Special Report เดินหน้าติดตั้งเพิ่มอีก 50 สถานี ระบบเฝ้าติดตามแผ่นดินถล่มฯ RTK LANDMOS

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 ม.ค. 2024
  • ต่อยอดงานวิจัยระบบเฝ้าติดตามแผ่นดินถล่มฯ RTK LANDMOS
    เดินหน้าติดตั้งเพิ่มอีก 50 สถานี บริเวณบ่อเหมืองแม่เมาะและพื้นที่ทิ้งดิน
    .
    นายบุญฤทธิ์ เขียวอร่าม หัวหน้าแผนกรังวัดเหมือง (หรม-ช.) กองวางแผนปฏิบัติการ (กวป-ช.) ฝ่ายวางแผนและบริหารเหมืองแม่เมาะ (อบม.) เปิดเผยว่า ตามที่ เหมืองแม่เมาะ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการวิจัยการพัฒนาระบบเฝ้าติดตามแผ่นดินถล่มด้วยดาวเทียมกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกแบบจลน์ในทันที (Real-Time-Kinematic-GNSS Landslide Monitoring System : RTK LANDMOS) โดยผลจากงานวิจัยทำให้ได้ระบบเฝ้าติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดิน แบบเรียลไทม์จำนวน 10 สถานี ที่ถูกติดตั้งกระจายอยู่ทั่วบริเวณบ่อเหมืองแม่เมาะและพื้นที่ทิ้งดิน ซึ่งจะมีการรายงานข้อมูลการตรวจวัดทุก 15 นาที และมีการแจ้งเตือนผ่าน Application ในกรณีเกิดการเคลื่อนตัวเกินเกณฑ์ที่กำหนด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 2563
    .
    โดยผลจากการใช้งานจริงพบว่า สามารถส่งข้อมูลการเคลื่อนตัวของมวลดินให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของการเคลื่อนตัวของมวลดิน ทำให้สามารถวางแผนและบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ กฟผ. บริษัทผู้รับจ้าง และชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบเหมืองแม่เมาะ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ขณะเดียวกัน ข้อมูลยังจะถูกนำไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการการเคลื่อนตัวของมวผลดิน ทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    .
    อย่างไรก็ตาม ระบบเฝ้าติดตามดังกล่าวและระบบอื่นที่เหมืองแม่เมาะใช้งานอยู่ ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่การทำงาน ซึ่งบ่อเหมืองถ่านหินลิกไนต์ครอบคลุมพื้นที่กว่า 16,000 ไร่ มีความกว้าง 4 กิโลเมตร ความยาว 7 กิโลเมตร ปัจจุบันมีระดับความลึกจากขอบบ่อประมาณ 330 เมตร ขณะที่พื้นที่ทิ้งดินฝั่งตะวันตกมีพื้นที่ราว 18,000 ไร่
    .
    ดังนั้น เพื่อให้การตรวจวัดการเคลื่อนตัวครอบคลุมทุกพื้นที่ของ เหมืองแม่เมาะ จึงได้นำระบบเฝ้าติดตามดังกล่าวมาติดตั้งเพิ่มอีกจำนวน 50 สถานี กระจายในพื้นที่บ่อเหมืองและที่ทิ้งดิน ตามที่ กองวิศวกรรมธรณี (กวธ-ช.) เป็นผู้กำหนด
    .
    “RTK LANDMOS ปัจจุบันมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 60 สถานี ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการทำงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของมวลดิน ซึ่งมีความแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และได้ข้อมูลการเคลื่อนตัวตลอดเวลา และที่สำคัญยังเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน โดยใช้เทคโนลียีที่ทันสมัย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยลดเวลาในการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง ช่วยลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ต้องลงพื้นที่หน้างาน ซึ่งจากเดิมที่ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าตรวจวัดที่ตำแหน่งหน้างานตามรอบความถี่รายวัน หรือรายสัปดาห์ ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการเพิ่มจำนวนสถานี RTK LANDMOS มากขึ้น เพื่อให้ครอบคลุม ทุกพื้นที่ในการทำงานของเหมืองแม่เมาะ ซึ่งปัจจุบันมีการตรวจวัดรวมกว่า 100 จุด RTK LANDMOS ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มาช่วยสนับสนุนงานติดตามการเคลื่อนตัวของบ่อเหมืองและที่ทิ้งดิน ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ของเหมืองแม่เมาะ เช่น Slop stability Radar (SSR) , Geo Robot ของกองวิศวกรรมธรณี (กวธ.) อุปกรณ์การตรวจวัดการเคลื่อนตัวผ่านระบบ IOT ของกองบริการดิจิทัลภาคเหนือ (กบดน-ห.) ซึ่งทุกอุปกรณ์ล้วนมีความสำคัญในการตรวจวัดการเคลื่อนตัว เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการเสถียรภาพของเหมืองแม่เมาะและพื้นที่ทิ้งดินให้มีความปลอดภัยในการทำงาน และเพื่อให้การทำงานของเหมืองแม่เมาะสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืน” นายบุญฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
    #egat
    #egatforall
    #เหมืองแม่เมาะ
    #กฟผ
    #กฟผแม่เมาะ

ความคิดเห็น • 1

  • @rawipasj
    @rawipasj 3 หลายเดือนก่อน +1

    I'm so proud of you.