หัวใจโต มีอาการอย่างไร อันตรายหรือไม่ รักษาได้ไหม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 ก.ย. 2022
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

ความคิดเห็น • 428

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +36

    หัวใจโต มีอาการอย่างไร อันตรายหรือไม่ รักษาได้ไหม #LVH #RVH
    หัวใจมี 4 ห้อง ห้องด้านบนเรียกว่า Atrium ด้านซ้ายบนเรียกว่า Left Atrium ด้านบนขวาเรียกว่า Right Atrium และหัวใจห้องล่าง เรียกว่า Ventricle ด้านล่างซ้ายเรียกว่า Left Ventricle ด้านล่างขวาเรียกว่า Right Ventricle
    หัวใจโตส่วนใหญ่แล้วมักจะหมายถึง หัวใจห้องล่างซ้ายโต (Left Ventricle) ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Hypertrophy คือการที่มีการขยายขนาด โต หนา หากหัวใจห้องล่างซ้ายโตเราจะเรียกว่า Left ventricular hypertrophy แต่ไม่ใช่เฉพาะหัวใจห้องล่างซ้ายโตเพียงอย่างเดียวเสมอไป เพราะห้องอื่นก็สามารถโตได้ เพราะแต่ละห้องก็มีเหตุผลไม่เหมือนกัน
    ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +12

      หัวใจห้องล่างซ้ายโต (Left ventricular hypertrophy)
      สาเหตุหลัก
      - มีการทำงานหนักขึ้น เช่น มีแรงดันในนั้นสูงมากๆ หรือ มีปริมาณเลือดเข้าไปในนั้นมาก ทำให้ต้องขยายขนาดขึ้นเพื่อที่จะทำงานให้มากขึ้น
      - มีอะไรไปแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หนาขึ้น
      - สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้น Aortic ตีบ ระหว่างห้องบนและล่าง มีลิ้นหัวใจกั้น และก่อนที่หัวใจห้องล่างจะบีบออกไปที่อื่นก็จะมีลิ้นหัวใจอีกอันหนึ่ง
      ระหว่างลิ้นหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายจะมีลิ้นหัวใจชื่อ Mitral valve ถ้าลิ้นนี้มีปัญหารั่ว ปิดไม่สนิท ก็ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโตได้ เพราะ ปกติห้องบนจะต้องบีบเลือดไปห้องล่าง แล้วห้องล่างก็จะบีบไปที่อื่น ระหว่างบีบลิ้นก็จะเปิด เพื่อส่งเลือดจากห้องบนไปห้องล่างได้ แล้วห้องล่างก็จะบีบออกไปเลี้ยงร่างกาย ระหว่างการบีบ ก็ไม่ต้องการให้เลือดไหลย้อนไปสู่ห้องบนได้ แต่ถ้าลิ้นหัวใจรั่วหรือปิดไปสนิท เลือดนอกจากจะบีบไปข้างหน้าก็จะไหลย้อนกลับไปได้ด้วย ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักหลายเท่า
      ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +12

      หัวใจห้องล่างซ้ายกับเส้นเลือดใหญ่ที่ต่อออกไปเลี้ยงร่างกายเรียกว่า Aorta จะมีลิ้นตัวหนึ่งชื่อ Aortic valve หากลิ้นตัวนี้ตีบ เลือดก็จะไปท้นอยู่ในตัวหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น ปกติลิ้นนี้จะต้องเปิดเวลาที่หัวใจบีบตัว แต่ถ้าหัวใจบีบตัวแล้วลิ้นนี้ปิดหรือเปิดได้น้อย ก็ทำให้เกิดแรงต้านเยอะ ทำให้หัวใจต้องขยายขนาดขึ้นเพื่อให้มีแรงบีบส่งตัวมากขึ้น
      หรือ เรามีความดันโลหิตสูง เช่น ความดันใน Aorta สูงก็จะท้นกลับมาทำให้เกิดปัญหาได้ หรือ ผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว โดยเฉพาะผนังกั้นห้องหัวใจห้องด้านล่างมีรูรั่วจะเรียกว่า Ventricular septal defect จะทำให้หัวใจห้องด้านล่างซ้ายโต
      สาเหตุที่พบบ่อย คือ ความดันโลหิตสูง และ ลิ้นหัวใจ Aortic ตีบ รองลงมาคือ Ventricular septal defect มีรอยรั่วของหัวใจห้องล่างซ้ายและขวาทั้งสองห้อง หรือ ลิ้น Mitral รั่ว
      ถ้า Aortic ตีบจะเรียกว่า Aortic stenosis แต่ถ้า รั่วจะเรียกว่า Aortic regurgitation ทั้งสองแบบทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายใหญ่ขึ้น
      ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +1

      นอกจากนี้ยังมีโรคแปลกๆ ที่มีแทรกซึมระหว่างกล้ามเนื้อด้วยสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น Amyloid จะเป็นโปรตีนที่ผิดปกติแล้วไปแทรกตามกล้ามเนื้อต่างๆได้ แต่พบน้อย หรือ มีเหล็กเกินในร่างกาย อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ก็ได้ หรือ หรือคนที่ได้เลือดเรื่อยๆ หรือ ธาลัสซีเมียแบบรุนแรงก็จะมีโอกาสเหล็กเกินในร่างกาย แพทย์จะต้องให้ยาขับเหล็กหรือเจาะเอาเลือดไปทิ้ง เพื่อขับธาตุเหล็กออก แต่ปัจจุบันเราใช้วิธีอื่นแทน หากมีเหล็กเกิน ก็จะไปสะสมในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดความผิดปกติได้
      ทั้งหมดที่กล่าวมาจะทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจจะหนาขึ้นด้วย เพราะจะต้องมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพื่อบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ และต้องสู้กับภาระที่หนักขึ้น จึงทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น เรียกว่า Left ventricular hypertrophy
      Dilated cardiomyopathy (Dilated = ขยาย, cardio = หัวใจ, myo = กล้ามเนื้อ, pathy = ความผิดปกติ) เป็นความผิดปกติของห้องกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ห้องหัวใจหนาขึ้นแต่ผนังบางลง จะเป็นกรณีพิเศษ พบได้ไม่บ่อย
      นอกจากนี้ยังพบกับผู้ที่ออกกำลังกายหนักๆ เช่น นักวิ่งมาราธอน ยกเวทมากๆ กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายจะหนาขึ้น
      ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +11

      อาการ
      ด้วยการหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ไม่มีอาการใด อาการจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขยายขนาดขึ้น เช่น
      1. ถ้าลิ้นหัวใจตีบ อาจเหนื่อยหอบง่าย หน้ามืดง่าย เป็นลม แน่นหน้าอก
      2. ความดันโลหิตสูง ก็จะพบความดันโลหิตสูงอยู่เรื่อยๆ หลายๆคนไม่อยากกินยา จะขอทำอย่างอื่นได้หรือไม่ ท่านสามารถทำได้แต่ท่านต้องทำให้ความดันลงให้ได้ไม่งั้นท่านก็จะพบปัญหาที่ท่านจะพบต่อไปในอนาคต
      3. ท่านที่ออกกำลังกายหนักๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอะไร
      มีโรคหนึ่งที่พบในนักกีฬา อาจทำให้นักกีฬาที่ดูปกติแข็งแรงเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัย HOCM (Hypertrophic Obstructive Cardiomyopathy) เป็นลักษณะที่หัวใจหนาขึ้นมาแล้วไปอุดกั้นทางเดินเลือดที่อยู่ด้านใน ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไรพบอีกทีก็เสียชีวิตแล้ว หากท่านที่ต้องการออกกำลังกายแบบแข่งขันแนะนำให้ไปตรวจกับแพทย์ก่อนว่าไม่มีภาวะนี้
      ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +14

      ข้อเสียของ Left ventricular hypertrophy
      1. โอกาสจะเกิดหัวใจวายจะสูงขึ้น
      2. โอกาสจะเกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจจะสูงขึ้น
      3. โอกาสเสียชีวิตจะสูงขึ้น
      ยกเว้นที่หัวใจโตของท่านเนื่องมาจากการออกกำลังกาย หรือที่เรียกว่า Physiological left ventricular hypertrophy (LVH) จะไม่เกิดปัญหาใดๆทั้งสิ้น
      การรักษา
      - ไม่สามารถรักษาด้วยยาได้
      - การรักษาต้องรักษาที่สาเหตุ เช่น ความดันโลหิตสูงก็ต้องไปรักษาที่ความดันโลหิตสูง เช่นการออกกำลังกาย งดอาหารเค็ม DASH diet (เน้นผักผลไม้ งดเนื้อแดง ทานเนื้อขาว) นอนไม่พอ หยุดหายใจขณะหลับก็ต้องแก้ไข หากทำทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้นท่านก็ต้องทานยา มิเช่นนั้นหัวใจท่านก็จะโตไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญหา เช่น หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ และโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
      - เมื่อรักษาสาเหตุเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่หัวใจของท่านก็จะสามารถกลับมามีขนาดปกติได้ แต่ที่ไม่กลับสู่ปกติเพราะท่านไม่รักษาอย่างจริงจัง ไม่คุมให้ดีแล้วกลับมาเป็นใหม่ หากรักษาเร็วก็จะกลับมาได้เร็ว หากรักษาช้าก็จะกลับมาได้ช้า
      ตอนที่6

  • @maneeann
    @maneeann ปีที่แล้ว +27

    🫀อาการเตือนภาวะหัวใจโต
    🔘 ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยภาวะหัวใจโตมักไม่มีอาการแสดงถ้าหัวใจยังทำงานได้อย่างปกติ
    🔘 แต่ถ้าหากหัวใจทำงานผิดปกติ อาจทำให้มีอาการดังนี้
    ✔️ หายใจลำบาก
    ✔️ หายใจเร็ว ใจสั่น
    ✔️ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
    ✔️ เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
    ✔️ แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้
    ✔️ ไอ โดยเฉพาะเวลานอน
    ✔️ เท้าบวม หรือบวมบริเวณเท้าในตอนสายๆ

  • @sangthipgresczyk5496
    @sangthipgresczyk5496 ปีที่แล้ว +11

    รายการคุณหมอ มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ทำให้มีความรู้จากที่ไม่เคยทราบมาก่อนเลย ได้กลับมาดูแลทั้งตัวเอง และคนในครอบครัว และเพื่อนๆ โดยการเผยแพร่ความรู้ต่างๆที่ได้จากคุณหมอค่ะ ขอบพระคุณคุณหมอมากๆเลยนะคะ ที่ทั้งบอกสาเหตุ และวิธีแก้ไข และป้องกัน คือรอบด้านเลย 🎉❤

  • @jumilya.1689
    @jumilya.1689 ปีที่แล้ว +8

    ขอบคุณคุณหมอกรุณาให้ความรู้เรื่องหัวใจโตในคลิปนี้ค่ะ
    เคยเข้าใจมาตลอดเลยว่า "หัวใจโต" หมายถึงหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นทั้งดวง คุณอาไปตรวจสุขภาพประจำปีแล้วมาเล่าว่าคุณหมอบอกว่าหัวใจโตนิดนึง ยังไม่ต้องทำอะไร ที่ไหนได้เราควรต้องรู้ว่าหัวใจโตน่ะมันโตที่ห้องไหน
    ขอบคุณคุณหมออีกครั้งนะคะกับความรู้ที่ให้กับทุกคนในวันนี้ คอยฟังทุกวัน ได้รับความรู้ทุกวันค่ะ 🤩

  • @user-er6xq7of8u
    @user-er6xq7of8u ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ คุณหมอ

  • @chittipornchuatram5703
    @chittipornchuatram5703 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ
    🤗😘❤

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ🙏🙏🙏🙏🙏🙏

  • @ruchirathip961
    @ruchirathip961 ปีที่แล้ว +2

    ❤ขอบคุณค่ะคุณหมอได้ความรู้มากเลย

  • @palthongphubet3852
    @palthongphubet3852 ปีที่แล้ว +1

    คุณหมอน่ารักมากคะ..พูดเพื่อคนที่เป็นหมอได้ความรู้ด้วย..สุดยอดที่มีจิตใจสูงจริงๆๆ

  • @user-ix1qe2jo8s
    @user-ix1qe2jo8s ปีที่แล้ว +3

    คุณหมอ เก่งน่ารัก น้ำเสียงไพเราะ ฟังเพลินค่ะ

  • @MuayChannel6
    @MuayChannel6 ปีที่แล้ว +1

    เข้าใจเรื่องหัวใจโตมากขึ้นค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากๆ เลยค่ะ 💗

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 ปีที่แล้ว +4

    จะฟังเสมอถ้าเจอคลิปคุณหมอ เมื่อมีเวลา ชอบฟังค่ะ เป็นความรู้ที่ไม่มีในตัวเอง ประโยชน์ทั้งนั้นค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

  • @user-ts7jx1es6e
    @user-ts7jx1es6e 2 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณคุณหมอมากมากค่ะ❤❤❤

  • @darathongmanochat2071
    @darathongmanochat2071 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ มีจิตใจงาม ขอให้ท่านเจริญค่ะ

  • @user-up1kp8sj3x
    @user-up1kp8sj3x 6 หลายเดือนก่อน +2

    ดูคลิปนี้บ่อยมาก เห็นหน้าอาจารย์สดชื่น ดูแล้ว ชื่นใจ และมีความสุขไม่เครียดค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 ปีที่แล้ว +5

    สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอวันนี้มาให้ความรู้เรื่องหัวใจโตได้ความรู้มากคะ👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹❤️

  • @user-yw7gq2ku9u
    @user-yw7gq2ku9u ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณ คุณหมอแทน มากค่ะ
    ฟังแทบทุกคลิป..มีประโยชน์มากๆค่ะ
    ขอให้คุณหมอ..มาเล่าให้ฟังแบบนี้เรื่อยๆน่ะค่ะ🙏ติดตามตลอดค่ะแชร์ตลอดค่ะ

  • @Betterworld233
    @Betterworld233 ปีที่แล้ว +3

    มีหลายคนสงสัยกับโรคนี้ เป็นประโยชน์มาก ขออนุโมทนาบุญกับคุณหมอด้วยนะคะ👍🙏

  • @stellakiriya6958
    @stellakiriya6958 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบพระคุณคุณหมอมากๆค่ะป้ากำลังเป็นโรคหัวใจโตค่ะป้าเข้าใจแล้วค่ะขอบคุณสำหรับคริปVDO เป็นวิทยาทานค่ะ🙏

  • @somchun1999
    @somchun1999 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับอาจารย์หมอ🙏😍👍

  • @ksi6102
    @ksi6102 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณ คุณหมอมากที่ให้ความรู้และให้คำแนะนำค่ะ

  • @thienchailuechaiprasit6677
    @thienchailuechaiprasit6677 ปีที่แล้ว +6

    ขอชมเชยคุณหมอธนีย์ครับ การให้ความรู้…ยิ่งใหญ่ครับ

  • @sugasweet1357
    @sugasweet1357 10 หลายเดือนก่อน

    ดีที่มาดูก่อนไปx-rayขอให้หายปกติทีค่ะ เพราะรอหมอนัดอีกทีค่ะจะได้ถาม

  • @kalyamonosathanond
    @kalyamonosathanond ปีที่แล้ว +4

    แวะมาส่งหัวใจเป็นกำลังใจให้ค่ะ แต่เป็นหัวใจขนาดปกติ ไม่โตนะคะ 🤍

  • @rossakorntuk9282
    @rossakorntuk9282 ปีที่แล้ว

    ขอบพระคุณ คุณหมอมากค่ะ

  • @nutchapoti1303
    @nutchapoti1303 7 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ ได้ความรู้มากๆได้ดูแลตัวเอง และพ่อแม่ และคนอื่นๆ

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณนะคะ ตอนที่รู้ว่าแม่เป็นหัวใจโตก้รุ้สึกงง เหมือนกันคะว่าเป็นมาจากสาเหตุใดเพิ่งมาทราบจากคุณหมอนี่ละคะ 🙏

  • @maneeann
    @maneeann ปีที่แล้ว +16

    🫀 โรคหัวใจโต (Cardiomegaly)
    🔘 เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่ หรือหนากว่าปกติ
    🔘 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
    🔘 อาจเกิดจากสาเหตุโรคอื่นๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
    🔘 ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้จะทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องได้

  • @mystorymoaw2212
    @mystorymoaw2212 11 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณที่มาให้ความรู้ค่ะหมอ เพราะเวลาหาหมอที่โรงบาล จะไม่มีเวลาอธิบายเราค่ะ คนไข้เยอะ ก้อต้องมาหาข้อมูลเพิ่มค่ะถึงจะเข้าใจขึ้น

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีคะคุณหมอ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 ปีที่แล้ว +7

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    วันที่ 29 ก.ย. เป็นวันหัวใจโลก คุณหมอทันเหตุการณ์เสมอค่ะ เตือนให้ทุกคนตระหนักถึง ความสำคัญของ"หัวใจ" ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก
    หัวใจโตไม่ใช่โรค เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่กว่าปกติ เกิดได้หลายสาเหตุ รักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ คุณหมอแนะนำให้ทาน DASH diet ถ้ามีภาวะหยุดหายใจฃณะหลับ ก็ควรรักษาค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขนะคะ 🌻🧡🌻

  • @SANGSANTi
    @SANGSANTi ปีที่แล้ว +4

    เป็น VSD รูเบอเริ้ม 11mm พอผ่าตัดปิดรูรั่วแล้วภาพ x ray หัวใจเล็กลงมากเลยครับเทียบกับตอนก่อนผ่าตัด เห็นผลทันทีเลยแจ๋วมาก

  • @EedWatcharapornTubrutn
    @EedWatcharapornTubrutn ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณสำหรับ ความรู้ ในวันนี้ค่ะ เรื่องของหัวใจ สำคัญยิ่งนัก
    🫀🫀🫀🫀
    มีประโยชน์ มากๆ ค่ะ รวมทั้ง 2 คลิปก่อน ด้วยค่ะ
    📝 คงต้องหาเวลา มาจดความรู้ รัวๆ แล้วค่ะ
    😴😴🥱🥱🥱🥱
    Have a wonderful time with a lovely Rosy ค่ะ 🌸🐶🌸🐶🌸🐶

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏👍👍👍👍♥️♥️♥️♥️

  • @KarnTovara
    @KarnTovara ปีที่แล้ว +11

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ สำหรับความรู้เรื่อง *หัวใจโต* ค่าา 🙇‍♀️
    - เป็นความรู้ทางสุขภาพที่มีประโยชน์มาก คุณหมออธิบายละเอียดมากค่ะ
    - คุณหมอค่อยๆ อธิบายตั้งแต่ Physiology ของหัวใจ ว่าโดยปกติหัวใจทำงานอย่างไร ..... โรคหัวใจโตชนิดต่างๆ (สาเหตุ อาการแสดง อันตรายที่จะตามมา วิธีการรักษา คำแนะนำต่างๆ) 👨‍🏫
    - เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ เป็นความรู้สำหรับดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวได้อย่างดีค่ะ
    - ใช้เป็นข้อสังเกตและเฝ้าระวัง "เมื่อมีอาการอย่างไร...ควรไปพบแพทย์" ค่ะ 😆
    - และที่สำคัญ ช่วยกระตุ้นให้ใส่ใจดูและสุขภาพมากขึ้นค่ะ โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการพักผ่อนค่ะ 😱
    - คุณหมอพักผ่อนด้วยนะค้าา 🍚🥘🍫🥝🍒🍵🙇‍♀️

  • @comserveitserve7165
    @comserveitserve7165 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ คุณหมอฮีโร่

  • @monwk2699
    @monwk2699 11 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากค่ะ ตอนนี้ป้ากำลังอยู่ที่โรงพยาบาล หมอกำลังตรวจหาสาเหตุ ป้าอยู่ที่ ฟลอริด้า หายใจไม่อิ่มค่ะ

  • @user-bp8yn7xp5l
    @user-bp8yn7xp5l 11 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากจ้า...🥰😍😻

  • @user-kv3ms7dt5b
    @user-kv3ms7dt5b ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @DevilishMoMo
    @DevilishMoMo ปีที่แล้ว +2

    ขอบพระคุณอาจารย์ที่สละเวลาให้ความรู้มากนะครับ เป็นกำลังใจให้อาจารย์ทำคลิปดีๆต่อไปนะครับ

  • @Thiphayathida
    @Thiphayathida ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @pensrithaijareon5912
    @pensrithaijareon5912 11 หลายเดือนก่อน

    ใช่ค่ะห้องล่างซ้าย ไปครึ่งของปอด

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov ปีที่แล้ว +4

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน
    ความรู้เรื่อง🫀ในวันนี้ เป็นความรู้ที่น่าสนใจ มีคำแนะนำต่างๆที่เป็นประโยชน์ค่ะ ขอบคุณที่คุณหมอนำมาเล่าอธิบายให้ฟังนะคะ

  • @sriratdecha8809
    @sriratdecha8809 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากครับ!

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ

  • @Chefaey
    @Chefaey ปีที่แล้ว +4

    อาการเตือนภาวะหัวใจโตต้องระวัง
    ระยะเริ่มต้นผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการถ้าหัวใจยังทำงานปกติ แต่ถ้าหากทำงานผิดปกติจะมีอาการ หายใจลำบาก หายใจเร็ว ใจสั่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เวียนศีรษะ
    อ่อนเพลียง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ไอโดยเฉพาะเวลานอน เท้าบวมหรือบวมบริเวณเท้าในตอนสายไฟ
    คนที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    ผู้ป่วยที่รับประทานธาตุเหล็กมากเกินไปจนทำให้เกิดโรค
    Hemochromatosis
    และ มีความผิดปกติทางด้านโปรตีน
    มีโปรตีนสะสมในกล้ามเนื้อหัวใจ หรือamyloidisis

  • @pt2538
    @pt2538 ปีที่แล้ว +1

    เป็นลิ้นหัวใจรั่วที่ mitral valve ตั้งแต่เกิด แต่รั่วไม่มาก ก็เลยยังไม่ได้ทานยา แต่ก็ตรวจอาการเรื่อยๆ กับคุมไขมันในเลือดค่ะ

  • @user-fg5ki8wv8d
    @user-fg5ki8wv8d 2 หลายเดือนก่อน +1

    พออายุมากขึ้นเราจะรู้ว่าสุขภาพสำคัญที่สุดครับ ขอบคุณครับคุณหมอ

  • @krongkaewarunsiri8866
    @krongkaewarunsiri8866 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณค่ะ❤️❤️❤️🙏

  • @ALL86898
    @ALL86898 ปีที่แล้ว +5

    สวัสดีค่ะอาจารย์แพทย์🙏คุณหมอแทน😍วันนี้หล่อมากมากเลยค่ะ วันนี้คุณหมอมาคุยเล่าให้ความรู้เรื่องหัวใจ โต มีอาการอย่างไร รักษาอย่างไรคืออะไร และทำไมหัวใจจึงโต ได้ หัวใจของเรามีสี่ห้อง ห้องบนมีสองห้องซ้าย และขวา ห้องล่างมีสองห้อง คือซ้ายและขวาส่วนใหญ่หัวใจของเราที่โตนั้นเป็นหัวใจห้องล่างซ้ายโต นั้นเกิดได้อย่างไร เพราะหัวใจมีการทำงานหนักขึ้น หรือมีอะไรไปอุดอยู่ หรือความดันโลหิตสูง มีการรั่วของลิ้นหัวใจ ทำให้หัวใจห้องล่างโต ถ้ามีการรั่วปิดไม่สนิททำให้เลือดทะลักไปที่อื่นมีการท้นของเลือดหัวใจต้องบีบตัวทำให้หัวใจต้องขยายตัวเองส่วนใหญ่คนเป็นความดันโลหิตสูง หรือคนที่มีธาตุเหล็กเกินในร่างกายหมอต้องให้ยาขับธาตุเหล็กเพราะจะไปสะสมในร่างกายทำให้เกิดหัวใจโตและสิ่งที่อุดตันมากเกิดสะสมในร่างกายมีสิ่งที่มีโปรตีนผิดปกติ อาจมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้กล้ามเนื้อหนาแต่กล้ามเนื้อหัวใจหนาไม่ทำให้เป็นปัญหา ผนังหัวใจบางอาจทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโตแต่ที่มีอาการอย่างไรนั้นขึ้นกับโรคที่เป็นเช่น มีความดัน สูงก็รักษา คนออกกำลังกาย แข่งขันต้องไม่มีภาวะอันนี้อาจทำหัวใจวายขณะแข่งขันทำให้ตายได้ คนหัวใจโตมีข้อเสียคืออาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ มีหัวใจวาย การรักษา คือที่แก้ไขที่ต้นเหตุก่อนถ้ามีความดัน กินยา รักษาและการออกกำลังกาย คุมอาหารอย่าทานเค็ม กินผักผลไม้ทานถั่ว ปลาและให้นอนพักผ่อนให้พอ ถ้าหยุดหายใจขณะหลับต้องรักษา ก่อน ดี เราก็สามารถทำให้หัวใจกลับมามีขนาดเป็นปกติได้ คนที่ออกกำลังกายด้วยแอร์โรบิด ปั่นจักรยาน วิ่ง มาราธอนจะทำให้หัวใจห้องล่างโต มากกว่าคนที่ออกกำลังกายโดยการยกน้ำหนัก ถ้าผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาเกิน16ซ.มหนา เกินไปแล้วห้องหัวใจหนาตามปกติก็ไม่เป็นอะไรเรามีการตรวจโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะไม่แน่นอนเหมือน อัลต้าซาวด์หัวใจ เอ๊กเรย์ หรือMRIหัวใจสามารถบอกได้ว่ามีหัวใจโต ห้องล่างซ้ายถ้าลิ้นหัวใจรั่ว ตีบ หรือลิ้นหัวใจรั่วทำให้ห้องล่างด้านซ้ายโตและไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้ดี ส่งไปเลี้ยงหัวใจห้องบนได้น้อย และ ถ้ามีสารไปสะสมก็เป็นได้ ทำให้ทำงานผิดปกติสูบฉีดเลือดไม่ได้ 💥ส่วนหัวใจด้านล่างขวาก็โตได้เป็นได้อาจโตส่วนใหญ่ความดันในหัวใจด้านล่างขวาสูงได้ถ้ามีความดันโลหิตในปอดสูง และมีเส้นเลือดเล็กผิดปกติ หรือมีโรคปอดเรื้อรังรุนแรง ถุงลมป่องพอง มีโรคพังผืดปอดทำให้ปอดยืดหยุ่นไม่ได้เลือดผ่านไปไม่ได้ทำให้เลือดไหลเวียนไปหัวใจด้านขวาไม่ได้ เกิดท้นไปที่ขา ขาปวม อาจทำให้หัวใจวาย 💥หรือเรียกว่าหัวใจผิดปกติ จากโรคปอดนั่นเอง ขอบคุณแทนค่ะ ได้ความรู้มากค่ะ🙏👍❤

  • @paemitmaiteetour1111
    @paemitmaiteetour1111 ปีที่แล้ว +7

    ขอบคุณ💡ความรู้หัวใจโต
    และความดันสูงมีส่วนทำให้หัวใจโต รอบหน้าตรวจหน้าคงต้อง 🙋‍♀️💡ขอรีเควส🔎เช็กหัวใจ กับ👩‍⚕️โค้ชที่ดูแลประจำ
    ด้วยความมาบ่อยๆ พอๆ กับตี้ซี้ ทั้ง👩‍⚕️โค้ช และ คุณพยาบาลบางท่าน จำได้.. มาอีกล่ะ🚶‍♀️😊ในหวอดของ รพ. คะ💁‍♀️🎒

  • @mountainview9195
    @mountainview9195 ปีที่แล้ว +9

    ขอบคุณค่ะอาจารย์ 🙏🌸
    ไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอดและวิกฤติบำบัด โรคหัวใจก็เก่งด้วย ชอบฟังคลิปนี้ค่ะ รอติดตามซีรี่ส์โรคหัวใจต่อไปค่ะ

  • @pimvalan1
    @pimvalan1 ปีที่แล้ว +1

    วันก่อนคุณแม่ไป xray ปอด คุณหมอบอกปกติดี แต่หัวใจโต (ผ่าเปลี่ยนลิ้นหัวใจมา 7 ปีแล้วค่ะ) ปีใหม่มีนัดทำเอคโค่ จะไปถามคุณหมอหัวใจอีกที

  • @pookpuir.9653
    @pookpuir.9653 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณมากเลยค่ะ เข้าใจว่าหัวใจโตคือใหญ่กว่ากำปั้นเรา😅😅😅
    แล้วเหนื่อยอกเหนื่อยใจนี่ถือเป็นโรคไหมคะ ต้องไปหาหมอไหมคะ หยอกๆค่ะ😄😄😄

  • @Lek44888
    @Lek44888 ปีที่แล้ว +11

    สวัสดีค่ะอาจารย์
    อาจารย์มาใหัความรู้เรื่อง
    "หัวใจโตมีอาการอย่างไร อันตรายหรือไม่ รักษาได้ไหม"
    🍀หัวใจคนเรามีทั้งหมด 4 ห้อง เวลาที่คุณหมอพูดถึงหัวใจโต ส่วนใหญ่จะหมายถึง หัวใจห้องล่างซ้ายมันโต มีการขยายขนาดขึ้น
    🍀คนที่หัวใจห้องล่างซ้ายโต โอกาสที่จะหัวใจวายสูงขึ้น
    การเต้นผิดปกติของหัวใจสูงขึ้น โอกาสเสียชีวิตก็จะสูงขึ้น
    ยกเว้นข้อเดียวคือ หัวใจโตเพราะการออกกำลังกาย กรณีนี้จะไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิ้น
    🍀ถ้าหัวใจโต เราควรจะสอบถามคุณหมอให้ชัดเจน ว่าหัวใจโตที่ห้องไหน ถ้าคุณหมอไม่ได้บอกอะไรมักจะหมายถึง ห้องล่างซ้าย ถ้ามีภาวะนี้ ต้องไปหาสาเหตุ ว่าทำไมโต ถ้าหาสาเหตุได้ให้แก้ที่สาเหตุ หัวใจจะกลับมาปกติได้ ถ้าไม่ได้แก้ไข จะเกิดหัวใจวายในอนาคตได้ เกิดหัวใจเต้นผิดปกติได้ มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นได้
    🍀หัวใจห้องด้านล่างขวา ส่วนใหญ่จะเกิดจากปัญหาโรคปอด หรือบางคนหัวใจห้องด้านล่างซ้าย มันโตมากๆความดันก็จะท้นๆกลับมาห้องล่างขวา บางคนโตทั้ง 4 ห้องเลยก็ได้
    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🙏🏻

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณมากค่ะพี่เล็ก🙏🌹🌹❤️

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว +1

      @@kanyamuay3748
      ยินดีค่ะน้องหมวย🌹🌹❤️

  • @KOLET199
    @KOLET199 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์🙏
    (จันทร์26/09/2565).

  • @soontareesoontaree6725
    @soontareesoontaree6725 ปีที่แล้ว +1

    กระจ่างแล้วนะ My Left ventricle of heart คุณ Soontaree ขอบคุณค่ะ 😁😁😁

  • @RealmeRealme-gt8dt
    @RealmeRealme-gt8dt 28 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณมากค่ะหมอ

  • @user-km1zn3pq7q
    @user-km1zn3pq7q ปีที่แล้ว +2

    ความดันปรกติค่ะแต่หัวใจโต

  • @rubyv.5581
    @rubyv.5581 ปีที่แล้ว +6

    ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ คุณพ่อเป็นอยู่เลยค่ะ และความดันสูงด้วย คราวนี้เข้าใจแล้วว่าต้องพยายามประคองอาการอย่างไร จะเอาไปเล่าให้พ่อฟังค่ะ
    ป.ล. ตั้งแต่มาเป็นแฟนคลับช่องนี้ เพื่อนๆ ทักว่าพูดจาเรื่องสุขภาพเป็นภาษาคนมีความรู้มากค่ะ 😂

  • @aonza84
    @aonza84 ปีที่แล้ว +3

    ไม่ได้เห็นคุณหมอสวมเสื้อตัวนี้นานแล้ววววว เหมือนเสื้อตัวเล็กลง คุณหมอตัวใหญ่ขึ้น😊

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ เคยหาหมอโรคหัวใจเพราะคิดว่าเป็นโรคหัวใจแต่ไม่ใช่เป็นอาการแพนิคค่ะ ขออันตราซาวด์ เดินสายพาน ปกติดี คุณหมอก็ใจดีมากอธิบายประมาณนี้แต่ไม่ละเอียดเท่านี้ตอนนั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจนะคะแต่ก็ชอบฟังจนคุณหมอบอกไม่ต้องหาหมอแล้วนะเพราะปกติดีค่ะ จริงๆแล้วคุณคงจะรำคาญมากกว่าถามเยอะไปหน่อย แต่วันนี้ชัดเจนค่ะ ปล.คิดว่าสมาชิกหลายๆคนคงจะมีหัวใจพองโตทุกวันตอนเช้าและตอนบ่ายสามเพราะได้เจอคุณหมอค่ะ!!! แฮร่😋😄😆

  • @pinyoy3160
    @pinyoy3160 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอขอบคุณมากนะค่ะที่มาให้ความรู้อีกค่ะขอบคุณมากนะค่ะ

  • @noiharder444
    @noiharder444 ปีที่แล้ว +1

    I would like you talk about "Hip Bursitis" I have been in pain in the past week. Thank you very much.

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      Better ask orthopedics. Treatment is basically resting, NSAID, or steroid injection if refractory.

  • @user-ww9jf9ec6c
    @user-ww9jf9ec6c ปีที่แล้ว +19

    รักน้อนสฺปฺทฺ์โรซี่หัวใจพองโต รักอาจารยฺ์แทนนี่ไม่หมดโปรทั้งสี่ห้องหัวใจ

    • @user-ji4sh1kf3r
      @user-ji4sh1kf3r ปีที่แล้ว +1

      😁😁😅😅

    • @user-gpr
      @user-gpr ปีที่แล้ว +2

      Love 🥰 Love 🤟

    • @mountainview9195
      @mountainview9195 ปีที่แล้ว +1

      😆😆😍😍😍

    • @sorattyahattapasu7765
      @sorattyahattapasu7765 ปีที่แล้ว +1

      รักด้วยจร้า ฟังคุณหมอพูด คิดถึงคำว่า "ดีใจรู้สึกหัวใจฟองโต" อิอิ

  • @user-ot9dj3pg5t
    @user-ot9dj3pg5t ปีที่แล้ว +1

    เคยไปขายประกันชีวิต พนง.บัญชี ผู้หญิง อายุ 50up แบบตรวจสุขภาพ ลูกค้าหัวใจโตเพิ่มเบี้ย 50% เยอะมากค่ะ เพราะขนาดลูกค้ามะเร็งเต้านมรักษาหายแล้วยังเพิ่มเบี้ยน้อยกว่าเยอะเลยค่ะ และบริษัทประกันรับด้วย คนแถวบ้านตรวจพบหัวใจโต 2ปีต่อมาเส้นเลือดใหญ่ที่ท้ายทอยแตก เสียชีวิต เลยคิดว่าน่าจะค่อนข้างอันตราย

  • @user-np3uz2zb6q
    @user-np3uz2zb6q ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @sukanyaputhapitak909
    @sukanyaputhapitak909 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +9

    ในคลิปนี้อาจารย์หมอใส่กำไลหินสีน้ำตาลส้มแดง และมีรูปยักษ์อยู่ในกระบอกแก้วเล็กๆ...
    ใส่แล้วเสริมพลังอำนาจ และเสริมความมั่นใจ... สวยดีค่ะอาจารย์
    ป.ล. อาจารย์มีกำไลหินหลายเส้น สวยๆทั้งนั้นเลย แต่มีคลิปรีวิวกำไลหินในช่องเมมเบอร์ค่ะ

    • @gettogettus391
      @gettogettus391 ปีที่แล้ว +1

      ช่างสังเกต

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 ปีที่แล้ว +1

      @ FragranzaTrippa
      ขอบคุณมากนะคะ ⚘💙⚘

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 ปีที่แล้ว +1

      @ Doctor Tany
      เพิ่งทราบว่า คุณหมอเป็นสายมู ค่ะ 😊

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      @@boomsong5729 ยินดีค่ะ...

  • @amphan17413
    @amphan17413 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอและขอบคุณที่ช่วยแบ่งบันความรู้ค่ะ

  • @user-yo8kn3vd8p
    @user-yo8kn3vd8p ปีที่แล้ว

    ขอคุณครับ

  • @junji_nurse2785
    @junji_nurse2785 ปีที่แล้ว +1

    อาจารย์คะอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเรื่องโรคHOCMค่ะ ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      สอบถามมาตรงนี้ได้ครับ

  • @user-kw3er3vo1d
    @user-kw3er3vo1d ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอสำหรับข้อมูลที่มอบให้ค่ะ🙏🥰

  • @plajarin1824
    @plajarin1824 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ🙏🙏🙏 เพื่อนพึ่งตรวจพบพอดีค่ะ ขออนุญาตแชร์น่ะค่ะ

    • @plajarin1824
      @plajarin1824 ปีที่แล้ว +1

      คุณหมอค่ะ น้ำท่วมปอดเกิดจากอะไรบ้างค่ะ เนื่องจากเพื่อนที่ไม่ได้มีอาการบ่งบอกว่าเป็นโรคอะไรแค่รู้สึกเหนื่อยมากแต่เมื่อไปพบแพทย์กลับเจอเป็นหัวใจโตและน้ำท่วมปอดค่ะ

    • @Jumpdelight
      @Jumpdelight ปีที่แล้ว +3

      น้ำท่วมปอดส่วนใหญ่สาเหตุมาจากโรคหัวใจ​และไตเป็นหลัก​ ไปฟังคำอธิบายคะ
      น้ำท่วมปอดคืออะไร​ทำไมถึงเป็นได้
      th-cam.com/video/KdJrR58Bvjc/w-d-xo.html

    • @plajarin1824
      @plajarin1824 ปีที่แล้ว +1

      @@Jumpdelight ขอบคุณมากค่ะ🙏🙏🙏🙏

  • @choojitpromjai9383
    @choojitpromjai9383 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอฟังอาจารย์หมอตลอดค่ะได้ความรุ้มากมายค่ะ

  • @user-qp1gx1mr8j
    @user-qp1gx1mr8j 6 หลายเดือนก่อน +1

    ตรวจเจอค่ะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +16

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    วันนี้เรื่อง _หัวใจโต มีอาการอย่างไร อันตรายหรือไม่ รักษาได้ไหม_ #LVH #RVH
    เชิญรับชม และค่อยๆรับฟังเพื่อความรู้ ความเข้าใจค่ะ ก่อนอื่นขอโพสต์เกี่ยวกับเรื่อง หัวใจโต พอสังเขปค่ะ
    🔹หัวใจโต (Cardiomegaly) เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งมักจะเป็นห้วใจห้องล่างซ้าย
    🔹ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดไม่ดี และตามมาด้วยภาวะรุนแรงอย่างหัวใจล้มเหลว
    🔹อาการหัวใจโต อาจมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่ม ขาบวม ใจสั่น หรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
    🔹สาเหตุ เกิดจากภาวะหรืออาการเจ็บป่วยที่ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก หรือกล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย ซึ่งทำให้เกิดภาวะหัวใจโตตามมาได้ เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
    🔹การวินิจฉัยภาวะหัวใจโต การตรวจเอกซเรย์บริเวณหน้าอก / การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) / การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) / การตรวจเลือด / การตรวจ MRI และ CT Scan รวมถึงการเจาะชิ้นเนื้อหัวใจเพื่อส่งตรวจ
    🔹การรักษาภาวะหัวใจโต การใช้ยา ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต / ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ทำให้หัวใจเต้นปกติ / เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ / ผ่าตัดลิ้นหัวใจ / ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 ปีที่แล้ว +1

      @ FragranzaTrippa
      ขอบคุณสำหรับทุกๆข้อมูลนะคะ ⚘💙⚘

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณค่ะน้องทริป❤️💚💜

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      @@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย...

  • @ericsomanotham5738
    @ericsomanotham5738 ปีที่แล้ว +1

    อยากให้คําแนะนําเกี่ยวกับโรคPulmanary Embolismในการปฏิบัติตัวด้อยคะเดี๋ยวนี้ไช้ยาEliQuis 5mgอยู่คะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      ทำทุกอย่างปกติแค่ระวังการกระทบกระแทก เพราะเลือดออกจะหยุดยาก ตรวจติดตามกับหมอถึงสาเหตุที่เป็น และเรื่องหยุดยานั้นขึ้นกับสาเหตุของมัน ความรุนแรง และความเสี่ยงเป็นซ้ำครับ โรคนี้ผมเคยพูดไปแล้วครับ th-cam.com/video/OCyx7uW3-fU/w-d-xo.html

  • @AvecBella
    @AvecBella ปีที่แล้ว +4

    Thank you for today’s topic on Left/Right Ventricular Hypertrophy ka Doctor Tany. Anatomy& physiology of the heart and circulatory system made clear and easily understood. The symptoms, causes, risk factors, complications, and prevention of both left/right ventricular hypertrophies thoroughly explained. Useful and important information to be aware of as to when to seek a medical provider and emergency care. Our health is a Gift. Never take it for granted… ♥️❤️♥️
    (By the way, did you find all the Oktoberfest stuffs at Whole Foods?)

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      They don’t have them :(

  • @petchjalving-cn3yu
    @petchjalving-cn3yu หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณ คุณหมอที่มาให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจโต พอดีลูกชายได้เข้าเครื่องสแกนหัวใจพบว่ามีหัวใจโต ลูกชายเป็นโรค ธารัสซีเมีย มีธาตุเหล็กสูง มีทานยาลดธาตุเล็กอยู่คุณหมอได้เพิ่มยาลดธาตุเหล็ก มีธาตุเหล็กไปเกาะตับด้วยค่ะ คุณหมอขอตรวจอีกรอบเรื่องหัวใจโตค่ะ ว่าโตจริงไหมค่ะอยากถามคุณหมอว่าถ้าทานยาลดธาตุเหล็ก
    แล้วทานอาหารที่ไม่มีธาตุเล็กสูง หัวใจกับตับจะสามารถกลับมาเป็นปกติไหมค่ะ รบกวนคุณหมอถ้าเห็นคำถามช่วยตอบด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ🙏

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน

      มักจะแค่อาการคงที่ครับ

  • @rujeejoy8943
    @rujeejoy8943 ปีที่แล้ว

    ตอนนี้ลุกสาวป้ายังไม่จบไฮสคุลเลยแต่ก็จบปีนี้ละ2023
    อายุ18 เดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ขอบใจมากนะถ้ากรุณาตอบป้าจะได้ความร้าตอนนี้ป้าไปหาหมอป้าก็เป็นหัวใจโตตามมาอีกแต่ป้ารุ้ว่าทุกคนต้องตายป้ายังไม่อยากตายตอนนี้ให้ลุกสาวมีงานทำเอาตัวเองรอดป้าก็ไม่ห่วงเขาป้าอยู่อเมกานี่แหละตอบป้าด้วยนะ

  • @user-jz1ri2rs6j
    @user-jz1ri2rs6j ปีที่แล้ว +1

    คุณหมอพูดและฟังเข้าใจง่ายเราจะปฏิบัติตัวได้ถูกวิธีขึ้น

  • @nitidasukkamol7110
    @nitidasukkamol7110 3 หลายเดือนก่อน +1

    ความรู้คุณหมอให้ประโยชน์แก่คนไทยค่ะ

  • @user-vi3lv5qk9t
    @user-vi3lv5qk9t ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน เมื่อวานป้ากดไลฟ์กดแชร์เฉยๆๆค่ะไม่ได้ทักขอโทษค่ะ
    แต่วันนี้คุณหมอมาใน💓หัวใจโตมีอาการอย่างไรอันตรายหรือไม่รักษาได้ไหม#LVH#RVH ได้ความรู้เยอะๆๆเลยกราบขอบคุณๆหมอแทนมากมายเลยน่ะค่ะสุขภาพดีมีสุขน่ะค่ะคุณหมอและน้องโรชี่ด้วยค่ะ🙏🏼♥️♥️♥️🥰ค่ะ

  • @user-rb9so3bb1r
    @user-rb9so3bb1r 10 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากสำหรับความรู้เรื่องหัวใจโตค่ะ😊

  • @orakarn_nuntawisit
    @orakarn_nuntawisit ปีที่แล้ว +12

    ขอบคุณหัวข้อเรื่องนี้นะคะคุณหมอ คุณพ่อกำลังเป็นภาวะนี้เลยค่ะ คงได้นำสิ่งที่คุณหมอบรรยายมาเป็นความรู้ในการดูแลคุณพ่อค่ะ นอกจากฟอกไต3ครั้งต่อสัปดาห์ ปัจจุบันคุณพ่อเป็นถุงลมโป่งพอง,ผังผืดในปอด2ข้าง และปัญหาหัวใจร่วมด้วยค่ะ คุณหมอเจ้าของไข้ก็แจ้งเราแล้วว่าพาคนไข้กลับไปดูแลแบบประคับประคอง

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +7

      เป็นกำลังใจให้นะครับ

    • @orakarn_nuntawisit
      @orakarn_nuntawisit ปีที่แล้ว +1

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

    • @ALL86898
      @ALL86898 ปีที่แล้ว +4

      ขอร่วมเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแข็งแรงขึ้นนะคะ✌✌

    • @orakarn_nuntawisit
      @orakarn_nuntawisit ปีที่แล้ว +1

      @@ALL86898 ขอบคุณมากนะคะ

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 ปีที่แล้ว +8

    หัวใจโต มีอาการอย่างไร อันตรายหรือไม่ รักษาได้ไหม#LVH#RVH 📙📗📓โรคหัวใจโต (Cardiomegaly) เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่หรือหนากว่าปกติ โรคหัวใจโตเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจาก ความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจเกิดจากสาเหตุโรคอื่นๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้จะทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องได้
    Left ventricular hypertrophy (LVH) หรือภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต
    Right ventricular hypertrophy (RVH) คือ ภาวะหัวใจ ห้องล่างขวาโต
    📙อาการเตือนภาวะหัวใจโตที่ต้องระวัง!!
    ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยภาวะหัวใจโตมักไม่มีอาการแสดงถ้าหัวใจยังทำงานได้อย่างปกติ แต่ถ้าหากหัวใจทำงานผิดปกติ
    อาจทำให้มีอาการดังนี้
    🧊หายใจลำบาก
    🧊หายใจเร็ว ใจสั่น
    🧊เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
    🧊เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
    🧊แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้
    🧊ไอ โดยเฉพาะเวลานอน
    🧊เท้าบวม หรือบวมบริเวณเท้าในตอนสายๆ
    📗ใครบ้างเสี่ยงภาวะหัวใจโต
    ☑️ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจทำงานหนักจึงเป็นสาเหตุเกิดภาวะหัวใจโต
    ☑️ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่อง
    ☑️ผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ
    ☑️ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ
    ☑️ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
    ☑️ผู้ที่รับประทานธาตุเหล็กมากเกินไป จนทำให้เกิดโรค Hemochromatosis
    ☑️ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีน มีโปรตีนสะสมในกล้ามเนื้อหัวใจ หรือ Amyloidosis
    ขอบคุณมากค่ะ📝

  • @AvecBella
    @AvecBella ปีที่แล้ว +4

    Early Monday Smiles for a Fabulous new week ka Doctor Tany! 🌤️😃
    Today’s topic. Cardiomegaly, specifically Left/Right Ventricular Hypertrophy.
    Be back for my review!
    Happy Healthy ❤️ Mondayyy!
    🌱🌼☘️

  • @Achawan_edu
    @Achawan_edu ปีที่แล้ว +5

    🌈มีเรื่องเล่าจากเพื่อนที่จอร์แดนค่ะ
    เคยแนะนำให้เพื่อนฟังคุณหมอ ตั้งแต่สมัยที่มีโควิด โอไมครอนระบาดช่วงนั้น
    เมื่อ 2 วันก่อน เพื่อนบอกติดตามคุณหมอเป็นระยะ ๆ น่าสนใจหลายเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพที่ชัดเจน เป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ
    แต่ที่สำคัญ วิธีการพูด ที่กระชับ การเกรินนำ เพื่อปูพื้นความรู้ก่อนเข้าเนื้อหา
    เพื่อนบอกว่า เป็นการอธิบายที่น่าสนใจมาก การยกตัวอย่าง ขยายความและการสรุป
    นำไปปรับใช้ตอนทำ YT ของตนเองที่ดีมาก
    ได้ประโยชน์ทำ YT ให้น่าสนใจด้วยค่ะ
    เพื่อนบอกว่า เคยอ่านที่พี่อัชสรุป บ่อยเหมือนกัน (แอบดีใจเล็กน้อย)
    ทว่าช่วงนี้แล้วแต่เวลาที่มีค่ะคุณหมอ
    คนไทยได้ประโยชน์มากๆ นะคะ ไม่เฉพาะในประเทศ คลิปทุกเรื่อง เป็นเรื่องสุขภาพที่ควรรู้จริงๆ
    ขอบคุณคุณหมอมากๆ เลยค่ะ🙏🏽🙏🏽👍👍

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 ปีที่แล้ว +1

      +💯😊👍👍

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 ปีที่แล้ว +2

      อาจารย์หมอยังตอบคำถาม
      ทั้งใหม่และเก่าอีกด้วย อจ.เสียสละเวลามากเลยค่ะ
      นับถือมากๆๆๆ

    • @Achawan_edu
      @Achawan_edu ปีที่แล้ว +2

      @@Hoshi1451 ใช่...เลยค่ะขอบคุณมาก
      เป็นการเอาใจใส่กับคำถามของFC คลายความสงสัยทุกท่านทำอย่างสม่าเสมอมานานค่ะ👍👍

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 ปีที่แล้ว +2

      @@Achawan_edu
      ใช่เลยค่ะคุณอัชในช่อง
      member อาจารย์หมอกับโรซี่ก็น่ารักมากเลยค่ะ😊

  • @helenvlog9913
    @helenvlog9913 ปีที่แล้ว +2

    กำลังซ้อมไปวิ่งมาราธอนสักครั้ง จำเป็นต้องไปตรวจอะไรเป็นพิเศษมั้ยคะ เคยตรวจแต่สุขภาพประจำปีปกติ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +3

      ถ้าไม่มีประวัติโรคหัวใจในคนอายุน้อยในครอบครัว ไม่เคยมีอาการผิดปกติทางหัวใจ ออกกำลังกายได้ปกติ ก็ไม่น่าต้องนะครับ แค่อย่าฝืนครับ

  • @yugipiya375
    @yugipiya375 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ รบกวนสอบถาม คนไข้โรคลิ้นหัวใจรั่ว ทานยาคลายกล้ามเนื้อ Orphenadrine ได้ไหมค่ะ ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ🙏

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      ได้ครับ

    • @yugipiya375
      @yugipiya375 ปีที่แล้ว +1

      @@DrTany ขอบพระคุณมากค่ะ🙏

  • @mythaichannel9082
    @mythaichannel9082 ปีที่แล้ว +1

    พึ่งถึงบางอ้อ ก็วันนี้แหละ ตอนที่แม่พี่เสีย คุณหมอแถวบ้านบอกว่าแม่พี่มี ภาวะหัวใจโต พี่ก็เข้าใจว่า ก้อนหัวใจมันใหญ่ขึ้นๆจนคับอก enlarged heart เหมือนเราเป่าลมใส่ลูกโป่งนะเนี่ยะ 555 ปึกจังเลยเรา เขินจัง อิอิ ต้องแก้ความคิดใหม่หมดเลย พอถึงตอนนี้เข้าใจภาษาแพทย์แล้วเกือบร้อย% ขอบคุณหมอแทน ที่ไขข้อข้องใจให้พี่ ขอบคุณมากๆ จ้ะ

  • @gettogettus391
    @gettogettus391 ปีที่แล้ว +3

    ผมเป็นอยู่คับโรคหัวใจโต ตอนเป็นแรก ๆ แย่มากตัวบวม ขาบวม หน้าบวม​น้ำหนักขึ้น จาก 95 น้ำหักพุ่งไป 130 แต่ตอนนี้ลดลงเหลือ 79 แล้วคับ และพยายามลดต่อไป โดยดูแลเรื่องอาหาร ออกกำลังกายวันละสองเวลา ครั้งละ 1 ชม. ทำไอเอฟ กินวันละมื้อ และตอนนี้คุมทุกอย่างอยู่
    หาหมอสม่ำเสมอตรงตามนัด
    หมอบอกว่า ปัจจุบันค่าทุกอย่าง ปกติ อยู่ในเกณที่ดี แต่ยังต้องรับยาต่อ( มีการปรับ บางตัวก็ตัดออก บางตัวลดลง)

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      เป็นกำลังใจให้นะครับ

    • @gettogettus391
      @gettogettus391 ปีที่แล้ว +1

      @@DrTany ขอบคุณ​มาก​ครับ​คุณหมอ🙏🙏🙏💞💞💞

  • @warunee_a4656
    @warunee_a4656 ปีที่แล้ว +1

    เป็นโรคความดันหลอดเลือดในปอดสูง ส่งผลให้หัวใจล่างขวาโต เหมือนเป็นโรคที่คนยังไม่ค่อยรู้จักอยากให้คุณหมอทำคลิปเกี่ยวกับโรคนี้อีกครั้ง ขอบคุณมากค่ะ

    • @Jumpdelight
      @Jumpdelight ปีที่แล้ว +3

      Pulmonary Hypertension​ คือ ภาวะความดันเลือดปอดสูง คุณหมอ​มีคลิปอธิบายไว้​นะคะ
      โรคความดันโลหิตสูงในปอด
      th-cam.com/video/b20zk-iS8o4/w-d-xo.html

    • @warunee_a4656
      @warunee_a4656 ปีที่แล้ว +1

      @@Jumpdelight ขอบคุณค่า

  • @supaluckjaijadee3423
    @supaluckjaijadee3423 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ ป้ามีอาการแบบนี้ค่ะเสียงเพลงดังๆเช่นอยู่ในรถบัสนำเที่ยวแล้วเขาเปิดเพลงหรือร้องเพลงเสียงดังมากรุ้สึกว่าเสียงมันดังตึกๆกลางอก สำลีอุดหูแล้วก็ยังรุ้สึกไม่ดีขึ้นอยากลงจากรถตอนนั้นเลยค่ะ อย่างนี้เขาเรียกเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจมั้ยค่ะอาการอย่างนี้ตั้งแต่เริ่มกินยาลดความดันตั้งแต่ปี58 เวลาไปตรวจคลื่นหัวใจผิดปกติเล็กน้อยแต่ก็ไม่ได้ยาอะไรมากิน ขอขอบพระคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +3

      ไม่น่าใช่ครับ กรณีแบบนี้ทำได้แค่เลี่ยงเสียงเหล่านั้นครับ

  • @panupatswangareeruk3578
    @panupatswangareeruk3578 ปีที่แล้ว +3

    อยากทราบเรื่อง ARVD ครับคุณหมอ
    กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาบาง
    ขอบคุณครับ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +4

      ถ้าเป็น อาจต้องใช้ยาป้องกันหัวใจเต้นผิดปกติต่างๆร่วมกับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจครับ ถ้าเป็นให้ฟังคำแนะนำของหมอที่รักษาเป็นหลัก โรคนี้ไม่หาย และอย่าพยายามหาวิธีรักษาอื่นๆนะครับ ส่วนมากทำแบบนั้นคือสาเหตุที่ทำให้คนบางส่วนเสียชีวิตครับ

    • @panupatswangareeruk3578
      @panupatswangareeruk3578 ปีที่แล้ว +1

      @@DrTany ขอบคุณมากครับ

  • @numaiutube
    @numaiutube ปีที่แล้ว +1

    ติดตามเป็นแฟนคลับคุณหมอมานาน ขอบคุณคุณหมอสำหรับคลิปต่างๆที่ทำให้ตัวเองและครอบครัวหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นค่ะ
    ขอความกรุณารบกวนถามคุณหมอด้วยนะคะ
    พี่สาวอายุ 38 ปี ไม่มีครอบครัวเป็นโรคหัวใจเลยค่ะ 2-3 เดือนที่ผ่านมามีอาการหัวใจบีบตัวแรงมาก เวลาไม่มีอาการความดัน 135/85 น้ำตาลสะสม 130 ค่ะ
    แต่พอมันบีบตัวแรงความดันขึ้นไป 160/100 เลยค่ะ แต่หัวใจเต้นช้ามากแบบเต้นแค่ 67-75 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น เวลาหาข้อมูลในเน็ตหาไม่ค่อยเจออาการแบบนี้เลยไม่รู้เป็นอะไร ส่วนใหญ่จะหาเจอแต่หัวใจเต้นเร็วอย่างเดียวค่ะ
    แบบนี้เป็นอันตรายมากไหมคะ และถือว่าเป็นโรคหรือพัฒนาไปเป็นโรคไหมคะ จะรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างไรค่ะ
    ป.ล. ไปหาหมอหมอให้ยา Amlopine 10 (Amlodipine besylate 13.86 mg eq to Amlodipine 10 mg) ให้ทานครึ่งเม็ดถ้ามีอาการค่ะ
    ถามหมอหมอบอกไม่เป็นไร หมอตรวจแค่คลื่นหัวใจและบอกไม่มีอะไร สงสัยเครียดและพักผ่อนน้อย แต่ตนเองและครอบครัวค่อนข้างกังวลว่าจะเป็นอันตรายไหม จะหัวใจวายได้ไหมคะ
    ขอบพระคุณคุณหมอสำหรับความกรุณานะคะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      วัดความดันบ่อยๆครับ ถ้าเป็นแค่บางครั้งก็อาจเพราะเครียด แต่ถ้าสูงบ่อยๆก็ควรกินยาและไม่ใช่กินแต่ตอนมีอาการครับ ควรกินทุกวันแม้วันนั้นควรดันจะปกติก็ตาม อาการหัวใจบีบตัวแรงนี่ควรไปหาเหตุผลอื่นๆ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติต่างๆ ครับถ้ามีก็งดคาเฟอีน นอนให้พอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หาทางลดความเครียด ถ้าน้ำหนักเกินก็ต้องลดให้ปกติด้วยครับ

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 ปีที่แล้ว +1

    หัวใจโต# หัวใจห้องล่างซ้ายโต ไม่มีอาการเฉพาะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หนึ่งในสาเหตุคือ ภาวะความดันสูง ซึ่งเป็นโรคยอดฮิต ใกล้ตัวมากเลยนะคะ ควรอย่างยิ่งในการป้องกันตัวเองไม่มีภาวะความดันสูง ควรเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม งดเนื้อแดง ทานเนื้อขาว เช่น ปลา ทานผัก ผลไม้ ถั่ว พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด วัดความดันเป็นประจำ #วันนี้ได้รู้จักสาเหตุของหัวใจโต#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰