- 11
- 188 214
Sirikarn Kittijit Pongtong
Thailand
เข้าร่วมเมื่อ 28 ต.ค. 2011
ตัวแบบการขนส่ง กระจายสินค้าวิธี Northwest ปรับปรุงการกระจายด้วยวิธี MODI มีสภาพเสื่อมคลาย Degeneracy
ตัวแบบการขนส่ง (Transportation Model)
เป็นเทคนิคหนึ่งของโปรแกรมเส้นตรง Linear Programming ที่ช่วยกิจการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิต (Supply) หลายแห่งไปยังแหล่งรับสินค้า(Demand) หลายแห่งอย่างไร เพื่อให้ต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำที่สุด โดยที่ค่าขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตแต่ละแห่งไปยังแหล่งรับสินค้าแต่ละแห่งไม่เท่ากัน
คลิปวิดีโอนี้ นำเสนอ การกระจายสินค้าวิธีทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Corner Method) ปรับปรุงการกระจายด้วยวิธี (Modified Distribution Method : MODI) และการแก้ปัญหาสภาพเสื่อมคลาย (Degeneracy)
ขั้นตอนการคำนวณ (ดูตัวอย่างในคลิปวิดีโอ)
1. หาสินค้ารวมทั้งหมดของ Supply และ สินค้ารวมทั้งหมดของ Demand
2. สร้างตารางแมททริคซ (Matrix Square)
"ตาราง Matrix Square ขนาด 3 x 4" คือ ตารางมีแถวนอน 3 แถว แถวตั้ง 4 แถว ซี่งเกิดจากมี Supply 3 แห่ง มี Demand 4 แห่ง
ในตารางคำนวณจะเพิ่มแถวนอนและแถวตั้งอีกอย่างละ 2 แถวเพื่อใช้ใส่คำอธิบายให้เข้าใจความหมายของแต่ละแถว แต่ละช่อง ช่องแรกซ้ายมือของแถวนอนใส่ชื่อแหล่งผลิต ช่องสุดท้ายขวามือของแถวนอนเป็นช่องรวม ใส่จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของแหล่งผลิต
ช่องบนสุดของแถวตั้งใส่ชื่อแหล่งรับสินค้า ช่องล่างสุดของแถวตั้งเป็นช่องรวม ใส่จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของแหล่งรับสินค้า
พื้นที่ที่แถวนอนตัดกับแถวตั้ง เรียกว่า ช่อง Cell หรือ Square ซึ่งมีวิธีเรียกได้ 2 แบบ ดังนี้
1. ชื่อ Supply ตามด้วยชื่อ Demand เช่น นครปฐม : นครสวรรค์
2. เลขที่แถวนอนตามด้วยเลขที่แถวตั้ง เช่น Cell 2 : 3 หรือ C 23
ช่องเล็ก Sub-cell หรือ Sub-square อยู่ในมุมบนขวาของ Cell ไว้ใส่ค่าขนส่งต่อหน่วย
ถ้าจำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Supply เท่ากับ จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Demand จำนวนแถวนอนจะมีเท่ากับจำนวนรายชื่อแหล่งผลิต จำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับจำนวนรายชื่อแหล่งรับสินค้า
หากจำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Supply ไม่เท่ากับ จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Demand มีได้ 2 กรณี คือ
1. Supply มากกว่า Demand ให้เพิ่มแถวตั้ง 1 แถวให้ชื่อว่า Dummy Column ให้มีจำนวนสินค้า = Supply - Demand
2. Demand มากกว่า Supply ให้เพิ่มแถวนอน 1 แถวให้ชื่อว่า Dummy Row ให้มีจำนวนสินค้า = Demand - Supply
โดยให้ช่อง Dummy มีค่าขนส่ง = 0
3. หาคำตอบเริ่มต้นของการกระจายสินค้า มี 3 วิธี ดังนี้
1. วิธีเลือกค่าขนส่งต่ำสุด (Minimum Cost Method หรือเรียกย่อว่า Least cost)
2. วิธีทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Corner Method)
3. วิธีประมาณของโวเกลหรือแวม (Vogel’s Approximation Method หรือเรียกย่อว่า VAM)
เมื่อกระจายสินค้าใส่ช่อง ช่องที่มีสินค้า เรียกว่า ช่องหิน (Stone Cell) ช่องว่างที่ไม่มีสินค้าเรียกว่า ช่องน้ำ (Water Cell) ให้คำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมทั้งหมด
4. หาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เป็นการตรวจสอบว่า คำตอบเริ่มต้นมีต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุดแล้วหรือยัง การตรวจสอบมี 2 วิธี ดังนี้
1. วิธีปรับปรุงการกระจาย (Modified Distribution Method หรือเรียกย่อ ๆ ว่า MODI)
2. วิธีบันไดหิน (Stepping Stone Method)
1. วิธีปรับปรุงการกระจาย (Modified distribution method : MODI)
เป็นการหาต้นทุนเพิ่ม (Marginal Cost) ของช่องน้ำว่า มีค่าเป็นค่าบวกหรือลบ ด้วยสมการความสัมพันธ์ระหว่างแถวนอน (Row) กับแถวตั้ง (Column) ดังนี้
1. ช่องหิน (Stone Cell) ใช้สมการ Cij = Ui + Vj
2. ช่องน้ำ (Water Cell) ใช้สมการ Eij = Cij - Ui - Vj
i. = ลำดับเลขที่แถวนอน
j. = ลำดับเลขที่แถวตั้ง
Ui = ตัวเลขประเมิน ในแถวนอนที่ i
Vj = ตัวเลขประเมิน ในแถวตั้งที่ j
Cij = ค่าขนส่งต่อหน่วย Cell ij ใด ๆ
Xij = จำนวนสินค้าที่อยู่ในช่องหินแถวนอนที่ i แถวตั้งที่ j
Eij = ต้นทุนเพิ่ม (Marginal Cost) หรือ ดัชนีพัฒนาการ (Improvement Index) ของ Cell ij ใด ๆ
ค่าดัชนี (Eij) ที่ปรากฏจะมี 3 ลักษณะ คือ
1. ค่าเป็นบวก (+) หมายความว่า ถ้าย้ายสินค้าเข้าช่องนั้นจะทำให้ค่าขนส่งรวมเพิ่มขึ้นต่อหน่วยเท่ากับค่า Eij เช่น Eij = 5 แสดงว่า ค่าขนส่งรวมเพิ่มขึ้นหน่วยละ 5 บาท ถ้าย้ายเข้า 20 หน่วย ค่าขนส่งรวมจะเพิ่มขึ้น (20 x 5) = 100 บาท
2. ค่าเป็นลบ (-) หมายความว่า การย้ายสินค้าเข้าช่องนั้นจะทำให้ค่าขนส่งรวมลดลงต่อหน่วยเท่ากับค่า Eij เช่น Eij = (-10) แสดงว่า ค่าขนส่งรวมลดลงหน่วยละ 10 บาท ถ้าย้ายเข้า 20 หน่วย ค่าขนส่งรวมก็จะลดลง (20 x 10) = 200 บาท
3. ค่าเป็น 0 (ศูนย์) หมายถึง การย้ายสินค้าเข้าช่องนั้นแล้ว ค่าขนส่งรวมเท่าเดิม
หากค่าดัชนี (Eij) ที่คำนวณได้ในช่องน้ำมีค่าเป็นลบ (-) แปลว่า ค่าขนส่งรวมสามารถลดลงได้อีกโดยย้ายสินค้าจากช่องหินไปยังช่องน้ำที่ติดลบ (-) เมื่อย้ายแล้วต้องตรวจสอบค่าดัชนีในช่องน้ำใหม่ ถ้ายังติดลบ ต้องย้ายสินค้าเข้ามาในช่องน้ำที่ติดลบ แล้วตรวจสอบใหม่อีกรอบ ทำจนกว่าช่องน้ำมีค่าบวกทั้งหมด เพราะค่าดัชนีในช่องน้ำที่เป็นบวก (+) แปลว่า ถ้าย้ายสินค้าจากช่องหินมาเข้าช่องน้ำที่เป็นบวกนั้น ค่าขนส่งรวมจะสูงขึ้น ดังนั้น การกระจายสินค้าที่ได้ดัชนีช่องน้ำเป็นบวกทั้งหมด จึงมีต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุดแล้ว
สภาพเสื่อมคลาย (Degeneracy)
คือ สภาพที่ช่องน้ำไม่สามารถหาค่า Eij ได้ เกิดเมื่อจำนวนช่องหินมีน้อยกว่า m + n - 1 (m คือ จำนวนแถวนอน, n คือ จำนวนแถวตั้ง) แก้ไขโดยเติม 0 (Zero Stone) ในช่องน้ำที่มีค่าขนส่งสูง ๆ ซึ่งมักจะมีค่า Eij เป็นบวก ให้กลายเป็นช่องหิน (Zero cell) เพื่อให้หาค่า Eij ในช่องน้ำอื่น ๆ ได้
การปรับปรุงการกระจายสินค้าอาจจะเป็นการย้ายช่อง 0 (Zero cell)
เป็นเทคนิคหนึ่งของโปรแกรมเส้นตรง Linear Programming ที่ช่วยกิจการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิต (Supply) หลายแห่งไปยังแหล่งรับสินค้า(Demand) หลายแห่งอย่างไร เพื่อให้ต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำที่สุด โดยที่ค่าขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตแต่ละแห่งไปยังแหล่งรับสินค้าแต่ละแห่งไม่เท่ากัน
คลิปวิดีโอนี้ นำเสนอ การกระจายสินค้าวิธีทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Corner Method) ปรับปรุงการกระจายด้วยวิธี (Modified Distribution Method : MODI) และการแก้ปัญหาสภาพเสื่อมคลาย (Degeneracy)
ขั้นตอนการคำนวณ (ดูตัวอย่างในคลิปวิดีโอ)
1. หาสินค้ารวมทั้งหมดของ Supply และ สินค้ารวมทั้งหมดของ Demand
2. สร้างตารางแมททริคซ (Matrix Square)
"ตาราง Matrix Square ขนาด 3 x 4" คือ ตารางมีแถวนอน 3 แถว แถวตั้ง 4 แถว ซี่งเกิดจากมี Supply 3 แห่ง มี Demand 4 แห่ง
ในตารางคำนวณจะเพิ่มแถวนอนและแถวตั้งอีกอย่างละ 2 แถวเพื่อใช้ใส่คำอธิบายให้เข้าใจความหมายของแต่ละแถว แต่ละช่อง ช่องแรกซ้ายมือของแถวนอนใส่ชื่อแหล่งผลิต ช่องสุดท้ายขวามือของแถวนอนเป็นช่องรวม ใส่จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของแหล่งผลิต
ช่องบนสุดของแถวตั้งใส่ชื่อแหล่งรับสินค้า ช่องล่างสุดของแถวตั้งเป็นช่องรวม ใส่จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของแหล่งรับสินค้า
พื้นที่ที่แถวนอนตัดกับแถวตั้ง เรียกว่า ช่อง Cell หรือ Square ซึ่งมีวิธีเรียกได้ 2 แบบ ดังนี้
1. ชื่อ Supply ตามด้วยชื่อ Demand เช่น นครปฐม : นครสวรรค์
2. เลขที่แถวนอนตามด้วยเลขที่แถวตั้ง เช่น Cell 2 : 3 หรือ C 23
ช่องเล็ก Sub-cell หรือ Sub-square อยู่ในมุมบนขวาของ Cell ไว้ใส่ค่าขนส่งต่อหน่วย
ถ้าจำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Supply เท่ากับ จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Demand จำนวนแถวนอนจะมีเท่ากับจำนวนรายชื่อแหล่งผลิต จำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับจำนวนรายชื่อแหล่งรับสินค้า
หากจำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Supply ไม่เท่ากับ จำนวนสินค้ารวมทั้งหมดของ Demand มีได้ 2 กรณี คือ
1. Supply มากกว่า Demand ให้เพิ่มแถวตั้ง 1 แถวให้ชื่อว่า Dummy Column ให้มีจำนวนสินค้า = Supply - Demand
2. Demand มากกว่า Supply ให้เพิ่มแถวนอน 1 แถวให้ชื่อว่า Dummy Row ให้มีจำนวนสินค้า = Demand - Supply
โดยให้ช่อง Dummy มีค่าขนส่ง = 0
3. หาคำตอบเริ่มต้นของการกระจายสินค้า มี 3 วิธี ดังนี้
1. วิธีเลือกค่าขนส่งต่ำสุด (Minimum Cost Method หรือเรียกย่อว่า Least cost)
2. วิธีทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Corner Method)
3. วิธีประมาณของโวเกลหรือแวม (Vogel’s Approximation Method หรือเรียกย่อว่า VAM)
เมื่อกระจายสินค้าใส่ช่อง ช่องที่มีสินค้า เรียกว่า ช่องหิน (Stone Cell) ช่องว่างที่ไม่มีสินค้าเรียกว่า ช่องน้ำ (Water Cell) ให้คำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมทั้งหมด
4. หาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เป็นการตรวจสอบว่า คำตอบเริ่มต้นมีต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุดแล้วหรือยัง การตรวจสอบมี 2 วิธี ดังนี้
1. วิธีปรับปรุงการกระจาย (Modified Distribution Method หรือเรียกย่อ ๆ ว่า MODI)
2. วิธีบันไดหิน (Stepping Stone Method)
1. วิธีปรับปรุงการกระจาย (Modified distribution method : MODI)
เป็นการหาต้นทุนเพิ่ม (Marginal Cost) ของช่องน้ำว่า มีค่าเป็นค่าบวกหรือลบ ด้วยสมการความสัมพันธ์ระหว่างแถวนอน (Row) กับแถวตั้ง (Column) ดังนี้
1. ช่องหิน (Stone Cell) ใช้สมการ Cij = Ui + Vj
2. ช่องน้ำ (Water Cell) ใช้สมการ Eij = Cij - Ui - Vj
i. = ลำดับเลขที่แถวนอน
j. = ลำดับเลขที่แถวตั้ง
Ui = ตัวเลขประเมิน ในแถวนอนที่ i
Vj = ตัวเลขประเมิน ในแถวตั้งที่ j
Cij = ค่าขนส่งต่อหน่วย Cell ij ใด ๆ
Xij = จำนวนสินค้าที่อยู่ในช่องหินแถวนอนที่ i แถวตั้งที่ j
Eij = ต้นทุนเพิ่ม (Marginal Cost) หรือ ดัชนีพัฒนาการ (Improvement Index) ของ Cell ij ใด ๆ
ค่าดัชนี (Eij) ที่ปรากฏจะมี 3 ลักษณะ คือ
1. ค่าเป็นบวก (+) หมายความว่า ถ้าย้ายสินค้าเข้าช่องนั้นจะทำให้ค่าขนส่งรวมเพิ่มขึ้นต่อหน่วยเท่ากับค่า Eij เช่น Eij = 5 แสดงว่า ค่าขนส่งรวมเพิ่มขึ้นหน่วยละ 5 บาท ถ้าย้ายเข้า 20 หน่วย ค่าขนส่งรวมจะเพิ่มขึ้น (20 x 5) = 100 บาท
2. ค่าเป็นลบ (-) หมายความว่า การย้ายสินค้าเข้าช่องนั้นจะทำให้ค่าขนส่งรวมลดลงต่อหน่วยเท่ากับค่า Eij เช่น Eij = (-10) แสดงว่า ค่าขนส่งรวมลดลงหน่วยละ 10 บาท ถ้าย้ายเข้า 20 หน่วย ค่าขนส่งรวมก็จะลดลง (20 x 10) = 200 บาท
3. ค่าเป็น 0 (ศูนย์) หมายถึง การย้ายสินค้าเข้าช่องนั้นแล้ว ค่าขนส่งรวมเท่าเดิม
หากค่าดัชนี (Eij) ที่คำนวณได้ในช่องน้ำมีค่าเป็นลบ (-) แปลว่า ค่าขนส่งรวมสามารถลดลงได้อีกโดยย้ายสินค้าจากช่องหินไปยังช่องน้ำที่ติดลบ (-) เมื่อย้ายแล้วต้องตรวจสอบค่าดัชนีในช่องน้ำใหม่ ถ้ายังติดลบ ต้องย้ายสินค้าเข้ามาในช่องน้ำที่ติดลบ แล้วตรวจสอบใหม่อีกรอบ ทำจนกว่าช่องน้ำมีค่าบวกทั้งหมด เพราะค่าดัชนีในช่องน้ำที่เป็นบวก (+) แปลว่า ถ้าย้ายสินค้าจากช่องหินมาเข้าช่องน้ำที่เป็นบวกนั้น ค่าขนส่งรวมจะสูงขึ้น ดังนั้น การกระจายสินค้าที่ได้ดัชนีช่องน้ำเป็นบวกทั้งหมด จึงมีต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุดแล้ว
สภาพเสื่อมคลาย (Degeneracy)
คือ สภาพที่ช่องน้ำไม่สามารถหาค่า Eij ได้ เกิดเมื่อจำนวนช่องหินมีน้อยกว่า m + n - 1 (m คือ จำนวนแถวนอน, n คือ จำนวนแถวตั้ง) แก้ไขโดยเติม 0 (Zero Stone) ในช่องน้ำที่มีค่าขนส่งสูง ๆ ซึ่งมักจะมีค่า Eij เป็นบวก ให้กลายเป็นช่องหิน (Zero cell) เพื่อให้หาค่า Eij ในช่องน้ำอื่น ๆ ได้
การปรับปรุงการกระจายสินค้าอาจจะเป็นการย้ายช่อง 0 (Zero cell)
มุมมอง: 5 362
วีดีโอ
ความพยายามของปลวก.... ปลวก
มุมมอง 8011 ปีที่แล้ว
ช่วงข้ามคืน ปลวกสร้างทางดินสูงขึ้นในอากาศ... ลำพัง... ไร้ที่เกาะ... เพื่อหาอาหาร...
เพลง สัมพันธ์ MK PYU
มุมมอง 28311 ปีที่แล้ว
ยินดี..! ที่ศิษย์รุ่นสุดท้ายที่ อ.สิริกาญจน์ กิตติจิตต์ ปองทอง สำเร็จการศึกษาเข้าพิธีประสาทปริญญาบัตร สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ ในวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ศิษย์รุ่นนี้ ได้แต่ง "เพลง สัมพันธ์ MK PYU" เพื่อร้องในงานลูกทุ่งการตลาด ครั้งที่ 27 "คืนสู่เหย้าหมู่เฮาจาว MK" ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2554 ณ ห้องเลวีนิติ อาคารผู้วินิจฉัย ภาพประกอบเพลงเป็นเสี้ยวหนึ่งของชีวิตใน...
ตัวแบบการขนส่ง กระจายสินค้าวิธี VAM ปรับปรุงการกระจายด้วยวิธี MODI ให้มีต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุด
มุมมอง 81K12 ปีที่แล้ว
ตัวแบบการขนส่ง Transportation Model เป็นเทคนิคหนึ่งของโปรแกรมเส้นตรง Linear Programming ที่ช่วยกิจการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิต (Supply) หลายแห่งไปยังแหล่งรับสินค้า(Demand) หลายแห่งอย่างไร เพื่อให้ต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำที่สุด โดยที่ค่าขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตแต่ละแห่งไปยังแหล่งรับสินค้าแต่ละแห่งไม่เท่ากัน คลิปวิดีโอนี้ นำเสนอ วิธีกระจายสินค้าของนายโวเกล (Vogel’s Approximation Method หรือย่อ ๆ ว่า VA...
การเปรียบเทียบค่าพยากรณ์วิธีต่าง ๆ อย่างง่ายเพื่อการตัดสินใจ
มุมมอง 4.8K12 ปีที่แล้ว
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) เป็นการนำจำนวนตัวเลขในอดีตมาพยากรณ์จำนวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การขาย การบริโภค การกิด การดับ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการนำมาใช้พยากรณ์การขายมี 6 วิธี ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) 2. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) 3. ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential Smoothing) 4. ค...
พยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) : ค่าดัชนีฤดูกาล (Seasonal Index)
มุมมอง 9K12 ปีที่แล้ว
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) เป็นการนำจำนวนตัวเลขในอดีตมาพยากรณ์จำนวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การขาย การบริโภค การกิด การดับ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการนำมาใช้พยากรณ์การขายมี 6 วิธี ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) 2. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) 3. ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential Smoothing) 4. ค...
พยากรณ์เชิงปริมาณ(Quantitative Forecasting) : ค่าแนวโน้ม (Trend Projection)
มุมมอง 12K12 ปีที่แล้ว
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) เป็นการนำจำนวนตัวเลขในอดีตมาพยากรณ์จำนวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การขาย การบริโภค การกิด การดับ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการนำมาใช้พยากรณ์การขายมี 6 วิธี ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) 2. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) 3. ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential Smoothing) 4. ค...
พยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) : ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential Smoothing)
มุมมอง 26K12 ปีที่แล้ว
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) เป็นการนำจำนวนตัวเลขในอดีตมาพยากรณ์จำนวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การขาย การบริโภค การกิด การดับ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการนำมาใช้พยากรณ์การขายมี 6 วิธี ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) 2. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) 3. ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential Smoothing) 4. ค...
พยากรณ์เชิงปริมาณ(Quantitative Forecasting): ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก(Weighted Moving Average)
มุมมอง 15K12 ปีที่แล้ว
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) เป็นการนำจำนวนตัวเลขในอดีตมาพยากรณ์จำนวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การขาย การบริโภค การกิด การดับ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการนำมาใช้พยากรณ์การขายมี 6 วิธี ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) 2. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) 3. ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential Smoothing) 4. ค...
พยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) : ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average)
มุมมอง 34K12 ปีที่แล้ว
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting) เป็นการนำจำนวนตัวเลขในอดีตมาพยากรณ์จำนวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การขาย การบริโภค การเกิด การดับของสิ่งต่าง ๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการนำมาใช้พยากรณ์การขายมี 6 วิธี ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) 2. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) 3. ค่าปรับเรียบเอ็กโปเนนเซียล (Exponential S...
ขอบคุณครับอาจารย์สอนได้เข้าใจได้ง่ายมากเลยครับ <3
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณอาจารย์ค่ะ กำลังจะสอบเรื่องนี้ มาเข้าใจเพราะ คลิปนี้เลย
ขอบคุณมาก ค่ะ เข้าใจง่าย ก็บอกต่อ ๆ เพื่อน ๆ ทุกคนจะได้สอบผ่าน รับปริญญาพร้อมกัน นะคะ
เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ❤
ดีมากเลยค่ะ
อยากรู้วิธีคิดแบบละเอียด
ละเอียดกว่านี้ ไม่มีแล้ว คุณต้องอ่านคำอธิบายเรื่องการพยากรณ์ที่อยู่ใต้คลิป แล้วดูตัวอย่างการคำนวณ คิดคำนวณตัวเลขตาม ถ้ายังไม่เข้าใจโทร. ถามได้ ค่ะ 0850344195
ถ้าเกิดว่าให้ข้อมูลมาแบบแล้วหาในเดือนถัดไปที่ไม่ได้ให้ข้อมูลคะอย่างเช่นหาค่าเดือนมกราถึงธันวาเคลื่อนที่3เดือนแล้วให้หามกราในปีถัดไปค่ะ
ต้องไม่ลืมว่า ในชีวิตจริง เวลามิได้หยุดนิ่ง การขายยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้นจึงมียอดขายจริงเกิดขึ้นในแต่ละเดือนใ้ห้ใช้ คำนวณค่าพยากรณ์ต่อไปได้ การพยากรณ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ที่นำเสนอในช่องยูทรูนี้มีหลายตอน เพื่อให้เจ้าของพิจารณาว่า วิธีใดให้ตัวเลขการพยากรณ์ใกล้เคียงกับความยอดขายที่เกิดขึ้นจริง ก็ให้ใช้วิธีนั้น พยากรณ์ยอดขายในอนาคต ค่ะ และต้องไม่ลืมว่า สภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนอยู่เสมอ ดังนั้น วิธีการพยากรณ์ที่ใช้ต้องปรับตาม
ถ้าใช้วิธี Least cost Method แต่ supplyและdemand ไม่เท่ากัน เวลาเลือกช่องที่ค่าขนส่งต่ำสุด เลือกช่องที่เป็น 0 Dummy มั้ยคะ มันน้อยสุดในตาราง แต่ค่าขนส่ง 0 dummy มีทั้งหมด 3 ช่องค่ะ
ในช่องแถว Dummy มีค่าขนส่งเป็น 0 บาท ให้มองว่า 0 เป็นเลขตัวหนึ่ง แล้วทำตามหลักวิธี Least cost Method คือ กระจายสินค้าไปยังช่องที่ต้นทุนค่าขนส่งน้อยที่สุดก่อน ในแต่ละรอบของการพิจารณาและกระจายสินค้า ถ้าไม่เข้าใจโทรถามได้ ที่ 085 034 4195 นะคะ
อยากทราบ Double Exponential Smoothing จังครับ
ใช้คำตอบที่คำนวณตามคลิป เป็นข้อมูลคำนวณอีกรอบกลายเป็นรอบที่ 2 ค่ะ
อธิบายได้ดีมากครับ เข้าใจง่ายดีครับ
ขอบคุณ ที่เป็นกำลังใจให้ ค่ะ
รบกวนหน่อยค่ะอาจารย์ เเล้วถ้าคิดแบบวิธี nor thwest-corner method คิดยังใงคะ
กระจายสินค้าลงที่ช่อง C11 ก่อนแล้ว กระจายลื่นไหนไปในช่องถัดไป ดูตัวอย่างที่ 2 ถัดไป ค่ะ
อาจารย์คะ ขอบสอบถามหน่อยคะ ถ้าเราทำวิธี northwerst กับวิธี VAM แต่ทำโจทย์เดียวกัน แต่ทำ2วิธีนี้คำตอบจะเท่ากันไม่คะ หนูลองทำแล้ว คำตอบออกมาไม่เท่า กันแสดงว่าหนูทำผิดหรือถูกคะ
อาจจะถูก หรือ อาจจะผิด ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรอบคอบในการคำนวณ ปรกติโจทย์เดียวกัน ทำคนละวิธี ตารางแรกจะไม่เหมือนกัน ถ้าไม่ปรกติ ตารางแรกอาจเหมือนกัน ทำตารางแรกแล้วต้องตรวจสอบการกระจายสินค้าว่า ดีที่สุด รึ ยัง ถ้าตัวชี้วัด บอกว่า ดีที่สุดแล้ว จึงจะเป็นคำตอบ ปรกติ ตารางสุดท้ายที่ดีที่สุดของทั้ง 2 วิธี จะเหมือนกัน ถ้าไม่ปรกติ ตารางสุดท้ายมีต้นทุนต่ำสุดเหมือนกัน แต่อาจกระจายสินค้าต่างกัน ปรกติ VAM จะถึงตารางสุดท้ายเร็ว (= ใช้ตารางคำนวณน้อย) กว่า NW
ขอบคุณคะอาจารย์💗😊
ขอบคุณค่ะ
รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ถ้ามีร้านเดียวแต่ไปส่งลูกค้าหลายราย สามารถใช้วิธีนี้คิดได้ไหมคะ
ไม่ต้องใช้วิธีนี้ ใครสั่งซื้อก่อน ก็ส่งให้ก่อนตามคิว หรือ ใครต้องการด่วน ก็ลัดคิว ส่งให้ก่อน ค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นเพราะคลิปนี้เลย
ขอบคุณนะค่ะ
ในรอบที่สองที่ 3 ซ้ำกันหลายตัว ถ้าเลือก 3 คนละตัวกับอาจารย์แต่ได้คำตอบไม่เท่ากันจะถือว่าถูกมั้ยครับ
Noppadon MUeahPhothohg คำตอบที่ไม่เท่ากันของคุณหมายถึง คำตอบไหน ค่ะ ปรกติคำตอบโจทย์การกระจายสินค้าเพื่อให้ได้ต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุด จะมี 2 ส่วน ดังนี้ 1. จำนวนสินค้าที่กระจายไปยังเมืองต่าง ๆ ที่จะนำไปคำนวณต้นทุนการขนส่งแต่ละเม 2. ต้นทุนค่าขนส่งรวมทุกเมือง กล่าวคือ ต้องตอบทั้งข้อ 1 และข้อ 2 ในกรณีที่คุณถามมา. ถ้าไม่คำนวณตัวเลขผิด. คำตอบข้อ 1 สามารถแตกต่างกันได้ (คือ กระจายสินค้าไปแต่ละเมือง แตกต่างกัน) แต่คำตอบข้อ 2 จะเท่ากัน ค่ะ
ขอบคุณมากๆเลยค่ะสอนดีมากๆค่ะ
ขอบคุณค่ะอาจารย์ ที่ทำให้หนูเข้าใจเรื่องนี้ เรียนในห้องแทบไม่เข้าใจเลยค่ะขอบคุณมากๆค่ะ
ยินดี ค่ะ
ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ
ถ้าโจทย์ให้หายอดขาย ต้องรอให้ถึงเวลาขายจริง ได้เท่าไหร่ ก็เท่านั้น ค่ะ
แล้วถ้าโจทย์ให้หายอดขาย ของสัปดาห์ที่12และ16 แต่ไม่ได้ให้ตัวเลขมา ต้องหายังไงคะ
ให้แทนค่า t=12 และ t=16 ในสมการแนวโน้มที่คำนวณได้ ค่ะ
ค่าที่ได้เป็นค่าพยากรณ์
หนูเรียนไม่รู้เรื่องเลยค่ะ ขอบคุณคลิปอาจารย์มากๆเลยนะคะ
ที่หนูว่าเรียนไม่รู้เรื่องเลย หมายถึง เรียนในห้องเรียนใช่ไหม ดูคลิปแล้วเข้าใจหรือยัง ถามได้ ณ ค่ะ
ใช่ค่ะ เรียนในห้องไม่รู้เรื่องเลย เพิ่งมาเข้าใจคลิปนี้เลยค่ะ 😂
ขอบคุณค่ะอาจารย์ สอนเข้าใจมากๆเลยค่ะ
รบกวนด้วยครับ กรณีที่ใส่ช่องดัมมี่เพิ่มเข้าไป 1 ช่องเพื่อให้ผลรวมเท่ากัน เรานำค่าขนส่งที่เป็น 0 มาคำนวนไหมครับ
คำนวณ ค่ะ 0 เป็นตัวเลขตัวหนึ่ง เอามาคำนวณ หาผลต่างของเลขตัวที่น้อยที่สุด 2 ตัว ตามหลักของ VAM ค่ะ ทำไปตามปรกติ ค่ะ
ขอบคุณครับคุณครู
อาจารย์คะ ทำไมU1ต้องเท่ากับศูนย์คะ
Wanwisa PHETWISET ขอโทษ นะคะ ที่ตอบช้า แถวนอน เรียก·Ui i คือ เลขที่แถวนอนใด ๆ แถวนอนที่ 1 เรียก U1 แถวนอนที่ 2 เรียก U2 แถวนอนที่ 3 เรียก U3 แถวตั้ง เรียก Vj j คือ เลขที่แถวตั้งใด ๆ แถวตั้งที่ 1 เรียก V1 แถวตั้งที่ 2 เรียก V2 แถวตั้งที่ 3 เรียก V3 แถวตั้งที่ 4 เรียก V4 ช่องสี่เหลี่ยมใหญ่ที่ มีสินค้า เรียก ช่องหิน·(Stone Cell) มีสมการว่า Cij = Ui + Vj ..............(1) ช่องสี่เหลี่ยมใหญ่ที่ ไม่มีสินค้า เรียก ·ช่องน้ำ (Water Cell) มีสมการว่า Eij = Cij - Ui - Vj ..............(2) Eij เป็นการหาผลต่างระหว่างค่าขนส่ง Cij กับ ค่า ( Ui + Vj ) Eij = Cij -(Ui + Vj ) = Cij - Ui - Vj สมการ 2 ·สมการ มี 3 ตัวแปร Cij , Ui , Vj Cij คือ ค่าขนส่งที่เขียนในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ซึ่งเรารู้ค่าทุกช่อง อีก 2 ตัวแปรที่ไม่รู้ค่า ในสมการที่ (1) เราสมมุติตัวแปรตัวใดก็ได้ตัวหนึ่งให้เท่ากับ 0 (=·ไม่มีค่า) จะสมมุติ·U หรือ V ตัวไหนก็ได้ แต่เพื่อให้การคำนวณของทุกคนในห้องเหมือนกัน จึงสมมติให้ U1 = 0 เมื่อทำตามตัวอย่างเข้าใจแล้ว ลองสมมติ ·U หรือ V ของช่องหิน·(Stone Cell) ใด ๆ เป็น 0 ตัวแรกบ้าง แล้วดูสิว่า ค่าขนส่งรวมต่ำสุดจะเป็นอย่างไร คณิตศาสตร์ต้องทำโจทย์มาก ๆ จะเข้าใจไปเอง ค่ะ ถ้ายังไม่เข้าใจ โทร.ถามได้ ค่ะ 085 034 4195
Sirikarn Kittijit Pongtong ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะ หนูเข้าใจแล้วค่ะ 🙏🏻😍
ขอบคุณครับ กำลังเรียน linear programming
อาจารย์ที่มหาลัยให้โจทย์แบบปรับปรุง northwest ด้วย modi มันจำเป็นมั้ยคะ แล้วถ้าเราเอาวิธี northwest มาทำใหม่ด้วย vam ไปเลยจะคิดง่ายกว่าและได้คำตอบเดียวกันมั้ยคะ นี่ต้องปรับปรุงหลายรอบมากเลยกว่าจะได้คำตอบสุดท้าย แถมสอนก็งงๆ อธิบายไม่ถูกจนเด็กต้องมาหาเรียนตาม youtube อย่างไรก็ขอบพระคุณอาจารย์ที่สอนให้เข้าใจมากขึ้นด้วยนะคะ
Daraneerat P. ตอบ 1. Northwest ช่วยให้เราย้ายตารางเก่ง (ปรับปรุงคำตอบเก่ง) 2. คำตอบทั้ง northwest และ vam ต้นทุนจะต่ำสุดเท่ากัน. แต่การกระจายสินค้าอาจแตกต่างกัน. 3. ถ้าโจทย์สั่งให้แสดงวิธีทำ ก็ต้องทำตามคำสั่ง. ถ้าถามคำตอบสุดท้าย ก็ควรใช้ vam เพราะถึงคำตอบเร็วกว่ามาก ค่ะ
ดีมากเลยครับอาจารย์
รบกวนหน่อยครับอาจารย์ ถ้าผลรวม สินค้า supplyและdemand ไม่เท่ากันต้องแก้ยังไงครับ
Makeying My เพิ่มแถวนอนหรือแถวตั้ง ตามที่ด้านแถวนอนหรือด้านแถวตั้งมีจำนวนน้อยกว่า. เท่ากับจำนวนผลต่าง. แล้วใส่ต้นทุนเป็น 0 ในช่องค่าขนส่งทุกช่องของแถวที่เพิ่มเข้ามา แล้วคำนวณตามหลักวิธีการคำนวณ. อย่ากังวล เลข 0 เป็นเลขคิดคำนวณไปตามปรกติ ค่ะ
ขอบคุณมากนะคะ
ถ้าถามไตรมาส1ปีที่1นี่คิดยังงัยคับ
ต้องมีตัวเลขไตรมาสที่ 2, 3, 4 ของปีที่ 0 ก็จะหาไตรมาส 1 ปีที่ 1 ได้ ค่ะ ถ้าไมมีก็หาไม่ได้
ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยของสินค้า ปี ต้นทุน บาท/หน่วย 2540 45 2541 43 2542 40 2543 37 2544 38 2545 35 2546 36 2547 34 วิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กโพแนนเชียล วิธีการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย อาจารย์พอจะมีคิดวิธีแบบนี้ไหมคับ vmin1994@gmail.com
คืออย่างค่าจริงคือ 50 แล้วค่าคำนวณมี 53 กับ57 เราจะเปรียบเทียบยังไงว่าใกล้เคียง
ค่าที่ใกล้ ค่าจริง 50 คือ + - 1 จาก 50 คือ ไม่ต่ำกว่า 49 และ ไม่เกิน 51 ค่ะ
อยากรู้ว่าเปรียบยังไง ต้องใช้หน่อยตัวเลขยังไง
รบกวนขยายความสิ่งที่สงสัยด้วย ค่ะ อ่านแล้วไม่เข้าใจ ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ถ้าใส่เลขผิดช่อง มีโอกาศๆได้คำตอบเท่ากับที่เฉลยไหมครับ
ได้ ค่ะ แต่อาจต้องย้ายหลายตาราง คณิตศาสตร์พิสูตรได้ ลองทำซิ ค่ะ
BLACK Z. คณิตศาสตร์ต้องลองทำ ลองแล้วจะรู้ ค่ะ ขึ้นกับว่า คุณใจลอยถี่เพียงไร ค่ะ
ขอบคุณค้าาาา
ขอบคุณมากครับผม
ขอบพระคุณครับอาจารย์
คำบรรยายเรื่อง การพยากรณ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน (หลักสูตรปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต ) การพยากรณ์ เป็นการคาดการอนาคตโดยใช้ข้อมูลในอดีต การพยากรณ์การขาย จึงเป็นการนำข้อมูลการขายในอดีตมาคาดการณ์ยอดขายในอนาคตเพื่อเตรียมผลิตสินค้าให้เพียงพอกับการขาย
+Sirikarn Kittijit Pongtong ผมอยากทราบว่าขั้นตอนการหาค่า หายัง เช่นไตรมาสที่3 ยอดขาย60 ค่าพยากรณ์วิธีเอ็กซ์โปแนนเชียล 51.20 ตัวอย่างที่2 (ปี1 ไตรมาส4 ยอดขาย55 ค่าพยากรณ์วิธีเอ็กซ์โปแนนเชียล คิดไงได้ 52.96 )ผมสนใจเรื่องนี้มาก ยังไม่เข้าใจครับ ช่วยด้วยครับ
+Sirikarn Kittijit Pongtong ผมอยากทราบว่าขั้นตอนการหาค่า หายัง เช่นไตรมาสที่3 ยอดขาย60 ค่าพยากรณ์วิธีเอ็กซ์โปแนนเชียล 51.20 ตัวอย่างที่2 (ปี1 ไตรมาส4 ยอดขาย55 ค่าพยากรณ์วิธีเอ็กซ์โปแนนเชียล คิดไงได้ 52.96 )ผมสนใจเรื่องนี้มาก ยังไม่เข้าใจครับ ช่วยด้วยครับ
nakanaka111 Attawit   อ่านคำบรรยายที่เนื้อหาใต้คลิปวีดิโอ แล้วลองคำนวณเองตามสูตร ตั้งแต่ค่าพยากรณ์ตัวแรก ที่ต้อง = ค่าจริง เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีข้อมูล หากยังสงสัยถามได้ ค่ะ ที่ 085-0344195
อยากทราบขั้นตอนวิธีคิด ไม่เข้าใจเลย
+nakanaka111 Attawit คำบรรยายเรื่อง การพยากรณ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน (หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ปริญญาตรี) การพยากรณ์ เป็นการคาดการอนาคตโดยใช้ข้อมูลในอดีต การพยากรณ์การขาย จึงเป็นการนำข้อมูลการขายในอดีตมาคาดการณ์ยอดขายในอนาคตเพื่อเตรียมผลิตสินค้าให้เพียงพอกับการขาย ดู ฟังคำบรรยายช้า ๆ คิดตาม ที่บรรยายไว้คือ ขั้นตอนวิธีคิด ค่ะ ลองฟังซ้ำ สัก 2-3 รอบ
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณค่ะสอนเข้าใจง่ายมากๆ
ขอบคุณครับอาจารย์
ขอบคุณครับอาจารย์ คลิปนี้ช่วยให้ผมเข้าใจได้มากขึ้นเลยครับ
ขอบคุณมากนะค่ะ