แจกสูตร..!! หาค่า การชาร์จ คาปาซิเตอร์ ( 0% - 100% ใช้เวลาเท่าไหร่ )

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 12 เม.ย. 2022
  • สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY
    สำหรับวันนี้ ผมจะมาอธิบาย หลัก การคำนวณ ระยะเวลาในการชาร์จ ของตัวเก็บประจุ กันนะครับ
    ว่ามีวิธีการคำนวณ อย่างไร
    ทำไมเราถึงต้องคำนวณระยะเวลานี้ ด้วย
    ผมจะอธิบายว่า เนื่องจาก อุปกรณ์หรือโหลดบางชนิด อาจจะไม่ได้ต้องการแรงดันในทันที
    อาจจะมีการหน่วงระยะเวลาในช่วงแรกสักเล็ก อย่างเช่นพวก วงจรไฟกระพริบ , วงจรตั้งเวลา มันก็มีประโยชน์อย่างยิ่งครับ
    เพราะฉะนั้นในวงนี้ ผมก็จะยกตัวอย่าง สมมุติว่าเรามีแบตเตอร์รี่ ขนาด 9V 1 ตัว ตัวเก็บประจุขนาด 1000uF 1ตัว ตัวต้านทานขนาด 10kohm 1ตัว
    และก็มี สวิตซ์ อีก 1 ตัว ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดต่ออนุกรมกันอยู่
    ตอนนี้ตัว C ยังไม่มีแรงดัน แต่เมื่อเรากดสวิตซ์
    ตัวเก็บประจุจะเริ่มชาร์จ แรงดันเข้าไป เติมอย่างต่อเนื่อง
    ถามว่าชาร์จเข้าไปกี่โวล์ต
    มันก็จะชาร์จถึงระดับเดียวกัน กับแบตเตอร์รี่ นั้นแหละครับ นัน้ก็คือ 9V
    เมื่อเรา นำ ตัวต้านทานต่อกับ คาปาซิเตอร์ แรงดันไฟฟ้า มันจะไม่ได้เต็ม ในทันทีนะครับ
    มันจะมีเส้นโค้ง เลขชี้กำลังของมันอยู่
    สังเกตุว่า เริ่มแรก แรงดันไฟฟ้า จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมหาศาล
    เมื่อใกล้จะเต็มมันก็จะช้าลงอีกครั้งหนึ่ง จนไปถึง แรงดัน ณ จุดหนึ่ง แรงดันไฟฟ้า เท่ากันกับ แบตเตอร์รี่
    เราสามารถแบ่งได้ช่วงระยะเวลาของมันได้ 6 ส่วน
    แต่เราจะสนใจมันจริงๆ เพียงแค่ห้าส่วนแรกเท่านั้น
    ในแต่ละส่วน ที่ตัดกับจุดตารางนี้ เราจะเรียกมันว่า ค่าคงที่ของเวลา
    เพราะฉะนั้น ในตารางนี้เรามี อยู่ด้วยกัน 5 ส่วน เราก็เลยมี ค่าคงที่อยู่ด้วยกัน 5 จุด
    ค่าคงที่เหล่านี้ เราสามารถ คำนวณหาค่าในช่วงเวลา ของการเก็บประจุ ของ ตัว C ได้
    สูตรก็คือ ค่าคงที่หน่วยเป็นวินาที = ความต้านทาน หน่วยเป็น โอห์ม คูณ ด้วย ค่าของตัวเก็บประจุ หน่วยเป็น ฟารัด
    มาดูในวงจรเมื่อสักครู่ เราจะแปลงตัวต้านทาน 10kohm ให้คืนรูปในหน่วยเดิม นั้นก็คือ
    10,000 ohm
    และเราจะ แปลงค่า ตัวเก็บประจุ 1000uf คืนรูปในหน่วยเดิม ของมันซะก่อน
    นั้นก็คือ 0.001 F
    และเมื่อเรานำค่าทั้ง 2 มาคูณกัน
    เราก็จะได้คำตอบแล้วละครับ ค่าคงที่เท่ากับ 10 วินาที นั้นเอง
    ดังนั้น เมื่อเรานำค่าคงที่ที่ได้ มาคูณกับ ตารางที่มี 5 ส่วน เมื่อสักครู่
    มันก็หมายความว่า เรา จะใช้เวลาทั้งหมด 50 วินาที สำหรับการชาร์จตัว เก็บประจุนี้ ให้เต็ม 9V
    หากตัวต้านทาน เปลี่ยนแปลงค่าไปจาก 1 หมื่อน โอห์ม เป็น 1 พันโอห์ม
    จะได้ค่าคงที่อยู่ที่ 1 วินาที
    1 วินาที คูณกับ 5 ส่วนก็จะได้ 5วินาที
    ดังนั้นเราจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 วินาที เพื่อชาร์จคาปาซิเตอร์ให้ เต็ม 9V
    สังเกตุว่า ถ้าเราลด ขนาดของตัวตัวต้านทานลง เวลาที่ใช้ในการชาร์จก็จะเร็วขึ้น
    และ ถ้าเรา เพิ่มค่า ตัวเก็บประจุเพิ่มขึ้น เวลาที่ใช้ก็จะ เพิ่มขึ้นเช่นกัน
    กลับมาที่วงจรเดิมของเราบ้างครับ เราจึงสามารถที่จะ คำนวนระดับแรงดันไฟ ที่ค่าคงที่ ในแต่ละจุดได้
    จุดที่ 1 เราจะได้ค่าอยู่ที่ 63.2 % เสมอ
    จุดที่ 2 เราจะได้ค่าอยู่ที่ 86.5 %
    จุดที่ 3 เราจะได้ค่าอยู่ที่ 95%
    จุดที่ 4 เราจะได้ค่าอยู่ที่ 98.2%
    และจุดที่ 5 เราจะได้ค่าคงที่อยู่ที่ 99.3%
    ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าจะไม่มีวันถึง 100%
    ถ้าราพอตเพียง 5 จุด แต่แรงดันมันก็ได้ มากกว่า 99% แล้ว
    เมื่อเราได้เปอร์เซ็นครบทั้ง 5 จุด
    เราก็นำค่าจุดแรก มาคูณกับแรงดันแหล่งจ่ายได้เลยครับ
    ดังนั้นหลังจากผ่านไป 10 วินาที แรงดันตัวเก็บประจุ ค่าก็จะเท่ากับ
    Point 1 = (9v-0v) x 0.632 = 5.6880V
    หลังจากผ่าน 20 วินาที แรงดันก็จะเท่ากับ
    Point 2 = ((9v- 5.688v) x 0.632)+5.68V = 7.7812V
    หลังจาก 30 วินาที
    Point 3 = 8.5515V
    หลังจาก 40วินาที
    Point 4 = 8.8349V
    หลังจาก 50วินาที
    Point 5 = 8.9393V
    สำหรับกระแส ในวงจรนี้
    จะทำงานตรงกันข้าม กับแรงดัน
    กระแสของวงจร จะลดลงในขณะที่แรงดันไฟฟ้า ของตัวเก็บประจุจะเพิ่มขึ้น
    และเมื่อแรงดันเต็ม จะไม่มีกระแสไหลในวงจร
    เราก็จะเห็นว่า หลอดไฟจะสว่างจ้าทันทีที่เรากด ปุ่มสวิตซ์
    แต่จะหรี่ลงเมื่อตัวเก็บประจุ มีแรงดันไฟที่ เต็ม แล้ว
    และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการคำนวน หาค่าแรงดัน ของระยะเวลาในการชาร์จ ของตัวเก็บประจุ
    ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
    ขอบคุณข้อมูลดีๆ :: The Engineering Mindset
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 44

  • @ZimZimDIY
    @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

    ⚠️เนื่องจากเนื้อหาใช้เวลาในการเรียบเรียงข้อมูลค่อนข้างนาน
    เพื่อนๆสามารถสนับสนุน ค่ากาแฟ☕ ให้กับผมได้โดย..
    1. ซื้อสินค้าผ่าน Shopee 👉 shope.ee/8encLFBkcT
    2. ซื้อสินค้าผ่าน Lazada 👉 s.lazada.co.th/l.Zlpm
    ขอบคุณมากครับ

  • @buisme
    @buisme 2 ปีที่แล้ว +5

    ผมดูกี่คลิป ก็เข้าใจได้ง่าย มาครับ ขอบคุณครับ ที่ให้ความรู้ ทำคลิป ออกมาเยอะๆนะครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคูณมากครับ

  • @suratat
    @suratat 2 ปีที่แล้ว +1

    ช่องนี้ดีจริงๆ อธิบายได้เห็นภาพ เข้าใจได้ง่าย

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ

  • @minthada5350
    @minthada5350 2 ปีที่แล้ว +2

    อยากให้พี่อธิบายเรื่อง วงจร Star Delta มากๆเลยครับ
    ชอบในการอธิบายของพี่มากๆครับ เข้าใจง่ายดี

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว +1

      ในหม้อแปลง , ในมอเตอร์ หรือว่าใน เจนเนอร์เรเตอร์ ครับ

    • @minthada5350
      @minthada5350 2 ปีที่แล้ว

      @@ZimZimDIY มอเตอร์ครับ🙏

  • @bozzalnw5357
    @bozzalnw5357 2 ปีที่แล้ว +1

    ฮั่นแน่ ช่องนี้เริ่มเล่นกับสมการ First Order Differential หาค่า C ไม่ทำดา 👍🏻👍🏻

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว +1

      ผมก็ ทฤษฎีบ้าง ปฎิบัติบ้าง แต่ถ้ามีส่วนไหนผิดพลาด Dr. Bozza ชี้แนะด้วยนะครับ

    • @bozzalnw5357
      @bozzalnw5357 2 ปีที่แล้ว

      @@ZimZimDIY ได้ครับ 🙏🏻 แต่ขออย่างเดียว อย่าเรียกผมว่า Dr เลย ผมไม่ชอบให้ถูกเรียกแบบนี้ครับ
      ผมพิมพ์ “First order differential” ไม่ได้อยากบอกว่ารู้หรือเก่ง แต่ให้คนที่อยากรู้เรื่องการหา C หรือ L อย่างละเอียดสามารถไปหาอ่านเพิ่มเติมได้จากเรื่องนี้ หรือให้คนมากดไลค์ในความคิดที่ตรงกันแค่นั้นเองครับ 😁

  • @P-Diowsaran
    @P-Diowsaran 2 ปีที่แล้ว

    พี่ครับ รีเลย์ไฟเลี้ยวเดิม เปลี่ยนค่าc 330uf 16กับ 470uf 16อันไหนเร็วครับ

  • @prolover2531
    @prolover2531 2 ปีที่แล้ว +1

    ช่วยทำข้อมูลของ ซุปเปอร์ คาปาซิเตอร์ หน่อยครับว่าทำไมถึงไม่ค่อยมีคนนิยมนำมาใช้แทนคาปาซิเตอร์ธรรมดา ในระบบเครื่องเสียงครับ หรือถ้าใช้ไม่ได้เพราะ เหตุผลอะไรครับ ผมรู้ข้อมูลแค่ว่าเวลามันชาร์จประจุกลับมันชาร์จแรงเกินไปแค่นั้นครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ เดี่ยวผมเก็บไว้ในลิตส์ให้ครับ

  • @user-kl4gv8jw5p
    @user-kl4gv8jw5p 2 ปีที่แล้ว

    แต่ถ้าเราไม่ใส่โอม เราต่อตรงมันจะไม่ดีใช่มั้ยคับ แต่ถ้าเราหาแบตเตอรี่ ที่vไกล้เคียงเราไม่ต้องใส่โอมได้ใช่มั้ยคับ🙏🙏

  • @auntmarina3392
    @auntmarina3392 2 ปีที่แล้ว +3

    เชื่อไหมคะว่า วนฟังวิดิโอซ้ำ ทุกวันเลยค่ะ 55555555 ทำงานไปฟังไปเหมือนฟัง podcast เลยค่ะ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ แต่ฟังแต่เสียง...ก็ได้ด้วยเหรอครับ

  • @kritchanayutboonnoon3508
    @kritchanayutboonnoon3508 ปีที่แล้ว

    ถ้าเราไม่ใส่ตัวต้านทานได้ไหมครับ

  • @Peach_Thepsingha_FB
    @Peach_Thepsingha_FB 2 ปีที่แล้ว +3

    ผมอยากรู้ว่า เราสามารถรู้ได้ยังไง ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ ใช้คาปาซิเตอร์กี่ไมโคร (ในกรณีที่เราไม่เคยเห็นของเดิม ของมันมาก่อนครับ) เราสามารถคำนวนได้อย่างไรหรอครับ ผมพยายามหาข้อมูล แต่ผมก็ยังไม่ได้คำตอบเลยครับ 555555

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว +1

      คำนวณ C ของโหลดใช่ไหมครับ

    • @Peach_Thepsingha_FB
      @Peach_Thepsingha_FB 2 ปีที่แล้ว +1

      @@ZimZimDIY ใช่ครับผม

  • @suvijakengr3374
    @suvijakengr3374 2 ปีที่แล้ว

    อยากให้ทำคริปเพิ่มกรณี แรงดัน แหล่งจ่ายฯ สูงหรือต่ำกว่าตัวเก็บประจุครับ

  • @user-xd4rx7nc4v
    @user-xd4rx7nc4v 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าไม่ใส่ resister มันจะเกิดอะไรขึ้นครับ

  • @intelonsleya
    @intelonsleya 6 หลายเดือนก่อน

    นาที ที่ 3:59 เราคำนวน หาค่า 63.2% อย่างไหรคับ ขอสูตรคำนวณคำนวนหน่อยคับ

  • @somsaktavorn1698
    @somsaktavorn1698 2 ปีที่แล้ว +1

    Thank you

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @icyair8431
    @icyair8431 2 ปีที่แล้ว +1

    เยี่ยมไปเลยแอด

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ

  • @SuperUserSuper
    @SuperUserSuper 2 ปีที่แล้ว +1

    ไม่ใส่อา จะไวไหม?

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ดูดเต็มดูดเต็ม ครับ

  • @PampostReturning
    @PampostReturning 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากครับ.

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณมากครับ

  • @user-qw3gw7lt8i
    @user-qw3gw7lt8i 2 ปีที่แล้ว +3

    พี่สอนทำวงจรความถี่อัลตร้าโซนิคพ้นไอน้ำแบบง่ายๆต่อตรงหน่อยครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว +1

      อันนั้น ยังไม่ได้ศึกษาเลยครับ

  • @parodneravorapoj5863
    @parodneravorapoj5863 2 ปีที่แล้ว +1

    สุดยอดครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      เยี่ยมยอด ขอบคุณครับ

  • @lemonhtf5791
    @lemonhtf5791 ปีที่แล้ว

    อยากให้ทดลองการทำไฟฟ้าสถิตมาเป็นแหล่งชาร์จเข้าประจุCครับ

  • @stmood9881
    @stmood9881 2 ปีที่แล้ว

    พี่สอนทำให้หัวแร้งร้อนกว่าเดิมได้ไหมครับ
    แบบเพิ่ม w เพิ่ม องศา
    #หัวแร้ง LX-1402

  • @sirichaieepet6668
    @sirichaieepet6668 2 ปีที่แล้ว +1

    1000uf=0.001fถูกปะ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ครับผม

  • @ru2n808
    @ru2n808 2 ปีที่แล้ว +1

    โครตดึกเลยพี่

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ผมทำเสร็จตอนไหนลงตอนนั้นเลยครับ

  • @Thanawat_kub
    @Thanawat_kub 2 ปีที่แล้ว +1

    เม้นเเรก

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ