โรคเหงือก โรคปริทันต์ กับการทำฟัน ปัญหาที่กวนใจใครหลายคน l Digital Dental Center

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 พ.ค. 2024
  • โรคเหงือก หรือโรคปริทันต์ (Gum Disease) เกิดจากคราบหินปูนตามซอกฟัน ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียสะสม และกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ หลายคนอาจคิดว่าโรคเหงือกเป็นโรคที่พบได้แค่ในผู้สูงอายุ แต่จริงๆ แล้วสามารถพบได้ในทุกช่วงวัย และในกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน ก็อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเหงือกได้เช่นกัน คลิปนี้มาทำความเข้าใจกับโรคนี้ไปด้วยกันกับ ทพญ. นิรมล เธียรศรีพจมาน ทันตแพทย์เฉพาะทางปริทันตวิทยา หรือโรคเหงือก จาก Digital Dental Center โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
    โรคเหงือก โรคปริทันต์ กับการทำฟัน
    00:00 Intro
    00:20 โรคเหงือก หรือโรคปริทันต์ เกิดจากอะไร
    01:15 อาการของโรคเหงือก โรคปริทันต์
    01:33 โรคเหงือกทำให้ทำฟันยุ่งยากขึ้นหรือไม่?
    02:13 โรคเหงือกรักษาอย่างไร?
    อาการที่บอกว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคเหงือก
    ✅ เหงือกบวม แดง หรือเป็นหนอง
    ✅ มีเลือดออก เมื่อแปรงฟัน
    ✅ เหงือกร่น จนเห็นเนื้อฟันเยอะขึ้น
    ✅ ฟันโยก หรือขยับเมื่อเคี้ยวอาหาร
    ✅ มีกลิ่นปาก
    การเป็นโรคเหงือก โรคปริทันต์ ทำให้การทำฟันยุ่งยากขึ้นหรือไม่?
    การทำฟัน ไม่ว่าจะการจัดฟัน หรือการฝังรากฟันเทียม จำเป็นจะต้องเคลียร์ช่องปากให้สะอาดก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนรับการรักษา การขูดหินปูนและการตรวจโรคเหงือกก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนเบื้องต้นในการเคลียร์ช่องปาก หากตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือก คนไข้จำเป็นต้องทำการรักษาให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะรักษาตามลำดับขั้นตอนต่อไปได้
    สำหรับวิธีป้องกัน สามารถทำด้วยตัวเองได้ เพียงหมั่นพบทันตแพทย์ ขูดคราบหินปูน ตรวจเช็กสุขภาพช่องปากทุกๆ 6 เดือน และแปรงฟันให้สะอาด เพื่อลดคราบสะสมแบคทีเรีย
    .........
    ติดต่อ สอบถามรายละเอียด หรือนัดปรึกษาทันตแพทย์ ได้ที่
    Line: page.line.me/digitaldental
    Whatsapp: 084-2283682
    โทร: 02-2203-822
    สายด่วน: 084-228-3682
    Facebook: / digitaldentalcenterbam...
    Instagram: / digitaldentalcenter
    Website: www.digitaldentalthg.com/
    ศูนย์ทันตกรรมดิจิทัล โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
    611 ถนนบำรุงเมือง, แขวงคลองมหานาค, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพมหานคร 10100
    Digital Dental Center (2nd Fl.), Thonburi Bamrungmuang Hospital
    611 Bamrungmuang Rd., Khlong Mahanak, PomprapSattruphai, Bangkok, 10100, Thailand
    #โรคปริทันต์ #โรคเหงือก #DigitalDentalCenter #ThonburiBamrungmuangHospital #เหงือกบวม #เหงือกอักเสบ #ฝังรากฟันเทียม #ฝังรากเทียม #วีเนียร์ #ครอบฟัน #จัดฟัน #จัดฟันเหล็ก #จัดฟันแบบใส #ฟอกสีฟัน #สะพานฟัน
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 16

  • @inof1162
    @inof1162 ปีที่แล้ว +2

    หมอยิ้มน่ารักนะครับ

  • @9ice242
    @9ice242 ปีที่แล้ว +2

    หลังถอนฟันคุดแล้วมี กระดูทิ่มทะลุเหงือกตรงข้างๆแผลฟันคุด เราทำยังไงได้บ้างครับ

  • @user-xh9qp5ez5q
    @user-xh9qp5ez5q 8 หลายเดือนก่อน +2

    ทำไมหมพูดได้น่ารักจัง😂

  • @Pedtopia
    @Pedtopia ปีที่แล้ว +2

    ผมถอนฟันกราม แล้วฟันซี่ที่ติดกัน(เขี้ยว) รู้สึกเสียวๆ เวลาลิ้นไปโดนหรือดูดน้ำ เหมือนมันโยกแต่ไม่มาก หลังจากแผลถอนฟันหายมันจะหายไหมครับ

  • @sunnyvosseberg3128
    @sunnyvosseberg3128 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

    ใช่ค่ะคุณหมอเป็นหนักเลยแต่ช่วงนี้รักษาอยู่ค่ะช่วงแรกไปพบหมอเจ็บมากค่ะแต่ที่ดีขึ้นคือไม่มีเลือดออกตามไรฟันขอบคุณมากค่ะมอบความรู้ให้ได้รักษาทันค่ะ🙏🙏🙏🦷🦷🇨🇭

  • @nualprapasn7861
    @nualprapasn7861 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณค่ะคุณหมอค่ะตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนทีาคุณหมออธิบายค่ะ

  • @natkun_
    @natkun_ 10 หลายเดือนก่อน +2

    ใช้ยาสีฟันที่เกี่ยวกับเหงือก เช่น พาราดอนแท็ก สามารถเสริมการป้องกันได้ไหมครับ

    • @digitaldentalcenter
      @digitaldentalcenter  8 หลายเดือนก่อน +1

      ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการแปรงฟันด้วยนะคะ

  • @kiawpayer82
    @kiawpayer82 หลายเดือนก่อน +1

    ฟันกรามในสุดโยก...ล่าสุดเอาลิ้นดุนจนหลุดออกมาแล้วครับ...งงมาก...แต่ก็หายปวดแล้วครับ

    • @digitaldentalcenter
      @digitaldentalcenter  16 วันที่ผ่านมา

      สวัสดีค่ะ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ทันตกรรมดิจิทัล (ชั้น 2) โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
      Line Official: page.line.me/digitaldental
      โทร. 02-2203-822
      สายด่วน 084-228-3682

  • @user-zm4ox4jd5n
    @user-zm4ox4jd5n 5 หลายเดือนก่อน +3

    บอกเลย สยอง ถ้าเป็น รีบไปพบทันตแพทย์ทันทีเลย กลัวได้แต่ต้องไป

    • @digitaldentalcenter
      @digitaldentalcenter  3 หลายเดือนก่อน +2

      ใช่เลยค่ะ ถ้าปล่อยให้เป็นหนักๆ นอกจากค่ารักษาค่อนข้างสูง ยังต้องมีเจ็บตัวระหว่างรักษาด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นควรป้องกันไว้ไม่ให้เป็นจะดีที่สุด ด้วยการมาพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน และควรแปรงฟันอย่างถูกวีธีด้วยค่ะ
      ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ทันตกรรมดิจิทัล โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
      𝐋𝐢𝐧𝐞 𝐎𝐟𝐟𝐢𝐜𝐢𝐚𝐥 : line.me/ti/p/@digitaldental
      โทร. 02-2203-822

  • @user-mh3li6rh6r
    @user-mh3li6rh6r 10 หลายเดือนก่อน +1

    ค่ารักษาแพงไหมคะ

    • @digitaldentalcenter
      @digitaldentalcenter  8 หลายเดือนก่อน +1

      💬 ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
      ศูนย์ทันตกรรมดิจิทัล (ชั้น 2) โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
      🆔 𝐋𝐢𝐧𝐞 𝐎𝐟𝐟𝐢𝐜𝐢𝐚𝐥 : line.me/ti/p/@digitaldental
      📞 โทร. 02-2203-822
      📱 สายด่วน 084-228-3682

  • @chotikaputanapatarpa2990
    @chotikaputanapatarpa2990 ปีที่แล้ว +2

    กรณีที่ติดอุปกรณ์จัดฟันแล้วแต่เกิดเป็นโรคเหงือกต้องทำยังไงค่ะตรงนี้ต้องถอดอุปกรณ์จัดฟันออกก่อนไหมค่ะไปรักษาโรคเหงือกก่อนแล้วค่อยกลับมาติดอุปกรณ์จัดฟันไหม่ค่ะ