154.ลักษณะของสัญญา ๑๐ ประการ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 ก.พ. 2025
  • 🎧เพลย์ลิสต์ 🔁 • ๑๕. สมถะและวิปัสสนา
    ดาวน์โหลดเสียงพุทธวจน : watnapp.com/au...
    เวปไซต์วัดนาป่าพง : watnapp.com
    โปรแกรมตรวจสอบเทียบเคียงพุทธวจนจากพระไตรปิฎก : etipitaka.com/
    #ตถาคต #พุทธวจน #สมถะ #วิปัสสนา
    #ลักษณะของสัญญาสิบประการ
    พุทธวจน สมถะและวิปัสสนา. ๑๕/๓๙๙/๑๕๔.
    -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๕-๑๒๐/๖๐.
    อานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์แล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอ ข้อที่อาพาธของภิกษุคิริมานนท์ จะพึงสงบระงับไป เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
    สัญญา ๑๐ ประการ เป็นอย่างไร คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา
    วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
    สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา #อานาปานสติ.
    อานนท์ ก็อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ อานนท์ นี้เรียกว่า #อนิจจสัญญา.
    อานนท์ ก็อนัตตสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าจักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตาเสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมเป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ อานนท์ นี้เรียกว่า #อนัตตสัญญา.
    อานนท์ ก็อสุภสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ อานนท์ นี้เรียกว่า #อสุภสัญญา.
    อานนท์ ก็อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ อานนท์ นี้เรียกว่า #อาทีนวสัญญา.
    อานนท์ ก็ปหานสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มีซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มีซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มีซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มีซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว อานนท์ นี้เรียกว่า #ปหานสัญญา.
    อานนท์ ก็วิราคสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นั่นคือ ธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
    เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความคลายกำหนัด เป็นนิพพาน อานนท์ นี้เรียกว่า #วิราคสัญญา.
    อานนท์ ก็นิโรธสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
    เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นนิพพาน
    อานนท์ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา.
    อานนท์ ก็สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ละอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุ0ในการตั้งมั่น ในการถือมั่น และเป็นอนุสัย (ความเคยชิน) แห่งจิต เธอย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น อานนท์ นี้เรียกว่า #สัพพโลเกอนภิรตสัญญา.
    อานนท์ ก็สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังต่อสังขารทั้งปวง อานนท์ นี้เรียกว่า #สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา.
    อานนท์ ก็อานาปานสติ เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ...
    .... ยังมีต่ออีกที่หน้า ๔๐๓ ถึงหน้า ๔๐๕

ความคิดเห็น •