ฎีกา InTrend EP.68 กำหนดสินไถ่ขายฝากเป็นผลประโยชน์ตอบแทนเกิน 15% ต่อปีจะมีผลต่อสัญญาอย่างไร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 พ.ค. 2022
  • ฎีกา InTrend EP.68 กำหนดสินไถ่ขายฝากเป็นผลประโยชน์ตอบแทนเกิน 15% ต่อปีจะมีผลต่อสัญญาอย่างไร
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    การขายฝากเป็นสัญญาแบบหนึ่งที่มีการทำกันอยู่เสมอ เมื่อมีความจำเป็นต้องหยิบยืมเงินทองจากอีกคนหนึ่ง ในฝั่งคนซื้อเองอาจจะรู้สึกถึงความเป็นหลักประกันที่มั่นคงกว่าที่ได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อฝากไปตั้งแต่ขณะทำสัญญา ทำให้ไม่ต้องไปฟ้องร้องบังคับคดีในภายหลังอีก แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายก็เห็นความสำคัญของการขายฝากที่ส่งผลกระทบต่อฝั่งผู้ขายมากเช่นกันที่ต้องสูญเสียสิทธิในทรัพย์นั้นไปอย่างถาวร ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ทำสัญญาขายฝากไว้โดยกำหนดสินไถ่ที่คิดเป็นผลประโยชน์ตอบแทนแล้วมากกว่าร้อยละ 15 ต่อปีจะมีผลต่อสัญญาขายฝากนั้นอย่างไร
    นางสวยมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่งที่ปกติใช้ทำสวนและอยู่อาศัย ต่อมานางสวยต้องการใช้เงินจึงได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปขายฝากไว้กับนายเก่ง ตามสัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากในราคา 1 ล้านบาท กำหนดสินไถ่เป็นเงิน 1,400,000 บาท โดยมีกำหนดระยะเวลาที่สามารถไถ่ถอนได้ไม่เกิน 3 ปี
    ต่อมาเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนตามสัญญา นางสวยไม่ได้นำเงินไปใช้สิทธิไถ่ถอนแต่อย่างใด นายเก่งจึงได้ฟ้องขับไล่นางสวยและครอบครัวให้ออกจากที่ดินแปลงดังกล่าว
    นางสวยจึงต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะ เพราะแม้จะระบุว่าขายฝากในราคา 1 ล้าน แต่ความจริงแล้วตนได้รับเงินไปเพียง 900,000 บาท สินไถ่ที่กำหนดไว้ในสัญญาจึงคิดเป็นอัตราผลตอบแทนเกินร้อยละ 15 ต่อปี สัญญาขายฝากจึงตกเป็นโมฆะ นายเก่งไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่นางสวยออกจากที่ดินได้
    สัญญาขายฝากมักนำมาใช้ในยามที่เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมมีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำกันในลักษณะของสัญญากู้ยืม ซึ่งอาจจะด้วยเหตุผลหลายประการ แต่โดยมากอาจเป็นเพราะทางฝั่งคนซื้อต้องการความมั่นคงจากหลักประกันที่ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์กันไปแต่ต้นอย่างเช่นกรณีของนายเก่งในคดีนี้
    สิทธิประการสำคัญในสัญญาขายฝากที่สำคัญคือสิทธิในการไถ่ถอนที่ผู้ขายฝากอาจขอไถ่ถอนเพื่อทำให้ตนเองได้กรรมสิทธิ์กลับคืนมาได้ การไถ่ถอนนี้จะกำหนดราคาไถ่ถอนกันอย่างไรก็ได้ตามที่ตกลงกันเพียงแต่เมื่อคิดเป็นผลประโยชน์ตอบแทนแล้วต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 วรรคสอง แต่หากไม่ได้กำหนดว่าต้องไถ่กันในราคาเท่าใด กฎหมายให้สิทธิผู้ซื้อฝากสามารถไถ่ถอนกันได้ตามราคาที่ขายฝากนั้น
    ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือหากมีการตกลงกำหนดสินไถ่ที่เมื่อคิดเป็นผลประโยชน์ตอบแทนต่อปีแล้วเกินกว่าร้อยละ 15 แล้วจะส่งผลอย่างไร จะทำให้สัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมายหรือไม่
    ความจริงตามสัญญาขายฝากระหว่างนางสวยกับนายเก่งนี้ขายฝากกันในราคา 1 ล้านบาท และกำหนดสินไถ่ในราคาหนึ่งล้านสี่แสนบาทซึ่งเมื่อคิดจากระยะเวลาไถ่ถอน 3 ปีแล้วไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นหากเป็นไปตามที่นางสวยอ้างคือความจริงขายฝากกันในราคา 9 แสนบาทที่จะทำให้คิดเป็นผลประโยชน์ตอบแทนแล้วเกินร้อยละ 15 ต่อปี
    แต่กรณีนี้มาตรา 449 วรรคสองกำหนดไว้อยู่แล้วว่ากรณีที่กำหนดสินไถ่ไว้เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้ผู้ซื้อฝากมีสิทธิขอไถ่ถอนได้ในจำนวนที่คิดจากราคาขายฝากที่แท้จริงบวกด้วยอัตราผลประโยชน์ตอบแทนไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ได้ทำให้สัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมายไป หากนางสวยต้องการไถ่ถอนคืนก็อาจใช้สิทธิไถ่ถอนได้โดยคิดจากราคาขายฝากที่แท้จริง หากความจริงขายฝากในราคา 9 แสนก็สามารถไถ่ถอนโดยคิดจากจำนวนดังกล่าวได้
    อย่างไรก็ตามในคดีนี้เป็นเรื่องที่นายเก่งฟ้องขับไล่นางสวยเนื่องจากนางสวยไม่ได้ไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาที่ล่วงพ้นไปแล้ว นางสวยเองไม่ได้ต้องการที่จะใช้สิทธิไถ่ถอนโดยคิดจากราคาขายฝากที่แท้จริงที่ตนอ้างแต่อย่างใด และแม้เทียบกับสัญญากู้ยืมเงินที่คิดดอกเบี้ยเกินอัตราก็ไม่ทำให้สัญญากู้นั้นเป็นโมฆะ คงมีผลเฉพาะข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยที่เกินอัตราเท่านั้น
    ดังนั้น กรณีที่ทำสัญญาขายฝากแล้วกำหนดสินไถ่ไว้คิดเป็นผลประโยชน์ตอบแทนแล้วเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีก็ไม่ทำให้สัญญาขายฝากไม่สมบูรณ์ไป ผู้ขายฝากคงมีสิทธิเพียงจะขอไถ่ถอนได้ในจำนวนเงินที่คิดจากราคาขายฝากที่แท้จริงบวกด้วยผลประโยชน์ตอบแทนไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2563)

ความคิดเห็น • 21

  • @phatchakewa600
    @phatchakewa600 4 หลายเดือนก่อน +5

    ตอนไปกู้ยอมเขากันทุกกรณีพอตอนใช้พากันหัวหมอ

    • @nanchannel998
      @nanchannel998 2 หลายเดือนก่อน

      จริงครับ5555

  • @supinbumrum5223
    @supinbumrum5223 4 หลายเดือนก่อน

    แล้วแต่ความพอใจทั้งสองฝ่ายจ้า

  • @user-ih4lr2ot9l
    @user-ih4lr2ot9l 4 หลายเดือนก่อน

    เยี่ยมมากเลยครับเข้าใจง่ายมาก ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ และชัดเจน ติดตามครับ

  • @solosnipanutiyun2602
    @solosnipanutiyun2602 2 ปีที่แล้ว

    ปพพ มาตรา 499 วรรคสอง ครับ ไม่ใช่ 449 ครับ

  • @user-kp8ut1hu7s
    @user-kp8ut1hu7s 11 หลายเดือนก่อน +1

    เราติดขายฝากที่ดินเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ย2%ต่อเดือน

    • @kang556
      @kang556 9 หลายเดือนก่อน

      คิดเกิน กฏหมายกำหนดครับ

  • @user-ce9zq3xo2t
    @user-ce9zq3xo2t 4 หลายเดือนก่อน

    ช่วยผมด้วยครับขายฝากโดนนายทุนยึดไปแล้ว

  • @oneoly2871
    @oneoly2871 ปีที่แล้ว

    ผลคือ นางสวย แพ้คดี พูดง่่ายๆๆ

  • @minney0531
    @minney0531 ปีที่แล้ว

    กรณีที่ทำขายฝากไว้250,000ไถ่ถอนก้เท่ากัน. แต่จ่ายดอกเบี้ยรายเดือนให้ผุ้รับฝาก.เดือนละ7,500บาท.คิดเป็นกี่%ค่ะ

    • @user-vp8kr6zq7x
      @user-vp8kr6zq7x ปีที่แล้ว +1

      36%ต่อปีค่ะ

    • @minney0531
      @minney0531 ปีที่แล้ว +1

      @@user-vp8kr6zq7x แแบนี้เท่ากับผุ้รับฝากคิดดอกเบี้ยเราเกืนจริงไหมค้ะ ช่วยหน่อยค่ะ

    • @oneoly2871
      @oneoly2871 ปีที่แล้ว

      @@minney0531 เกิน กฏหมายกำหนด แต่ขึ้นอยู่กับความพึ่งพอใจ ทั้ง2 ฝ่ายคะ

    • @minney0531
      @minney0531 ปีที่แล้ว

      @@oneoly2871ตอนนี้ไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยค่ะ เคยตกลงกันว่าต่อสันยา1ปี แต่ไม่กี่วันมานี้ เจ้าหนี้บอกวาา ไห้จ่ายดอกไห้ก้อนถึงจะ ไปต่อไห้ .. แบบนี้ ถ้าหาเงินไม่ทันจริงๆทำไงได้บ้างค่ะ การเงินติดลบค้ะ

    • @navaga413
      @navaga413 ปีที่แล้ว +2

      ถ้าทำสัญญาขายฝาก 250,000 บาท และทางผู้รับขายฝากกำหนดให้ต้องมีการจ่ายรายเดือนทุกเดือนๆละ 7,500 บาท กรณีนี้ ถือว่า
      1. เป็นการทำนิติกรรมอำพราง เนื่องจากเจตนาการทำนิติกรรมอาจเป็นเรื่องการกู้ยื่มเงินได้ เพราะต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน (ขายฝากจะไปจ่ายเงินค่าไถ่ถอนพร้อมดอกเบี้ย)
      2. ดอกเบี้ย 7,500 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 36%ต่อปี เกินกฎหมายกำหนด (กำหนดกำหนด 15%ต่อปี)

  • @user-hb9fl6qs9h
    @user-hb9fl6qs9h 10 หลายเดือนก่อน

    เสียงเนิบๆเกินไปครับ

    • @wjdtarvel8576
      @wjdtarvel8576 8 หลายเดือนก่อน +1

      ผมตั้งใจฟังจนจบสาระสำคัญคือเนื้อหา ไม่ต้องทำเสียงกระโชกโฮกฮากอย่างพวกทนายเทเลทับบี้ที่ชอบออกสื่อ ลองฟังอีกครั้งนะครับอาจารย์เขาตั้งใจเล่าให้ฟัง