ชุดการแสดงชาติพันธุ์ชาวไทยทรงดำ ( ลาวโซ่ง ) จังหวัดราชบุรี " ฟ้อนแคนแมนฟ้า "
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 18 ธ.ค. 2024
- ฟ้อนแคนแมนฟ้า
ชาติพันธุ์ชาวไทยทรงดำ มีความเชื่อในเรื่องของเมืองแถนและวิญญาณบรรพบุรุษ จึงจะมีพิธีเสนเรือนเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณของบรรพบุรุษและขอให้ช่วยปกปักรักษาให้มีความสุขความเจริญ และหลังจากเสร็จพิธีกรรมจะมีการเล่นคอนฟ้อนแคน เรียกว่าเอิ้นกอน และมีการเล่นลูกช่วงเพื่อเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวที่มาช่วยงานได้พบปะพูดคุยกัน จึงแนวคิดของการแสดงชุดนี้ เพื่อเล่าเรื่องราวของการบูชาเมืองแถน ประกอบการเป่าแคนฟ้อนบูชา และเล่นลูกช่วงสร้างความรื่นเริงสนุกสนาน
ชุดการแสดง เป็นรำหมู่ ประกอบด้วยชาย ๔ คน หญิง ๔ คน
บทเพลง ใช้เครื่องดนตรีหลักคือ แคน พิณ กลองยาว ฉาบ ฉิ่ง ผสมผสานดนตรีอีเลคโทรนิคและเครื่องดนตรีตะวันตก คือ ระนาดไม้ขนาดใหญ่ (Marimba) และ ระนาด (Xylophone) ใช้เทคนิคที่เรียกว่าการใช้ดนตรีสองคีย์ที่แตกต่างกันในเวลาเดียวกัน(bitonality) ในบางท่อนของเพลง เพื่อให้เกิดเสียงใหม่ (sound) ที่น่าสนใจ
การแต่งกาย ผู้ชาย สวมเสื้อไททรงดำ (เสื้อไท) แขนยาวสีดำ นุ่งกางเกงครึ่งแข้ง ผ้าขาวม้าพาดบ่า
ผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวสีดำ นุ่งซิ่นลายแตงโมง ผ้าคล้องคอสีเหลือง ใส่สร้อยคอเงิน กำไลข้อมือเงิน ต่างหูเงิน ทรงผมมวย (ปั้นเกล้าขอดซอย) ติดปิ่นเงิน