3 วิธีดึงเงินออกจากธุรกิจแบบถูกต้อง ไม่มีปัญหาภาษีย้อนหลัง ! | ภาษี ON LINE EP.8

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 พ.ค. 2024
  • อยากวางแผนเอาเงินออกจาก #ธุรกิจ แต่ไม่อยากมีปัญหา #ภาษี ไม่อยากเจอพี่ๆสรรพากรตรวจสอบ พรี่หนอมมีเทคนิคดี ๆ 3 ข้อมาแนะนำครับผม
    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเรื่องรูปแบบธุรกิจกันก่อนครับ โดยปกติแล้วรูปแบบของธุรกิจจะมี 2 รูปแบบครับ นั่นคือ บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน)
    บุคคลธรรมดา อันนี้พูดง่าย ๆ เลยคือ ไม่ได้จดบริษัทจดห้างอะไร ทำธุรกิจในชื่อตัวเองคนเดียว ถ้ากรณีนี้ การจัดการการเงินไม่ยากครับ เพราะเราเสียภาษีในชื่อเรา เหลือเงินเท่าไรก็เป็นของเรา ขอแค่เราแบ่งสรรจัดการสัดส่วนให้ถูกต้อง เพียงแค่นี้ก็จบแล้วครับ
    นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ตัวนี้ครับทีเด็ดเลย สำหรับกรณีที่จดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนออกมาในรูปแบบนิติบุคคล อันนี้เนี่ยถือว่าเป็น การแยกธุรกิจออกจากตัวเราแบบชัด ๆ ดังนั้น ในความสัมพันธ์ จะมี 2 ส่วนครับ คือ ส่วนของบุคคลตัวเรา และ ธุรกิจ (บริษัท)
    ดังนั้นการจะเอาเงินออกมาค่อนข้างยากครับ เพราะอยู่ดี ๆ จะไปดึงเงินออกมาไม่ได้แล้ว ถ้าหากทำแบบนั้น มันจะเหมือนการที่คนหนึ่งไปยืมเงินอีกคนหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่าเป็นลูกหนี้ครับ เช่น ถ้าเราไปดึงเงินออกมาจากบริษัทแบบหน้าตาเฉย แบบนี้ก็เท่ากับว่าเราเป็นลูกหนี้บริษัทครับ มีหน้าที่ต้องใช้คืน และในมุมภาษีต้องมีการคิดดอกเบี้ยเงินก้อนนี้ด้วย แถมยังอาจจะเป็นประเด็นต่างๆ ที่น่าสงสัย ทำไมกู้กัน ทำไมต้องเอาเงินไป และจะเป็นปัญหาภาษีได้ในอนาคตครับ
    วิธีที่แนะนำในการจัดการเงินของธุรกิจแบบนิติบุคคลเลยมีดังนี้ครับ
    1. ค่าจ้าง วิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เราทำงานให้บริษัทครับ นอกจากการเป็นผู้ถือหุ้นลงทุนแล้ว ถ้าเราทำงานในหน้าที่ต่างๆ เช่น เป็นกรรมการบริหาร ผู้จัดการ ดูแล หรือมีตำแหน่ง แบบนี้เราสามารถกำหนดค่าจ้างให้กับตัวเองได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ เงินเดือน โบนัส ที่ปรึกษา เงินประจำตำแหน่ง เบี้ยประชุม ซึ่งกำหนดตามความเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจครับ
    2. ค่าเช่าสินทรัพย์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการจ่ายผลตอบแทนให้กับเจ้าของธุรกิจครับ นั่นคือถ้าหากเรามีสินทรัพย์ส่วนตัวที่ให้บริษัทเช่าเพื่อใช้ทำธุรกิจได้ โดยที่ไม่ต้องการให้เป็นของบริษัท แต่ยังเป็นสิทธิ์ของเราอยู่ เช่น บ้าน อาคาร ห้อง รถยนต์ อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เพื่อใช้ประกอบธุรกิจ ตรงนี้ก็เป็นทางสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง
    โดยทั้งค่าจ้างและค่าเช่าที่ว่ามานี้ จะต้องถือเป็นรายจ่ายบริษัทในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และเป็นเงินได้ของเราในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกันครับ
    3. เงินปันผล ในกรณีที่ธุรกิจมีกำไร และเราเป็นผู้ถือหุ้น สามารถจ่ายในรูปแบบเงินปันผลได้ครับ โดยเงินปันผลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่เราถือ ยิ่งเรามีสัดส่วนการถือหุ้นมาก การจ่ายเงินปันผลก็จะได้มากขึ้นตามไปด้วยครับ
    โดยข้อสังเกตของเงินปันผลจะมีอยู่ 2 เรื่องทีต้องพิจารณาให้ดีครับ นั่นคือ ธุรกิจต้องมีกำไร และ การนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมือได้รับเงิน เพราะว่าเงินปันผลสามารถเลือกที่จะหักภาษี 10% แล้วจบได้ โดยที่ไม่ต้องรวมคำนวณภาษีประจำปีครับ ดังนั้นต้องศึกษาเรื่องของการใช้สิทธิ์ตรงนี้ให้ดีด้วยครับ
    สุดท้าย รูปแบบการจ่ายผลตอบแทนต่างๆ เหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องหนึ่งครับ นั่นคือ ข้อมูลที่แท้จริงของธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจมีรายได้สูง เราก็สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับเจ้าของได้ในจำนวนที่มากขึ้น ตามความรับผิดชอบของงาน หรือ การใช้งานสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง หรือ ถ้าหากธุรกิจมีกำไรสูง เราก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้มากขึ้นเช่นกันครับ
    ท้ายสุด (อีกที) อย่าลืม วางแผนโครงสร้างธุรกิจให้ดี เพื่อที่เราจะได้ออกแบบการจ่ายผลตอบแทนได้อย่างเหมาะสมครับ
    รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่คลิปนี้เลยครับผม
    พรี่หนอมทำรายการ #ภาษีONLINE เป็นรายการตอบปัญหาภาษีและแชร์เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการจัดการการเงินและภาษี เจอกันประจำก่อนใครได้ที่ Line OA @TAXBugnoms ครับ
    มาเป็นเพื่อนกันได้ที่นี่ : lin.ee/Wl40cki
    0:00 Intro
    0:38 ทำความเข้าใจรูปแบบของธุรกิจ
    1:24 เข้าใจการจัดการเงินของบริษัท
    3:01 จ่ายเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน
    4:58 จ่ายเป็นค่าเช่าสินทรัพย์
    6:27 จ่ายในรูปแบบเงินปันผล
    7:59 สรุปทางเลือกการดึงเงิน

ความคิดเห็น • 22

  • @amnuaisongmung3983
    @amnuaisongmung3983 7 วันที่ผ่านมา

    สอบถามค่ะ
    กำลังเปิดบริษัท ต้องการ ดึงทรัพย์สินให้เป็นบริษัท ทำไงค่ะ

  • @BKKACC1975
    @BKKACC1975 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับพี่หนอม ^^

  • @teya6328
    @teya6328 ปีที่แล้ว

    กราบขอบพระคุณค่าา..

  • @anuchasangyuan153
    @anuchasangyuan153 ปีที่แล้ว

    พี่หนอมครับ ถ้าเราเลิกกิจการเอง โดยไม่แคร์ใดๆสรรพากร เราจะโดนอะไรบ้างครับผม

  • @befitwithhelen2004
    @befitwithhelen2004 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่า ชัดเจนทุกคลิปคะ

  • @guruliving
    @guruliving 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับพี่หนอม 🙏🏻

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  2 ปีที่แล้ว +1

      เลิฟ ๆ นะครับจารย์วิน

  • @Spicazings
    @Spicazings 10 หลายเดือนก่อน

    เป็นประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณครับ

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  10 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณครับผม

  • @kanom9743
    @kanom9743 8 หลายเดือนก่อน

    ใช้บัญชีส่วนตัว ไม่ใช้บัญชีชื่อบริษัท โอนเงินจ่าย เงินเดือนลูกน้องแบบนี้ถือว่าผิดไหมคะ

  • @soccerluckocer2815
    @soccerluckocer2815 2 ปีที่แล้ว +2

    เฮียหนอม มีคนเคยบอกไหม เฮียหน้าตาเหมือนพี่แสตมป์เลยครับ อิอิ

  • @freestylebywe9457
    @freestylebywe9457 2 ปีที่แล้ว

    มีคำถามครับพี่หนอม ถ้าเกิดปิดบริษัท พวกสินทรัพที่เหลือจะต้องลงบัญชียังไงหรือต้องทำการขายก่อนปิดครับ(กรณีปิดทั้งที่ไม่ได้ขาดทุน)

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  10 หลายเดือนก่อน

      ปกติจะต้องขายก่อนครับ ถ้าไม่ขายก็จะถือว่าขายในวันปิดครับ จะมีเรื่อง VAT หรืออื่นๆอีกด้วยครับ

  • @aummersa.7568
    @aummersa.7568 2 ปีที่แล้ว

    ขอแชรไว้ในเมลล์นะคะ

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  2 ปีที่แล้ว

      ถ้ามีประโยชน์ฝากส่งต่อด้วยนะครับ ขอบคุณมาก ๆ เลยครับผม

  • @bomixs
    @bomixs 2 หลายเดือนก่อน +1

    บริษัทเสียภาษี --> จ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง --> เสียภาษีอีก
    บุคคลธรรมดา เสียภาษี 31%
    บริษัท เสียภาษี 15-20%
    บริษัท + บคธด = 15-20% บวก 31%?

  • @krataainoi4729
    @krataainoi4729 10 หลายเดือนก่อน +1

    เงินเดือนเจ้าของกิจการ ต้องหัก Tax 3% ไหมคะพี่หนอม

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  10 หลายเดือนก่อน

      ไม่ต้องครับ หักตามอัตราก้าวหน้าเหมือนมนุษย์เงินเดือนปกติครับ

  • @bugpopable
    @bugpopable 2 ปีที่แล้ว

    บุลคลธรรมดา จ่ายเงินเดือนให้ลูกน้อง สามารถทำเป็นรายจ่าย แล้วลูกน้องต้องไปยื่นภาษีใหมครับ

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  2 ปีที่แล้ว +1

      ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาที่หักค่าใช้แบบตามจริง สามารถใช้เป็นรายจ่ายได้ครับ
      ส่วนลูกน้องถ้าได้รายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ก็ไปยื่นภาษีตามปกติครับ