พยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) : ค่าดัชนีฤดูกาล (Seasonal Index)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 8 ก.พ. 2025
  • การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting)
    เป็นการนำจำนวนตัวเลขในอดีตมาพยากรณ์จำนวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การขาย การบริโภค การกิด การดับ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการนำมาใช้พยากรณ์การขายมี 6 วิธี ดังนี้
    1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average)
    2. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average)
    3. ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential Smoothing)
    4. ค่าแนวโน้ม (Trend Projection)
    5. ค่าดัชนีฤดูกาล (Seasonal Index)
    6. การเปรียบเทียบค่าพยากรณ์วิธีต่าง ๆ อย่างง่ายเพื่อการตัดสินใจ
    5. การพยากรณ์การขายด้วยวิธีค่าดัชนีฤดูกาล (Seasonal Index)
    การพยากรณ์โดยใช้ดัชนีฤดูกาล มีขั้นตอนการคำนวณหาค่าดัชนีและค่าพยากรณ์ ดังนี้
    1. ใช้วิธี Trend Projection สร้างค่าแนวโน้มจากยอดขายแต่ละยอดในอดีต
    2. นำข้อมูลแนวโน้ม หาอัตราส่วนของยอดขายต่อแนวโน้มของแต่ละยอด
    3. สร้างค่าดัชนีฤดูกาลแต่ละคาบเวลาของปีจากการหาค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนยอดขายต่อแนวโน้มในคาบเวลาเดียวกันของปี
    4. นำค่าดัชนีฤดูกาล คูณด้วยค่าแนวโน้มในอนาคตที่คำนวณได้ เป็นค่าพยากรณ์การขายที่ต้องการ
    ดูคลิปการบรรยาย

ความคิดเห็น •