กราบหลวงพ่อพิกุลทองพระศักดิ์สิทธิ์คู่วัดชงโค อายุเก่าแก่กว่า๒๐๐ปี

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 23 มิ.ย. 2024
  • วัดชงโค ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ประกาศตั้งเป็นวัดจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เดิมบริเวณนี้เป็นป่าใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า ยุบชงโค เพราะมีต้นชงโคขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก มีผู้อพยพเข้าไปเพื่อทำมาหากิน และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆจนเป็นหมู่บ้านหนาแน่น ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ การบำเพ็ญกุศลต่างๆ ก็ต้องไปอาราธนาพระสงฆ์จากที่อื่น หากเป็นวันสำคัญทางศาสนาก็ต้องไปทำบุญที่วัดกระแสบน ซึ่งอยู่ห่างไกลเดินทางไม่สะดวก ชาวบ้านจึงประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างวัด สรุปได้ว่า นายแสด-นางบุญธรรม เสาวรส ถวายที่ดินประมาณ ๘ ไร่และนางมาก ควรคิด ถวายที่ดินประมาณ ๑๕ ไร่ เป็นพื้นที่ติดต่อกัน นางขุนทองถวิล ถวายบ้าน ๑ หลัง เพื่อรื้อถอนมาสร้างวัด
    ครั้งแรกได้สร้างศาลาชั่วคราวก่อน เพื่อใช้เป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลชั่วคราว เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ และต่อมาได้รื้อบ้านนางขุนทองที่ถวายไว้ มาสร้างศาลาการเปรียญแบบถาวรในปีเดียวกัน เมื่อสร้างวัดครั้งแรกได้ตั้งชื่อว่า “ สำนักสงฆ์ตะเคียนทองสัจธรรม” แต่ชาวบ้านเรียกง่ายๆ ตามชื่อเดิมว่า “สำนักสงฆ์ยุบชงโค” และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดชงโค มาจนถึงปัจจุบัน
    ลำดับเจ้าอาวาสวัดชงโค
    ๑. พระอาจารย์สุชีพ เหมโก พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๐
    ๒. พระอาจารย์ผัด พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑
    ๓. พระอธิการสำเภา เขมธโร พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๙
    ๔. พระครูพัฒนกิจบูรพา พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๖๐
    ๕. พระอธิการเชาวลิต ชาคโร พ.ศ. ๒๕๖๑-ปัจจุบัน
    พระพุทธรูป หลวงพ่อพิกุลทองเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริดองค์พระกับฐานหล่อแยกชิ้นกันแต่สามารถประกอบกันได้ พุทธลักษณะของพระพุทธรูป พระพักตร์ค่อนข้างกลม เม็ดพระศกเล็ก อุษณีษะนูนสูงเป็นเปลวประทับนั่งขัดสมาธิราบครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังษาขวา ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี จีวรเป็นลายดอกพิกุล ส่วนฐานเป็นชุดฐานสิงห์ มีบัวหงายรองรับองค์พระอยู่ ด้านหน้าของฐานมีชายผ้าทิพย์ห้อยลงมา มีการตกแต่งลวดลายบริเวณส่วนฐานด้วยลายดอกพิกุลเหมือนกับองค์พระ ที่ฐานเขียงล่างสุดบริเวณกึ่งกลางด้านหน้า มีช่องสำหรับจารึกอักษรอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าจารึกเกี่ยวกับประวัติผู้สร้าง การอุทิศถวายหรือปีที่สร้าง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ารอยจารึกดังกล่าว เป็นการจารตัวอักษรลงไปบนผิวด้านนอกขององค์พระ ที่ลงรักปิดทอง ปัจจุบันพื้นผิวส่วนนี้ชำรุดหลุดร่อนทำให้ตัวอักษรที่จารึกไว้ลบเลือนจนไม่สามารถอ่านแปลใจความได้ จากลักษณะพุทธศิลป์ที่ได้กล่าวมาโดยเฉพาะการตกแต่งองค์พระพุทธรูปและฐานด้วยลวดลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นจึงสามารถกำหนดพระพุทธรูปองค์นี้ได้ว่า...
    " มีอายุอยู่ในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ "
    สัมผัสอีกประสบการณ์ผ่านมุมมองใหม่ในการนำชมวัด ที่จะทำให้คุณเพลิดเพลินจำเริญใจ
    ใน...ไทยแลนด์ธรรมเจริญ

ความคิดเห็น •