ประเพณีแซนโฎนตา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ธ.ค. 2024
  • ประเพณีวันสารทของคนวัฒนธรรมเขมร ครอบครัวและเครือญาติได้กลับมาพบหน้ากัน เพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เฉกเช่นเดียวกับ "วันสารทไทย", "วันสารทจีน" และในวัฒนธรรมของชาวเขมรก็มีประเพณี "วันสารทเขมร" หรือที่เรียกกันว่า "ประเพณีแซนโฎนตา" ซึ่งชาวเขมร รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับประเพณีนี้เป็นอย่างยิ่ง
    วันแซนโฎนตา หรือ ไงแซนโฎนตา ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งในปี 2565 วันแซนโฎนตา ตรงกับวันที่ 24-25 กันยายน คำว่า "ไง" หมายถึง วัน คำว่า "แซน" หมายถึง การเซ่นไหว้ การบวงสรวง คำว่า "โฎน" หมายถึง ย่าหรือยาย คำว่า "ตา" หมายถึง ปู่หรือตา ดังนั้นประเพณีนี้จึงหมายถึง การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นวันสารทเดือนสิบของชาวเขมร ในช่วงเวลานี้ ลูกหลานชาวเขมรที่ไปทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ จะเดินทางกลับมาหาครอบครัวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
    *ภาพประกอบจากเพจ สะพายเป้ ขอขอบคุณค่ะ

ความคิดเห็น •