"ย่าโม" ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาล จากวีรกรรม ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 เม.ย. 2023
  • .ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย
    ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
    บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
    รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
    ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
    แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
    แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง.
    เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) ครั้นเมื่อยังเป็น พระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา องคมนตรี และรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็ก บรรจุพระอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ที่วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ.118 (พ.ศ. 2442)
    ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก อีกทั้งยังอยู่ในที่แคบ ไม่สมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วยสัมฤทธิ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร (ฉาย เทียมศิลปไชย) ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2510 ทั้งนี้ได้อัญเชิญอัฐิของท่านนำมาบรรจุไว้ที่ฐานรองรับ และประดิษฐานไว้ ณ ที่หน้าประตูชุมพล อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานไพที สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรี คนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 แล้วเสร็จ และ มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477 ในงานพิธีเปิดนี้ จึงได้มีการสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก โดยมี สมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น - พระอาจารย์เสาร์ ร่วมพิธีปลุกเสกที่ วัดสุทธจินดา ชาวเมืองนครราชสีมารัก และหวงแหนเหรียญรุ่นนี้กันมาก เพราะถือกันว่านี่คือ เหรียญแห่งชัยชนะ เพื่อศรีสง่าแห่งบ้านเมือง และเชิดชูเกียรติ ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาล และทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นโบราณสถานวัตถุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาโดยสวัสดิวงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เป็นประธาน ได้ร่วมใจกันสร้าง ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
    ทางจังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนชาวนครราชสีมา ได้มีการจัดงานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำปีของจังหวัด เพื่อเป็นการเคารพสักการะ เชิดชูเกียรติ ในวีรกรรมของท้าวสุรนารี และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา จัดขึ้นบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี
    เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

ความคิดเห็น • 8

  • @myyaoyy4086
    @myyaoyy4086 2 หลายเดือนก่อน +1

    เปันเรื่องจริง

  • @user-qk4vg2kx7h
    @user-qk4vg2kx7h 8 หลายเดือนก่อน +2

    คุณหญิงโม

  • @user-do1dv3se6u
    @user-do1dv3se6u ปีที่แล้ว +1

    แม่ย่าปทุมมา นางสงกรานต์ แม่นางกวัก แม่ธรณี คือคนคนเดียวกันอยู่แล้ว ก็คือคนนี้แหละ ผี ดวงจิตดวงวิญญาณ ไม่มีวันตาย เข้าใจ

  • @tapooo3944
    @tapooo3944 ปีที่แล้ว +3

    พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
    หรือ ท้าวพญาหลวงบุญจันทร์
    เป็นพระโอรสใน เจ้านางคำเวียง
    และ ขุนวัง แห่งนครเวียงจันทน์
    เป็นบุตรบุญธรรมของ
    พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
    (เจ้าเชียงขัน)
    ดำรงตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครขุขันธ์
    (ไม่ใช่เมืองขุน) องค์ที่3
    ในสมัยนั้น พระภักดีภูธรสงคราม (เสด็จเจ้าอุ่น) ไม่พอใจที่เจ้าบุญจันทร์ ขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยลำดับแล้ว เจ้าอุ่น ควรได้ขึ้นครองนครขุขันธ์ หัวเมืองชั้นเอก
    พระภักดีภูธรสงคราม ลงมาเฝ้าพระเจ้ากรุงสยาม ขอพระราชทานแยกบ้านโนนสามขา ออกจากนครขุขันธ์
    พระเจ้ากรุงสยาม พระราชทานนามว่า
    เมืองศรีสะเกษ สถาปนาพระยศ
    เจ้าอุ่น พระราชโอรสใน
    สมเด็จเจ้ามืดคำดล
    พระอนุชาใน
    สมเด็จเจ้าพระรัตนวงษามหาขัตติยราช
    เจ้าพระประเทศราชนครสุวรรณภูมิราชบุรินทร์
    ขึ้นเป็น พระยารัตนวงษามหาขัตติยราช
    เจ้าผู้ครองเมืองศรีสะเกษ พระองค์แรก
    อันมีความหมายว่า พระยาผู้สืบสายเจ้าแก้วมงคลกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่
    เจ้าผู้ครองเมืองศรีสะเกษ ปกครองเมืองได้3ปี ถึงแก่พิราลัย
    ต่อมาเจ้าชมภู ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น พระยาวิเศษภักดีศรีนครเขต
    พระยาศรีสะเกษพระองค์ที่2
    ทรงขัดแย้งเรื่องเขตแดน กับ พระยาขุขันธ์ จนนำทัพมาประจันต์ กัน
    เจ้าพระยานครราชสีมา (พระองค์เจ้าทองอิน)เสด็จมาห้ามทัพ
    แบ่งเขตแดน ทั้ง2เมือง
    พระยาขุขันธ์ภักดี เสด็จยาตราทัพ ยกทัพตีกรุงกัมพูชา กวาดต้อนราษฎรมาเป็นจำนวนมาก กองทัพขุขันธ์ รุกเข้าไปตีหัวเมืองใหญ่น้อย ในเขตกัมพูชา
    จนเจ้าเมืองในเขตนั้นไม่สามารถทำอะไรได้ จึงรวมตัวกันยกทัพขึ้นมาตีนครขุขันธ์ เจ้าเมืองนั้นๆ ยกทัพรวมกันได้5พันเศษ มาตีเมืองขุขันธ์ หมายยกเจ้าทิงหล้า พระอนุชาของพระยาขุขันธ์
    ขึ้นเป็น เจ้าเมือง ขุขันธ์จึงเกิดสงครามขึ้น พระยาขุขันธ์พ่ายแพ้ นำกองทัพหนีไปเมืองสังขะ และตีเมืองนางรอง เมืองหน้าด่านของนครราชสีมาแตก
    พระยาขุขันธ์ ยึดนางรอง อยู่หนึ่งปี
    มีพระราชโองการ ให้กับไปครองเมืองขุขันธ์ตามเดิม โดยมี
    เจ้าพระยานครราชสีมา นำทัพมาส่ง เจรจา ให้ เจ้าฟ้าทิงหล้า เจ้าฟ้าเมืองนันสละตำแหน่ง เมื่อพระยาขุขันธ์ ขึ้นสู่นครขุขันธ์ มีกำลังเต็มที่ พระยาขุขันธ์ ได้ยกทัพตีกองทัพนครราชสีมา ต่อทันที
    เพราะ เจ้าพระยานครสีมา เคยผิดใจกับ พระยาขุขันธ์ เมื่อครั้งเป็น พระยาพรหม ยกกระบัตร ในศึกปราบอ้ายสาเกียดโง้ง
    ทำให้ พระยาขุขันธ์ และ พระยาพรหม ไม่ได้ขึ้นเป็น กษัตริย์จำปาสัก เพราะมั่วแต่ ทะเลาะกัน จนกองทัพเจ้าอนุวงศ์ ยกทัพมาตีอ้ายสาเกียดโง้ง สำเร็จ ตามที่ตกลงกันไว้ เจ้าหมาน้อย พระมหากษัตริย์แห่งนครกาลจำบากนาคบุรีศรีจำปาศักดิ์ จะยกราชสมบัติ ให้แก่ เจ้าเมืองใดที่ยกทัพมาช่วยพระองค์
    เจ้าราชบุตร จึงได้เป็น กษัตริย์จำปาสัก
    พระยาทั้ง2 ผิดใจกันมาตลอด
    ขุขันธ์ และ นครราชสีมา ต่างเป็นหัวเมืองใหญ่
    การแข่งบารมีใส่กัน จึงไม่แปลก
    อำนาจทางทหาร ขุขันธ์ มีเหนือกว่า
    ดังนั้น นครราชสีมา จึงปราชัย

  • @user-do1dv3se6u
    @user-do1dv3se6u ปีที่แล้ว +1

    รู้หมดแล้วหน่า แค่เดือนเดียว แค่คนคนเดียว เปลี่ยนเรื่องได้เป็น 100 เรื่อง ทั้งเรื่อง

  • @badboythailand8826
    @badboythailand8826 11 หลายเดือนก่อน +1

    เจ้าอนุวงศ์คือมหาจอมทัพ อยู่กับความเชือมาแสนนาน พอข้อเท็จจริงปรากฎ ก็ไม่แก้ไขกัน เจ้าอนุวงศ์ไม่ได้พ่ายศึกที่โคราช แต่เจตนาถอยทัพเพราะรู้ว่ากำลังเสียเปรียบ ใหนจะห่วงชาวลาวที่ต้องเกณฑ์กลับบ้านกลับเมืองอีก โคราชจะเอาปัญญาใหนไปรบชนะท่าน อิงความจริงบ้างเถอะ

    • @user-ob7bs7ow9s
      @user-ob7bs7ow9s หลายเดือนก่อน

      ในประวัติศาสตร์การทหารไม่เคยมีเชลยที่ใหนจะขัดขืนต่อทหารคุมเชลยพม่ากว่ดต้อนชาวอยุธยาเป็นเรือนแสนไปยังหวสาวดีไม่เห็นมีใครข้ดขืนแม้กระทั่งขุนหลวงหาวัดพร้อมวงสานุวงส์

  • @badboythailand8826
    @badboythailand8826 11 หลายเดือนก่อน +1

    เห้อ