พระโสดาบันดื่มสุราไหม ทำไมดื่มสุราแต่บรรลุได้ ไขข้อสงสัยชาวพุทธ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2024

ความคิดเห็น • 225

  • @paderm
    @paderm  ปีที่แล้ว +20

    ไขข้อสงสัยชาวพุทธที่ถูกต้อง
    00:00 พระโสดาบันยังดื่มสุราไหม
    02:46 ทำไมดื่มสุราแต่ยังบรรลุเป็นพระโสดาบันได้
    05:49 เหตุให้เป็นพระโสดาบัน
    08:36 ข้อประพฤติปฏิบัติผิด ที่ไม่ใช่เหตุเป็นพระโสดาบัน(จะทำสติ จะเลือกรู้ลมหายใจ นั่งสมาธิไม่รู้อะไร)
    09:39 พระโสดาบันเป็นง่าย ให้ทำเลย คำพระพุทธเจ้าหรือ
    11:21 อธิศีล ศีลที่ละเอียดลึกซึ้งที่ไม่เคยรู้
    12:18 ไตรสิกขาที่ลึกซึ้งตามคำพระพุทธเจ้า
    15:10 พยายามรักษาศีลห้าให้สมบูรณ์ ไม่ใช่เหตุเป็นพระโสดาบัน
    16:00 ทุกขอริยสัจ รู้ทุกข์คืออย่างไร
    อ้างอิงพระไตรปิฎกดังนี้
    นันทิยสูตร 84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=365
    เวรสูตร 84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4765&Z=4797
    ทุติยสารีปุตตสูตร 84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=323
    สรกานิสูตร 84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=8941&Z=8996
    ขออนุโมทนา

    • @tagonmee2894
      @tagonmee2894 ปีที่แล้ว

      กราบขอบพระคุณครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +3

      เสียงกับโกรธเหมือนกันหรือไม่ครับ

    • @tagonmee2894
      @tagonmee2894 ปีที่แล้ว

      @@paderm กราบเรียนอาจารย์ครับ หากผิดพลาดประการใดขอให้ชี้แนะด้วยครับ เสียง เป็น อายะตะนะภายนอก
      โกรธ เป็น สังขาร ชนิดหนึ่ง
      ทั้งสองอย่าง มีจิต เป็นตัวรับรู้ และล้วนเป็น ธรรม ที่เป็น อนัตตา มีเกิด เสื่อม ดับ เป็นธรรมดาครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +4

      @@tagonmee2894 ขออนุโมทนาในความเห็นถูกครับ ถูกต้องในประเด็นที่ถามเรื่อง เสียงกับโกรธเหมือนกันหรือไม่ เหมือนกันโดยเป็นธรรมที่เป็นอนัตตาเหมือนกัน เกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา ถูกต้องครับ
      ส่วนเรื่องเสียง เป็นรูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร และ โกรธเป็นธรรมที่เป็นนามธรรม สภาพธรรมที่รู้ และเป็นสังขารขันธ์ครับ ค่อยๆเข้าใจถูกขึ้นนะครับว่าเมื่อพูดถึงธรรมอะไรก็แสดงถึงความเป็นธรรมไม่ใช่เราทั้งหมด เพื่อละความยึดถือว่าเป็นเรานั่นเองครับ

  • @tanuchphan5861
    @tanuchphan5861 ปีที่แล้ว +29

    ก่อนเป็นพระโสดาบันดื่มสุราแต่เมื่อปัญญาถึงพร้อมก็บรรลุพระโสดาบันได้และไม่ดื่มสุราเพราะเป็นผู้ที่มีศีลสมบูรณ์แล้ว กราบอนุโมทนาค่ะ

    • @nine_non
      @nine_non ปีที่แล้ว +1

      สาธุ.😊

    • @user-uq5nh7tp7r
      @user-uq5nh7tp7r ปีที่แล้ว

      เห็นด้วยครับ แต่สำนักพุทธวจนแห่งหนึ่ง ตีความไปอีกอย่างเลย

  • @สุชาติศรีลาพร
    @สุชาติศรีลาพร ปีที่แล้ว +6

    กล่าวถูกต้องแล้ว โสดาบันปุถุชน
    มีโอกาสล่วงศีลตามสภาวะแต่จะไม่ล่วงตามอารมณ์ แต่ผู้ออกบวชใน
    พระธรรมวินัยแล้วจะกระทำมิได้

  • @ruetaisirithinpayak5508
    @ruetaisirithinpayak5508 ปีที่แล้ว +7

    หากไม่ฟังพระศรัทธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่เข้าใจแม้นขั้นการฟัง ก็จะเข้าใจไรๆผิดๆ คิดธรรมะเอง จึงขาดการฟังพระศรัทธรรม ไม่ได้เลย กราบอนุโมทนาสาธุในกุศลจิตค่ะ ท่านอาจารย์

  • @Cat-Rider
    @Cat-Rider ปีที่แล้ว +7

    บุญกุศลใดที่อาจารย์ได้ทำมาดีแล้ว ทั้งในอดีตชาติ ทุกภพทุกชาติ จนถึงปัจจุบัน ผมขอ อนุโมทนาบุญ สาธุๆๆ 🙏☺️

  • @พุดตาลตั้งเศรษฐเสถียร

    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ

  • @ธนัทเครือแดง-ช1ภ
    @ธนัทเครือแดง-ช1ภ ปีที่แล้ว +5

    ขออนุโมทนาสาธุ

  • @buickbpb9817
    @buickbpb9817 ปีที่แล้ว +5

    อนุโมทนาครับ

  • @มี่5555
    @มี่5555 ปีที่แล้ว +6

    จาก งงๆเริ่มพอเข้าใจขึ้นครับ.ขอบคุณครับ😇

  • @failogy
    @failogy ปีที่แล้ว +4

    ถือศีลเพราะอยากเป็นอริยะ นั่นก็เพราะความโลภเป็นต้นเหตุ การถือศีลนั้นจึงเป็นศีลลัพพตปรามาส

  • @45nnc
    @45nnc ปีที่แล้ว +7

    ลึกซึ้งมาก เข้าใจแล้วครับ สาธุครับ👏

  • @Tawan228
    @Tawan228 ปีที่แล้ว +4

    อนุโมทนา

  • @tongsukrip
    @tongsukrip ปีที่แล้ว +5

    ยินดีในยุญครับ

  • @นายอิน-ต8ย
    @นายอิน-ต8ย ปีที่แล้ว +5

    สาธุ

  • @ubcch.8920
    @ubcch.8920 ปีที่แล้ว +4

    สาธุความรู้คำสอนที่ตรงจริงแท้

  • @Noonim93
    @Noonim93 ปีที่แล้ว +7

    สาธุครับ อาจารย์ ชัดเจนที่สุดครับ เหตุและผลย่อมตรงกันเสมอ ถ้าไม่มีเหตุแล้วหวังให้ผลเกิดขึ้นก็คงเป็นไปไม่ได้นะครับ สาธุครับผม 🙏

  • @patnareepongpo8959
    @patnareepongpo8959 ปีที่แล้ว +6

    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ🙏🌷🙏🌷🙏

  • @thuchphonboonrat2354
    @thuchphonboonrat2354 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณมากนะครับ
    สำหรับธรรมดีๆ

  • @kanokpornviseatchat4306
    @kanokpornviseatchat4306 ปีที่แล้ว +9

    ขออนุโมทนา สาธุค่ะ กราบขอบพระคุณอาจารย์ผเดิมอย่างสูงยิ่งค่ะ

  • @เสกสันต์บุญมา-ศ8ม
    @เสกสันต์บุญมา-ศ8ม ปีที่แล้ว +3

    อนุโมทนาในกุศลจิตครับอาจารย์

  • @ต้นสาระ-ห6ฝ
    @ต้นสาระ-ห6ฝ ปีที่แล้ว +8

    กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ผเดิมด้วย ความเคารพ ยิ่งในความเมตตากรุณาของท่านอาจารย์ ที่กล่าว ธรรมะพระวินัยของพระพุทธองค์ อันแสนประเสริฐ เป็นทางที่ จะห่างไกลนรกได้เลย กราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ ใครฟังไม่เข้าใจ ก็ตามเหตุตามปัจจัยของเขา ทางถูก เห็นเป็นทางผิด ก็ต้องไปตามกรรม ตามเหตุปัจจัย ที่สะสมกันมา ธรรมะ พระวินัย ของพระพุทธองค์ละเอียดลึกซึ้ง ประโยชน์อย่างยิ่ง เจ้าค่ะสาธุสาธุเจ้าค่ะ

  • @โหลีมาระตัง
    @โหลีมาระตัง ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรุ้

  • @AisAis-ur3ie
    @AisAis-ur3ie 10 หลายเดือนก่อน +4

    สาธุๆๆค่ะอาจารย์🙏🙏🙏

  • @azmihuber1915
    @azmihuber1915 ปีที่แล้ว +4

    กราบขอบพระคุณค่ะ🙏

  • @sabbe.dhamma.anatta
    @sabbe.dhamma.anatta ปีที่แล้ว +8

    กราบอนุโมทนา การกระทำทางกายวาจาที่เหมาะสม ก็มาจากใจที่รู้คุณรู้โทษของการกระทำ จึงเป็นธรรมที่รักษาศีล จึงเป็นกุศลศีล ไม่ใช่ความเห็นผิดว่าเป็นเราจะไปทำศีลให้เป็นกุศลได้ จึงควรพิจารณาเห็นโทษของความไม่รู้ความเห็นผิด เพื่อเป็นเหตุปัจจัยแก่ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นอันตรง

    • @mudamuda7427
      @mudamuda7427 ปีที่แล้ว +7

      เริ่มต้นด้วยความเห็นถูก กุศลขั้นทานขั้นศิลไม่สามารถนำสัตว์ออกจากสังสารวัฏได้ นอกจากการระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน แม้จะศึกษามากเข้าใจ ถ้ายังไม่เป็นพระอริยบุคคล ก็ตายอย่างปุถุชน นี่คือความต่างของ พระอริยะและปุถุชน กราบอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ อ.ผเดิม และอ.รุ่นพี่ค่ะ 😊🙏

    • @ต้นสาระ-ห6ฝ
      @ต้นสาระ-ห6ฝ ปีที่แล้ว +6

      กราบอนุโมทนาบุญกับท่านอาจารย์ทั้งสอง ด้วยความเคารพค่ะ สาธุ สาธุค่ะ

    • @sabbe.dhamma.anatta
      @sabbe.dhamma.anatta ปีที่แล้ว +5

      กราบอนุโมทนากับทั้งสองท่าน

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +6

      ยินดีในความเห็นถูกของทุกท่านครับ ไม่ง่ายเลยที่จะเข้าใจหนทางดับกิเลส ที่เริ่มจากปัญญาความเข้าใจถูกในความเป็นธรรมอนัตตา สาธุยินดีที่แสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกกันครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      ถ้าสุรามีมาก มีสี มีกลิ่น รู้อยู่ ผิดศีลครับ ของหมักที่ทำให้ถึงเมา ผิดศีล ครับ

  • @1norraphon
    @1norraphon ปีที่แล้ว +5

    สาธุครับ กระจ่างมาก

  • @happyrelax5059
    @happyrelax5059 ปีที่แล้ว +6

    กราบอนุโมทนา ขอบคุณสำหรับธรรมะที่เผยแพร่ครับ

  • @apichartppk
    @apichartppk ปีที่แล้ว +6

    ขอบพระคุณอาจารย์ผเดิมด้วยความเคารพอย่างสูงครับ ขออนุโมทนาครับ

  • @TK.tanakit
    @TK.tanakit ปีที่แล้ว +9

    อนุโมทนาสาธุครับอาจารย์...

  • @Micky8403
    @Micky8403 ปีที่แล้ว +6

    "น้อม" กราบอนุโมทนาในกุศลจิตดีงาม "ท่านอาจารย์ Paderm Yeesomb" ด้วยความเคารพรักยิ่งค่ะ.

  • @ทองดีทองจริง
    @ทองดีทองจริง ปีที่แล้ว +4

    สาธุครับอ.

  • @rapintara3397
    @rapintara3397 ปีที่แล้ว +5

    กราบขอบพระคุณครับฟังเข้าใจครับ สาธุสาธุสาธุ

  • @hggvvj6420
    @hggvvj6420 ปีที่แล้ว +6

    อนุโมทนาสาธุในพระธรรมค่ะ😊

  • @puttavaputtava3660
    @puttavaputtava3660 ปีที่แล้ว +6

    กราบขออนุโมทนาค่ะ🙏🙏🙏

  • @positivemind2627
    @positivemind2627 ปีที่แล้ว +6

    🙇‍♀️🙇‍♀️🙇‍♀️ กราบโมทนาสาธุค่ะ

  • @Nana-ql4ku
    @Nana-ql4ku ปีที่แล้ว +4

    สาธุๆๆๆค่ะ

  • @pateeraponnarat5681
    @pateeraponnarat5681 ปีที่แล้ว +9

    กราบนอบน้อมบูชาคุณพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงสูงยิ่ง กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ผเดิมด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ในพระธรรมที่ได้แสดง กราบอนุโมทนาในกุศลจิตที่ดีงามค่ะ

  • @ประสิทธิ์พลจันทร์

    กราบบูชาคุณท่านอาจารย์ผเดิมที่เคารพอย่างสูงกราบอนุโมทนาสาธุ.🙏🙏🙏.จากนราธิวาสครับผม...👍👍👍

  • @hsfasazjafa8895
    @hsfasazjafa8895 ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณครับพระอาจารน์คำสอนแห่งธรม❤

  • @junteefischer2104
    @junteefischer2104 ปีที่แล้ว +5

    สาธุ สาธุ สาธุค่ะเป็นความจริง ค่ะเพราะธรรม นั้น ต้องฟังแล้ว จะได้รับความรู้ ว่าอะไรคือเป็นธรรมนั้นทําให้เรามีความสุขมากขอบคุณค่ะท่าน🙏🙏🙏💐💐💐

  • @ffhh3327
    @ffhh3327 ปีที่แล้ว +5

    กราบอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุในธัมมะคำตรัสรู้ขององค์สมเด๊จพระสัมมาสัมพุธเจ้ามืบุญถึงฟังและเชี่อเป๊นหนทางไปสู่โสดาบรรถึงพระนิบพารณ์

  • @สุทธีอาญาเมือง
    @สุทธีอาญาเมือง ปีที่แล้ว +6

    กราบอนุโมทนาค่ะ🙏

  • @dusitapamornsoot7045
    @dusitapamornsoot7045 ปีที่แล้ว +5

    กราบ อนุโมทนา ค่ะ 🙏

  • @sudebzheng2233
    @sudebzheng2233 ปีที่แล้ว +6

    อาจารย์สอนสุดยอดมากครับ

  • @mayurieaves6149
    @mayurieaves6149 ปีที่แล้ว +4

    Absolutely u r right

  • @samsungj2649
    @samsungj2649 ปีที่แล้ว +4

    สาธุสาธุ

  • @สุพิศพลภาณุมาส
    @สุพิศพลภาณุมาส ปีที่แล้ว +5

    กราบสาธุค่ะ วันพระ 19 05 66

  • @สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นย่อมดับ

    สาธุครับ

  • @สุพิศพลภาณุมาส
    @สุพิศพลภาณุมาส ปีที่แล้ว +5

    19 05 66 กราบสาธุค่ะ

  • @phromphiriyasiradathongsak3830
    @phromphiriyasiradathongsak3830 ปีที่แล้ว +5

    กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ

  • @joynavaritn9262
    @joynavaritn9262 ปีที่แล้ว +5

    🙏🏻🙏🏻🙏🏻

  • @saleeyeesomboon1015
    @saleeyeesomboon1015 ปีที่แล้ว +4

    อนุโมทนาค่ะ🌻🙏

  • @mutamunin2066
    @mutamunin2066 ปีที่แล้ว +5

    🙏

  • @DarisT-qc1fw
    @DarisT-qc1fw ปีที่แล้ว +5

    กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ผเดิม ครับ

  • @nowifeman4049
    @nowifeman4049 ปีที่แล้ว +6

    ชัดเจนมากคับ

  • @ijk2391
    @ijk2391 ปีที่แล้ว +2

    ສາທຸ. ອາຈານບຸກຄົນທີ່ແຈ້ງໃນທຳສະໄໝນີ້ເຫຼືອນ້ອຍແລ້ວ. ເປັນບຸນຂອງຂ້ານ້ອຍທີ່ໄດ້ມາຟັງ. อาจารย์และอาจารย์วศินอินทสระ ผมฟังแล้วเข้าใจง่ายและตรงไม่ซับซ้อนเลื้อมใสครับสาธุ🙏🙏🙏

  • @nomilcomil
    @nomilcomil ปีที่แล้ว +1

    การจะสร้างเหตุให้ตัวเองเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ แต่กับบอกว่าไม่จำเป็นต้องรักษาศีล มันเข้ากันได้หรือ เหตุไม่มีจะมีผลได้ยังไง ไม่ฝึกละเว้นจากการผิดศีล แล้วมันจะมีศีลได้อย่างไร อยากได้สิ่งได้ ต้องเพียรฝึกทำสิ่งนั้นซิ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ระบบยูทูป ไม่ใช่ระบบแสดงความคิดเห็นโดยไม่ฟังคำที่กล่าวแสดงไว้ในยูทูปครับที่ได้อธิบายไปแล้ว และในคลิปยังบอกด้วยว่า ไม่ได้สนับสนุนให้ล่วงศีล ฟังเข้าใจเรื่องต่างๆ ในปะเด็นที่ถาม คลิกที่ตัวเลขสีฟ้าครับ ฟังครับ 11:21 อธิศีล ศีลที่ละเอียดลึกซึ้งที่ไม่เคยรู้
      12:18 ไตรสิกขาที่ลึกซึ้งตามคำพระพุทธเจ้า
      15:10 พยายามรักษาศีลห้าให้สมบูรณ์ ไม่ใช่เหตุเป็นพระโสดาบัน
      05:49 เหตุให้เป็นพระโสดาบัน

  • @navinbrv5205
    @navinbrv5205 ปีที่แล้ว +3

    ปุจฉา
    "โสดาบัน" คือสภาวะหนึ่งของการบรรลุธรรมในความเป็นอริยะของทั้งคฤหัสถ์และสงฆ์
    หรือว่าเป็นสรรพนามหนึ่งของพระสงฆ์ในพุทธศาสนา(เท่านั้น)ที่บรรลุธรรมในระดับหนึ่งตามพุทธบัญญัติ ...

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      หากเข้าใจความจริงของธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงแสดงให้เข้าใจโดยสองนัย คือ สมมติเทศนาและปรมัตเทศนา คือ การแสดงธรรมเนื่องด้วยสมมติทางโลกที่กล่าวบัญญัติให้รู้หมายกัน เช่น พ่อแม่ ตัวเรา พระเจ้าพิมพิสาร คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น และ ปรมัตถเทศนา การแสดงธรรมความจริงว่ามีแต่ธรรม ขันธ์ห้า ไม่มีเรา มีแต่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีแต่ธรรมนั่นเองครับ ดังนั้น ที่คิดว่ามีเรา มีพระเจ้าพิมพิสาร มีต้นไม้ แท้จริงก็เพราะมีตัวปรมัต คือ ตัวธรรมที่ประชุมรวมกัน ของ รูปนาม ขันธ์ห้าที่เป็นปรมัต จึงสมมติบัญญัติเรียกว่าคน สัตว์ ต้นไม้ที่เป็นสมมติ ดังนั้น พระโสดาบัน ก็คือ ปัญญาและสภาพธรรมฝ่ายดี มีศรัทธา เป็นต้น ที่เกิดรู้ควมจริงประจักษณพระนิพพาน ดับกิเลสได้ ที่เป็นโลกุตตรธรรม นั่นคือ เป็นตัวสภาวะธรรมที่เป็นปรมัต ไม่พ้นจากปัญญา เป็นต้น ปัญญา ไม่ใช่ปัญญาของใคร ปัญญา เป็นปัญญา แต่เมื่อพระองค์ทรงแสดงโดยนัยปรมัตถเทศนาแล้ว ก็ทรงแสดงให้เข้าใจถูกโดยสมมติเรียกว่า ผู้นี้คือ พระอริยบุคคลขั้นแรก เรียกว่าพระโสดาบัน โดยสมมติเทศนา ดังนั้น พระองค์ก็ทรงแสดงทั้งโดยนัยสมมติและปรมัต แต่เพราะมีตัวปรมัต คือ สภาวะปัญญาที่ประจักษ์ความจริง จึงมีบัญญัติสมมติสื่อความหมายว่าเป็นพระโสดาบัน พระอริยบุคคลขั้นแรกเพื่อสื่อกันให้เข้าใจถูกครับ ขออนุโมทนา

  • @khemikachamram694
    @khemikachamram694 ปีที่แล้ว +1

    ขอความกรุณาท่านอาจารย์อธิบาย
    "เลื่อมใส ไม่หวั่นไหว
    ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์" โดยละเอียดด้วยค่ะ โดยเฉพาะพระสงฆ์

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      คำว่าเลื่อมใสไม่หวั่นไหว คือ พระอริยสาวกผู้บรรลุนิพพาน ดับกิเลสแล้ว ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป มีศรัทธาความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว เพราะประจักษ์ความจริงจนดับกิเลสได้ ดังนั้น ศรัทธาที่พร้อมปัญญาในปัญญาระดับสูงโลกุตตระ จึงดำเนินรอยตามพระอริยสาวกทั้งหลาย ตัวท่านที่เป็นพระอริยสงฆ์ ก็เป็นพระสงฆ์ด้วย ดังนั้นปุถุชน มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย แต่ปัญญายังไม่มากพอ ก็ยังหวั่นไหว ถามว่าตอนเป็นเด็กมากๆ ยังไม่ศึกษาธรรม ก็ยังไม่ได้เลื่อมใสพระรัตนตรัย และยังหวั่นไหวอยู่เพราะยังมีกิเลสมาก อวิชชามากนั่นเองครับ
      ดังนั้น คำว่าเลื่อมใสไม่หวั่นไหว ต้องเป็นคุณธรรมของพระอริยสาวก ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ซึ่งเป็นผลของการบรรลุเป็นพระอริยบุคคล แต่ไม่ใช่เหตุของการเป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่ว่าจะพยายามรักษาศีลห้าให้สมบูรณ์ พยายามเลื่อมใสพระรัตนตรัย จึงจะได้เป็นโสดาบัน ครับ นั่นเหตุผิด เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นผลครับ แนะนำคลิกที่ตัวเลขสีฟ้า ครับ 05:49 เหตุให้เป็นพระโสดาบัน
      และเพิ่มเติมเรื่องการเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ตามที่กล่าวไปแล้ว เลื่อมใสไม่หวั่นไหวเป็นผลของการเป็นพระอริยบุคคล เราปุถุชนยังหวั่นไหว ครับ และเลื่อมใสในพระสงฆ์ ไม่ใช่เลื่อมใสภิกษุบุคคล แต่เลื่อมใสคุณธรรมของพระอริยสงฆ์ไม่หวั่นไหวเพราะท่านประจักษ์พระนิพพาน ละกิเลสได้แล้วเหมือนพระอริยงสงฆ์ ปัญญาที่มีมากนั่นเอง ย่อมเลื่อมใสตามระดับ ครับ

    • @khemikachamram694
      @khemikachamram694 ปีที่แล้ว +2

      กราบขอบพระคุณมากค่ะ

  • @tagonmee2894
    @tagonmee2894 ปีที่แล้ว +3

    กราบสวัสดีครับอาจารย์ ผมขออนุญาต เรียนสอบถามว่า
    1.สังขาร ในบทปฏิจสมุทรบาท กับ สังขาร ใน ขันธ์ 5 เป็นตัวเดียวกันไหมครับ
    2. สัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ ในอริยสัจ4 ความหมาย คืออะไรครับ
    ขอบพระคุณครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +4

      ข้อที่ ๑
      สังขารในปฏิจจสมุปบาท คือ เจตนาเจตสิกเท่านั้น มีสามดังนี้ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร
      ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาที่กระทำกุศลกรรมที่เนื่องกับรูป คือกามาวจรกุศลกรรมและ รูปาวจรกุศลกรรม
      อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาที่กระทำอกุศลกรรม
      อเนญชาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาที่เป็นอรูปาวจรกุศลกรรมคือ อรูปฌานกุศล ๔
      สังขารในขันธ์ ๕ คือ สังขารขันธ์ สังขารขันธ์ หมายถึง เจตสิก ๕๐ ประเภท ที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นไปต่างๆ เพราะเจตสิกทั้งหมด มี ๕๒ ประเภท เฉพาะเจตสิก ๕๐ เท่านั้น ที่เป็นสังขารขันธ์ เนื่องจากว่า สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์ และเวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์ เจตสิกที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ทั้งหมด เช่น เจตนา ผัสสะ เจตนา โลภะ โทสะ โมหะ ศรัทธา สติ วิริยะ ปัญญา เป็นต้น ครับ
      ดังนั้น สังขารในปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นเจตนาเจตสิก ก็เป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์ ครับ
      ๒ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เห็นถูก ก็มีหลายระดับ
      กัมมสกตาสัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นถูกเรื่องความมีกรรมเป็นของๆ ตน ฌานสัมมาทิฏฐิเป็นความเห็นถูกที่เกิดกับฌานจิต
      วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นถูกที่เกิดกับวิปัสสนา คือ ปัญญาที่รู้ความจริงในขณะนี้ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
      ดังนั้นสัมมาทิฏฐิ หรือ ปัญญาในอริยสัจจะ คือปัญญาที่เป็นวิปัสสนารู้ความจริงของธรรม
      ประโยชน์ของการศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรม จึงขออนุญาตเรียนสนทนาครับ เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา
      เสียง เป็นอริยสัจจ์ไหม ครับ

    • @tagonmee2894
      @tagonmee2894 ปีที่แล้ว +3

      @@paderm กราบขอบพระคุณมากครับ และขอกราบเรียนตอบตามความเข้าใจ ครับ เสียงเป็น ธรรม ครับ มีการ เกิด ดับ อยู่ในอริยะสัจ 4ครับ ถูกผิดประการใด อาจารย์โปรดเมตตาด้วยครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +4

      @@tagonmee2894 ยินดีครับ อนุโมทนาในความเห็นถูกครับ ดังนั้น จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมคือเพื่อเข้าใจความจริงของธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้ว่าเป็นธรรม โดยการฟังศึกษาพระธรรม ยิ่งเข้าใจว่าเป็นธรรม ก็คือเริ่มเข้าใจอริยสัจ ๔ ทีละเล็กละน้อย แม้ไม่เอ่ยชื่อใช้ชื่อเลย ครับ ยินดีที่สนทนากันครับ

    • @tagonmee2894
      @tagonmee2894 ปีที่แล้ว +4

      @@paderm กราบขอบพระคุณที่เมตตาให้ความรู้ครับ

  • @winwin3662
    @winwin3662 ปีที่แล้ว +4

    ສາທຸອະນຸໂມທາມິສາທຸ

  • @อารมณ์สาธิมะณี
    @อารมณ์สาธิมะณี ปีที่แล้ว

    ขอแสดงความคิดเห็นครับ ท่านผู้พูดมองคุณสมบัติของผู้เป็นโสดาบันแคบไปครับ ที่จริงพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องคุณสมบัติของโสดาบันไว้กว่า 50 นัยยะ
    นัยยะหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสกับช่างไม้ไว้ว่า ให้มีศรัทธาอันหยังลงมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจิตปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีฝ่ามืออันชุ่ม เป็นผู้คู่ควรแก่การขอ เป็นผู้ยินดีในการให้ อยู่ครองเรือน

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ทางสายเอกสายเดียวที่จะบรรลุคือ สติปัฏฐานสี่ ต้องมีปัญญา
      ในมหาสติปัฏฐานสูตร ทรงแสดงว่า ทางสายเอก ทางสายเดียว เพื่อการดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อดับกิเลส เพื่อการบรรลุพระนิพพาน คือ การเจริญสติปัฏฐาน แต่ในที่อื่นๆ แสดงเรื่องการเจริญอินทรีย์ ๕ เจริญพละ ๕ เจริญโพชฌงค์ ๗ เจริญมรรคมีองค์๘ ว่าเป็นหนทางเพื่อการดับกิเลส เพื่อบรรลุพระนิพพานเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรเข้าใจว่าการบรรลุพระนิพพาน ต้องอาศัยการอบรมโสภณธรรมหลายประเภท ไม่ใช่ตัวสติเพียงอย่างเดียว ธรรมประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น ศรัทธา วิริยะ สมาธิ ปัญญา เป็นต้น อนึ่งในอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และองค์มรรคก็มีสติปัฏฐานประกอบด้วยเช่นกัน ดังนั้นปัญญาและธรรมที่ประกอบด้วย(ศรัทธา สติ) จึงมีชื่อเรียกต่างกัน คือ สติปํฏฐาน อินทรีย์ห้า อริยมรรคมีองค์แปด แต่ทั้งหมด ก็คือมีปัญญาและมีธรรมที่ดีอย่างอื่นเกิดร่วมกันนั่นเองครับ
      ดังนั้นทั้งหมดต้องมีปัญญา ไม่ใช่แค่ไปรักษาศีลห้า เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ก็บอกแล้วว่าเป็นพระโสดาบัน นั่นผิด ลืมปัญญา นั่นเองครับ

  • @flukkhung1605
    @flukkhung1605 ปีที่แล้ว +3

    คุณเผดิมครับ 1.สัตว์โลกยึดติดขันธ์5ใช่ไหมครับถึงยังไม่บรรลุอรหันต์ 2.เเละถ้าไม่ยึดติดขันธ์5เป็นผลให้บรรลุอรหันต์ไหมครับ 3.อะไรเป็นเหตุให้บรรลุอรหันต์ครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +3

      1.สัตว์โลกยึดติดขันธ์5ใช่ไหมครับถึงยังไม่บรรลุอรหันต์
      อุปาทาน คือ ความยึดมั่น มี ๔ ได้แก่ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑
      กามุปาทาน โดยสภาพธรรม ได้แก่ โลภะเจตสิกอย่างเดียวก็ได้ โดยไม่มีความเห็นผิด เช่น ติดข้องมากๆ ในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นกามุปาทาน หรือ ติดข้องในความยินดีในภพ เป็นต้น พระอรหันต์ เท่านั้น ที่ละ กามุปาทานได้
      ส่วน ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑ เป็นทิฏฐิเจตสิก คือ มีความเห็นผิดด้วยครับ พระโสดาบัน ละ อุปทาน 3 เหล่านี้ได้ ครับ
      2.เเละถ้าไม่ยึดติดขันธ์5เป็นผลให้บรรลุอรหันต์ไหมครับ
      หมดอุปาทานทั้งสี่ สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์ครับ
      3.อะไรเป็นเหตุให้บรรลุอรหันต์ครับ
      การอบรมปัญญา อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มจากการฟังพระธรรมเกิดปัญญาครับ

    • @เปิดธรรมปิดอบาย
      @เปิดธรรมปิดอบาย ปีที่แล้ว

      อนาคามีก็ละอุปปาทานได้3เหลืออัตตวาทุปาทานที่ละได้ขาดในพระอรหันต์

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
      [๗๘๔] อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน
      ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ
      ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
      ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา
      ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา
      ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร
      ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ
      ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ
      ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิดทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน.

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      ดังนั้น อัตตวาทุปาทาน คือ ความเห็นผิดตามที่กล่าวมา ซึ่งพระโสดาบันละได้แล้วครับ

  • @พิเวกคําจันทร์-ล2ญ

    ❤️🙏🙏🙏

  • @YingChinese
    @YingChinese ปีที่แล้ว +3

    ถือศีล5ยากจังค่ะ หญิงยังผิดเล็กๆ น้อยๆ ข้อการพูดเท็จนี่แหละค่ะ ขี้เกียจไปทำงานอ้างป่วย

  • @flukkhung1605
    @flukkhung1605 ปีที่แล้ว +3

    4.ต้องสะสมบุญในการทำทานมากๆหรอครับถึงทำให้เข้าใจธรรมะตามกำลังบุญของการทำทาน 5.ต้องรอให้บารมี10ทัศเต็มหรอครับถึงจะบรรลุอรหันต์

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      ข้อสี่ อบรมเจริญกุศลทุกๆประการ และอบรมปัญญาด้วยครับ ให้ทาน ไม่มีปัญญาละกิเลสไม่ได้ครับ ศาสนาอื่นให้ทานเยอะมาก แต่ไม่มีปัญญารู้ความจริงละกิเลสไม่ได้ครับ
      ข้อห้า บารมีถึงพร้อมและปัญญาถึงพร้อม ครับ

    • @flukkhung1605
      @flukkhung1605 ปีที่แล้ว

      ​@@paderm อนุโมทนาบุญสาธุมากๆครับ

  • @theauroralightyr
    @theauroralightyr ปีที่แล้ว

    มีข้อสงสัยครับ เคยได้ยินมาว่า มีศีล มีสมาธิ แล้วทำให้เกิดปัญญา แต่บางคนบอกว่า ปัญญาไม่ใช่ผลจาก ศีล และสมาธิ แต่เป็นเหตุเช่นเดียวกัน คือพอมีศีล แะลมีสมาธิ ก็ใช้ปัญญาไตรตรองเพื่อละอวิชชา สรุปว่าปัญญาคือเหตุหรือเป็นผลกันแน่

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ฟังในคลิปนี้คลิกที่ตัวเลขสีฟ้าเริ่มที่เวลานี้ครับ มีคำตอบอธิบายอยู่แล้วครับ 11:21 อธิศีล ศีลที่ละเอียดลึกซึ้งที่ไม่เคยรู้
      12:18 ไตรสิกขาที่ลึกซึ้งตามคำพระพุทธเจ้า
      15:10 พยายามรักษาศีลห้าให้สมบูรณ์ ไม่ใช่เหตุเป็นพระโสดาบัน
      16:00 ทุกขอริยสัจ รู้ทุกข์คืออย่างไร

    • @theauroralightyr
      @theauroralightyr ปีที่แล้ว +1

      ​@@padermขอบคุณมากครับ

  • @เปิดธรรมปิดอบาย
    @เปิดธรรมปิดอบาย ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีครับท่านเป็นพหูสูตรศึกษาพระไตรปิฏก_เรียนธรรม_แม่นยำในพระสูตรเป๋นผู้มีสุตตะมาก_การได้สนทนาธรรมกับท่านนับว่าเป็นมงคลอย่างหนึ่งครับ_แต่ก่อนผมเองก็มีความขวายขวายมากในเรื่องการทำสมาธิด้วยการนั่ง_แต่ภายหลังไม่ขวานขวายมากในเรื่องนี้แล้ว_เพราะได้มีข้อสังเกตุประการหนึ่งว่า_ตถาคตทรงเป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์_ทรงแสดงธรรมแก่ผู้ครองเรือนเป็นอย่างหนึ่งและแก่นักบวชอีกอย่างหนึ่งปัญญาของคฤหัสถอย่างหนึ่ง_ปัญญาของบรรชิตก็อย่สงหนึ่ง_การศึกษาหรือการประพฤติในธรรมวินัยนี้ปัจจุบันจึงไม่เป็นไปโดยลำดับ_ปะปนกันไม่แยกจากกันไม่อาจแยกจากกันแล้วศึกษาได้_จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผู้ที่มีปกติความทรงจำไม่ดีหรือเป็นผู้ที่ยังมีสุตตะน้อย_เข้าใจหรือรู้ตามได้โดยยาก_ความคิดอาจเกิดขึ้นดังนี้ว่าธรรมะนี้เป็นของยาก_สูงเกืน_ใกลเกิน_ย่อมรู้ย่อมเห็น_ย่อมบรรลุถึงได้โดยยาก_อคตินิปาตะ(ความสำคัญตนว่าเลว)ย่อมครอบงำกลุ้มรุมจิตใจ_ความเนิ่นช้าในกุศลธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ_ท่านนั้นเป็นผู้ประกาศพระสัทธรรมที่ยอดเยี่ยม_เป็นอุบาสกรัตนะ_เป็นคนมีชื่อเสียงชนทั้งหลายย่อมเชื่อฟัง_เปรรยบเหมือนโคผู้เป็นจ่าฝูง_ย่อมนำโคทั้งหลายไปตามเสียงคือทิฏฐิของโคผู้เป็นจ่าฝูงนั้น_ขอโอกาสแลกเปลี่ยนสนทนาในโอกาสต่อๆไปครับ_สาธุ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ได้อธิบายไว้โดยละเอียดในคลิปนี้ครับ คลิกฟังครับth-cam.com/video/LcrWhTFwqMk/w-d-xo.html

  • @อาจารย์ณัฐพงษ์
    @อาจารย์ณัฐพงษ์ ปีที่แล้ว

    สาธุครับ ขอถามครับ พระโสดาบันสามารถเสื่อมจากความเป็นพระโสดาบันกลับไปเป็นปุถุชนคนธรรมดาได้ไหมครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      กิเลสที่ท่านละได้แล้ว ด้วยมรรค กิเลสนั้นจะไม่กลับมาอีก จึงเป็นพระอริยบุคคลไม่เสื่อม ไม่กลับไปเป็นปุถุชนอีกครับ เที่ยงแท้จะเป็นพระอรหันต์สิ้นกิเลส ปรินิพพานครับ
      เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

    • @อาจารย์ณัฐพงษ์
      @อาจารย์ณัฐพงษ์ ปีที่แล้ว +1

      @@paderm สาธุครับ🙏
      ครั้งต่อไปผมขอเสนออาจารย์เผดิม ช่วยทำคลิปเกี่ยวกับ"สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้พระพาหิยะบรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยนะครับ

  • @chai3087
    @chai3087 ปีที่แล้ว +1

    ละ ฉันทะ ราคะ ตัณหา นันทิ จบมั๊ย

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      ไม่มีปัญญาแม้ขั้นการฟัง แม้เริ่มต้นว่า ธรรมคืออะไร ธรรมเป็นอนัตตาคืออย่างไร ก็ละอะไรไม่ได้ แต่เพิ่มตัณหา นันทิโดยไม่รู้ตัวครับ

  • @Thanalucky
    @Thanalucky ปีที่แล้ว

    ถ้าดื่มแล้วพอประมาณเป็นกระสัย ไม่ขาดจากสติ พิจารณาแบบนี้ได้หรือไม่

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ขาดสติ ไม่มีสติ ตั้งแต่คิดจะดื่มที่รู้ว่าเป็นสุราครับ
      เวรสูตร
      ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ
      [๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุที่อริยสาวกเข้าไประงับภัยเวร ๕ ประการเสียได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน ๔ ประการ และเป็นผู้เห็นแจ้งแทงตลอดญายธรรมอันเป็นอริยะด้วยปัญญา อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้ ภัยเวร ๕ ประการที่อริยสาวกเข้าไประงับแล้ว เป็นไฉน คือบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ฯลฯ บุคคลผู้กล่าวคำเท็จ ฯลฯ บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปในทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรนั้นด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ ย่อมสงบระงับไป.

  • @premphankhun6236
    @premphankhun6236 ปีที่แล้ว

    ดืมสุราเป็นวิสัย ย่อมเป็นผู้ประมาท ยึดในสิ่งใดย่อมเพลินในสิ่งนั้น ท่านเข้าใจอนัตตาว่าอย่างไร อนัตตาใช้เรียกสิ่งๆหนึ่งที่มีการเกิด ธรรมมะคือธรรมชาติ ที่เกิดเสื่อมและก็ดับไป ดื่มเหล้า=ไม่ใช่โสดาบัน

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +3

      ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเสื่อมไปดับไป หมายถึง อนิจจัง ไม่ใช่อนัตตา ครับ อนัตตา หมายถึง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล เป็นธรรมบังคับบัญชาไม่ได้ ครับ

  • @เปิดธรรมปิดอบาย
    @เปิดธรรมปิดอบาย ปีที่แล้ว +1

    ข้ออื่นยังมีอีกครับ_เรื่องการละสังโยชน์มีในเบื้องตำ่3พร้อมทั้งอนุสัย_ข้อแรกคือการละสักกายะทิฐฐิพร้อมทั้งอนุสัยกล่าวคือปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมมีความรู้ผิด_มีความเห็นผิด_มีความเข้าใจที่ผิดไปว่ากายนี้_ชีวิตนี้อันประกอบด้วยขันธ์นั้นเที่ยงแท้_เป็นสุข_เป็นตนของตนตั้งอยู่เสมอไป_ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีความรู้ถูกต้อง_มีความเห็นถูก_มีความเข้าใจที่ถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันยิ่งในคำสอนของพระศาสดาว่ากายนี้_ชีวิตนี้อันประกอบด้วยขันธ์นั้นไม่เที่ยง_เป็นทุกข์_เป็นอนัตตา(แปลว่าตนเป็นของตั้งอยู่ชั่วคราวไม่ถาวร)_อริยสาวกในธรรมวินัยนี้จึงไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆโดยความเป็นของเที่ยง_เป็นสุข_เป็นอัตตาชื่อว่าสักกายะทิฐฐิพร้อมทั้งอนุสัยละได้แล้ว/ข้อที่2วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัยคือปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมสงสัยลังเลว่าทานที่ให้แล้วมีผลหรือหนอ_วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วมีหรือหนอ_โลกนี้โลกอื่นมีหรือหนอฯดังนี้_มีความสงสัยลังเลในมรรคและปฏิปทา(ทางมีหรือหนอ)ส่วนอริยสาวกฯนั้นข้าความสงสัยลังเลชื่อว่าละวิจิกิจฉาพร้อทั้งอนุสัยได้แล้ว_ประการอื่นยังมีอีกอริยสาวกฯไม่มีข้อประพฤติทางกาย_วาจาเพื่อความบริษุทธิ์ในแบบอัญญเดียร์ถีเหล่าอื่นเช่น_การบูชาไฟ_การเดินลงแม่นำ้_และการกระทำเดรัจฉานวิชามีประการต่างๆโสดาบันไม่ทำแล้วชื่อว่าละสีลัพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัยเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +4

      ดังนั้นก็ต้องเข้าใจว่า ละสักกายทิฏฐิ เข้าใจว่า สักกายทิฏฐิ คือ ความยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเรา ยึดถือเห็นว่าเป็นเรา ยึดถือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ว่าเป็นเรา สักกายทิฏฐิ จึงต้องมีปัญญาอบรมสติปัฏฐานหรืออริยมรรคมีองค์แปด ที่เริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ว่าเป็นธรรม เป็นต้น ไม่ใช่ไปรักษาศีล สมาทานศีล แต่ไม่มีปัญญา ก็ละสักกายทิฏฐิไม่ได้นั่นเองครับ
      แนะนำข้อปฏิบัติ สีลัพตปรามาส ที่มีความละเอียด มีหลายระดับครับ ไม่ใช่แค่หยาบๆ แค่เดินไฟ บูชาไฟ อครับ การปฏิบัติผิดในหนทางที่คิดว่าเป็นทางถูกในพระพุทธศาสนาก็เป็นด้วยครับ คลิกที่ตัวเลขสีฟ้า จะอธิบายในคลิปนี้ครับ 08:36 ข้อประพฤติปฏิบัติผิด ที่ไม่ใช่เหตุเป็นพระโสดาบัน(จะทำสติ จะเลือกรู้ลมหายใจ นั่งสมาธิไม่รู้อะไร)

  • @ทนงศักดิ์ดีมีแสง

    ดื่มสุราเพื่อความอยาก ดื่มเพื่อเป็นยา บางครั้งดื่มเพื่อเป็นพิธี พระเจ้าพิมพ์พิสารเป็นพระราชามีบริวาร มีวงศ์ษาคณาญาติ คิดว่าท่านดื่มไหมครับ แล้วท่านดื่มโดยมีจิตแบบไหน? พระเจ้าพิมพิสารคิดอย่างไร?

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      เมื่อยังไม่เป็นพระโสดาบัน ย่อมเป็นผู้ล่วงศีลได้ครับ แต่เมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว คือ พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบันแล้ว ย่อมไม่ล่วงศีลแม้เหตุแห่งชีวิตครับ

  • @moohanderson716
    @moohanderson716 ปีที่แล้ว

    ดื่มได้ครับแต่ไม่เมารู้สึกตัวมีสติ เหตุผลที่ดื่มได้เพราะท่านไม่ได้ดับกิเลสหมดโดยสิ้นเชิงไม่เหมืนพระอรหันต์

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ผู้ที่ไม่ล่วงศีลห้าอีก และไม่ดื่มน้ำเมา คือ เริ่มจากความเป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ ครับ มีคำพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ความคิดตนเองเป็นที่พึ่ง เป็นชาวพุทธจึงต้องศึกษาพระธรรม ครับ
      เวรสูตร
      ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ
      [๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุที่อริยสาวกเข้าไประงับภัยเวร ๕ ประการเสียได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน ๔ ประการ และเป็นผู้เห็นแจ้งแทงตลอดญายธรรมอันเป็นอริยะด้วยปัญญา อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้ ภัยเวร ๕ ประการที่อริยสาวกเข้าไประงับแล้ว เป็นไฉน คือบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ฯลฯ บุคคลผู้กล่าวคำเท็จ ฯลฯ บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปในทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรนั้นด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ ย่อมสงบระงับไป.

  • @sanmadet1068
    @sanmadet1068 ปีที่แล้ว

    ธรรมะที่ท่านได้แสดงมา.รู้สึกว่า.จะเกิดสังขาร์การปรุงแต่งไปมากกว่า.เพราะเรียนคําสาวกแต่งเพิ่มเติ่ม.จึงอาจทําให้เข้าใจผิดได้.ครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ระบบยูทูปเป็นระบบสำหรับฟังก่อน จะรู้ว่ายกข้อความในพระไตรปิฎกมาครับ ตัวอย่างดังนี้
      พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 296
      ๒. เวรสูตร
      ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ
      [๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุที่อริยสาวกเข้าไประงับภัยเวร ๕ ประการเสียได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน ๔ ประการ และเป็นผู้เห็นแจ้งแทงตลอดญายธรรมอันเป็นอริยะด้วยปัญญา อริยสาวก
      นั้น เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้ ภัยเวร ๕ ประการที่อริยสาวกเข้าไประงับแล้ว เป็นไฉน คือบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ฯลฯ บุคคลผู้กล่าวคำเท็จ ฯลฯ บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปในทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรนั้นด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ ย่อมสงบระงับไป.

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ปฏิเสธอรรกถาเป็นคำแต่งใหม่ คำที่ตนเองยกพุทธวจนแล้วอธิบายเพิ่มก็คือคำแต่งใหม่เช่นกัน
      ถ้าจะอ้างว่าเอาแต่พุทธวจนทั้งหมด คำอรรถกถาอธิบาย ไม่ใช่พุทธวจน เป็นคำแต่งใหม่ เช่นนั้นแล้ว คำของตนเองที่ยกพุทธวจนแล้วอธิบายออกมา เช่น ยก สติปัฏฐานสูตร หน้านั้น เล่มนี้ ฉบับนี้ แล้วตนเองก็อธิบายเป็นภาษาไทย ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ คำที่ตนเองอธิบาย นั่นก็คือ ไม่ใช่พุทธวจน เป็นอรรถกถาจารย์เช่นกัน เพราะเป็นคำที่ไม่มีในพระไตรปิฎก เล่มนั้นเล่มนี้ ถ้าจะให้ถูกตามที่ไม่เอาอรรถกถาจารย์ ก็คือ ห้ามพูดต่ออะไรเลย ยกพุทธวจนล้วนๆ นั่นแหละครับ ไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม ดังนั้นตนเองก็อธิบายเพิ่มเติม หลังจากยกพุทธวจน ที่ไม่ตรงเป๊ะตามพระไตรปิฎกเช่นกัน นี่คือการเปรียบเทียบให้เห็นว่าแท้จรองแล้ว คำใดก็ตาม ที่อธิบายโดยภาษาไหน อย่างไร แต่อธิบายความหมายได้ตรงตามคำพระพุทธเจ้า นั่นก็ชื่อว่าคำพระพุทธเจ้า ดังเช่น ในอรณวิภังคสูตร บางประเทศ คำว่า ภาวขนะ ใช้คำนี้ บางประเทศ ภาชนะใช้คำนี้ แต่ภาษาใด คำใดก็ตาม ที่อธิบายให้เข้าใจถึงความจริงของธรรม นั่นเป็นคำพระพุทธเจ้าครับ
      อรณวิภังคสูตร
      [๖๖๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่าปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโลสะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบางชนบทเขาหมายรู้ว่า ปิปิละ ภิกษุพูดปรักปรำโดยประการที่ชนทั้งหลายหมายรู้เรื่องภาชนะนั้นกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่าอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบทเขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโลสะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า
      หนะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ ภิกษุพูดโดยประการที่ชนทั้งหลายหมายรู้เรื่องภาชนะกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ อย่างไม่ใช่ความแน่ใจว่า เป็นอันท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พูดแก่ข้าพเจ้าหมายถึงภาชนะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญ นั่นเราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

  • @lilinafanglu7222
    @lilinafanglu7222 ปีที่แล้ว

    พระโสดาบันตามตำรากล่าวผู้เข้ากระแส
    ศีล 5 ท่านครบบริบูรณ์
    เมื่อครบ เจตนาการดื่มของมึนเมาคงไม่มี
    ดื่มได้ไหม ท่านคือมนุษย์ท่านก็ดื่มได้แน่นอน
    แต่ท่านจะดื่มไปเพื่ออะไร
    ดื่มเพื่อเมา คงไม่มี
    แต่ถ้าดื่มเพื่อประกอบเป็นยาและจำเป็นท่านอาจดื่ม
    ส่วนการดื่มสุราบรรลุได้ไหม
    ขณะดื่มเพื่อความมันความเมาก็คงบรรลุไม่ได้
    การบรรลุธรรมนะบรรลุที่ไหน
    บรรลุที่กายหรือบรรลุที่จิต
    จิตอยู่ในสถานะไหนถึงจะเข้ากระแสได้
    อีกข้อหนึ่งที่น่าจะมาบรรยาย
    คือ การบรรลุธรรมจะบรรลุตามลำดับขั้นไหม
    เช่น ต้องโสดาบัน สกิติทา อนาคา แล้วค่อยบรรลุพระอรหันต์

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      มนุษย์ไม่จำเป็นต้องดื่มสุรา จึงจะสรุปว่ามนุษย์ต้องดื่มสุรา จึงผิดครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      พระโสดาบันเว้นขาดแล้วจากการดื่มสุรา
      พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 296
      ๒. เวรสูตร
      ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ
      [๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุที่อริยสาวกเข้าไประงับภัยเวร ๕ ประการเสียได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน ๔ ประการ และเป็นผู้เห็นแจ้งแทงตลอดญายธรรมอันเป็นอริยะด้วยปัญญา อริยสาวก
      นั้น เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้ ภัยเวร ๕ ประการที่อริยสาวกเข้าไประงับแล้ว เป็นไฉน คือบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ฯลฯ บุคคลผู้กล่าวคำเท็จ ฯลฯ บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปในทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสแม้ที่เป็นไปทางใจ บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทแล้ว เป็นอันระงับภัยเวรนั้นด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ ย่อมสงบระงับไป.

  • @amnuayputtha3411
    @amnuayputtha3411 ปีที่แล้ว

    การเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธ
    พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเหตุแห่งอริยบุคคล
    เพราะเป็นกุญแจดอกแรก ในการเข้าสู่ศาสนาพุทธนี้
    ต้องปลูกศรัทธาลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้ได้ เพราะเป็นบาทแรกไปสู่ความหลุดพ้น
    ชาวพุทธสมัยนี้ ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คืออะไร มีลักษณะอย่างไร มีอานุภาพอย่างไร ทำไมจึงควรพึ่ง พึ่งแล้วได้อะไร
    และจะต้องกระทำตนอย่างไร เมื่อต้องการพึ่ง
    ชาวพุทธหนีไปพึ่งสิ่งอื่น พึ่งผี พึ่งเทวดา พญานาค
    จนลืมเรียนรู้ที่จะพึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่งอันประเสริฐยิ่ง หาที่สุดประมาณมิได้

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      สำคัญคือปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็เลื่อมใสผิด เข้าใจธรรมผิด คิดว่าเลื่อมใสถูกดังนั้นจะต้องเข้าใจถูกว่า ปัญญารู้อะไร ครับ

  • @อนันตไชย
    @อนันตไชย 9 หลายเดือนก่อน

    ผมจะตีความ ให้นะ ในพระสูตรหนึ่ง ที่มีราชา ทำกาล กาละ แล้ว พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ราชา ผู้นี้ ได้โสดาบัน แต่ ในตอนท้าย พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ราชา ผู้นี้ ได้สิกขาบท ตอนสิ้นพระชน หมายถึง ก่อนตาย ได้ มีศีล บริบูรณ์ ถ้าสอนแต่ปัญญา แต่ไม่มีศีล จะเป็นการสอนให้เข้าใจผิดได้

    • @paderm
      @paderm  9 หลายเดือนก่อน

      การศึกษาธรรมต้องศึกษาหลายๆพระสูตร กว้างขวางครับ และ จะเข้าใจถึงว่าพระโสดาบันคือใคร และ ธรรมอะไรที่พระโสดาบันละได้ ดังนั้น การละกิเลสของพระโสดาบัน ละโมหะด้วย สิ่งที่ตรงข้ามกับโมหะ คือ ปัญญา ดังนั้นพระโสดาบัน จึงมีทั้งปัญญาและศีล ไม่ใช่ รักษาศีลห้า แต่ไม่มีปัญญา จะละกิเลส มี สักกายทิฏฐิ โมหะ เป็นต้นได้อย่างไรครับ ดังนั้นเมื่อมีปัญญาก็มีศีลด้วย ต่างจาก ศีลห้า ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติ ก็มีการรักษศีลห้า แต่ไม่มีปัญญา ก็ไม่ถึงความเป็นพระโสดาบันครับ ดังนั้นศึกษาพุทธวจนต้องหลากหลายรอบคอบและลึกซึ้งครับ ไม่ใช่เช่นนั้นก็จะตีความผิดนั่นเอง ก็ยกพุทธวจน แต่อธิบายผิด ก็คือ คำอัญญเดียรถีย์นั่นเองครับ
      พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 818
      ๖. ปหีนสูตร
      ว่าด้วยธรรมที่พระโสดาบัน ละได้แล้ว
      [๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ละได้แล้ว ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ละได้แล้ว.
      จบปหีนสูตรที่ ๖

    • @อนันตไชย
      @อนันตไชย 9 หลายเดือนก่อน

      @@paderm พระโสดาบัน ละสังโยชน์3 เป็นปัญญาระดับต้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีปัญญา มากมายหรอกครับ ดูพระอานนท์ พอเป็น สังเขป ได้ครับ

    • @paderm
      @paderm  9 หลายเดือนก่อน

      นี่คิดเองไม่มีคำพระพุทธเจ้ารองรับ ครับ

    • @paderm
      @paderm  9 หลายเดือนก่อน

      คำพระพุทธเจ้า คือ พระอานนท์มีปัญญามาก ไม่ควรกล่าวตู่คำที่ไม่จริงมีโทษมากครับ
      โลกกามคุณสูตร
      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก หากท่านทั้งหลายพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เรา ก็พึงแก้ปัญหานั้นเหมือนอย่างที่อานนท์กล่าวแก้ปัญหานั่นแหละ นั่นเป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด.

    • @อนันตไชย
      @อนันตไชย 9 หลายเดือนก่อน

      @@paderm อันนี้ พระสูตร ของคุณครับ และยังมี พระสูตร ที่พระอานน ปัญหามากมาย เด่วผมว่าง จะมาสนทนา ธรรมด้วย ผมก็ ศึกษา มาพอสมควรครับ

  • @nomilcomil
    @nomilcomil ปีที่แล้ว

    แล้วคำถามคือ ศีล 5 ไม่ใช่มรรค8 หรือ การหยั่งลงมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิหรือ ศีลห้า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่ก็มรรค8

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ระบบยูทูป ไม่ใช่ระบบแสดงความคิดเห็นโดยไม่ฟังคำที่กล่าวแสดงไว้ในยูทูปครับที่ได้อธิบายไปแล้ว และในคลิปยังบอกด้วยว่า ไม่ได้สนับสนุนให้ล่วงศีล ฟังเข้าใจเรื่องต่างๆ ในปะเด็นที่ถาม คลิกที่ตัวเลขสีฟ้าครับ ฟังครับ 11:21 อธิศีล ศีลที่ละเอียดลึกซึ้งที่ไม่เคยรู้
      12:18 ไตรสิกขาที่ลึกซึ้งตามคำพระพุทธเจ้า
      15:10 พยายามรักษาศีลห้าให้สมบูรณ์ ไม่ใช่เหตุเป็นพระโสดาบัน
      05:49 เหตุให้เป็นพระโสดาบัน

  • @ธนัทเครือแดง-ช1ภ
    @ธนัทเครือแดง-ช1ภ ปีที่แล้ว

    1 ยาที่มีสุราเป็นส่วนผสม ทำให้ผิดศีลมั๊ยครับ
    2 อาหารที่มีหรือทำให้เกิดสุรา เช่นแป้งข้าวหมาก ทำให้ผิดศีลมั๊ยครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ยาที่มีสุราผสมมาก มีสี มีกลิ่น ให้ถึงเมา ผิดศีล ครับ ของหมักที่ทำให้เมา ผิดศีล ครับ

  • @udomsapauamdoung6917
    @udomsapauamdoung6917 ปีที่แล้ว

    พระโสดาบันเป็นผู้ มีเชื้อเหลือ ท่องเที่ยวไปไม่ เกิน7 คราว คำถาม ถ้าได้โสดาบัน ตอนอายุศาสนาเสื่อมพอดี อีก6ครั้ง ที่เหลือ ต้องมีอย่างน้อย1 ครั้ง ที่ไม่ได้เกิดมาเจอคำสอน การผิดศีลมีแน่นอน จะตกจากการ เป็น อารยะบุคคลหรือปล่าว เพราะ อารยะบุคคล ต้องอยู่ในข้อ ประพฤติ เท่านั้น

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      เมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว ปัญญามีกำลัง ละกิเลสเหตุล่วงศีลหมดสิ้นแล้ว จึงไม่ล่วงศีลอีกเลยไม่ว่าชาติไหน ในเจ็ดชาติก่อนเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานครับ

  • @ratsamyyabandith9919
    @ratsamyyabandith9919 9 หลายเดือนก่อน

    ดื่ม beer ผิดศีลไหมครับ อาจารย์

    • @paderm
      @paderm  9 หลายเดือนก่อน +1

      ของมึนเมาครับ แม้จะไม่เมา ก็คือมีเจตนาเสพครับ ผิดครับ

    • @ratsamyyabandith9919
      @ratsamyyabandith9919 9 หลายเดือนก่อน

      @@paderm
      ขอบคุณครับอาจาร เหตุเพราะ ผมเป็นนักร้องเมื่อมีงาน เพื่อนๆชอบเอาของมืนเมามาไห้ดื่มครับ และผมก็เป็นนัก
      ประติบัติธรรมด้วยครับ จื่งทำให้ผมไม่สบายใจทุกคร้งที่ดื่มครับ ดื่มพอรักสาน้ำใจเพื่อนๆครับ อีกอย่างคือ ความฝันของเรา เชื่อได้หรือไม่ครับ เมื่อผมคิดสงสัย
      อะไรแล้ว ผมจะได้คำตอบจากฝันเป็นส่วนใหญ่ครับผม

    • @paderm
      @paderm  5 หลายเดือนก่อน +1

      @@ratsamyyabandith9919 เป็นเรื่องคิดเองและบังเอิญตามนั้นครับ ตอนนี้ไม่หลับแต่ก็ฝันอยู่ แต่ถูกหลอกด้วยอวิชชาว่าเป็นเราเป็นคนอื่นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ครับแท้ที่จริงมีแต่ธรรม นี่คือความลึกซึ้งว่าอยู่ในโลกของความฝันตลอดเวลาแต่ก็ไม่รู้ครับ

    • @ratsamyyabandith9919
      @ratsamyyabandith9919 5 หลายเดือนก่อน +1

      @@paderm ขอบคุณครับ
      ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะครับผม

  • @เปิดธรรมปิดอบาย

    ขอบคุณครับรู้สึกดีใจที่เมตตาตอบด้วยการสนทนากัน_คำสอนของตถาคตนั้นถูกนำมาถ่ายทอดบอกสอนอย่างแพร่หลายในยุคนี้โดยคฤหัสถ์มีการยกพระสูตรมารองรับได้อย่างถูกต้องดีครับ_แต่หลักคือจำมา_อยู่ที่ใครจำมาถูกหรือใครจำมาผิดครับและพระศาสดาได้วางหลักมหาปเทส4ไว้เป็นเครื่องวัดสอบด้วย_ซึ่งธรรมวินัยที่ท่านนำมาแสดงนั้นผมอนุมัติตามได้ทุกประการครับ_มีเพียงบางนัยยะของการตีความหมายในบทแห่งธรรมบางประการเช่นคำว่าปัญญา_ปัญญา_มีหลายนัยยะคือสมัยหนึ่งพระมหาโกฏิฏะได้พบกับท่านพระสารีบุตรทั้สองท่านนี้เป็นพระอรหันต์แต่ไม่เคยพบกันมาก่อนจึงเรียกกันและกันด้วยคำว่า_ท่านผู้มีอายุ_ความว่าด้ยเหตุเพียงเท่าไร/จึงชื่อว่าปัญญาดี_ปัญญาดี_ท่านพระสารีบุตรตอบว่าเพราะรู้ชัดซึ่งอริยสัจทั้ง4จึงชื่อว่าปัญญาดี_ดังนี้(พระสูตรนี้จะยาวครับและกล่าวมีปัญญาทำทรามว่าเพราะไม่รู้อริยสัจ4ครับ)_อีกนัยยะคือสมัยที่พระผศาสดาโต้วาทะกับท่านโสณฑัณพราห์มทรงรับรองคำของโสณฑัณว่าศิลอันใดปัญญาก็อันนั้น_ปัญญาอันใดศีลก็อันนั้น_ผู้มีศีลชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา_ส่วนผู้มีปัญญาย่อมประพฤติศิล_ซึ่งการประพฤติศีลในอริยวินัยนี้ต้องประกอบด้วยเจตนา_อริยสาวกนี้้ย่อมชื่อว่าเป็นผู้พ้นแล้วจากภัยเวร5ประการครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      ยินดีสนทนาครับ ดังนั้น ก็ต้องเข้าใจ ปัญญา ในอริยสัจ ๔ ว่ารู้อะไร ดังนั้น อริยสัจจะ ความจริงอันประเสริฐ พ้นจากความจริงที่เป็นธรรมได้ไหม เห็นเป็นอริยสัจจ์หรือเปล่า ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เป็นอริยสัจจ์หรือเปล่า เป็นธรรมหรือเปล่า ก็ไม่พ้นจากธรรม ครับ และควรรู้หรือไม่ ในความจริงที่เป็นอริยสัจจ์ ดังนั้นการศึกษาพระธรรมจึงต้องละเอียดรอบคอบ พระธรรมจะไม่ขัดกันเลย ว่า ปัญญา ที่รู้ความจิรง อริยสัจจ์ ก็รู้ความจริง อายตนะด้วย และรู้ความจริงปฏิจจสมุปบาทด้วย เพราะที่กล่าวมาเป็นธรรมทั้งหมด เห็นก็เป็นอริยสัจจ์ควรรู้ ควรรู้ยิ่งว่าเป็นธรรม(ทุติยปหานสูตร) อายตนะ ก็เป็นความจริง ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นความจริงของธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นไป ปัญญาจึงไม่ใช่ว่า รู้อริยสัจจ์แต่ไม่รู้เห็น ไม่รู้อายตนะ นั่นเป็นความเข้าใจผิดในเรื่องของปัญญานั่นเองครับ
      ส่วน ผู้ที่รักษาศีล ผู้ที่สมาทาน แต่ไม่มีปัญญาได้ เช่น ชาวบ้านที่สมาทานศีล แต่ไม่ศึกษาธรรมก็มีมากมาย แต่ศีลที่มีปัญญามี ศีลนั้นเป็นอินทรียสังวรศีล ดังนั้นขอแนะนำฟังที่อธิบายเรื่อง ศีลที่เป็นปัญญาในคลิป คลิกที่ตัวลขสีฟ้านี้ครับ 11:21 อธิศีล ศีลที่ละเอียดลึกซึ้งที่ไม่เคยรู้
      12:18 ไตรสิกขาที่ลึกซึ้งตามคำพระพุทธเจ้า

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      การศึกษาเรื่องศีล ต้องละเอียดครอบคลุม ว่าศีลมีอะไรบ้าง ศีลที่ไม่มีปัญญามีไหม ศีลที่เป็นปัญญาด้วยมีไหม เพราะถ้าเราศึกษาเพียงพระสูตรเดียวก็จะเข้าใจหนทางการปฏิบัติผิดนั่นเอง เพราะสำคัญว่า ศีลต้องมีปัญญาเสมอเพียงบางพระสูตรครับ ดังนั้น ศีลมีมากมาย ตัวอย่างเช่น ศีลสังวร อินทรียสังสร ปาฏิโมกสังวร เป็นต้น นี่คือตัวอย่างมากมายของศีลที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ รวมทั้งเรื่องของปัญญาว่าอะไรควรรู้ อะไรควรรู้ยิ่ง ถ้าไม่รู้ความจริงของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ละกิเลสไม่ได้ แต่เมื่อใดที่ปัญญารู้ความจริงของธรรมทางตา เป็นต้น มี จักษุวิญญาณ ก็ชื่อว่ารู้ ทุกขอริยสัจจะด้วยนั่นเองครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      ไม่รู้ความจริงของ ตา ..ใจ ไม่รู้ความจริงของจักษุวิญญาณ(เห็น) ละกิเลสไม่ได้
      ปฐมอปริชานนสูตร
      ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๑
      [๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
      ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
      บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
      เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
      คือ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควร
      เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป
      เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
      ไม่ละจักขุวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
      ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุสัมผัส เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
      ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิ
      ใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
      ฯลฯ
      บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละชิวหา เป็นผู้ไม่ควร
      เพื่อความสิ้นทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคล
      เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
      หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นผู้ไม่ควร
      เพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ
      บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้ไม่ควร
      เพื่อความสิ้นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ
      บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่
      เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่
      ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
      ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง
      ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
      ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง
      ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
      อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้
      เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
      คือ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
      สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
      สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุวิญญาณได้ เป็นผู้ควร
      เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุสัมผัสได้ เป็น
      ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละแม้ความ
      เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยได้
      ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 28-29
      ๓. ทุติยปหานสูตร
      ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง
      [๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน. จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้แล เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง.
      จบ ทุติยปหานสูตรที่ ๓

  • @เปิดธรรมปิดอบาย
    @เปิดธรรมปิดอบาย ปีที่แล้ว +1

    ท่านเป็นผู้หนึ่งที่นำคำสอนของตถาคตมาถ่ายทอดได้เป็นอย่างดีท่านเป็นรัตน1ใน5ที่หาได้ยากในโลกครับ_แต่ปัญญาว่าเป็นธรรมะไม่ใช่่เราบังคับบัญชาไม่ได้_เห็นเป็นธรรมะหรือเปล่า?ทุกๆสิ่งสรุปลงว่าอะไรๆก็เป็นธรรมะไม่ใช่เรา_อยากทราบว่าปัญญาทำนองนี้ทำความเป็นอริยได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?และพระศาสดาทรงมีปกติแสดงธรรมว่าทีละคำ_เห็นเป็นธรรมะหรือเปล่าหรือว่าเห็นเป็นเราหรือเปล่า?พระศาสดาของเราได้แสดงธรรมนี้ที่ไหน_แก่ใคร?

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      มีพระสูตรมากมายครับที่พระพุทธเจ้าตรัสถามพระภิกษุ เรื่อง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จักษุ เที่ยหรือไม่เที่ยง ...ไม่ใช่ของเราเป็นอนัตตา ดังนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้วเป็นอะไร ก็เป็นธรรม เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ดังนั้นการใช้คำอธิบายในภาษาไทยของตน เช่น เห็นไม่ใช่เรา(จักษุวิญญาณ) เป็นธรรม ก็สอดคล้องกับพระพุทธพจน์ พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ใน อรณวิภังคสูตรครับ ไม่พึงดูหมิ่นภาษาชาวบ้าน บางที่เรียกหม้อว่าแบบนี้ แต่ อรรถความหมายให้สื่อตรงกัน ในภาษานั้นก็คือหม้อนั่นเอง ไม่ใช่ทัพพีหรืออย่างอื่น โดยนัยเดียวกัน พระพุทะเจ้าทรงแสดงเรื่อง จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง...นั่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ก็คือเป็นธรรม เป็นอนัตตานั่นเองครับ แล้วบุคคลใดได้ฟังในภาษาไทย เกิดปัญญาเข้าใจ ก็เบื่อหน่ายคลายกำหนัดความติดข้องที่ยึดถือว่าเป็นเราในภาษาของตน ก็เป็นอนุสาสนีปาฏิหารย์ที่เป็นคำที่ละกิเลส ละความไม่รู้ได้นั่นเองครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ตัวอย่างพระพุทธพจน์
      ทุติยปริยาทานสูตร
      ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทาน
      [๖๕] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
      ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
      ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
      พ. รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
      ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
      พ. จักษุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
      ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
      พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
      ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
      พ. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกกสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
      ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
      ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
      ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
      พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง.
      จบ ทุติยปริยาทานสูตรที่ ๑๐
      อวิชชาวรรคที่ ๑

  • @เปิดธรรมปิดอบาย

    คุณธรรมความเป็นโสดาบัน_สกทาคามี_อนาคามีนั้นมีในคฤหัสถ์อยู่ครองเรือนด้วยครับเพราะยังละราคะโทสะโมหะเป็นสิ่งที่เขายังละไม่ได้ขาด_พระองค์ตรัสกับท่านมหานามศากยราชว่าถ้าราคะโทสะโมหะเป็นสิ่งที่ท่านละได้ขาดแล้ว_ท่านจักไม่อยู่ครองเรือนจิตนั้นจักน้อมไปเพื่อการบรรชา_มหานามศากยราชเป็นโสดาบัน_ส่วนเจ้าสรกาณิศากยะเป็นผู้มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตตลอดราตรีอันยาวนานแต่ยังไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีลยังเสวยนำ้จันท์อยู่_แต่ในกาลแห่งมรณะเจ้าสรกาณิได้ตั้งเจตนาสมาทานซึ่งสิกขาบท5ประการ_จึงครบองค์คุณของความเป็นโสดาบัน4ประการในกาลแห่งมรณะนั้นพอดี

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      เจ้ามหานามศากยราช เป็นพระสกทาคามีครับ ไม่ใช่พระโสดาบัน ครับ
      อรรถกถาจุลลทุกขักขันสูตร
      จุลลทุกขักขันธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-
      บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺเกสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น .
      ก็ชนบทนั้นถึงอันนับว่า สักยา เพราะเป็นสถานที่อยู่ของราชกุมารชาวสักยะ
      ทั้งหลาย. ก็ความอุบัติแห่งสักยะทั้งหลาย มาแล้วในอัมพัฏฐสูตรเทียว บทว่า
      กปิลวตฺถุสฺมึ คือ ในนครที่มีชื่ออย่างนั้น. จริงอยู่ นครนั้นเรียกว่า กบิลพัสดุ์
      เพราะเป็นนครที่สร้างขึ้นในสถานเป็นที่อยู่ของฤาษีชื่อว่า กปิล. ทำนครนั้น
      เป็นที่โคจรคาม. บทว่า นิโคฺรธาราเม ความว่า เจ้าศากยะพระนามว่า
      นิโครธ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ในกาลแห่งญาติ
      สมาคม พระองค์ทรงให้สร้างวัดในสวนของพระองค์ มอบถวายแด่พระผู้มี-
      พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามนั้น. บทว่า
      มหานาโม ได้แก่ พระเจ้าพี่ของพระอนุรุทธเถระ ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าอา
      ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เจ้าทั้ง ๕ พระองค์นี้ คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้า
      สุกโกทนะ พระเจ้าสักโกทนะ พระเจ้าโธโตทนะ พระเจ้าอมิโตทนะ ทรงเป็น
      พระเจ้าพี่พระเจ้าน้อง พระเทวีพระนามว่า อมิตา ทรงเป็นพระภคินีของ
      พระเจ้าเหล่านั้น พระติสสเถระเป็นบุตรของพระนางอมิตานั้น พระตถาคต
      และพระนันทเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้ามหานามะ และ
      พระอนุรุทธเถระ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระอานนทเถระเป็น
      พระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอานนทเถระนั้นเป็นพระกนิษฐ์ของพระผู้มี
      พระภาคเจ้า พระเจ้ามหานามะทรงแก่กว่า เป็นสกทาคามีอริยสาวก. บทว่า
      ทีฆรตฺตํ ความว่า ทรงแสดงว่า ข้าพระองค์รู้จำเดิมแค่ข้าพระองค์บรรลุ
      สกทาคามิผลตลอดกาลนาน.

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      เป็นธรรมดาที่เมื่อเหตุพร้อมก็ล่วงศีล แต่ก็อบรมปัญญาในหนทางถูกได้
      ขุชชุตตราอุบาสิกา เป็นพระอริยบุคคลพระโสดาบัน แต่ในชาตินั้นก่อนบรรลุ ก็เป็นผู้ยักยอกเงินค่าดอกไม้เป็นประจำผิดศีลข้อสอง แล้วทำไมบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ ก็ต้องตรงรู้จักตนเองไม่หลอกตัวเองว่าเป็นปุถุชน ผู้หนาด้วยกิเลส หนาด้วยความเป็นเรา เมื่อเหตุพร้อมผู้ที่หนาด้วยกิเลส ก็พร้อมล่วงศีลได้ แต่แตกต่างจากผู้ที่ล่วงศีลแต่ไม่อบรมปัญญาศึกษาพระธรรม ก็ไม่ได้เดินหนทางละกิเลส คือ การฟังพระธรรม อบรมปัญญาในหนทางที่ถูกต้อง ต่างจาก ขุชชุตตราอุบาสิกา แม้ล่วงศีลแล้ว เป็นธรรมอนัตตา ที่เกิดแล้ว บังคับไม่ได้ แต่ท่านก็สะสมปัญญา ความดีมาด้วย อกุศล แยกกับ กุศล และเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมทางฝ่ายดี ได้มีโอกาสฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ขุชชุตตราอุบาสิกา ก็ไม่ล่วงศีลอีก และเลื่อมใสในพระรัตนตรัยไม่หวั่นไหวนี่คือผลของการเป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่เหตุคือต้องรักษาศีลให้ดี

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ลืมปัญญา มีศีลโดยไม่มีปัญญา ละกิเลสไม่ได้
      พระโสดาบันมีแต่ศีล ไม่มีปัญญาได้ไหม พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิคือละความเห็นผิดที่ยึดถือว่าเป็นเรา(ปหีนสูตร) ดังนั้น ความเห็นผิด สักกายทิฏฐิละไม่ได้ด้วยศีล แต่ต้องมีศีล สมาธิและปัญญา ดังนั้น ไม่ใช่อ่านพระไตรปิฎกเพียงบางสูตร เรื่อง เจ้าสรกานิ แล้ว มีข้อความว่า..เจ้าสรกานิศากยะสมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์..จึงสรุปว่า แค่สมาทานศีล รักษาศีลได้ ก็เป็นพระโสดาบันแล้ว นั่นลืมข้อความใน ทุติยสารีปุตตสูตรว่า พระโสดาบัน ต้องเจริญอริยมรรคมีองค์แปด คือ มีปัญญา(สัมมาทิฏฐิ)ด้วย และในพระสูตรอื่นๆ เช่น สติปัฏฐานสูตร ที่เป็นทางสายเอก(ทางเดียว) คนทั่วไป สมาทานศีล ไม่ล่วงศีล มีปัญญารู้ว่าเห็นคืออะไร มีปัญญาละความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคลไหม เพียงรักษาศีล นี่คือความละเอียดที่จะต้องศึกษาพระธรรมให้ละเอียดรอบคอบทั้งสามปิฎกโดยที่ไม่ขัดแย้งกันนั่นเองครับ
      ปหีนสูตร
      ว่าด้วยธรรมที่พระโสดาบันละได้แล้ว
      [๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันบุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุ ไปสู่อบาย ๑ โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว.
      จบปหีนสูตรที่ ๖
      จึงขอเรียนสนทนาสอบถาม จากที่ได้เขียนตอบไปเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเพื่อให้เข้าใจขึ้นครับ
      ๑.สักกายทิฏฐิ ความยึดถือว่าเป็นเราเป็นสัตว์บุคคล ละได้ด้วยการรักษาศีลห้าหรือไม่
      ๒.รักษาศีลห้า พยายามเลื่อมใสในพระรัตนตรัย มีปัญญารู้อะไรในขณะนั้น
      ๓.ไม่มีปัญญาละกิเลสได้ไหม
      ๔.มีศีลโดยไม่มีปัญญาได้ไหม มีปัญญาแล้วมีศีลด้วยได้ไหม

  • @MrArthas284
    @MrArthas284 ปีที่แล้ว

    สอนแบบนี้ไม่ดีมั้ง ทำไมไปยกเรื่องการสะสมบารมีของคนที่จะได้โสดาบันอย่างพระอานนท์ละ แบบนี้จะทำให้คนท้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์หรือปล่าว เพราะทำให้คิดว่าการจะบรรลุธรรมในชาตินี้ ถูกกำหนดไว้แล้วว่าจะบรรลุหรือไม่บรรลุ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      พระธรรมไม่ใช่เรื่องแสดงสิ่งไม่จริง แสดงสิ่งที่ตรงว่ามีกิเลสมาก เป็นปุถุชน ผู้ตรงรู้ว่ามีกิเลสมาก จึงไม่ท้อ ผู้ท้อคือผู้ที่หวังผลและไม่ตรงตามจริง แม้อดีตชาติของพระอานนท์ก็ล่วงศีลข้อที่สาม ดังนั้นตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนก็ย่อมเป็นธรรมดาแต่สามารถอบรมปัญญาได้ ผู้หวังผลย่อมท้อ ผู้เข้าใจหนทางถูกตรงว่ามีกิเลสมากย่อมไม่ท้อครับ ถ้าเรื่องใดที่ไม่มีประโยชน์พระพุทธเจ้าไม่แสดง ดังนั้นเรื่องที่กล่าวนำมาจากพระพุทธพจน์ย่อมมีประโยชน์ครับ ขออนุโมทนา

    • @MrArthas284
      @MrArthas284 ปีที่แล้ว

      @@paderm ก่อนพระพุทธเจ้าก็หวังผลว่าจะได้รู้สัจธรรม พระพุทธเจ้าเป็นผู้ท้อใช่ไหม ในเมื่อผู้ท้อคือผู้ที่หวังผล

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      @@MrArthas284 ฉันทะ ไม่ใช่โลภะ พระองค์จึงไม่ท้อครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 583
      .... บทว่า ฉนฺทตา คือพอใจในกุศลด้วยความใคร่ที่จะทำ. จริงอยู่ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ประกอบด้วยธรรมตามที่กล่าวแล้ว มีความพอใจมาก มีความปรารถนามาก มีความใคร่เพื่อจะทำมาก เพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น. ไม่สำเร็จแก่คนนอกนี้. ต่อไปนี้เป็นความเปรียบเทียบ เพราะความเป็นผู้มีฉันทะใหญ่. พึง ทราบความที่ฉันทะเป็นความใหญ่หลวง ในบทว่า ฉนฺทตา นี้ โดยนัยมีอาทิดังต่อไปนี้ :- บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดสามารถข้ามท้องจักรวาลนี้ทั้งสิ้นอันมีน้ำท่วมนองเป็นอันเดียวกัน ด้วยกำลังแขนของตนเท่านั้นแล้วจะถึงฝั่งได้ผู้นั้นย่อมถึงความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วไม่ย่อท้อเพราะทำได้ยาก กลับพอใจว่า เราจักข้ามถึงฝั่งได้. ไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในกาลนั้นเลย อนึ่ง บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดเหยียบจักรวาลนี้ทั้งสิ้นอันเต็มไปด้วยถ่านเพลิงปราศจากเปลวไฟ ปราศจากควันไฟด้วยเท้าทั้งสองสามารถก้าวเลยไปถึงฝั่งได้. ผู้นั้นย่อมถึงความเป็นพระพุทธเจ้า. แล้วไม่ย่อท้อเพราะทำได้ยากกลับพอใจว่า เราจักก้าวเลยไปถึงฝั่งได้. เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการนั้นเลย. อนึ่ง บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดสามารถทะลุจักรวาลทั้งสิ้นปกคลุมด้วยพุ่มไม้ไผ่หนาทึบ รกรุงรังไปด้วยป่าหนามและเถาวัลย์ แล้วก้าวเลยไปถึงฝั่งได้ ฯลฯ เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการนั้นเลย. อนึ่ง บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดที่หมกไหม้ในนรกตลอดอสงไขยแสนกัป จะพึงบรรลุความเป็น พระพุทธเจ้าแล้วไม่ย่อท้อเพราะได้ยากกลับพอใจว่า เราจักหมกไหม้ในนรกนั้น แล้วบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการนั้นเลย

    • @MrArthas284
      @MrArthas284 ปีที่แล้ว

      @@paderm เรื่องของการที่จะบรรลุธรรมได้โดยต้องสะสมบุญบารมีในอดีตเหมือนกับพระอานนท์เท่านั้น พระพุทธเจ้าสอนไว้ตรงไหน ยกมาให้ดูหน่อยครับ เคยรู้แค่ว่า มนุษย์เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม

  • @ชัดเจนงานซ่อม
    @ชัดเจนงานซ่อม ปีที่แล้ว

    ข้อห้ามดื่มสุราเกิดทีหลังศาสนา แม้แต่พระพุทธเจ้ายังนึกไม่ถึงว่าต้องห้าม ต่อเมื่อมีปัญหาแล้วค่อยห้าม

    • @nine_non
      @nine_non ปีที่แล้ว

      😊

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      พระพุทธเจ้าทรงทราบครับ ไม่ใช่นึกไม่ถึง แต่ทรงรู้ว่าจะบัญญัติตอนไหนอย่างไร และ ศีลห้า แม้ศาสนาอื่นก็มี ก่อนพุทธกาลครับ แต่ไม่มีปัญญารู้ความจริง ครับ

  • @witchaamarasophon4141
    @witchaamarasophon4141 ปีที่แล้ว

    อยากศึกษาทำอย่างละเอียด ต้องศึกษาจากตำราไหนครับ ปัจจุบันรู้เท่าทันความคิดตัวเอง รู้ว่าตัวเองเป็นอย่างนี้ รู้เหตุและปัจจัย แต่ไม่ทันจิต และเราจำเป็นจะต้องศึกษาพระไตรปิฎกอย่างละเอียดไหมครับ คำนิยามและคำศัพท์ของพระทำก็มีมากมายและละเอียดลึกซึ้งเหลือเกินครับ ครั้นจะศึกษา ก็ต้องละเวลาเหตุปัจจุบันของโลก ไหนจะต้องทำมาหากิน ศึกษาวิชาทางโลก มันมากมายเหลือเกินครับ

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ฟังธรรมจากผู้ที่อธิบายธรรมจากพระไตรปิฎกครับ

  • @weekendairsoft6263
    @weekendairsoft6263 ปีที่แล้ว

    ไม่ดื่มดีที่สุดครับ เพราะมันลดความถี่

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      เป็นธรรมดาที่เมื่อเหตุพร้อมก็ล่วงศีล แต่ก็อบรมปัญญาในหนทางถูกได้
      ขุชชุตตราอุบาสิกา เป็นพระอริยบุคคลพระโสดาบัน แต่ในชาตินั้นก่อนบรรลุ ก็เป็นผู้ยักยอกเงินค่าดอกไม้เป็นประจำผิดศีลข้อสอง แล้วทำไมบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ ก็ต้องตรงรู้จักตนเองไม่หลอกตัวเองว่าเป็นปุถุชน ผู้หนาด้วยกิเลส หนาด้วยความเป็นเรา เมื่อเหตุพร้อมผู้ที่หนาด้วยกิเลส ก็พร้อมล่วงศีลได้ แต่แตกต่างจากผู้ที่ล่วงศีลแต่ไม่อบรมปัญญาศึกษาพระธรรม ก็ไม่ได้เดินหนทางละกิเลส คือ การฟังพระธรรม อบรมปัญญาในหนทางที่ถูกต้อง ต่างจาก ขุชชุตตราอุบาสิกา แม้ล่วงศีลแล้ว เป็นธรรมอนัตตา ที่เกิดแล้ว บังคับไม่ได้ แต่ท่านก็สะสมปัญญา ความดีมาด้วย อกุศล แยกกับ กุศล และเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมทางฝ่ายดี ได้มีโอกาสฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ขุชชุตตราอุบาสิกา ก็ไม่ล่วงศีลอีก และเลื่อมใสในพระรัตนตรัยไม่หวั่นไหวนี่คือผลของการเป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่เหตุคือต้องรักษาศีลให้ดี

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +1

      ลืมปัญญา มีศีลโดยไม่มีปัญญา ละกิเลสไม่ได้
      พระโสดาบันมีแต่ศีล ไม่มีปัญญาได้ไหม พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิคือละความเห็นผิดที่ยึดถือว่าเป็นเรา(ปหีนสูตร) ดังนั้น ความเห็นผิด สักกายทิฏฐิละไม่ได้ด้วยศีล แต่ต้องมีศีล สมาธิและปัญญา ดังนั้น ไม่ใช่อ่านพระไตรปิฎกเพียงบางสูตร เรื่อง เจ้าสรกานิ แล้ว มีข้อความว่า..เจ้าสรกานิศากยะสมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์..จึงสรุปว่า แค่สมาทานศีล รักษาศีลได้ ก็เป็นพระโสดาบันแล้ว นั่นลืมข้อความใน ทุติยสารีปุตตสูตรว่า พระโสดาบัน ต้องเจริญอริยมรรคมีองค์แปด คือ มีปัญญา(สัมมาทิฏฐิ)ด้วย และในพระสูตรอื่นๆ เช่น สติปัฏฐานสูตร ที่เป็นทางสายเอก(ทางเดียว) คนทั่วไป สมาทานศีล ไม่ล่วงศีล มีปัญญารู้ว่าเห็นคืออะไร มีปัญญาละความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคลไหม เพียงรักษาศีล นี่คือความละเอียดที่จะต้องศึกษาพระธรรมให้ละเอียดรอบคอบทั้งสามปิฎกโดยที่ไม่ขัดแย้งกันนั่นเองครับ

  • @อีสานคักๆ-ษ8ข
    @อีสานคักๆ-ษ8ข ปีที่แล้ว

    โสดาบันคือ ผู้เข้าถึงกระแสแห่งธรรม

    • @paderm
      @paderm  ปีที่แล้ว +2

      ลืมปัญญา มีศีลโดยไม่มีปัญญา ละกิเลสไม่ได้
      พระโสดาบันมีแต่ศีล ไม่มีปัญญาได้ไหม พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิคือละความเห็นผิดที่ยึดถือว่าเป็นเรา(ปหีนสูตร) ดังนั้น ความเห็นผิด สักกายทิฏฐิละไม่ได้ด้วยศีล แต่ต้องมีศีล สมาธิและปัญญา ดังนั้น ไม่ใช่อ่านพระไตรปิฎกเพียงบางสูตร เรื่อง เจ้าสรกานิ แล้ว มีข้อความว่า..เจ้าสรกานิศากยะสมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์..จึงสรุปว่า แค่สมาทานศีล รักษาศีลได้ ก็เป็นพระโสดาบันแล้ว นั่นลืมข้อความใน ทุติยสารีปุตตสูตรว่า พระโสดาบัน ต้องเจริญอริยมรรคมีองค์แปด คือ มีปัญญา(สัมมาทิฏฐิ)ด้วย และในพระสูตรอื่นๆ เช่น สติปัฏฐานสูตร ที่เป็นทางสายเอก(ทางเดียว) คนทั่วไป สมาทานศีล ไม่ล่วงศีล มีปัญญารู้ว่าเห็นคืออะไร มีปัญญาละความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคลไหม เพียงรักษาศีล นี่คือความละเอียดที่จะต้องศึกษาพระธรรมให้ละเอียดรอบคอบทั้งสามปิฎกโดยที่ไม่ขัดแย้งกันนั่นเองครับ
      ปหีนสูตร
      ว่าด้วยธรรมที่พระโสดาบันละได้แล้ว
      [๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันบุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุ ไปสู่อบาย ๑ โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว.
      จบปหีนสูตรที่ ๖

  • @VivoY-ie8sf
    @VivoY-ie8sf ปีที่แล้ว +5

    กราบอนุโมทนาคะ

  • @parichatpor482
    @parichatpor482 ปีที่แล้ว +5

    สาธุ

  • @sujittasadudeepanich5838
    @sujittasadudeepanich5838 2 หลายเดือนก่อน +2

    น้อมกราบสาธุ สาธุ สาธุ เจ้าค่ะ

  • @patnareepongpo8959
    @patnareepongpo8959 ปีที่แล้ว +5

    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ

  • @ดวงพรคงสกุล
    @ดวงพรคงสกุล ปีที่แล้ว +4

    กราบอนุโมทนาค่ะที่ท่านได้นำคำตรงคำจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้คือรู้ด้วยพระปัญญาของพระองค์เองมาเผยแพร่เพื่อให้ผู้ฟังได้คิดพิจารณาจนเกิดความเข้าใจได้ด้วยปัญญาของตนเองค่ะ

  • @user-up9hh5jf7
    @user-up9hh5jf7 ปีที่แล้ว +7

    สาธุครีบ

  • @chisanukuyatornpot2717
    @chisanukuyatornpot2717 ปีที่แล้ว +5

    🙏🙏🙏

  • @GhhVhh-tr8sv
    @GhhVhh-tr8sv ปีที่แล้ว +4

    กราบอนุโมทนาค่ะ

  • @nattawatdistawattanakorn3652
    @nattawatdistawattanakorn3652 ปีที่แล้ว +4

    กราบอนุโมทนาค่ะ