ปฏิบัติธรรมยามเจ็บป่วย : พระพงษ์พันธ์ ฉันทกโร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 เม.ย. 2024
  • ขณะที่เราป่วย ร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากเลย
    ขให้เราพิจารณาธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม
    ธาตุไฟมีความร้อนความเย็น
    ธาตุลมมีลมหายใจเข้าหายใจออก
    อาการตึงอาการหย่อนสั่นสะเทือนสั่นไหวผลักดันค้ำจุน
    ธาตุดินแข็งอ่อน
    ธาตุน้ำ น้ำเหงื่อน้ำเหลืองน้ำเลือด
    หรือความซึมซาบเอิบอาบในร่างกายของเรา
    เราพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม
    และร่างกายของเราขณะนั้น เวทนาก็รุนแรง
    สมมุติว่าเราป็นโรคมะเร็งที่ต้องเจ็บปวดมาก
    เวทนามันก็รุนแรงมากนะ
    ขณะนั้นเราก็กำหนดที่เวทนา
    ถ้าเวทนาปรากฏรุนแรงก็กำหนดเวทนา
    ทีนี้เมื่อเราดูกายดูเวทนาอยู่นั้น ก็ต้องนึกถึงจิตเราเสมอ
    ย้อนกลับมาที่จิตว่าจิตของเรา มันปรุงแต่งเวทนามั้ย
    มันมีโกรธ มีความทุกข์จากกาย แล้วก็ทุกข์ทางใจมั้ย
    ถ้าเราย้อนมาดูที่จิตเรา ใจเรากำลังกระวนกระวาย
    ดิ้นรนเป็นทุกข์เดือดร้อนอยู่ อยากจะหนีความทุกข์นั้นไป
    อยากจะหายจากความทุกข์นั้น อยากจะจากโลกนี้ไปเป็นต้นนะ
    ขณะนั้นน่ะ เราก็ดูใจของเราแล้วก็
    วางความรู้สึกที่ดิ้นรนกระวนกระวาย
    หรือวิภวตัณหาที่เกิดขึ้นในใจของเรา
    ซึ่งปรุงแต่งความทุกข์ใจให้เกิดขึ้น
    เราก็วางความรู้สึกที่ใจของเราลง
    ให้เป็นความวางเฉยเป็นอุเบกขา
    ปล่อยวางอยู่ถ้าเราทำอย่างนี้ได้จิตมันก็จะ
    เข้าสู่ความสงบแล้วก็พิจารณากายเวทนาจิต
    กำหนดรู้นะเป็นทุกข์ในอริยสัจ 4
    แล้วก็เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์
    คือวิภวตัณหาที่มันเกิดขึ้น เราก็จะเข้าสู่ความสงบ
    ก็จะได้ประโยชน์มากจากการพิจารณาความเจ็บป่วย
    และอีกกรณีหนึ่งคือ พิจารณาความไม่แน่นอน
    ของร่างกายและจิตใจของเรา
    หรือพิจารณาความไม่แน่นอนของชีวิตว่า
    ชีวิตของเรานั้นมีความตายเป็นธรรมดา หรือว่ามรณธรรม
    ธรรมคือความตายเป็นธรรมดา
    เราพิจารณาเห็นความตายเป็นธรรมดา
    ใจของเราก็จะปล่อยวางความตายนั้นได้
    ว่าใครเป็นผู้ตาย มีคนตายมั้ย
    มีเราตายมั้ย มีเราตายหรือว่าไม่มี
    เขาเรียกว่ามรณธรรม หรือชราธรรม
    พยาธิธรรม หมายความว่าเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ
    ความเจ็บป่วยก็ไม่ใช่เรา
    ความตายก็ไม่ใช่เราความแก่ชราก็ไม่ใช่เรา
    เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เป็นเพียงรูปเพียงนามเท่านั้นเอง
    อันนี้เราจะได้ธรรมะ เราเกิดดวงตาเห็นธรรม
    หรือจะเกิดการละอุปทานขันธ์ทั้ง 5 ได้
    ดังนั้นธรรมะขณะที่เราจะป่วยไข้หรือ
    เราจะตายเนี้ยเป็นส่วนที่เราจะต้องมี
    สติสัมปชัญญะในการพิจารณา
    ซึ่งเราจะได้ธรรมะในเวลานั้น
    ท่านจึงกล่าวว่าแม้ความทุกข์ยากลำบากเพียงใด
    แม้อุบัติเหตุ อุบัติภัยเข้ามาถึงบัณฑิต
    บัณฑิตก็ยังตั้งมั่นไม่ทิ้งธรรมะ
    พจน์ #ทุกข์ไม่ถึง #วิปัสสนาสู่การพ้นทุกข์ #สติปัฏฐาน๔ #ทุกข์ #รู้สึกตัว #ธรรมะ #สมถะ #วิปัสสนา

ความคิดเห็น • 3

  • @omnoibannert3350
    @omnoibannert3350 หลายเดือนก่อน

    กราบสาธุเจ้าค่ะ

  • @user-ub3dv2md7m
    @user-ub3dv2md7m หลายเดือนก่อน

    กราบสาธุค่ะ

  • @therain.3260
    @therain.3260 หลายเดือนก่อน

    🙏🙏🙏