4 รูปแบบเส้นนำสายตาที่พบได้บ่อย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 19 ส.ค. 2023
  • ศึกษา 4 รูปแบบสำคัญการสร้างความน่าสนใจด้วยเส้นสาย ซึ่งจะช่วยสื่อสารให้ผู้รับชมภาพเข้าใจสิ่งที่นำเสนอมากยิ่งขึ้น
    ในคลิปวิดีโอนี้เป็นการขยายความจากจุดสนใจประเภท 'เส้นนำสายตา' ซึ่งมีเนื้อหาที่ค่อนข้างหลากหลาย จึงสรุปตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยโดยที่เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ฝึกฝนในการสร้างจุดสนใจให้กับภาพด้วยวิธีการต่างๆ มี 4 รูปแบบแนะนำ ได้แก่ เส้นแกนนอน, เส้นแกนตั้ง, เส้นทะแยงมุม และ เส้นที่มาบรรจบกัน อธิบายได้ดังนี้
    1. เส้นแกนนอน (Horizontal Lines)
    เส้นแกนนอนพบได้บ่อยในภาพถ่ายประเภทพื้นที่ๆแสดงถึงความกว้างไกลของฉาก รวมไปถึงจุดสิ้นสุดของขอบเขตใดๆที่มีในภาพ เช่น ภาพถ่ายภูมิทัศน์ซึ่งมักจะมีเส้นขอบฟ้าเป็นแกนสำคัญที่ใช้กำกับระนาบของภาพ ช่างภาพที่เริ่มบันทึกภาพและเป็นมือใหม่ในการหัดวางองค์ประกอบจะต้องเริ่มจากจุดการรักษาระดับตรงนี้เป็นเรื่องแรกๆ
    2. เส้นแกนตั้ง (Vertical Lines)
    เส้นแกนตั้งในภาพถ่ายส่วนมากเป็นการคงอยู่ของวัตถุกับพื้นเป็นหลัก การมองเห็นของผู้รับชมมักจะอยู่ในรูปแบบบนลงล่างซึ่งเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ถูกฝึกมาในการอ่านสิ่งต่างๆ เช่น ต้นไม้, อาคารสิ่งก่อสร้างที่พุ่งสูงขึ้นไป รวมไปถึงภาพถ่ายบุคคลที่มักจะเน้นตัวบุคคลเป็นวัตถุแนวตั้งกับเฟรมภาพ
    3. เส้นทะแยงมุม (Diagonal Lines)
    เส้นทะแยงมุมเป็นตัวแทนการเล่าเรื่องที่มีความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งและความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะจัดวางในรูปแบบ 2 มิติหรือ 3 มิติเสมือน การวางเส้นนำสายตาในลักษณะเส้นทะแยงมุมมักจะมีสิ่งที่คล้ายกันอยู่ในหลายๆภาพ เช่น ระยะของวัตถุกับฉากหลัง ดังนั้นในเรื่องการควบคุมกล้องก็จะเกี่ยวโยงไปเรื่องของช่วงระยะชัดที่มาจากรูรับแสงด้วยเช่นกัน
    4. เส้นที่มาบรรจบกัน (Converging Lines)
    เส้นที่มาบรรจบกันแสดงสองความหมาย ได้แก่ การรวมศูนย์และการกระจายตัว วิธีการสร้างจุดสนใจในรูปแบบเส้นบรรจบของการเป็นเส้นนำสายตาผู้บันทึกภาพอาจจะต้องสร้างเส้นแกนในจินตนาการขึ้นมาก่อนแล้วมองว่าทิศทางสมมติจากการหันของวัตถุพอจะสร้างสิ่งนั้นได้หรือไม่ หรือถ้าหากมีเส้นที่สังเกตได้ชัดอยู่แล้วจะนำพาไปยังจุดสนใจได้อย่างไร

ความคิดเห็น •