"อายตนะ-นิพพาน" 21/9/62 บ่าย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ก.ย. 2019
  • บรรยาย ณ มูลนิธิมิตรภาพไทยริชโช 21/9/2562 / 243385082444528
    อ่านและดาวน์โหลดเอกสารประกอบคำบรรยาย "ปาฏลิคามิยวรรค" memoir.kilophyll.com/2020/08/...
    เนื้อหาโดยย่อ:
    พระสูตรที่กล่าวถึงนิพพานโดยตรง ได้แก่ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวด "อุทาน" หัวข้อ "ปาฏลิคามิยวรรค" สูตรที่ 1 "ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร" โดยใช้คำว่า "อายตนะ"
    อายตนะ คือ แดนเชื่อมต่อ เพื่อรับรู้อาการเชื่อมต่อ(วิญญาณ)
    อายตนะภายใน มีหน้าที่เชื่อมต่อกับ อายตนะภายนอก หากไม่มีการเชื่อมต่อก็ไม่มีความหมายใด ๆ
    oneness = ความเป็นหนึ่งเดียว
    พุทธะ เป็นผู้รู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริง
    harmony = ความกลมกลืน
    ใจ เป็น oneness ของสิ่งมีชีวิต
    จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
    นิพพาน เป็นการอยู่ได้ในทุกสภาวะ
    ทวิภาวะ (duality) หากเชื่อมต่อเป็น ก็เป็นสิ่งเดียวกัน (oneness)
    กฎแห่งธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียว
    พุทธศาสนาสอนให้เข้าถึง pure nature
    บางครั้ง reasoning อาจสอดคล้องกับ pure nature
    วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้แท้ ๆ ตามธรรมชาติ เปรียบเสมือนกระแสโลหิตที่ไหลทั่วร่างกาย
    living will = หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 คนไข้ต้องทำด้วยตนเอง
    Do Not Resuscitate (DNR) หรือ No Resuscitation (NR) คือ คำสั่งปฏิเสธการกู้ชีพ (ส่วนใหญ่หมายถึงการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ)
    พระพุทธองค์สอนให้การดำรงชีวิตต้องเกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
    เมื่อใกล้ความตาย มนุษย์จะผ่าน 2 แดน คือ มรณาสันนกาล และ มรณาสันนวิถี
    ในแดนมรณาสันนกาล อวัยวะทั้งหลายจะทำงานอ่อนแรงมาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะมีอิทธิพลต่อร่างกายเพียงอย่างละ 1/6 หรือ 16.67%
    หลังจากนั้น เมื่อหมดหลมหายใจ จะเข้าสู่แดนมรณาสันนวิถี ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย หยุดทำงาน เหลือแต่ จิตอย่างเดียว ทำงานเต็ม 100% ในแดนนี้จะเกิด 3 ขั้นตอน
    1.กรรมอารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตไปสัมผัส เพราะธรรมชาติของจิตจะไขว่คว้า) ดังนั้น กรรมอารมณ์ จิตจะไปไขว่คว้าเรื่องเก่า นั่นคือ "กรรม"ในสัญญา แต่จะเป็นกรรมไหนขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย (causes and conditions) แม้จะทำบุญมามาก แต่หากเคยทำบาปด้วย บาปนั้นก็อาจเป็นกรรมที่จิตนั้นไปไขว่คว้าก่อน (possibility--ความเป็นไปได้ ไม่ใช่ certainty--ความแน่นอน)
    2.กรรมนิมิตอารมณ์ (นิมิต คือ เครื่องหมาย) จะเป็นการ"ฉายหนัง"เก่ากรรมนั้น ๆ ให้จิตเห็น
    3.คตินิมิตอารมณ์ (คติ คือ ที่ไป นิมิต คือ เครื่องหมาย) นั่นคือ จิตจะจุติ(เคลื่อนย้าย) ไปเกิด(ปฏิสนธิ)ในที่ใหม่ในคตินิมิตนั้น
    อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำบ่อย ๆ เป็นนิสัย จะทำให้เกิดกรรมอารมณ์สูง
    หากเข้าถึงนิพพาน จะไม่มีแดนมรณาสันนวิถี นั่นคือ ไม่มีเหตุปัจจัยไปเกิดอีก เพราะจิตไม่ได้เก็บสัญญา(กรรม)ที่จะไปเกิด ไม่มีเวทนาใหม่ ฯลฯ

ความคิดเห็น • 29

  • @user-ez2ms2dx2q
    @user-ez2ms2dx2q 11 หลายเดือนก่อน +3

    กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ แจ่มแจ้งแล้วครับความชรามีอยู่ในความหนุ่ม ความเจ็บใข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายย่อมมีอยู่ในชีวิต ชออนุโมทนากับทุกๆท่านที่มีโอกาสได้ฟังท่านอาจารย์บรรยายครับ.

  • @user-jh4vo2ld7d
    @user-jh4vo2ld7d หลายเดือนก่อน

    กราบสาธุค่ะ

  • @niponchanapa330
    @niponchanapa330 6 หลายเดือนก่อน +2

    อนุโมทนาสาธุครับอาจารย์

  • @paulcartographer
    @paulcartographer ปีที่แล้ว

    อนุโมทนาบุญสาธุ ขอบพระคุณครับ

  • @user-mt4xm5wk1d
    @user-mt4xm5wk1d 3 ปีที่แล้ว +4

    กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ เข้าใจมากค่ะคิดตามจากเฟสและยูทูปค่ะท่านอาจารย์

  • @user-im7ob4ir5n
    @user-im7ob4ir5n 11 หลายเดือนก่อน

    สาธุ​ค่ะ, อาจารย์​

  • @direksrisombat3951
    @direksrisombat3951 8 หลายเดือนก่อน

    สาธุครับ😊

  • @user-fi3qp4vx8w
    @user-fi3qp4vx8w 2 ปีที่แล้ว

    กราบ สาธุ สาธุ สาธุ

  • @SoyphetPhonemy
    @SoyphetPhonemy 4 หลายเดือนก่อน +1

    😅

  • @hardeepkhaniyomdee4090
    @hardeepkhaniyomdee4090 2 ปีที่แล้ว

    Great explanation. Wish to see you in person.

  • @bentoonmoota9799
    @bentoonmoota9799 3 ปีที่แล้ว +2

    คำว่าเวียนว่ายตายเกิดเป็นคำที่มักกล่าวกันมากทุกครูอาจารย์...กับคำที่ว่า.เกิด ดับ.มักมีผู้นำมากล่าวน้อยมาก.ทั้งๆที่วิญญาณมีการเกิด ดับ ตลอดเวลา.คำว่าเวียนว่ายดูจะเป็นคำที่ไม่ตรงกับคำที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ.

  • @sombatboondee2584
    @sombatboondee2584 2 ปีที่แล้ว

    สาธุๆ.อนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ

  • @paulcartographer
    @paulcartographer 3 ปีที่แล้ว

    อนุโมทนาบุญกับธรรมทานด้วยครับ

  • @jakran2323
    @jakran2323 3 ปีที่แล้ว +3

    อายาตะนะ คือ การเชื่อมต่อ
    การเชื่อมต่อจิตทั้งนั้น
    คุณอธิบายให้สับสน

    • @9BHUEwadol
      @9BHUEwadol 2 ปีที่แล้ว +2

      🤔กาลามสูตร, มีคำพูดที่ว่า "รู้จริง พูดฟังรู้เรื่อง"
      😃พุทธศาสตร์ คือ "ผู้รู้จริง พูดให้รู้ตามที่ตนรู้"
      😴ไสยศาสตร์ คือ "ผู้ไม่รู้จริง พูดให้รู้ตามที่ตนไม่รู้"
      🎯กระดุม🎯
      เม็ดแรก คือ ไตรลักษณ์
      เม็ดสุดท้าย คือ นิพพาน

  • @amornsatesilarak6240
    @amornsatesilarak6240 3 ปีที่แล้ว +6

    เพิ่งได้รับฟังวันนี้สุดยอดจริงๆครับ

    • @user-um3kv1rb9m
      @user-um3kv1rb9m  3 ปีที่แล้ว +3

      รบกวนแจ้งให้ทราบด้วยว่า รู้จักช่องนี้จากที่ไหนครับ
      ขอบคุณครับ

    • @natthachai263
      @natthachai263 2 ปีที่แล้ว

      เรียน​สอบถาม​ท่าน​อาจารย์​ทวี​ศักดิ์​ครับ​ ผมได้ดูในTH-cam​ตอนแรก​เรื่อง​จิตพุทธ​ะ​ หมายถึง​อะไร​ ตอนแรก​ ผู้​รู้​ แต่​หา ตอน ผู้ตื่น​ ผู้​เบิกบาน​ ไม่​เจอ​ครับ​อาจารย์​ฟัง​ได้​แค่​ตอนเดียว

    • @natthachai263
      @natthachai263 2 ปีที่แล้ว

      @@user-um3kv1rb9m อาจารย์​ช่วย​ส่งตอนต่อไป เรื่อง ผู้ตื่น​ ให้​ด้วย​ครับ​ขอบคุณ​ครับ​ผม​

  • @user-lf7re1mt5f
    @user-lf7re1mt5f 3 ปีที่แล้ว

    ในยาสมุนไพร.กินได้ครับในที่นี่

  • @user-mo3jw9tu4s
    @user-mo3jw9tu4s 6 หลายเดือนก่อน

    การปรุงแต่งแห่งอารมณ์เคยเห็นตอนนั้งสมาธิ คลายกับการทำอาหารมันจะมีรสชาติความรู้สึกดีหรือไม่ดีอยู่ที่อารมณ์ปรุงแต่ง ชอบหรือไม่ชอบ

  • @user-yt4gq5sq5t
    @user-yt4gq5sq5t 3 ปีที่แล้ว +1

    แล้วนรกกะสวรรค์ล่ะฮะ บาปกะบุญเชื่อมวันเนส

  • @sompornchatrapiwat9363
    @sompornchatrapiwat9363 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าจะไปเรียนมีสอน
    วันไหนบ้างคะ

  • @vibolban3000
    @vibolban3000 2 ปีที่แล้ว

    ท่านอาจารย์ปฎิบติวิปัสสนาด้วยไหมครับ

  • @user-qc2or7nl6u
    @user-qc2or7nl6u ปีที่แล้ว

    อนุโมทนาสาธุครับอาจารย์