช้แทนเงินสมัยโบราณนักโบราณคดีน่าจะเอาไปพิสูจน์หน่อยอยากรู้อารยธรรมของชุมชนว่ามีมากี่ร้อยปีแล้วผมก่อลูกหลานคนชุมชนนี้ครับ

  • @werpool6475
    @werpool6475 3 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณ💦
    เป็นความเชื่อที่โหดนะคะไม่ชอบเด็ก ผู้ชายในขณะที่บางประเทศในอดีต ชอบเด็กผู้ชายมากๆ หนานติ๊บปาละมีบุญ🍵🍏🌹🌿♥️

  • @คนเมืองยศจอมมึนFCดุษณีสปาชาแนล

    สวัสดีค่ะแอดน้องชายบ้านสามขาเป้นบ้านเกิดพ่อพร่นะคะ

  • @thanawanthongkam9297
    @thanawanthongkam9297 3 หลายเดือนก่อน +1

    👍👍👍

  • @พัชรณัฏฐรุ่งรศัมิ์กุลกร

    สวัสดีค่ะท่านอาจารย์เมื่อวานถือศีลเลยไม่ได้ดูคลิปให้ใครเลยสักช่องค่ะ🧡🙏👍