เพลงอาเฮีย (เพลงชุดจากละคร นางสร้อยดอกหมาก)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ก.ย. 2024
  • เพลงชุดจากละคร นางสร้อยดอกหมาก
    เพลงอาเฮีย
    เพลงอัตราจังหวะ2 ชั้น หน้าทับสองไม้ เป็นเพลงสำเนียงจีน นิยมใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร และบรรจุเพื่อบรรเลงทั่วไป
    ขับร้อง กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ
    ร้องเพลงอาเฮีย
    อามิตตาพุทธ ผู้พิสุทธิ์ แสนพิเศษ
    ดับกิเลส แห่งชน จนมอดไหม้
    ข้าพเจ้า ยึดเอา เป็นธงไชย
    ด้วยมั่นใน สัจจะธรรม ประจำกาย
    ขออำนาจ พุทธคุณ อดุลย์โชค
    ช่วยชาวโลก สู่สุข ทุกข์สลาย
    คุณธรรม จุ่งนำ ชนหญิงชาย
    สุขสบาย ด้วยผล กุศลทาน
    ละครนิทานพื้นบ้าน เรื่องนางสร้อยดอกหมาก
    เรื่องราวกล่าวถึงพระเจ้าน่ำฮอง เจ้ากรุงจีน มีพระธิดาบุญธรรมที่คนนำมาทิ้งไว้ในกาบหมาก แล้วตั้งชื่อให้ว่า “สร้อยดอกหมาก”ครั้นเจริญวัยขึ้นนางได้รักกับบ้วนเซ็กลี้ แต่ถูกพระเจ้าน่ำฮองกีดกัน เนื่องด้วยอาฆาตแค้นพ่อของบ้วนเซ็กลี้ที่มาแย่งชิงหญิงคนรัก จนทำให้พระองค์ไม่ยอมอภิเษกกับหญิงอื่น ซึ่งความลับนี้มีแต่แม่นมเช็งที่ทราบเรื่องว่าแท้จริงแล้วนางสร้อยดอกหมากไม่ได้เป็นพระธิดาของพระเจ้าน่ำฮอง แต่ในที่สุดนางสร้อยดอกหมากก็รู้ความลับนี้ ส่วนพระเจ้าน่ำฮองคิดถึงอนาคตของนางสร้อยดอกหมากจึงไปหาไต้ซืออากุงให้ทำนายดวงชะตาของพระธิดา และได้ทราบว่านางนั้นจะได้คู่ครองเป็นเจ้ากรุงไทย นามว่า “เจ้าสายน้ำผึ้ง”ดังนั้น พระองค์จึงมีราชสาส์นเชิญเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จมาที่จีน และยกนางสร้อยดอกหมากพระธิดาให้เป็นชายา หลังจากการอภิเษกนางสร้อยดอกหมากแล้ว เจ้าสายน้ำผึ้งจึงลากลับเมืองไทยและให้นางสร้อยดอกหมากตามกลับไปภายหลัง โดยสัญญาว่าจะมารอรับนางด้วยพระองค์เอง ครั้นเรือของนางมาเทียบท่าที่บางกะจะ (บริเวณหน้าวัดพนัญเชิงในปัจจุบัน) เจ้าสายน้ำผึ้งไม่ได้เสด็จมารับดังที่ให้สัญญาไว้ แต่ส่งขบวนเกียรติยศมารับแทน จึงเป็นเหตุให้นางสร้อยดอกหมากน้อยพระทัย ด้วยคิดว่าตนเองมิได้เป็นลูกกษัตริย์ ไม่มีเกียรติพอที่เจ้าสายน้ำผึ้งจะเสด็จมารับ จึงไม่ยอมขึ้นจากเรือ ทั้งฝากความกับทหารคนสนิทไปว่า “ถ้าเจ้าสายน้ำผึ้งไม่มารับด้วยตัวเอง เป็นตายอย่างไรก็ไม่ไป” ทหารคนสนิทจึงนำความดังกล่าวกราบทูลเจ้าสายน้ำผึ้ง แต่เจ้าสายน้ำผึ้งคิดจะหยอกเย้านางเล่นจึงให้ทหารกลับไปแจ้งว่า “ถ้าไม่มาจะอยู่แต่ที่นั่นก็ตามใจ” ด้วยคำพูดนี้เพิ่มความน้อยใจ และเสียใจให้กับนางสร้อยดอกหมากยิ่งนักในที่สุดนางจึงกลั้นใจตาย
    ครั้นเจ้าสายน้ำผึ้งทราบเรื่องจึงให้อัญเชิญพระศพของพระนางขึ้นมาจากเรือพร้อมทั้งให้สร้างพระอารามเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึง โดยตั้งชื่อว่า “วัดพระนางเชิง” อันหมายถึง “พระนางผู้มีแง่งอน”สืบแต่นั้นมา

ความคิดเห็น • 2