Hashtag:

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ก.ค. 2022
  • ช่องเรามีเพจแล้วนะ เย้!! อย่าลืมไปตาม (เผื่อวันไหนชาแนลปลิวจะได้หากันเจอ T T)
    / nailnamehashtag
    ติดต่องาน Nailnamehashtag@gmail.com
    Ig : Namecool

ความคิดเห็น • 763

  • @somyee1466
    @somyee1466 ปีที่แล้ว +986

    บางทีต้องยอมรับความจริงให้ได้นะคะ ว่าเรียนที่ไหนก็ไม่เหมือนกันค่ะ

    • @conqueror3607
      @conqueror3607 ปีที่แล้ว +98

      จริงครับ ผมจบรภ.เกรด3.00+ แต่ยอมรับว่าเด็กจุฬามีคุณภาพจริง จะว่าผมโงีก็ได้แต่คุณภาพเด็กจุฬา100คนมีคุณภาพเกิน80คนแล้ว แต่ถ้าเทียบกับรภ.100คน 50คนที่ได้ดีจะถึงมั้ยไม่รู้ ผมไม่ได้บอกว่ารภ.ไม่เก่งไม่ดีผมก็จบที่นั่นมาแต่ที่พูดคือรภ.มันเข้าง่ายกว่าคุณภาพมันเลยสู้จุฬาไม่ได้

    • @surakjaiaongart3794
      @surakjaiaongart3794 ปีที่แล้ว +57

      แค่เงินสมทบมันก็ต่างกันมากแล้วหลักหมื่อนล้านกับหลักร้อยล้านมันเหลื่อมล้ำเลื่อมล้ำมากๆ

    • @pimsakumsub
      @pimsakumsub ปีที่แล้ว +5

      เห็นด้วยค่ะ

    • @timothycurtis5694
      @timothycurtis5694 ปีที่แล้ว +39

      จบ ม.6โรงเรียนเดียวกัน ผมได้คะแนนภาษาอังกฤษที่โรงเรียน 95+/100 ทุกเทอม อยู่ในฬ ได้ไม่เคยเกิน B- ในคณะ (ม.6 ผมสอบ toeic ได้ 860)
      เพื่อนที่ได้คะแนนอังกฤษที่โรงเรียน ~70/100 เรียนวิศวะพระจอมคณะหลักวิทยาเขตหลัก ได้Aทุกเทอม
      อันนี้เรื่องจริง

    • @momotaropeachy4137
      @momotaropeachy4137 ปีที่แล้ว +66

      คนที่บอกว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ไม่ต่างจากพวกไม่ยอมรับความจริงว่า โรงเรียนวัดตามตะเข็บชายแดน คุณภาพดีไม่เท่าโรงเรียนนานาชาติค่าเทอมหลักครึ่งล้าน

  • @thanadeehong921
    @thanadeehong921 ปีที่แล้ว +231

    ผมจะเล่าชีวิตผมให้ฟังสั้นๆ
    มัธยม ผลการเรียนไม่ได้ดี (2ต้นๆ) เอ็นติดจุฬาเพราะตะบี้ตะบันเรียนพิเศษและทำข้อสอบย้อนหลัง
    เข้าจุฬา เพื่อนๆแต่ละคน ไม่ใช่แค่เรียนเก่ง แต่พวกมันคือพวกที่หนึ่งในรุ่นนั้นๆของแต่ละโรงเรียน กับ เตรียมอุดม สาธิต ที่เขาคัดมาตั้งแต่มัธยมแล้ว ผลคือเรียนห่วยเกือบสุดในรุ่น แค่พอผ่าน ไม่โดนรีไทร์...
    เรียน ป.โท ที่อังกฤษ เป็นมหาลัยไม่ดังมาก เพราะเกรด ป.ตรีไม่ดี เข้าไปเจอ ทั้งนักเรียนต่างชาติและนักเรียนไทยหลายสถาบัน หลายคนเป็นเกียรตินิยมของสถาบันนั้นๆ แต่ปรากฎว่าเรากลายเป็นอยู่ในกลุ่มคนเก่งสุดในรุ่น เป็นที่พึ่งพาของเพื่อนๆทั้งการสอบและการทำรายงาน
    ดีกรี ตรี จุฬา โท อังกฤษ แน่นอนการหางานในที่ดีๆไม่ได้เป็นเรื่องยาก และการเข้าไปในที่ดีๆก็ทำให้เจอแต่เพื่อนร่วมงานที่มีความสามารถทั้งสิ้น...
    ชีวิตที่เจอหลากหลาย ก็พอจะสรุปได้ประมาณนี้
    1. คุณภาพคนไม่ได้อยู่ที่ผลการเรียน แต่ผลการเรียนมันจะทำให้คุณอยู่ในที่ที่มีแต่คนมีคุณภาพ
    2. เรียนดี ไม่จำเป็นต้องมีเงิน แต่การมีเงินสร้างโอกาสในการหาความรู้ให้คุณได้มากกว่า
    3. ความสามารถคุณจะเพิ่มพูนตลอดระยะเวลาตามสภาพแวดล้อมของคุณ ไม่ใช่จากมันสมองโดยกำเนิด
    4. การที่คุณเรียนในกลุ่มนักเรียนเทพๆ ถึงคุณจะด้อยกว่าพวกเขาทั้งหมด เป็นสภาพแวดล้อมที่โหดหิน แต่ถ้าคุณคงระดับในกลุ่มเทพได้ คุณก็คือตัวท๊อปของโลกนี้อยู่ดี
    5. การทำงานต่างจากการเรียนโดยสิ้นเชิง งานดีๆดูเกรดดูมหาลัยทั้งนั้น... แต่ถ้าคุณเข้าไปได้ คือเริ่มใหม่ทุกคน โอกาสแสดงศักยภาพไม่ได้วัดกันที่มหาลัยอีกต่อไป
    อ่านถึงตรงนี้คงเข้าใจ จุฬา ราชภัฏ ไม่น่าต้องเป็นดราม่า โลกเรามันเป็นแบบนี้...

    • @redmi9281
      @redmi9281 ปีที่แล้ว +6

      เยี่ยมครับ นี่มาจากประสบการณ์จริง

    • @aranyic
      @aranyic ปีที่แล้ว +4

      เรียลจัด

    • @alicevalencia2962
      @alicevalencia2962 ปีที่แล้ว

      อันนี้ชอบ เพราะเป็นข้อเท็จจริง จริงๆ สังเกตุนะ ไอ้คนก่อดราม่า ออกมางอแงส่วนใหญ่ก็จะกลุ่มเดิมๆ ไอ้คนที่เรียนเก่ง เรียน ม. ท็อปๆ ของประเทศอ่ะ แค่เรียนและไปตบตีกับ อ. ก็จะบ้าตายอยู่ละค่ะ ไม่มีเวลามานั่งงอแง ด้อยค่าใครหรอก

    • @kruanon
      @kruanon ปีที่แล้ว +1

      มันใช่เลย

    • @SGMSGM
      @SGMSGM ปีที่แล้ว +1

      เป๊ะ

  • @gavethey1431
    @gavethey1431 ปีที่แล้ว +243

    เราเรียนราชภัฏ และมีเพื่อนสนิทเรียนจุฬา คือเพื่อนไม่เคยเหยียดเลยอ่ะ มีแต่ราชภัฏเหยียดกันเอง #มโนเก่ง

    • @hikineet789
      @hikineet789 ปีที่แล้ว +34

      ใช่เลยครับผมไม่เคยโดนคนที่เรียนมหาลัยดังอย่าง ฬ หรือ ธ ดูถูก เขาไม่มีความจำเป็นต้องสนใจเราด้วยซ้ำอ่ะ เคยแต่โดนมหาลัยเกรด 2 เกรด 3 นี่แหละที่ดูถูก 🥲

    • @charoenpunch781
      @charoenpunch781 ปีที่แล้ว +6

      คุณรู้ได้ไงว่าลับหลับเค้าไม่เหยียดคุณ

    • @sophealoem.8864
      @sophealoem.8864 ปีที่แล้ว +33

      @@charoenpunch781 เลิกอคติ คิดไปเอง

    • @auditionko
      @auditionko ปีที่แล้ว +27

      @@charoenpunch781 เคยได้ยินไหม no one can make you feel inferior without your consent ที่คิดว่าคนอื่นดูถูกก็ เพราะเด็กราชภัฏเองนี่แหละที่คิดว่าตัวเองด้อยกว่าแต่แรก พอเจอคำพูด เจออะไรมันถึงได้เปราะบางเหลือเกิน

    • @stevea5209
      @stevea5209 ปีที่แล้ว +17

      @@charoenpunch781 ต่อให้เป็นอย่างนั้น อย่างน้อยเค้าก็มีมารยาท ที่ไม่เหยียดต่อหน้า ถามใจตัวเองดีกว่า ว่าคุณเป็น A pessimistic person หรือเปล่า

  • @pimsakumsub
    @pimsakumsub ปีที่แล้ว +623

    "เพชรอยู่ที่ไหนก็คือเพชร แต่ในความเป็นจริงถ้าคนจะหาเพชร เค้าก็คงไม่ไปหาในกองก้อนกรวด เค้าจะไปหาในร้านจิลเวลรี่"
    ปิดท้ายได้ชัดเจน ชอบมากค่ะ 👍👍👍👍

    • @pimsakumsub
      @pimsakumsub ปีที่แล้ว +38

      @@eakphotosniper4654 เค้าก็บอกอยู่นะว่าในความเป็นจริงแล้วเรียนที่ไหนก็เหมือนกันมันไม่จริง ที่คุณร่ายมามันคืออุดมคติ อุดมคติกับความเป็นจริงมันต่างกันค่ะ

    • @yamato00001
      @yamato00001 ปีที่แล้ว +28

      จริงๆแล้วเพชร ก็มาจาก ดิน นี่ระ ชาวเหมืองเป็น คนขุดขึ้นมา บางก้อนสวย บางก้อนไม่สวย ก้ ขุดเจอ ก็ดูว่าเป็นเพชร ทั้งที่ ยังไม่เจรไน หลายคน เจอเพชรแล้ว ไม่มีคำว่าทิ้ง ถึงแม้ว่ามาดิน การที่ได้เพชร มาตั้งแต่ต้นทาง
      หมายถึง เราเจอของดี ที่ เรา หามาเอง หรือซื้อ มาราคาถูก จากนั้น ก๋เอา มาจ้างช่าง เจรไน ความสวยงาม ก้แล้ว แต่เนื้อ ที่ปรากฎ โชคดี ก็ได้ เนื้องาน โชคร้าน ก็คือ เจรไน จนแตก หรือได้เม็ดเล็ก น้ำไม่งาม
      ส่วนใคร ที่ไปหาตามร้านเพชร คือพวกมีเงินพร้อมจ่ายแล้ว จะมีให้เลือกมามาย บอกเลย ราคาแพง มาก
      สรุป
      อยากได้ เพชรแท้ราคาแพง ไป หาตามร้าน
      ใครอยากได้ เพชร ดี ราคาถูก ต้องไปหา ในเหมือง หรือแหล่ง

    • @drtyhiop
      @drtyhiop ปีที่แล้ว +36

      @@yamato00001 แถมต้องมาเสียเวลาเจียรไนอีก บ.คงไม่มีเวลาขนาดนั้น เพราะเค้าเปิดบ.มาทำกำไร ไม่ใช่องค์กรการกุศลที่จะมาสอนความรู้ที่เด็กควรมีอยู่แล้วจากสถาบันการศึกษา

    • @ThanXyou
      @ThanXyou ปีที่แล้ว +26

      ผมก็ว่าคนพูดหรือคิดแบบนี้
      ก็เป็นคนเหยียดนะ
      คำเปรียบเทียบมีเยอะแยะ
      กลับเลือกใช้ก้อนกรวด
      กับร้านขายเพชร

    • @mient.official5811
      @mient.official5811 ปีที่แล้ว +3

      ชัดเจน

  • @icko3521
    @icko3521 ปีที่แล้ว +74

    ผมเองนับข้อแตกต่างที่พบเจอนะครับ มันต่างกันมากๆ
    - คุณภาพการศึกษา การเรียน การสอนต่างกันมากๆ ม.รัฐระดับต้นๆบางแห่ง อาจารย์ต้องจบนอกเท่านั้น ตำแหน่งขั้นต่ำ ผช.ศาสตร์จารย์
    - อุปกรณ์ในการเรียนที่มีความพร้อมไม่เท่ากัน
    - สังคม ม.รัฐต้นๆส่วนใหญ่จะพยายามเรียนไม่ใช่แค่ผ่าน แต่เรียนเพื่อจะไปต่อ ต่างประเทศ เพื่อเอาทุน มันจะพาเก่งตามกันไปหมด แต่เพื่อนผมที่ราชภัฏก็มีคนนีงที่มันตั้งใจเรียนมากๆก็มี มันบอกไม่ได้แค่เอาผ่าน จะเอาไว้ใช้งาน mindset ดีมาก
    - connection ผมเองเพื่อนพ่อเป็นนักการเมืองบ้าง เจ้าของธุรกิจบ้าง ทำให้ต่องานกันง่ายขึ้น มีโอกาสในการทำงานสูงขึ้น เคยได้งานแค่บอกว่ารู้จักคนนี้
    - การทำงาน สำหรับผมไม่ใช่แค่งานแรกๆ บางงานได้เพราะคนข้างในเป็นรุ่นพี่ ล่าสุดได้งานเพราะเขาเชื่อมันว่าเด็กสถาบันนี่ไม่ทำเสียอยู่แล้ว
    - มหา'ลัยราชภัฏต้องยอมรับได้แล้วว่าการสอนมันอ่อนจริงๆ ผมเองเคยสอน Math เพื่อนที่เรียนราชภัฏข้อสอบมันง่ายมากๆ ง่ายกว่าข้อสอบ ม.6 อีก ควรปรับปรุงมากๆ โดยเพราะคณะครุ ที่จะไปสอนเด็กในอนาคต ผมเคยเจอครูฝึกสอนจากราชภัฏ สอนคณิตศาสตร์ผิดด้วย โชคดีที่ตอนนั้นพวกผมเรียนพิเศษล่วงหน้ามาแล้วเลยรู้ว่าผิด แต่ถ้าวันนั้นไม่แย้งว่าผิด เด็กทั้งห้องอาจจะจำผิดๆไปเลยก็ได้

  • @nekoneyo7079
    @nekoneyo7079 ปีที่แล้ว +56

    จบราชภัฏค่ะ...แต่อยากบอกเพื่อนร่วมมอว่าเลิกไปหาเรื่องมออื่นเถอะ เราสู้เขาไม่ได้ ยอมรับเถอะนะ เห็นชอบแชร์กันจังไอ้กลอนเราไม่มีพระเกี้ยวธรรมจักร มีแต่พระลัญจกร ในใจก็คิดนะเอ้ยแกไปว่ามอเขาทำไม๊ยยยยยยย อย่าพาลเลยแง

    • @rtnsomphong712
      @rtnsomphong712 ปีที่แล้ว +3

      นึกว่าไม่มีคนแบบนี้ซะอีก555555

    • @fundeekongsuk7815
      @fundeekongsuk7815 ปีที่แล้ว +1

      ต้นเรื่องมาจาก คำปราศรัย ธนาธร จ้า

    • @nekoneyo7079
      @nekoneyo7079 ปีที่แล้ว +2

      ปล.ส่วนตัวแล้วเรามีความทรงจำดีๆกับการเรียนมรภ.นะคะ มีเพื่อนที่ดี และอาจารย์หลายท่านที่เราเคารพมากๆ
      แต่เรื่องการเรียนการสอน เราไม่คิดว่าสู้มอใหญ่ๆดังๆได้ค่ะ

  • @jirayut7410
    @jirayut7410 ปีที่แล้ว +242

    สาเหตุหลักๆที่ทำให้ไม่เหมือนกัน ก็คือ คุณภาพของ อาจารย์ ผู้สอน ที่แตกต่างกันพอสมควร อ.ในบางสถาบัน อ.ส่วนใหญ่มีแค่วุฒิโท ต่ำแหน่งวิชาการก็ไม่ค่อยมี และประสพการณ์ก็มีไม่มาก หลายคนสอนแต่ตามตำรา ออกข้อสอบก็เน้นแต่ท่องจำ เน้นทฤษฎี ปัจจุบันต้องเน้นสอนแบบฝึกปฎิบัติ ใช้ case จริง ในการศึกษา และ เรียนรู้ กับผู้มีประสพการณืจริงในสาย นั้นๆ เลยทำให้ผลผลิตที่ได้แตกต่างกันครับ

    • @user-ww4cb6yf5m
      @user-ww4cb6yf5m ปีที่แล้ว +11

      น่าจะส่วนนึงครับ แต่คิดว่ายังมีอีกเยอะ นอกจากเรื่องของคนสอนและวิธีการสอนก็น่าจะมี
      1. เรื่องความสะดวกสบาย อุปกรณ์ต่างๆ ม ใน กทม หรือที่ดังๆคิดว่ายอดทั้งบริจาคจากทางศิษย์เก่าหรือบุคคลทั่วๆไปสูงกว่า แถมงบจาก รบ. มีโอกาสที่จะได้ก่อนด้วยครับ
      2. เรื่องของ connection คือ เนื่องจากความที่จุฬาเป็น ม.ดัง และมีศิษย์เก่ามากมายที่จบไปแล้วเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งสูงๆเยอะมากมาย เรื่องนี้จึงเป็นหนุ่งในจุดแข็งมากๆ
      3. เรื่องสภาพแวดล้อม เนื่องจากทั้ง 2 ม. มีพื้นที่ใน กทม เหมือนๆกัน ความสะดวกสบายและความพร้อมอะไรต่างๆจึงมีเยอะ แถมบรรยากาศแบบเมืองด้วยบางทีส่วนนี้อาจจะช่วยเรื่องของการเรียนก็ได้ เหมือนเคยอ่านผ่านๆว่า urban life ที่มีพร้อมมันช่วยเรื่องการเรียนได้ครับ แต่หากเป็นต่างจังหวัดในส่วนๆนี้ของราชภัฎประจำจังหวัดจะไม่ได้พร้อมอะไรมากถึงขนาดนั้น

    • @yamato00001
      @yamato00001 ปีที่แล้ว +1

      อยู่ที่ ว่า จังหวัด นั่น มี รร. ติว เยอะแค่ไหน น้อยคน ที่ จะ เก่ง มาแต่เกิด
      ยกตัวอย่าง เพื่อนผม เรียน ได้ เกรด 4 .00 ผมถามเขาว่า ได้เรียนพิเศษ กับเขารึเปล่า เขาตอบว่าไม่
      อ้าว แล้ว เก่งได้ ไง เขาก็บอกว่า ตอนเรียน ในห้อง ก็ อ่านไปก่อน อาจารย์สอนก้ตั้งใจ กลับ ก้มาทบทวน หน่อย
      แค่นี้ระ ได้เกรด 4 แล้ว
      ส่วน รร. สอนพิเศษสอนติว อันนี้ ผมมองว่ามีประโยชน์ นะ เพราะคือ ทางลัด สูตร วิถีคิดต่างๆ มีประโยชน์ ในห้องเรียน อาจจะไม่ทำให้ฉลาดมาก แต่ก็ พอเอาตัวรอดได้ เจอข้อสอบ ยาก ก็ พลิกแพลงได้ ยัง ดีกว่า ไม่ ทำไม่เรียน อะไรเพิ่มเลย

    • @user-jk8lw8qw8g
      @user-jk8lw8qw8g ปีที่แล้ว +1

      @@user-ww4cb6yf5m
      ฝฝฝฝ

    • @user-mo3tf9et2o
      @user-mo3tf9et2o ปีที่แล้ว

      @@yamato00001 ขอแย้งนะครับ ผมคิดว่า จังหวัดมี รร.ติว เยอะไม่เกี่ยวขนาดนั้นนะครับ ยุคนี้มันมี Platform online ให้เลือกเรียนแล้วไม่ว่าจะ รร.ติวดังๆ หรือ รุ่นพี่ของมหาลัยต่างๆมาเปิดติวก็มี มีทั้งแบบ real time หรือ อัดคลิป แตกต่างกันอย่างปีที่แล้วผมติวสำหรับสอบเข้าซึ่งเป็นข้อสอบวิชาเฉพาะผมซึ่งไม่มี รร ไหนสอนในจังหวัด ก็ยังมีทั้งติวเตอร์ที่เป็นเด็กของมหาลัยนั้นคณะนั้น รร.ติวชื่อดัง ให้เลือกเรียนทางออนไลน์
      ฉะนั้นยุคนี้แล้ว คงขึ้นอยู่กับแค่ทุนแล้วแหละครับ ถ้ามีเงินการจะไขว่คว้าความรู้มันก็ไม่ได้ยากครับ

    • @noctis0303
      @noctis0303 ปีที่แล้ว +1

      @@yamato00001 ผมเรียน รร ต่างจังหวัด เรียนพิเศษกับพี่ที่จบ วิศวะ และผมบอกเลยว่าการที่ผมติด ม.เกษตร การเรียนพิเศษมมีส่วนอย่างมาก
      เพราะครูที่ รร สมัย ม.6 คณิต กับ ฟิสิกส์ ไม่สามารถอธิบายโจทย์ขั้นสูงที่ออก ใน PAT1 PAT3 ได้เลย สอนได้แค่พื้นฐานที่โ๗ทย์ไม่ซํบซ้อนในหนังสือเรียน ต่อให้คุณจะอ่านกี่รอบมันก็เท่านั้นอะครับ โจทย์ที่ใช้แยกเด็กเก่งกับเด็กปานกลาง มันยากกว่าในหนังสือเรียน การจะพลิดแพลงข้อยากๆนั้น คนที่จุดประกลาย หรือทำให้ดูเป็นแนวทางนั้นโคตรสำคัญ ถ้าจะให้คิดเองจากการอ่านแค่ในหนังสือเรียน แตก แน่นอน อย่างน้อยต้องมีหนังสือพวกแนวๆ เฉลยข้อสอบเก่า หนังติว อยู่ดี
      เพิ่มเติม ผมได้ PAT1 PAT3 มากกว่าเด็กที่จบ ม.6 ด้วย GPA 4.00 แต่ไม่ได้เรียนพิเศษ

  • @ttt3901
    @ttt3901 ปีที่แล้ว +207

    ถ้าได้เรียนจริงๆจะรู้ว่า "เรียนไหนก็เหมือนกัน" ไม่มีอยู่จริง!! เราเองก็เป็นเด็กราชภัฏ ที่เราเรียนเพราะมันเข้าง่ายมาก สมัครเล่นๆแต่ติดรอบแรก +กับตอนนั้นประสปการณ์น้อย +กับพวกผู้ใหญ่ชอบพูดว่า เรียนไหนก็เหมือนๆกัน ตอนทำงานเขาก็ดูความสามารถเราไม่ได้ดูสถาบัน... ถ้าย้อนเวลากลับไปได้เราจะเถียงขาดใจเลย เคยเจอไหม ยื่นสมัครงานพร้อมกับเด็กมออื่น แต่ใบสมัครเราถูกวางไว้ล่างสุด อีกทั้งการเรียนการสอนที่รู้สึกได้เลยว่า จบมาเราแม่งได้ความรู้มาน้อยมากอ่ะ เราไม่ได้จะเหยียดสถาบันตัวเองนะ แต่เรารู้สึกว่ามันเป็นความผิดพลาดในชีวิตเลยที่เลือกเรียนสถาบันนี้ ทั้งคำดูถูก ทั้งคอนเนคชั่น อย่าว่าแต่จบมาสมัครงานยากเลย แค่จะหาที่ฝึกงานดีๆยังไม่มีที่ไหนจะรับ

    • @eieifawaa4470
      @eieifawaa4470 ปีที่แล้ว

      แล้วตกลงมีงานทำมั้ยครับ ทำงานที่จบมามั้ย

    • @ttt3901
      @ttt3901 ปีที่แล้ว +23

      @@eieifawaa4470 ได้ทำค่ะ แต่ไม่ตรงสายที่เรียนมาเลย (ไอ้ที่เรียนๆมาไม่ได้ใช้เลย) และความโชคดีของเราคือ ญาติแฟนค่อนข้างมีคอนเนคชั่น เลยฝากเราให้เป็นพนักงานรายวันค่ะ (ถึงจะเป็นแค่พนักงานรายวันแต่ก็ดีมากๆแล้ว เพราะงานที่เราทำสังคมคือดีมาก ) ถ้าไม่ได้ญาติแฟนฝากให้ เราก็คงไม่ได้ไปเหยียบในองค์กรนั้นแน่ เพราะการคัดคนเข้าโหดสุดๆ การศึกษาต้องดี ภาษาต้องเป๊ะ HRถึงจะนัดสัมภาษณ์
      *เพิ่มเติมค่ะ เริ่มแรกเราเป็นแค่พนง.รายวัน ส่วนพนักงานประจำในที่ทำงานเรา จบนอกแทบทุกคน และคนที่จบในไทยส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กม.ธรรมศาสตร์ / จุฬา ไม่ก็มอดังๆทั้งนั้น แล้วต้องยอมรับเลยว่าแต่ละคนแม่งโคตรเก่ง จบมาความรู้ในสายงานแน่นมาก มันเลยทำให้เราได้เปิดโลกเลยค่ะว่า เออ เรียนไหนก็เหมือนกันไม่มีอยู่จริงว่ะ.
      แล้วเราก็ใช้ความสามารถตัวเอง+ไปเรียนภาษาเพิ่ม พิสูจน์ให้องค์กรเห็น จนทุกวันนี้ได้ขึ้นเป็นพนักงานประจำแล้วค่ะ :)

    • @Pakzapp
      @Pakzapp ปีที่แล้ว +7

      แม่เราเป็นคนรับเด็กเข้าทำงานยังดูสถาบันเลย ถ้าทุกอย่างพอๆกัน ก็เลือกจากมหาลัย

    • @KTSam
      @KTSam ปีที่แล้ว +11

      @@ttt3901 ดีใจที่คุณเลิกโลกสวย​ ต่อไปก็อย่าหยุดพัฒนา​ตัวเอง​ การพัฒนา​ตัวเองตลอดเวลาเป็นการสร้างมูลค่าให่ตัวเองครับ​ ให้มองโลกตรงความจริง​ แล้วเราจะรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรจะรับมือเตรียมตัวอย่างไร​ ไม่มีอะไรได้มาฟรี​ๆ​ สงสารคนสมัยนี้ถูกกล่อมประสาทว่าโลกสวยงาม​ แทนที่จะสอนให้มองตามความจริง

    • @fundeekongsuk7815
      @fundeekongsuk7815 ปีที่แล้ว

      แบบนี้ควรโทษสถาบัน หรือ ค่านิยมของคนรับเข้าทำงาน

  • @kyoza1911
    @kyoza1911 ปีที่แล้ว +53

    ไม่เท่ากัน เหมือนกับเด็กจุฬา ก็เจียมตัว ว่าสู้ Universiti Malaya, Peking, Zhejiang, ไม่ได้ และ เด็ก Universiti Malaya, Peking, Zhejiang ก็รู้ตัวว่าสู้ Harvard, Stanford, Tokyo ไม่ได้ โลกนี้มันมี hierarchy เสมอๆ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณต้องมาเดือดร้อน เถียงว่าชนชั้นตัวเองนั้นสูงกว่าที่เป็น จงยอมรับว่ามันมีระดับสูงกว่า แล้วปีนขึ้นไป เพราะเพชรเม็ดแพงที่สุดในโลก หรือแม้แต่แร่ที่แพงกว่าเพชร อย่าง Plutonium, Francium ก็ขุดมาจากเปลือกโลกที่เป็นกองกรวดนี่แหละ

    • @drtyhiop
      @drtyhiop ปีที่แล้ว +14

      ใช่ค่ะ เพราะไม่เห็นจะเคยมีเด็กจุฬาคนไหนดราม่ากับ harvard ก็เราสู้เค้าไม่ได้จริง ๆ อะ ก็ต้องยอมรับป่ะ จะให้มาตีโพยตีพายหรอว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน55555555

    • @VincentOTalis
      @VincentOTalis ปีที่แล้ว

      ชอบคำตอบครับ

    • @youngnut5978
      @youngnut5978 ปีที่แล้ว

      เหนือฟ้ายังมีฟ้า🫡

  • @nadchayathongmee9608
    @nadchayathongmee9608 ปีที่แล้ว +30

    เรียนที่ไหนก็ไม่เหมือนกันจริงๆ ต้องยอมรับ และยอมรับให้ได้จริงๆ 1ควรสอบให้ติดก่อนเขาพูดถูกแล้ว ถ้าสอบติดแล้วไม่มีโอกาสได้เรียนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง

  • @10dimensions10
    @10dimensions10 ปีที่แล้ว +14

    ชอบประโยคสุดท้าย​ ที่คงไม่มีใครไปหาเพชรในกองก้อนกรวด​ นึกถึงเราเอง​ เราจะคาดหวังอะไรจากการไปค้นกองเสื้อผ้าในกะบะเซลล์​ มันยากที่จะเจอสิ่งที่เรามองว่าดี​เพราะถ้ามันดี​ มันคงไม่ได้มาอยู่ที่กองนี้​ มันอาจจะมีก็ได้ที่ดีสำหรับเรา​แต่มันต้องหานานมาก​ พอหลังๆเดินเดินผ่านดีกว่า​รื้อไม่ไหว​

  • @mtp7smn161
    @mtp7smn161 ปีที่แล้ว +59

    ราชภัฏ เดิมคือวิทยาลัยครู เป็นการเรียนระดับ college ไม่ใช่ มหาวิทยาลัย หรือระดับ university ซึ่งปรัชญาการศึกษาหรือการผลิตนะกเรียนมันต่างกัน แต่ด้วยนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐ ดันปล่อยให้วิทยาลัยครูเป็นมหาวิทยาลัย ทั้งที่ไม่มีความพร้อมของอาจารย์ที่จะสอนในระดับ university ได้ ผลเลยกลายเป็น เด็กมีแต่วุฒิระดับปริญญา เต็มไปหมด แต่คุณภาพไม่มีมาตรฐาน บางคนก็เก่งบางคนก็ไม่ได้ อยู่ที่พื้นฐานของเด็กแต่ละคน

    • @blackbangtan-oi8re
      @blackbangtan-oi8re ปีที่แล้ว +4

      อันนี้ไม่ได้บุลจี้เลยค่ะ แต่จากที่เจอครูฝึกสอนจากมรภ. ทั้งที่เป็นอาจารย์จบจากมรภ. วุฒิในการสอนไม่เทียบเท่าครูที่จบ.จากม.ดังจริง ครูม.ดังเขาอาจสอนเข้าใจยากแต่เขามีทริคจากทุกบทที่สอนจริง สวนมรภ.เคยเจอก็อปบทเรียนบทสอนยันข้อสอบจากที่อื่นมา แย่กว่าเปิดหนังสือแล้วอ่านให้ฟังอีก

    • @mawinz7308
      @mawinz7308 ปีที่แล้ว +1

      พระจอมก็เป็นเทคนิคมาก่อน แต่ทำไมเค้าถึงเป็นมหาลัย top ของไทยได้ครับ

  • @jizzzie
    @jizzzie ปีที่แล้ว +44

    อย่าบอกว่าเหมือนกันค่ะ ตอนเรียนจบใหม่ๆ ไปสมัครงานที่โรงปูนแห่งหนึ่ง เค้าจัดให้นั่งกรอกเอกสาร ทำแบบทดสอบ และรอสัมภาษณ์ในห้องเดียวกันกับผู้สมัครคนอื่นๆ ในหลายตำแหน่ง เราผู้จบมหาวิทยาลัยรัฐมีชื่อแห่งหนึ่ง (ไม่ใช่จุฬา) เรานั่งฟัง hr พูดอวยเด็กจุฬา (ที่นั่งอยู่ในห้อง) แบบเว่อร์ๆ พร้อมกับเหยียดเด็กราชภัฎ (ที่ไม่มีอยู่ในห้อง) ว่าถ้าเด็กราชภัฎจะมาสมัครที่ บ. นี้ให้เอาวุฒิ ปวช. ปวส. มาสมัครดีกว่าอาจจะรับ ถ้าเป็นราชภัฏคือไม่รับ เราคือผู้ไม่เกี่ยวข้องฟังแล้วยังปวดใจ วันนั้นคือไม่อยากสัมภาษณ์งานต่อเลย ยังจำชื่อ hr คนนั้นแม่นจนทุกวันนี้ mindset บ้งมาก

    • @bhnbll6915
      @bhnbll6915 ปีที่แล้ว +2

      นี่ถ้าเจอ อยากถามยัยเอชอาร์ นางจบมากจากไหน 5555 สรุปไม่ได้สัมภาษณ์😂😂😂

    • @therealGreencrack
      @therealGreencrack ปีที่แล้ว +1

      เขาก็เอามาจากข้างบนอีกทีนั่นแหละครับเรื่องคัดคนของบริษัทปูนหรือน้ำมัน ส่วนเรื่องปากนั่นมันปรกติของพวกเอชอาร์อยู่แล้ว เวลาว่างพวกนี้มันเยอะ

    • @firstzazza612
      @firstzazza612 5 หลายเดือนก่อน

      ก็จริงนี่ เป็นเรารับ ปวส ยังดีกว่า

  • @phornthipphoosaensaard1493
    @phornthipphoosaensaard1493 ปีที่แล้ว +21

    เคยเรียนราชภัฏค่ะ แต่เรียนไม่ไหวเพราะรับไม่ได้กับmindset ของอาจารย์ วิชาที่เรียนเพื่ออะไรก็ไม่รู้ การให้คะแนนแบบไม่มีเกณฑ์อะไร ลุ้นเอาที่ปลายปากกาอาจารย์เอา ค่าเทอมไม่แรงแต่ถ้าจะให้เรียนให้จบคงเสียดายเวลาชีวิต

    • @watiradaraksa-in1269
      @watiradaraksa-in1269 6 หลายเดือนก่อน

      จริงค่ะ สังคมไม่ดีเลย เรียนที่ไหนเหมือนกันไม่จริงค่ะ สังคม การเรียนที่จบมาใช่ได้จริงไม่มีเลยนั่งมึนๆ เค้าเอาเเค่เด็กเค้าจบ

  • @potobenmotorbikes62
    @potobenmotorbikes62 ปีที่แล้ว +17

    รภ. ชอบออกมาเรียกร้องว่าตนเองก็ไม่ได้ด้อยไปกว่า มอดังๆ แต่ก็ตามเนื้อผ้าครับผม คุณภาพบุคลากร เนื้อหาบทเรียนมันไม่เหมือนกันเลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าการที่เรียนรภ.แล้วต้องโดนเหยียดนะครับ คุณค่าของเรามันอยู่ที่ตัวเรา น้องๆรภ.ก็อย่าเก็บคำพูดเหล่านั้นไปลดคุณค่าของตัวเองเลยครับ สู้ๆ

  • @nuntawuthmuckpon3827
    @nuntawuthmuckpon3827 ปีที่แล้ว +5

    ผมจบ ราชมงคล
    แต่ยอมรับครับ
    ว่า จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์
    มศว.พระจอมฯ
    นั้น มีสังคมที่แตกต่างกัน
    จิงๆ ถ้าเก่ง จิงๆ ก็ต้องเข้า ม.ข้างต้น ให้ได้
    ผมไปฝึกงาน แบงค์ชาติ
    แต่ฟังบรรยายจากวิทยากร
    ต่างประเทศ
    ผมนั่งเงียบ
    ตอน ฝรั่งปล่อยมุก
    แต่ จุฬา ธรรมศาสตร์
    เกษตร
    นั่งขำ กันกลิ้ง
    แค่ ส่วนนี้ ก็รู้แร้ว ว่า
    พื้นฐานการศึกษา มันต่างกัน
    แต่ไม่ได้ดูถูก
    ราชภัฏนะ
    แต่ ต้องยอมรับ ว่า ทางใคร ทางมัน
    ยอมรับ ว่าเค้าเก่ง กว่า
    ส่วน เรา ก็ต้องหาจุดแข็ง แล้วเอาตัวรอด ในสังคม ยุคนี้ให้ได้ ต่อไป

  • @tp30day
    @tp30day ปีที่แล้ว +7

    เคยถามลูกที่จบที่จบสายโปรแกรมเมอร์ ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร เวลาทำาน ระเบียบวินัย ความเข้าใจและข้อเสนอแนะ คิดเองความเห็นนอกกรอบ เราว่าลูกเรายอดแล้วนะ แต่ลูกเรายอมรับ100%เลยว่าเค้าเหนือจริง แต่ละมหาวิทยาลัยมีขอดีไม่เหมือนกัน ยอมรับค่ะ

  • @mr5mirrors
    @mr5mirrors ปีที่แล้ว +30

    เราว่าปัจจัยมีหลายอย่าง อย่างที่ดราม่าเริ่มต้นเลยคือภาพลักษณ์ที่ติดอยู่กับการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยซึ่ง ส่วนมากน่าจะจัดจากผลงานทางวิชาการ และผลงานทางวิชาการมาจากบุคคลากรในมหาวิทยาลัยและทุนที่ให้ พวกงบประมาณก็มีผลกับสื่อการสอน กำลังการจ้างบุคคลากรคุณภาพ ซึ่งพูดตามตรง ค่าเทอมและงบประมาณของราชภัฏ (ไม่ทั้งหมด) อาจจะไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาตรงนี้ และมีหลายครอบครัวที่ไม่มีโอกาสส่งลูกเรียนพิเศษหรือโรงเรียนเด่นดังในจังหวัด ก็จะอยากให้ลูกเรียนราชภัฏเพราะให้เป็นครู ค่าเทอมไม่แพง ไม่ไกลบ้านเพราะหลายจังหวัดมีราชภัฏ ถ้าให้เสี่ยงเลือกมหาวิทยาลัยดังที่คนแย่งกันเข้า ค่าเทอมแพง แล้วถ้าไม่ติดล่ะ ต้องสอบใหม่ปีถัดไปไหม (จาก ปสกส่วนตัวที่เพื่อนๆสมัยม.ปลายที่เลือกราชภัฏพูดนะคะ) เลือกที่ให้ได้เรียนแน่และสะดวก การที่เด็กที่เรียนกลางๆคิดแบบนี้และเด็กที่ผลการเรียนดีไปแข่งกันเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยอันดับต้นๆก็ ชัดเจนมาก คัดคนกันตรงนี้ ถึงบางคนที่เรียนดีมากๆไปอยู่ในสังคมที่ไม่มีการแข่งขันก็ทำให้ดึงศักยภาพออกมาไม่ได้อยู่ดี ง่ายๆก็คือเหมือนมหาวิทยาลัยต้นๆเป็นfilter กรองเด็กที่ด้อยโอกาส เด็กที่ฐานะไม่ดี เด็กที่เรียนไม่เก่งมากออกไปแล้ว ส่วนที่เหลือคือราชภัฏ
    แต่คหสตนะคะ ถ้าราชภัฏเอาคะแนนคัดเข้าสูงขึ้น คงทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาอีกเยอะมากแต่ๆ แต่ด้วยเกณฑ์คัดเข้าที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยอื่นคงทำให้คนมองว่าเด็กราชภัฏไม่เก่งมั้งคะ ไม่รู้เลยว่าจะแก้ได้ยังไง

  • @tyoum8234
    @tyoum8234 ปีที่แล้ว +8

    สำหรับผมการเรียนเก่ง ครอบครัวหรือความเก่งอะไรก็ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความรับผิดชอบ ม. ที่คะแนนสูงๆ ต้องยอมรับว่าเด็กเค้าค่อนข้างมีค่าเฉลี่ยตรงนี้สูง
    เค้าขยันอ่านหนังสือมาตลอด หรือมาฟิตมากๆช่วงจะสอบ ผลเลยออกมาเป็นคะแนนที่ดี
    สิ่งที่ตามมาคือค่าเฉลี่ยความรับผิดชอบในม. สูงคนใน ม. นั้นๆก็ต้องเอาตัวรอดให้ได้คนอื่นเก่งเราต้องเก่งต้องขยัน
    เลยคิดว่าแต่ละ ม. ไม่มีเหมือนกันเพราะค่าเฉลี่ยไม่เท่ากัน อาจจะมีคนที่หลุดค่าเฉลี่ยอยู่ แต่โดยรวมไม่เหมือนกัน

  • @Jidlada6699
    @Jidlada6699 ปีที่แล้ว +2

    จากใจเด็กราชภัฏฯนะค่ะ ทุกอย่างอยู่ที่เหตุผลส่วนบุคคลแล้วแต่ว่าเราจะนำไปต่อยอดในอนาคตยังไง ตอนนี้มีงานที่มั่นคงทำในต่างประเทศและเป็นงานในสายที่เราเรียนมา รู้สึกภูมิใจในตัวเองค่ะ
    ที่คุณเนมพูดมาถูกทุกข้อค่ะ

  • @nostalgiaaum2283
    @nostalgiaaum2283 ปีที่แล้ว +6

    ที่คุณเนมบอกคือจริงมาก ตัวนิสิตเองแค่ด่าผู้บริหาร ด่ามหาลัย แล้วก็เรื่องที่อาจารย์ออกข้อสอบยากเกิน แค่นี้เวลาชีวิตก็หมดแล้วค่ะ หมดจริงๆ

  • @Chenmurong
    @Chenmurong ปีที่แล้ว +5

    ความจริงก็คือความจริง ต่างกันเกือบทุกด้าน คำพูด ความคิด เอาง่าย ๆ ลองไปนั่งฟังเวลาอยู่ในกลุ่ม คนละเรื่องเลย เอาง่าย ๆ สถานที่นัดเจอยังต่าง

  • @thitipannan7103
    @thitipannan7103 ปีที่แล้ว +11

    ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ attitude ของคนต่อมหาลัยแต่อยู่ที่ตัวสถาบันเองไม่คิดจะพัฒนา (อาจเป็นเพราะความคิดที่แค่ ขอให้มีที่สอน มีคนมาเรียน รับเงินเดือน จบ) การรับเด็กที่เค้าไม่สามารถแย่งเข้ามหาลัยดังๆได้เป็นสิ่งที่ดีมากครับ แต่สถาบันต้องจริงใจที่จะเปลี่ยนให้เด็กๆเหล่านี้กลายเป็นเพชร จะอ้างอะไรก็ช่างแต่อย่าเป็น Parasite ของสังคมแล้วทำให้เด็กๆเสียโอกาสเติบโต คนเราแก่แล้วแก่เลยครับ

  • @kk-diamondluxury7519
    @kk-diamondluxury7519 ปีที่แล้ว +22

    เราต้องอยู่กับความจริง และ เราก็ไม่จำเป็นจะต้องไปพิสูจน์อะไรกับใครหรอกนะ การบุลลี่ การเหยียดมันหลีกหนีไม่พ้น แต่ถ้าเราไม่ปล่อยผ่าน มันก็จะรบกวนจิตใจเรา เราเถียงไปมากๆก็ไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นมาหรอกนะ อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับสิ่งที่เราเป็น เราไม่ได้ทำอะไรผิด นั่นก็เป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วล่ะ

  • @user-ww4cb6yf5m
    @user-ww4cb6yf5m ปีที่แล้ว +2

    เรื่องหางานนี่เหมือนเป็น ratio เลยครับ แบบเด็ก ม.จุฬา/หรือ ม.ดัง อื่นๆคืออัตราส่วนที่จะได้งานหรือโดนคัดเลือกก่อนนี่คือแทบจะ 1:3 คนเลยมั้งครับ เพราะด้วยความสามารถและชื่อเสียงมหาลัย รวมไปถึงบริษัทต่างๆที่เลือกก็เพราะ safe กว่ามากๆและมีโอกาสได้คนที่เป็น top tier ของเด็กในรุ่นนั้นๆสูงกว่าคนที่มาจาก ม.เอกชน หรือ ม.รัฐอื่นๆที่ไม่ได้มีชื่อเสียงมากเท่า
    แต่ว่าถ้าเป็นไปได้หากว่าอิตู่หรือรัฐบาลรวมถึงครอบครัวนั้นออกไป ก็อยากจะให้เพิ่มระดับ สร้างฐานหรือโครงสร้างใหม่ๆให้มหาลัยอื่นๆได้มีสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม และคุณภาพการศึกษาที่มันดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่นี้ กระจายๆออกไปบ้างอย่างน้อยๆก็เพื่อช่วยให้คนที่ไม่ได้มีโอกาสมากขนาดชาว กทม. ชาวจังหวัดชั้นนำทางเศรษฐกิจ(เชียงใหม่ ชลบุรี) หรือชาวปริมลฑล ได้สิ่งที่มันดีมากขึ้นจะได้นำไปช่วยสร้างเศรษฐกิจในภูมิภาคของพวกเขาได้ ช่วงแรกๆอาจจะไม่ต้องเท่าพวกชั้นนำก็ได้แต่ขอแบบที่ทำให้เด็กที่ไม่ได้สอบผ่านพวกสอบตรงหรือไม่มีโอกาสเข้าได้ให้พวกเขาได้มีโอกาสที่ดีขึ้นมาบ้าง อย่างน้อยๆก็ทำให้สร้างประชากรที่มีคุณภาพมากพอที่จะขับเคลื่อนประเทศไปได้เหมือนพวกโลกที่ 1 จะได้หลุดจากกับดักประเทศด้อย/กำลังพัฒนาซักที
    ถามว่าในอนาคตเป็นไปได้ไหม คำตอบคือได้แน่ๆแต่ไม่ใช่ในช่วงอายุของเด็ก 90s แน่นอน อาจจะซัก 200-5000 ปี ก็ช่วงที่มนุษย์มีทรัพยากรพร้อม มีการทำ matte manipulation ได้แบบแหกทุกกฎฟิสิกส์ มหาลัยทั่วโลกหรืออาจจะอาณานิคมมนุษย์ก็อาจจะเหมือนกันหมดก็ได้ เหมือนพวกหนังไซไฟ

  • @choang7073
    @choang7073 ปีที่แล้ว +2

    เย้ ๆ กำลังรอเลย เพราะกระแสนี้จบเร็วมากกก

  • @ninini6019
    @ninini6019 ปีที่แล้ว +40

    เรียนที่ไหนไม่เหมือนกันนะคะ เราเรียนราชภัฏอยู่ค่ะ
    เราว่าคุณภาพค่อนข้างที่จะต่างกันมาก แต่ไม่ได้ไม่ดีขนาดนั้นนะคะ แต่เราเลือกแล้วค่ะ เพราะใกล้บ้าน

  • @feelalive4374
    @feelalive4374 ปีที่แล้ว +8

    เป็นดราม่าแรกที่ไม่รู้จะไปยังไงดี
    1. จะเรียกร้องให้ราชภัฏยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เทียบเท่ากับ ฬ ได้มั้ย
    2. หรือเรียกร้องให้ HR ลองเทสงานเด็กสมัครงานใหม่ก่อนมั้ยก่อนที่จะดูใบว่าจบจาก ม. อะไร
    3. หรือเริ่มที่ตัวเราเองดี ฝึก Growth Mindset ไปซะเลย "ถึงแม้ฉันจะจบจาก ม. นี้ แต่ชีวิตฉันไม่ได้จบแต่เพียงเท่านี้ ชีวิตฉันยังมีหนทางไปต่อเสมอ ถึงแม้ฉันจะไม่เก่งเท่าคนอื่น แต่ฉันจะเก่งกว่าตัวฉันในเมื่อวานเสมอ"
    ไปทางไหนดี 🤔

    • @localhost.8090
      @localhost.8090 ปีที่แล้ว

      3 -> 1 -> 2 ครับ
      เริ่มจากตัวเอง -> เรียกร้องให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาน้อยลง ไม่ต้องเท่ากันแต่ต้องน้อยลงกว่านี้
      แล้ว HR จะปรับ mindset เองเพราะถ้าถึงจุดๆหนึ่งที่มาตรฐานทางการศึกษามีความเหลื่อมล้ำน้อยลงแล้ว HR ท่านไหนที่ยังไม่ปรับ mindset ก็จะโดนระบบคัดออกไปเอง

  • @batigoal7880
    @batigoal7880 ปีที่แล้ว +6

    ถ้าเอาเฉพาะการเรียนการศึกษาโดยส่วนตัวผมว่าไม่น่าจะเอามาเปรียบเทียบกันนะครับ ผมก็จบ รภ.แต่เอาตรง ม.จุฬา เนี่ยแค่จะสอบเข้ายังยากเลยครับ ระบบการศึกษาและ อ.ที่สอนนะครับต่างกันมาก ๆ บอกเลย ราชภัฎ เรียนไปเล่นไปยังจบ ผมว่าสิ่งเหล่านี้แหละที่คือจุดหนึ่งของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่เรื่องทักษะ การทำงาน การเข้าสังคม หรือการใช้สมองในการ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ มันก็แล้วแต่บุคคล มันแล้วแต่บุคคลมากกว่า แต่ถ้ามีคนไปสมัครงาน จุฬาฯ มาก่อน ราชภัฎ แน่ๆ ครับลองถามใจคุณดู ถ้าสมมติตัวเองเป็น ผู้บริหาร จะเลือกใครเข้าทำงาน

  • @kolekmusiksarn8583
    @kolekmusiksarn8583 ปีที่แล้ว +8

    มาไกลมาก 318...จะอยู่ฟังให้ถึง 10,000++ นะครับ 🥳🥳

    • @natst1241
      @natst1241 ปีที่แล้ว +1

      แก่หง่อม แน่ๆ🤣🤣🤣🤣

    • @kolekmusiksarn8583
      @kolekmusiksarn8583 ปีที่แล้ว

      @@natst1241 ถึงตอนนั้นก็จะฟัง คงจะหง่อมไปด้วยกันกับ FC หลายๆคน ชอบแนวคิด ทัศนะเป็นกลาง รวมข้อมูลแน่นๆ และชี้นำความคิดเป็นบวกเสมอ ที่สำคัญชอบน้องแมว ขอสักคลิป แยกอวดน้องแมวจอมวุ่นวายสักตอนหนึ่ง ชื่อ อายุ ความดื้อ ตัวโปรด... รอรับชมครับ

  • @StukB-yb8rh
    @StukB-yb8rh ปีที่แล้ว

    น้องพูดได้ใจลุงมาก กับเรื่องเป่านหวีด..มันจริงมากที่น้องพูดมา

  • @orachunudonsan1988
    @orachunudonsan1988 ปีที่แล้ว +13

    สถาบันการศึกษาก็ต้อง"แข่งขัน" ซึ่งกันและกันครับ เพราะถ้าไม่แช่งขันกันคุณภาพจะดรอปลงพร้อมๆกันทั้งหมดทุกสถาบันทันทีครับ

  • @otakoob
    @otakoob ปีที่แล้ว +16

    ในฐานะที่จบราชมลคล ผมบอกได้ว่าต่างครับ แต่ถามว่าต่างราวฟ้ากับเหวไหม อันนี้มันต่างกรรมต่างวาระ เพราะอาจารย์ที่เก่งมากๆ ในราชมลคลก็มี แต่ถ้าอย่างในจุฬาฯ อาจารย์เก่งกันทุกคนจริงๆ แถมหลักสูตรก็ค่อนข้างอัพเดท(ที่ผมกล้าพูดเพราะผมทำงานเกี่ยวกับการส่งเด็กจุฬาไปเรียนหลักสูตรแลกเปลี่ยนที่อังกฤษ) มันกลายเป็นภาพว่าถ้าคุณเข้า ม. ดังๆ ได้ โอกาสที่คุณจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มันก็มากกว่า ซึ่งนั่นอาจทำให้เกิดความแตกต่างในภาพรวม แต่ก็นั่นแหละ มันไม่ได้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ เพราะเพื่อนผมที่จบราชมงคล เป็นล่ามโรงงานจนได้ขึ้นเป็นผู้จัดการ เงินเดือนแสนกว่า เพื่อนอีกคนจบจุฬา เป็นบาร์เทนเดอร์ ต้องมายืมตังผม เพราะงานหายช่วงโควิด...
    แทนที่จะมา Discriminate กันเอง ผมว่าเราน่าจะมาคุยกันเรื่องยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาลัยระดับรองให้ดีขึ้นดีกว่า หาอุปกรณ์การเรียนที่ดี หาหลักสูตรที่เหมาะสมและตอบรับกับกระแสปัจจุบัน และที่สำคัญ ยกเลิกประเพณีรับน้อง ให้มันกลายเป็นกิจกรรมสันทนาการก็พอ

    • @ngsaiks9439
      @ngsaiks9439 ปีที่แล้ว

      เห็นด้วยครับ

    • @fundeekongsuk7815
      @fundeekongsuk7815 ปีที่แล้ว

      การรับน้องที่สร้างสรรค์ก็มี

    • @mertilda223
      @mertilda223 ปีที่แล้ว

      เค้าจบจุฬาคณะไร

  • @yumenowinds
    @yumenowinds ปีที่แล้ว +5

    เอาเด็ก ราชภัฎ ไปเรียน ฬ ไม่กี่เทอมก็ไทร์ครับ
    ระบบมหาลัยมันแข่งขันกันแบบนั้น ไม่ใช่สอบตกแล้วซ่อม ส่งงาน แล้วก็ผ่าน เขียนรายงานส่งแล้วก็ผ่าน
    คุณภาพนักศึกษามันจึงสำคัญ ถ้าคุณภาพไม่ถึง มันก็ต้องลดหลั่นไปเรียนที่อื่น หรือตามคะแนนที่สอบได้ นั่นถูกแล้วครับ
    เรื่องคุณภาพเด็กนี่มันชัดเจนนะผมว่า แตกต่างมาก
    ส่วนเรื่องโอกาสหน้าที่การงานในชีวิตหลังจากจบ ส่วนนึงเป็นเรื่องของสังคมล่ะ ว่าจะตัดสินยังไง มองมุมไหน
    คุณภาพนักศึกษาก็เป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้นเอง(แต่เป็นส่วนสำคัญนะ) สถาบันมันก็บ่งชี้ถึงเรื่องศักยภาพตัวบุคคลทางหนึ่ง

  • @suankruachanel1450
    @suankruachanel1450 ปีที่แล้ว +2

    ส่วนตัวขอแยกเป็นข้อๆครับ ผมขอออกตัวก่อนว่าเป็นเด็กราชภัฏฯนะ
    1 เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน บอกตรงๆว่า ไม่เหมือนกันครับ เพราะว่าคุณภาพของบุคลากรในการสอน มันต่างกันครับ เงินที่ลงไปที่มหาลัยก็แบบ เยอะมากมายมหาศาลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของ อุปกรณ์การเรียนที่ต่างกัน
    2 มหาวิทยาลัยไหนดีกว่าหรือแย่กว่า ส่วนตัวมองว่า มันเป็นโอกาสครับ เมื่อคุณไม่ตั้งใจเรียน โอกาศที่คุณจะสอบได้มหาวิทยาลัยดังๆมันก็น้อย ถามว่า เป็นไปได้ไหมที่คนที่มันไม่ตั้งใจเรียน มันจะทำงาน หรือใช้ชีวิตได้ดีกว่ามันก็มี
    3 ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลครับ คนจบ ราชภัฏทำงานดีกว่ามันก็มี อันนี้ก็ไม่เถียงครับ แต่โอกาสของเรามันน้อยกว่า เด็กจบจุฬา อยู่แล้ว แต่ถามว่า คนจบจุฬา แล้วเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ก็มีเยอะมากครับ ฝันเยอะ แต่ทำไรไม่เป็น มาแต่ ทฤษฎี อันนี้ไม่ได้ส่วนตัวนะ แต่จากที่เจอมา ร้อยละ 50 มักจะเป็นงั้น แต่คนที่เก่งเลยก็มีนะ ทุกวันนี้ผมก็มีเพื่อนสนิทมากที่จบทั้ง จุฬาและธรรมศาสตร์ ก็เป็นคนที่เก่งและตั้งใจทำงาน แถมใช้ชีวิตได้ดีมากๆ
    สุดท้าย คหสต ผมว่าดราม่านี้น่าจะเกิดจาก การหางานยาก และการโดนกดเงินเดือน จากบริษัทต่างๆมากกว่า เลยทำให้ มหาวิทยาลัยtier ล่างๆ อย่าง ราชภัฏ มันน้อยใจ จุฬา
    แต่ตัวผมไม่ได้น้อยใจนะ จบ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ วุฒิ ก็ บธบ แต่ เป็นถึง cloud engineer มันก็ขึ้นกับว่าคุณต้องการที่จะทำให้ตัวคุณก้าวหน้าไปแค่ไหนเท่านั้นเอง สถาบันไม่ได้เกียวไรมากหรอก เก็บเกี่ยวความรู้ แล้วตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่รักต่อไปครับ

  • @paborafactory
    @paborafactory ปีที่แล้ว +2

    การบ่นจุฬาคือใจจริงมาก 55 เห็นด้วยสุดๆ

  • @callmefleur6455
    @callmefleur6455 ปีที่แล้ว +2

    ก็เหยียดกันเองทั้งนั้นแต่เอาจริงๆนะคะคุณภาพมันต่างกันจริงๆ เราเรียนนิติเอกชนอ.ที่สอนเป็นผู้พิพากษา กับม....นั่นแหละไปนั่งร้านเดียวกันเวลาฟังเค้าพูดพวกเรายังงงเลยว่าทำไมเค้าถึงตีความออกมาได้แปลกมากแต่ไม่ได้เถียงว่าไม่มีเด็กเก่งในม.ราชภัฏนะมันก็มีแต่ก็นั่นแหละไม่มีใครไปตามหาเพชรในกองหินหรอกคะ มันเป็นค่านิยมที่ถูกปลูกฝังมานานละ

  • @localhost.8090
    @localhost.8090 ปีที่แล้ว +16

    เรื่องนี้มันสะท้อนปัญหาการศึกษานะเอาจริง
    ถ้าเด็กเห็นคุณค่าในมหาลัยในงานที่ตัวเองทำ มันจะไม่เกิดความน้อยใจขึ้นมาเลย
    ถ้าสังคมเลิกให้ค่ากับมหาลัย"มากเกินไป" จะไม่มีการเปรียบเทียบแบบรุนแรงมากขนาดนี้ hr ก็ไม่ควรปิดกันโอกาสเด็ก(แต่เราเข้าใจนะว่าทำไม555)
    โรงเรียนก็สอนให้เด็กหาอาชีพในฝันได้ไม่ดีพอ เด็กบางคนก็เรียนมหาลัยไปตามค่านิยม เรียนเอาใบ เรียนตามเพื่อน สุดท้ายก็เกิดปัญหาคือ เรียนไม่จบ เรียนจบแต่ไม่มีคุณภาพ เรียนจบแต่ทำงานไม่ตรงสาย
    เรื่องพวกนี้มันก็ส่งผลไปเป็นทอดๆ สุดท้ายก็วนกลับมาที่มหาลัย โดยเฉพาะมหาลัยที่เข้าถึงง่ายอย่างราชภัฏ
    ตัวผมเองก็เรียนราชภัฏนะและรู้สึกแบบเมื่อไหร่ชาวราชภัฏจะเลิกเอาตัวเองไปเทียบกับคนนั้นคนนี้ ทุกคนทุกม.มันมีคุณค่าในแบบของมันเอง ใช้เวลาอันมีค่าไปหามันให้เจอแล้วใช้ประโยชน์จากมันดีกว่ามานั่งเพ้อแบบนี้ทุกปี

    • @drtyhiop
      @drtyhiop ปีที่แล้ว

      Hr: ทั่นประธานเค้าเปิดบ.มาทำกำไร ไม่ใช่องค์กรการกุศลที่จะให้โอกาสทุกคน ถถถถถถถถถ

    • @localhost.8090
      @localhost.8090 ปีที่แล้ว

      @@drtyhiop เข้าใจครับ
      แต่พ้อยคือไม่อยากให้ปิดกั้นโอกาส ไม่ใช่ให้รับเด็กทุกคน
      หมายความว่า ท่าน hr ก็เรียกเด็กมาสัมภาษณ์ลองหยั่งเชิงดูแทนที่จะเห็น resume ราชภัฏแล้วก็โยนลงถังขยะเลย

    • @drtyhiop
      @drtyhiop ปีที่แล้ว

      @@localhost.8090 เข้าใจค่ะ แต่นี่ว่าตั้งแต่ต้นHR ส่วนใหญ่คงไม่ได้อยากตัดการรับสถาบันไหนออกไปหรอกค่ะ เพราะมันก็เท่ากับว่าเค้าจะมีตัวเลือกน้อยลง แต่ว่ามันก็คงมีเหตุผลที่เค้าเลือกจะไม่รับเลยมากกว่า และเหตุผลนี้คงไม่ใช่เหตุผลเล็ก ๆ เพราะมันเป็นการตัดสินใจที่ใหญ่มาก

    • @puttomill
      @puttomill ปีที่แล้ว

      @@drtyhiop ใช่แต่ถ้าทำงานไม่เป็น ทำกำไรให้บ.ไม่ได้ ไม่ต่อยอด ไม่พัฒนาตนเอง ไม่ว่าเรียนที่ไหนก็เจ๊ง

    • @localhost.8090
      @localhost.8090 ปีที่แล้ว +1

      @@puttomill ใช่ครับถ้าคนเราเห็นค่าในตัวเอง เห็นค่าในงานที่ทำ
      การต่อยอดอะไรหลายๆจะช่วยพัฒนาทั้งตัวเองและองค์กรให้เติบโตไปด้วยกันได้

  • @pmmike666
    @pmmike666 ปีที่แล้ว +2

    จะบอกให้นะ เราจบราชภัฏฯ
    ป้าเราจุฬาฯ พี่สาว(ลูกป้า) หลานสาว(จุฬาฯ) และญาติพี่น้องหลากหลายสถาบัน
    คำว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน มี2 ความหมายใหญ่ๆ
    1. คือเรียนที่ไหนก็สามารถมีความสุขและประสพความสำเร็จในชีวิตได้เหมือนๆกัน
    2. บางคนก็เลือกเรียน เช่น กฏหมาย-รามคำแหง ก็ขึ้นชื่อ หรือ นิเทศน์ -ม.กรุงเทพฯก็ดี ดนตรี/ม.รังสิตก็เด่น วิศวะ/ราชมงคลก็ไม่แย่ หรือด้านการศึกษาของราชภัฎฯเองก็ดี
    หรือจบจุฬาฯ บางคนชีวิตก็ไม่ได้สำเร็จ หรือทำงานไม่ตรงสาย อย่างคุณปัญา จบสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เป็นเจ้าของ Works Point

  • @vivrelibreoumourir9195
    @vivrelibreoumourir9195 ปีที่แล้ว +1

    ชุดสวย🖤

  • @ekka_teangxx95
    @ekka_teangxx95 ปีที่แล้ว

    สุดท้ายก็คนเหมือนกันนะ จบออกมาก็ยังมีหลายอย่างในชีวิตที่เราก็คุยภาษาเดียวกัน คนที่ให้ความสำคัญกับอะไรแบบนี้ แค่ไม่พอใจกับอดีตของตัวเองหรือไม่พอใจกับปัจจุบันของตัวเองมากกว่านะ.

  • @lordfrago
    @lordfrago ปีที่แล้ว +5

    ปัญหาของราชภัฎคือเปิดหลักสูตรที่ไม่มีความพร้อมเยอะเกิน คุณภาพหลักสูตรไม่ดีก็เหมือนเอาเพชรน้ำดีให้ช่างไม่เก่งไปเจียระนัย

  • @phakavitjirasutas3406
    @phakavitjirasutas3406 ปีที่แล้ว

    ชื่นชมครับ​ ทำสรุปได้มีมากครับ

  • @noiosullivan5863
    @noiosullivan5863 ปีที่แล้ว

    I love your outfit

  • @aerosmith4119
    @aerosmith4119 ปีที่แล้ว

    ทุกคนควรมีความสามารถศักยภาพในการสร้างงานให้ได้ครับ ไม่ใช่กังวลกับการหางานอย่างเดียว เพิ่มคุณค่าความสามารถในตัวเองไม่ว่าตัวเลือกที่มีหรือเราสร้างทางของเราเองเลยก็ได้ สู้ๆ เลิกใส่ใจกับสิ่งไร้สาระไม่จำเป็น

  • @aeiou2445
    @aeiou2445 ปีที่แล้ว +31

    เรียนที่ไหนก็เหมือนกันครับ เรียนที่สวนจันทบุรี หรือเรียนที่ระยอง แตกต่างกันที่สายพันธุ์ แต่เรียนเหมือนก้น

    • @OliveraZhang
      @OliveraZhang ปีที่แล้ว +8

      อันนั้นมันทุเรียน ... มาช่วยตัดทำมายยเนี่ย

    • @mkill4587
      @mkill4587 ปีที่แล้ว +2

      ขำเลย

    • @champbrightmax
      @champbrightmax ปีที่แล้ว +1

      เวลาผมอ่าน ทำไมต้องสำเนียงใต้ด้วยนะ

    • @hikineet789
      @hikineet789 ปีที่แล้ว

      ตบมุกกันโบ๊ะบะ!

    • @orpheouz
      @orpheouz ปีที่แล้ว

      แต่เรียนก้านยาวที่นนท์ แพงมากเลยนิ

  • @zhimpanzeeAbsf
    @zhimpanzeeAbsf ปีที่แล้ว +7

    เรียนที่ไหนไม่เหมือนกันค่ะ เราจบ(ครู)ราชภัฏ เพราะไม่มีตัวเลือกค่ะ แต่จบมาทำงานบริษัทเค้าไม่ดูว่าจบจากไหน เกรดเท่าไหร่ แถมตอนนี้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้ามาดูแลทีมแล้ว เพื่อนที่ทำงานบางคนก็เพิ่งมาถามว่าเรียนจบที่ไหน พอบอกว่าจบราชภัฏ ก็มักจะประหลาดใจ ฮืมมม // แต่เชื่อจริงว่าเรื่องคอนเนคชั่นมันมีผลต่อโอกาสที่จะเข้ามาในชีวิตจริงๆ สู้ๆนะเด็กๆ

    • @TheCakeyono
      @TheCakeyono ปีที่แล้ว

      เขาจะสนว่าจบมาจากมอไหนก็ต่อเมื่อ เก่งจนเด่นจริงๆ ไม่ก็เหี้ยจนสุด จริงๆ หละครับผมว่า

  • @ondpt4984
    @ondpt4984 ปีที่แล้ว +2

    จริงค่ะเรียนที่ไหนก็ไม่เหมือนกัน เพราะมหาลัยแห่งหนึ่ง อาจารย์บางคนยังจบไม่ตรงสาขาวิชาที่มาสอนเลยค่ะ 🫢

  • @RKong-uy8fn
    @RKong-uy8fn ปีที่แล้ว

    ต้องยอมรับนะ แต่มันมีความแตกต่างกันจริงๆ เทียบกับตัวเองเคยเจอคนที่เก่งจริง ยอมรับว่าบางเรื่องหัวไม่ไปเท่าเขา นอกจากความเก่งแล้ว มันมีเรื่องโอกาส และความพร้อม ณ ตอนนั้นด้วย

  • @SideWalker562
    @SideWalker562 ปีที่แล้ว +4

    To me, I still believe Chula or Thammasart's students are better academically. We have to admit. But being good in school, doesn't mean they are good in real life or working environment.

  • @cu3975
    @cu3975 9 หลายเดือนก่อน +2

    เป็นHRบริษัทนึงยอมรับว่าเด็กราชภัฏสู้ฬไม่ได้เลย ต้องยอมรับความจริงครับ

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 ปีที่แล้ว

    สมองหาเงิน กับสมองการเรียน มันคนละส่วนกันครับ ถ้ามันเป็นส่วนเดียวกันผมคงรวยไปนานแล้ว อาจารย์คาลบี้ถ่ายคลิปลงติ๊กต่อกไม่พูดสักคำรวยเป็นมหาเศรษฐี พิมรี่พายไม่ได้เรียนมหาลัยแต่รวยเป็นพันล้าน ประสบความสำเร็จกว่าคนเรียนเก่งๆทุกคนที่มาเม้นในคลิปนี้แน่นอน
    แต่เรื่องการเรียน คุณภาพการสอน มันต่างกันจริงๆ อันนี้ต้องยอมรับ

  • @balladamakia7319
    @balladamakia7319 ปีที่แล้ว +3

    ราชภัฏ ต้องยอมรับความจริงนะคะ ว่าเราสู้ไม่ได้ มัวแต่น้อยเนื้อต่ำใจเอาเวลาไป up skill ดีกว่าไหมคะ ดิฉันจบ มช ยังคิดว่า ด้อยกว่า จุฬา มธ เลยค่ะ แต่ไม่ก็สร้างกระแสดราม่าใหญ่โตบ้านจนไม่มีเงินเรียน ทุกคนไม่เท่ากัน อะไรต่างๆ นาๆ โลกทุนนิยมมันก็แบบนี้แหละ เป็นเหมือนกัน คุณต้องทำใจแล้วก็ยอมรับแล้วเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีมูลค่าค่ะ

  • @user-dl6le1of5t
    @user-dl6le1of5t ปีที่แล้ว +9

    ผมชอบคำนี้มากเลยครับไม่มีใครหาเพชรจากกองก้อนกรวด👍 มันจริงและจริงมากๆครับ

  • @rling704
    @rling704 ปีที่แล้ว

    ชอบคำคม สุดท้ายจัง👍

  • @worldakrp7507
    @worldakrp7507 ปีที่แล้ว

    ผมกำลังเรียนรภ.สวนนัน มนุษย์อิ้ง อาจารย์เเต่ละคนที่สอนก็จบป.เอก ป.โท จากจุฬากับมธ.ทั้งนั้นนะ บางคนเคยไปสอนต่างประเทศ เเถมมีครูคนฝรั่งเศสด้วย อาจารย์ทุกท่านสอนดี เข้าใจ สนุกเเละน่ารักมากนะ เพื่อนร่วมห้องรวมทั้งตัวผมเองก็สื่อสารกับต่างชาติได้ ส่วนตัวมองว่าบุคลากรของที่นี้ก็ไม่ได้อ่อนเลย เเต่ที่ยังโดนดูถูก น่าจะมาจากความต่างของระบบรับเข้า "ไม่มีที่ไปเลยมาที่นี่" กับ "ต้องเก่งนะ ถึงจะเข้าได้" เเต่เด็กที่ได้แบบแรกก็ยืนกรานนั่นนี่ว่ามันไม่ต่าง พอโดนสังคมอธิบายความต่างก็เจ็บเองอีก นี่มีเพื่อนอยู่ ฬ กับ มธ.เพียบ ก็ไม่ได้เหยียดไรกันนะ อยากบอกเพื่อนๆรภ.ว่าเลิกเอาHashtagนี้มาเล่นเถอะ เจ็บเองเปล่าๆ

  • @kiwikiwi1865
    @kiwikiwi1865 ปีที่แล้ว +2

    ค่านิยมแบรนด์มหาลัยมีเกือบทุกที่ในโลก อเมริกาก็ต้อง Ivy leguae บ้างทีาพ่อแม่ก็ต้องบริจาคเป็นสิบเป็นร้อยล้าน เพื่อที่จะสร้างทางเดินเข้ามหาลัยให้ลูก
    ส่วนตัวคิดว่ามันมีผลมากที่สุดกะงานแรกๆจริงๆ แต่สิ่งที่ได้มาจากการเรียนมหาลัยท็อปแบรนด์คือคอนเนกชั่นจริงๆ

  • @paranchai100
    @paranchai100 ปีที่แล้ว

    5555555 สีชุดสวยน๊าาาา

  • @myboo1491
    @myboo1491 ปีที่แล้ว +6

    คนจบจุฬาบางคนมันต้องมีอีโก้บ้างแหละ ชั้นจบมาจากมออันดับ 1 ของประเทศนะ มันก็อาจจะมีเหยียดจริงๆแหละ เหยียดตรงๆหรือเหยียดอ้อมๆ

  • @superone2918
    @superone2918 ปีที่แล้ว +1

    ผมศึกงานกับเด็กจุฬาเขาเก่งวิชาการสุดๆทษฤีก็สุดแต่ปฎิบัติลงลุยงานคือพวกผมที่มาจากราชภัฎคือง่ายๆเก่งคนละทางกัน 5555555

  • @keawgoi9189
    @keawgoi9189 ปีที่แล้ว +31

    ประสบการณ์จริง เรียนและจบจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ภาษาจีน เห็นบางคนออกมาให้ความเห็นว่าถ้าไม่สุดจริงๆอย่าเรียนที่นี่ เรียนแล้วไม่ได้อะไร ไม่มีคุณภาพ โดนดูถูก ไม่มีคอนเนคชั่น ถ้าย้อนเวลาได้จะไม่เลือกเรียนที่นี่...
    ความสำเร็จหรือล้มเหลวของแต่ละคนเป็นผลงานของสถาบันเท่านั้นหรอ ลืมปัจจัยหลักไปรึป่าว "ตัวเอง" เป็นเมล็ดพันธุ์แบบไหน เมล็ดพันธุ์ดีตกในดินแบบไหนก็งอกได้ เมล็ดพันธุ์ฝ่อตกในดินดีก็ไม่มีวันโต อย่าโทษสถาบัน หรือปัจจัยภายนอก พิจารณาตัวเองเป็นสิ่งแรก ถ้าทำได้อาจจะเจอเหตุที่ทำให้ชีวิตยังไม่ประสบความสำเร็จ เกาให้ถูกที่ เดี๋ยวก็หายคัน
    ต่อให้เรียนที่เดียวกันก็ไม่เหมือนกัน สร้างเหตุแบบไหนก็ได้ผลแบบนั้น ถ้าชีวิตยังไม่ดีเอาเวลาไปพัฒนาตัวเอง อย่ามัวแต่หาโทษนั้นนี่เลยค่ะ

    • @therealGreencrack
      @therealGreencrack ปีที่แล้ว +1

      เรียนจีนน่ะดีแล้ว ถ้าย้อนหลังไปสิบปีก่อนผมก็คงลงเรียนเหมือนกัน

  • @yenyent.1476
    @yenyent.1476 ปีที่แล้ว

    คนที่พูดว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ผมว่าคนพูดคือ 1.ไม่ได้สนใจเรียน 2.ไม่เคยเรียน
    ผมเข้าไปเรียนราชภัฎระดับTop5 ในกรุงเทพ บอกเลยว่าหลวมมาก คือไม่ได้แย่ แต่มันหลวมกว่าที่คิด คนเรียนเก่งมี คนทำงานเก่งมี แต่มีน้อยกว่าคนที่เล่นมากกว่าเรียน การส่งเสริมให้นักศึกษาไปหาประสบการณ์เพิ่มเติม หรือการส่งเข้าร่วมแข่งขันเพื่อเสริมทักษะต่างๆมีน้อยมาก เราต้องเข้าหาอาจารย์ หรือหาโอกาสต่างๆกันเอาเอง ข้อดีที่ชัดเจนที่เห็นคือ ประหยัดกว่าไปเรียนม.เอกชนก็เท่านั้นเอง แต่ถ้าบ้านไหนมีงบไปเรียนม.เอกชนมีชื่อดีกว่า เครื่องมือ การเรียนการสอน ห้องแล็ป ดีกว่าแน่นอน ส่วนสังคมกลุ่มเพื่อนก็ต้องแล้วแต่เลือกกันเอง

  • @jamesSR07
    @jamesSR07 ปีที่แล้ว +1

    ในฐานะผมจบ วค ก็ต้องยอมรับความจริงครับว่าเป็นเรื่องจริงแต่สิ่งที่ผมอยากฝากไว้เพื่อให้กำลังใจเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่จบ วค
    เหมือนผมคือ จงภูมิใจในสถาบันที่เราจบมาและนำวิชาความรู้ที่เราได้มาไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของเราได้แค่นั้นก็พอละครับส่วนใครจะมาพูดยังไง
    คิดอย่างไรก็เรื่องของเขาครับคนที่เขามาพูดตอนเราลำบากเขาก็ไม่เคยมาช่วยเรานิและที่สำคัญเราก็ทำมาหากินไม่เคยไปแบมือขอข้าวใครกิน จงภูมิใจในตัวเองครับ
    สู้ๆครับพี่น้องชาว วค ทุกท่าน❤️

  • @chai1035
    @chai1035 ปีที่แล้ว +1

    เทียบแบบเด็กที่เรียนพิเศษ กับเด็กที่เรียน รร. มันก็ต่างกันแล้ว เรียนห้อง gifted เพื่อนที่ฉลาด โดดเรียนบางวันเพื่อที่จะไปเรียนพิเศษ เค้าบอกว่าเรียนในห้องไม่ได้ห่าไร(บางวิชา วิชาที่ มี ดร.จากม.มาสอนก็เข้า)
    คือ ม.ก็อาจจะเกี่ยว กรารับคนที่จำกัดอะไรเนี้ย แบบเรา ที่ติด TU KU (ไกลบ้าน)KMUTT(ไม่มีเศรษฐศาสตร์) ไม่ติด CU(คะแนนเยอะกว่าคะแนนต่ำสุดปีก่อนหน้าพันกว่า) ที่บ้านไม่ให้เรียนนาๆชาติหรือเอกชน
    อยู่หอไม่ได้จะอดตายก่อน ใกล้บ้านก็มี Bsru ที่เดียว (Rmutpไม่มีรถเมลย์สายน้อยๆไปถึง)

  • @Rabbit_Burrow_Nitan
    @Rabbit_Burrow_Nitan ปีที่แล้ว +4

    เคยรับเด็กฝึกงานกราฟฟิกราชภัฎฯ ย่องานยังไม่กด shift เลย -..-* จากที่เจอมา มันมีทั้งดีและแย่ ความต่างมันต้องถามถึงตั้งแต่ตัวเด็กว่าอยากจะมาทำอะไรที่ มหาลัยฯ เพราะต่อให้อยู่ ม ดังๆ แต่ไม่รู้จะทำอะไร ไม่รู้ว่ามาทำอะไรที่นี่ มันก็กลวงพอกัน

  • @angkaratewaned8526
    @angkaratewaned8526 ปีที่แล้ว +9

    อย่าให้ถึง มหาลัยเลยค่ะ ไล่มาแต่อนุบาลก็ต่างกันมากแล้ว ตั้งแต่หลักสูตรสอน ตัวอาจารย์ แต่ละสถานที่ต่างกันมาก

    • @user-ql6ww7zj9g
      @user-ql6ww7zj9g ปีที่แล้ว

      จริงที่สุดชายขอบแบบเราจะเอาอะไรไปสู้ แต่ความพยายามอะเนอะบางคนก็เก่งจริงไม่เถียง

    • @septimanj4032
      @septimanj4032 ปีที่แล้ว +1

      อันนี้จริง ตอนเราเป็นเด็กเราอยู่อนุบาลเอกชนคริสเตียน(ที่ขึ้นชื่อแถวนั้นว่าดี) มีของเล่นเยอะมาก คนในห้องไม่เยอะทำให้ดูแลได้ทั่วถึง แต่ค่าเทอมก็ถือว่าแพงสำหรับบ้านนอกแถวนั้น(ในปี254xนิดๆ ค่าเทอมอนุบาลครึ่งหมื่นสำหรับบ้านนอกมันถือว่าแพงนะ) กิจกรรมพวกศิลปะ ระบายสีมีอุปกรณ์พร้อมมากๆ ตอนระบายสีครูจะเข้ามาชมมาดูนักเรียนตลอดเลย
      พอเราโตมาเราเห็นลูกๆของพวกน้าๆที่ส่งไปเรียนอนุบาลเอกชนเหมือนกัน(แต่ไม่ขึ้นชื่ออะไร อารมณ์เฉยๆอะ) จำนวนนักเรียนในห้องเยอะ ดูแลไม่ทั่วถึง และที่ทุเรศมากคือเหมือนคุณครูบางห้องจะเอาแต่เปิดCD cartoonให้เด็กนั่งจ้องดูTV ซึ่งการให้เด็กเอาแต่จ้องดูTVมันเป็น"สิ่งที่ห้ามทำ"เพราะมันจะขัดกับพัฒนาการเด็ก,IQ,EQ,สมาธิ
      ตอนเราอยู่อนุบาลเราและเพื่อนชอบฟังชอบอ่านหนังสือนิทานภาพกันมากกก พอไปเห็นลูกๆน้าคือขึ้นป.1แล้วยังอ่านหนังสือง่ายๆไม่ได้กันเลย

  • @Iamarty2023
    @Iamarty2023 ปีที่แล้ว

    เด็กทุกคน ทุกๆมหาลัย ก็มีทั้งดีและไม่ดี ทั้งด้านความคิดและการกระทำ
    จากประสบการณ์เลยล่ะ
    เห็นด้วยอย่างมากกับคุณเนมเลยค่ะ

  • @nostalgiaaum2283
    @nostalgiaaum2283 ปีที่แล้ว

    ตอนเราจบม.ปลายมาเราอาจจะยังเป็นเพชรที่ยังไม่เจียระไนนะ ตอนเข้ามหาลัยก็เหมือนเรากำลังจะได้รับการเจียระไน แต่ว่าถ้าเราได้ช่างเจียที่เครื่องมือไม่พร้อม ไม่มีความรู้ว่าเพชรแบบไหนควรเจียระไนยังไง สจากตอนแรกที่เป็นเพชรเหมือนกันหมด แต่สุดท้ายเพชรที่ได้ช่างเจียที่ดีก็จะสวยงามกว่าแน่นอน

  • @aerosmith4119
    @aerosmith4119 ปีที่แล้ว +1

    ควรร่วมมือกันพัฒนาให้ทั้งมหาลัยในไทยและระบบการศึกษาทั้งหมดในโลกนี้ไปข้างหน้าต่อไปครับ ให้ผู้เรียนมีความสงสัยใคร่รู้กับการแก้ปัญหาที่ยากและท้าทายเป็นประโยชน์ต่อมุนษย์ทั้งมวล ตั้งคำถามที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะมหาลัยอันดับท๊อปของโลกทุกวันนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน หากยังติดกรอบอะไรบางอย่างอยู่ ความรู้ที่ทรงคุณค่าใหม่ๆในโลกนี้หรือก่อนหน้านี้ที่เราเรียนก็มาจากความรู้หลายร้อยหลายพันปีที่แล้วตั้งแต่ยังไม่มีสถาบัน อย่าให้สถาบันหรือกรอบใดๆจำกัดศักยภาพในการเรียนรู้ครับ หากใครก็ตามไม่ว่าจะ Hbs Stanford Oxford Cambridge แต่โดนสถาบันครอบคุณค่าตัวเองหรือกดอยู่ก็กะลา ควรเพิ่มหรือให้คุณค่ากับสิ่งที่จะทำหรือจะสร้างเราควรมีศักยภาพเหนือกว่าสถาบันทั้งมวลหรือให้ใครมาบอกว่าโง่หรือฉลาดก็อย่าดีใจไปครับ ยอมรับตัวคุณเอง สิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างในโลกนี้และในอดีตมาจากคนเช่นนั้น หาสิ่ง เรื่อง ปัญหา ที่ชอบลุย

  • @Yuki_Areeya27
    @Yuki_Areeya27 ปีที่แล้ว +2

    จะบอกว่าอาจารย์จากมอไม่ดังบางท่านคือโคตรเทพอะ อาจารย์เราแกนิสัยดี สอนเก่งสุภาพ แกสอนหลักๆที่มอ.เรา แต่มีสอนพิเศษให้เด็กจุฬานะ น่าเศร้าที่อาจารย์ดีแค่บางท่านจริงๆ

  • @taeheekim_1980
    @taeheekim_1980 ปีที่แล้ว +1

    ไม่ต้องเถียงกันพวกรากหญ้า ยังไงก็แพ้นายร้อยจปร.อยู่ดี 555555555555

  • @hiareyoulookingforme8967
    @hiareyoulookingforme8967 ปีที่แล้ว

    ขนาดโรงเรียนมัธยมยังไม่เท่ากันเลยค่ะ จะเอาอะไรมาเท่ากันระดับอุดมศึกษา เราจบม.ต้นจากโรงเรียนเอกชนเกรด3.2 ไม่อยากเข้าข้างตัวเองแต่เราเก่งกว่าเด็กคนอื่นที่ได้เกรดสามเกรดสี่จากโรงเรียนรัฐส่วนใหญ่เอามาก แล้วลองถ้าเป็นระดับอุดมศึกษา แน่ใจนะว่าคุณภาพของคนจะเหมือนกัน

  • @nevernotears6436
    @nevernotears6436 ปีที่แล้ว

    คือมอที่มีการคัดคนสูง คุณภาพมันก็ย่อมดีไปด้วยจริง เพราะเค้าคัดมาแล้ว มันเลยค่อนข้างที่จะพูดได้ว่า ฬ มีคนแต่เก่งๆ แต่ไมไ่ด้แปลว่าราชภัฎจะไม่มีคนเก่งนะ ถ้าคนไม่เก่งเข้าได้ คนเก่งก็เข้าราชภัฎได้เหมือนกันมั้ย ไม่ใช่ว่าราชภัฎรับแต่คนไม่เก่งเท่านั้นนิ่

  • @papareimix7966
    @papareimix7966 ปีที่แล้ว

    ชุดน้องเนม แซ่บกว่าใน IG อีก

  • @PRT976
    @PRT976 ปีที่แล้ว +4

    ยกตัวอย่างง่ายๆ แบบเคสจริง: ผมเป็น TA ให้วิชาปริญญาโทของคณะนึงในจุฬา มีนิสิตป.โทท่านนึงหัวค่อนข้างอ่อน ส่ง assignment แต่ละครั้งและสอบแต่ละครั้งแย่กว่าเด็กป.ตรีมาก พิมพ์ภาษาไทยก็ผิดๆ ถูกๆ (ปริญญาโทจุฬาคัดคนเข้าเรียนค่อนข้างแย่ครับ ไม่เข้มเหมือนสอบเข้าปตรี) แต่ก็จบออกมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกรดรอง ๆ แถวภาคกลางตอนเหนือได้ และยังเป็นอาจารย์อยู่ที่นั่นจนปัจจุบัน ซึ่งผมงงมาก ไปได้ไงวะ
    ยังมีใครคิดว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกันอยู่มั้ยครับ คนแบบนี้ยังรับเป็นอาจารย์ได้ (ไม่ใช่แค่คนนี้คนเดียว มีอีกที่คล้ายกัน)

    • @KTSam
      @KTSam ปีที่แล้ว

      เพราะคนจบตรีจุฬา​ส่วนมากต่อโทเอกทีีเมืองนอกกันหมด​ เหลือแค่จำนวนหนึี่ง​ จึงให้คนที่จบจากที่อื่นมาชุบตัวได้​ ต่างจากสมัยเมื่อ30ปีก่อนขึ้น​ โทรับหลักไม่เกิน10 เอกรับปี5 คน​ ไม่ใช่ปัจจุบัน​รับที่จะหลัก100 ปัจจุบัน​จึงทำให้ได้ลูกหมอจำนวนหนึ่ง​ ที่เหลือก็ข้างนอก​ คุณภาพระดับโทเอกเลยแย่ลงจากเมื่อก่อนมาก​ เพราะคุณภาพคนที่ได้เข้ามา​ ถ้าจุฬาไม่ออกนอกระบบ​ ถึงคนไม่เตํมก็เปิดได้​ เพราะได้รับเงินอุดหนุน​อยู่แล้ว​ ไม่ต้องหาเลี้ยงตัวเอง​ จะคุมมาตฐานการศึกษา​ได้ดีกว่า​ พอออกนอกระบบ​ ทำแบบนั้นไม่ได้​ เลยได้พวกห่วยๆเข้ามาเรียนกัน

  • @witawatlikitamporn2889
    @witawatlikitamporn2889 ปีที่แล้ว +2

    ผมก็จบจากราชภัฎนะ ขอแบ่งเป็นสามประเด็น
    1. เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน
    อันนี้ไม่จริง ไม่เหมือนกันแน่นอน มาตรฐานของราชภัฎ เทืยบเท่า จุฬา ไม่ได้แน่นอน เกณฑ์การรับสมัคร-สอบเข้า ก็ไม่เหมือนกันแล้ว ของจุฬาคัดคน สอบเข้ายากมาก
    ส่วนราชภัฎ ตอนผมไปสอบเข้า ไม่อ่านหนังสืออะไรไปเลย ก็สอบผ่าน ไม่รู้ฟลุ้คหรือเปล่าอันนี้
    2. เด็กจุฬาเหยียดราชภัฎ
    อันนี้ก็ไม่จริงเหมือนกัน ได้มีโอกาสไปทำงานที่เดียวกับคนที่จบอินเตอร์ จบจุฬา มหิดล ธรรมศาสตร์ มา ทุกคนเป็นคนนิสัยดี เรียบง่าย เป็นกันเอง คอยช่วยเหลือหมด เรื่องเหยียดไม่เคยเจอนะ
    3. เด็กราชภัฎ บางคนตัดพ้อ บอกเรียนจบราชภัฎหางานยาก ใบสมัครโดนปัดตก อาจจะจริงในบางบริษัท แต่ไม่ใช่กับทุกบริษัทแน่นอน และ มีงานอีกมากมาย ไม่สนใจว่าคุณจบจากที่ไหน คณะอะไร ขอแค่คุณมีความสามารถ อยากพัฒนา ต้องการความก้าวหน้า รายได้ดี เช่น ตัวแทนประกัน ขายตรง เป็นต้น
    อย่างที่บอก เพชรอยู่ที่ไหน ก็เป็นเพชร ถ้าคุณเป็นคนมีความสามารถจริง ที่ไหนคุณก็ฉายแววได้ แล้วก็เงินน้อยเรื่องเล็ก แต่ ทัศนคติแคบ อันนี้เรื่องใหญ่

  • @tan6124
    @tan6124 ปีที่แล้ว +1

    คือก็ไม่อยากจะเทียบนะ เเต่ราชภัฏดันอยากเปรียบเทียบ ก็จะเปรียบเทียบให้นะครับ เหมือนกับคุณเอาวิทยาลัยระดับภูมิภาค ไปเทียบกับระดับประเทศอะครับ ซึ่งจุฬาคือระดับประเทศ ใครๆได้ยินชื่อนี้ หรือบริษัทไหนได้ยินชื่อนี้ มันการันตรีคุณภาพเด็กมาเเล้ว เด็กใน 100%ของจุฬา ก็มีเด็กกว่า 80% เเล้วที่คุณภาพสูง เรื่องนี้วัดได้จากคะเเนนสอบเข้าเเละคะเเนนจบก็ได้ ทุกปีจุฬาคะเเนนเด็กสอบเข้าไม่เคยตกยอด เอาเเค่นี้ก่อน ย้อนกลับไปถามราชภัฏว่า คะเเนนสู้ได้ไหม? เเค่นั้นเเหละ บางทีดำเนินเเนวทางตามเเบบของตัวเองไม่ต้องไปเทียบใคร ก็ได้นะครับ เรามีดีในเเบบของเราเองไม่ดีกว่าหรอ

  • @SGMSGM
    @SGMSGM ปีที่แล้ว +2

    ผมเรียนมาทุกแบบตั้งแต่ รร ประถมเอกชนระดับคุณภาพ ร.ร. วัด ที่นักเรียนยิงกันต่อยกัน รร.เตรียมฯ มหา'ลัยท็อปของไทย รวมถึงมหา'ลัยท็อป 15 ของอเมริกา...ผมเชื่ออย่างสุดใจว่ามันไม่ใช่ไม่เหมือนกัน แต่มันต่างกันมากกกกกกกกกกกกก ไม่ใช่แค่คุณภาพการเรียนการสอน เนื้อหาการเรียน ฯลฯ แต่ที่สำคัญคือแต่ละที่มันเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติ ความเป็นตัวเราได้จริงๆ

  • @rnjt8960
    @rnjt8960 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าเหมือนกัน คนไทยคงไม่ดิ้นรนไปเรียนต่างประเทศหรอก โดยเฉพาะพวกมหาลัยดังๆคนไทยเยอะมาก ไปเอาภาษา ความรู้ คอนเนกชั่น ลูกท่าน หลานเทอ ลูกเศรษฐี นักเรียนทุน อยู่ที่นั้นหมด

  • @inthespace9743
    @inthespace9743 ปีที่แล้ว

    ส่วนตัวเรามองว่าเค้าไม่ได้ตั้งใจจะ mention ถึง ฬ ที่เดียวหรอกค่ะ แต่มันเหมือนตัวเปรียบเทียบที่ง่ายที่สุดมากกว่าค่ะ
    ส่วนตัวเรียนที่ไหนก้ไม่เหมือนกันค่ะ แต่ก้ไม่ใช่ตัวตัดสินทั้งหมด เพราะ บ.เรารับแต่เด็กม.ดังก้มีพวกเรียกเก่งแต่ทำงานไม่ได้เยอะ แต่ก้คงเป็นสัดส่วนที่ไม่ได้เยอะมากเมื่อเทียบกับมหาลัยทั่วๆไป แล้วจะให้มันเหมือนกันก้คงไม่ได้ตราบใดที่ average ของประเทศมันยังต่ำอะ มันมีความห่างระหว่างคนที่มุ่งมั่นมากๆแล้วเข้ามหาลัยดังได้ กับคนที่เดินๆหยุดๆเรียนไหนก็ได้ อย่าโวยวายเรียกร้องอะไรในเมื่อคุณก้ไม่พยายามเหมือนกับคนอื่นๆ เราคิดว่านี่ก้เป็นความเท่าเทียบในแบบผลของการตัดสินใจและพยายามตลอดช่วงมัธยมและมหาลัยของแต่ละคนนะ

  • @krittanant9187
    @krittanant9187 ปีที่แล้ว +2

    ก็จริงๆ อ่ะส่วนมาก มR ชอบเหน็บ มอื่นก่อนนะและอบบสอนละเมิด สิทธิเด็กเอาเด็กมาลงติ๊กต๋อคเรียกกระแส

  • @mostpo
    @mostpo ปีที่แล้ว

    ใดๆเลยนะ รักชุด 🖤🖤🖤🖤🖤

  • @korakotwmk7315
    @korakotwmk7315 ปีที่แล้ว

    ผมก็เรียนราชภัฏอยู่ครับตอนนี้ปี 4 ไม่รู้สึกน่าละอายอะไรตรงไหนนะ สิ่งที่น่าอับอายที่สุดคือมึงทำงานไม่เป็น

  • @sitthipornjuntorn7887
    @sitthipornjuntorn7887 ปีที่แล้ว

    เรียนที่ไหนก็ไม่เหมือนกัน ถูกต้องครับ
    คนเก่งเรียนที่ไหนก็ได้ ถูกต้องครับ
    คนเรียนเก่ง จะประสบความสำเร็จได้ ไม่จริงเสมอไป
    และมายาคติที่ทำให้ไทยล้าหลังคือ เด็กเยาวชนทุกคนต้องจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย นี่ทำให้ต้องเสียต้นทุนหลายอย่างในการไปเรียนให้จบ เพื่อได้ใบวุฒิ ไม่ต่างจากการสร้างกองทัพให้ใหญ่จนสิ้นเปลืองงบประมาณ การให้ทุกคนเรียนจบปริญญาตรีก็สิ้นเปลืองทรัพยากรที่มีในประเทศ ของดีส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากส่วนประกอบเดียวกันทั้งหมด มีชิ้นเล็กชิ้นใหญ่คละกันไป ขาดส่วนไหนก็อาจไม่สมบูรณ์ได้ งานบางอย่างก็ต้องการคนจบไม่สูงนัก และในบางอาชีพ บางธุรกิจ ความเชี่ยวชาญสำคัญกว่าความรู้ทางวิชาการทั่วไป ถ้าตัดเรื่องค่านิยมว่าคนจบสูงจะโตได้ดีกว่าคนทำงานเร็วกว่าได้ คนก็จะเรียนในสิ่งที่ตัวเองสนใจจริงๆ และจะพัฒนาไปได้จากความสามารถ ไม่ใช่วุฒิการศึกษา แต่เพราะหลายคนใช้ประโยชน์จากเรื่องวุฒิการศึกษาอยู่ จึงไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรแบบนี้ เราถึงพูดแค่ม112ที่ไปมีผลประโยชน์ด้วยไม้ได้ ไปพูดเรื่องงบกองทัพที่ไปมีประโยชน์ไม่ได้ ไปแตะแค่เรื่องการได้สิทธิหลายอย่างที่เป็นแค่ความสบายใจในการอยู่ในสถานศึกษา และพูดถึงแค่ทุกคนต้องมีโอกาสได้เรียนหนังสือจนจบมหาวิทยาลัย อย่างน้อยต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว คนที่เรียนต่อมหาวิทยาลัย ก็คือคนที่พร้อมจะเรียนได้ ไม่ใช่ในความหมายของศักยภาพทางการเงินอย่างเดียว คือเรียนแล้วต้องมีความรู้ ไม่ใช่แค่เป็นใบผ่านทาง
    สุดท้ายจะมีคนพูดถึงเรื่องนี้ไหม หรือปล่อยให้เป็นความสูญเสียต่อไป ก็จะเสียทั้งเพื่อให้คนเรียนจบได้แต่ไม่ได้อะไร และเสียโอกาสที่คนจะโตได้ในสังคมที่คนมุ่งไปทางความเชี่ยวชาญในทักษะอาชีพได้

  • @nonjangzanaja
    @nonjangzanaja ปีที่แล้ว +1

    ยอมรับเถอะ พระย่อมรู้ 55555 #ป้ารัตนาบอกไว้

  • @pao5520
    @pao5520 ปีที่แล้ว +9

    เราว่าจริง งานแรกอะ จุฬา ได้เปรียบจริงแต่งานต่อไปท่าคุณมีความสามารถมีประสบการ ยังไงเค้าก็ต้องสนใจ

    • @hikineet789
      @hikineet789 ปีที่แล้ว +1

      ไม่จริงมั้งครับ ผมเคยทำงานสายงานราชการ ผู้สมัครสอบแข่งขันผ่านข้อสอบปรนัย มาถึงขึ้นสอบสัมภาษณ์ เด็กราชภัฏมาเรซูเม่ประสบการณ์หนาเป็นปึก ในขณะที่เด็กอีกคนจบ ม.อื่น (ไม่ใช่ ฬ หรือ ธรรมศาสตร์ ) เรซูเม่แค่แนะนำประวัติการทำงานน้อยกว่าคนแรกมากๆๆๆ ....สรุป คนที่ 2 ได้งานไปนะครับ

  • @sbno119
    @sbno119 ปีที่แล้ว

    แตกต่างกันเยอะ มากๆ เลยนะ มันคือเรื่องจริงที่ต้องยอมรับ แต่มันก็ไม่ได้บอก หรือยืนยันว่าจะประสบความสำเร็จนะ มันเป็นเรื่องของแต่ละคน ในกองก้อนกรวด ย่อมค้นเจอเพชรได้ ในร้านจิว ก็เจอเพชร เก๋ ได้เหมือนกันแหล่ะ อย่าไปอะไรกับมันมาก หันมาทำชีวิต ตัวเองให้ ดี มีความสุขเถอะ

  • @ktchan4858
    @ktchan4858 ปีที่แล้ว

    เรียนที่ไหนก็เหมือนกันจริง สำหรับบางคนเท่านั้นค่ะ สำคัญที่สุดคือทัศนคติและความรักในการเรียนรู้พัฒนาตัว ปากเก่งเข้าข้างพรรคพวกกันเองหลับหูหลับตาไม่ช่วยอะไร อยู่สถาบันดีก็ดรอปได้ อย่ามองสมบัติคนอื่นมองของตัวเอง

  • @GGIINN486
    @GGIINN486 ปีที่แล้ว +1

    ไม่รู้สิเราจบราชภัฏนะแต่พอจบมาเรารู้สึกว่าเราไม่มีคุณภาพเลยไม่เก่งไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาจนเราไม่กล้าไปสมัครงานตรงสายทำเราเสียเวลาชีวิตไปหลายปี แต่เราก็ภูมิใจนะที่เรียนจบมาได้เพราะเราทำงานส่งตัวเองเรียนกับกู้กยศ. คำว่า”ต้นทุนชีวิตคนเราไม่เท่ากัน”มันจริงนะสำหรับเราถ้าเราเกิดมาในครอบครัวที่พ่อแม่มีพร้อมส่งเรียนดีๆมาตั้งแต่เด็กเราก็เก่งระดับนึงพอเข้ามหาลัยดีก็ยิ่งได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเราก็จะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพคนนึง เรามีเพื่อนที่พ่อแม่ปูทางไว้ให้อย่างดีแต่จบมหิดลนะไม่ใช่ฬเพื่อนเราเก่งมากจนตอนนี้ย้ายไปอยู่เมกาแล้ว เส้นทางชีวิตตอนเด็กเราปูเองไม่ได้พอโตมาแล้วเราถึงเลือกได้ว่าชีวิตเราจะไปทางไหนต่อจะย้อนเวลากลับแก้ไขก็ไม่ได้อีก ถึงที่ผ่านมาจะเป็นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบแค่เราใช้ชีวิตของเราให้มีความสุขที่สุดก็พอแล้ว จะจบมหาลัยหรือจบราชภัฏก็ประสบความสำเร็จได้เหมือนกันไม่ทางใดก็ทางนึง

  • @ausdang
    @ausdang ปีที่แล้ว

    สรุปได้ดีมากๆโดยเฉพาะเรื่องเพชร มันคือเรื่องจริง👍

  • @vthanapuhm
    @vthanapuhm ปีที่แล้ว +1

    แต่ยังมีบางบริษัทนะครับที่มี requirement รับเฉพาะ ม.ระดับtopๆเท่านั้น โดยการ mention ไว้เลยว่ามี ม. อะไรบ้าง อันนี้สายงาน Engineer นะครับ

  • @samatchaiwangdee9481
    @samatchaiwangdee9481 ปีที่แล้ว +5

    ชุดดำนะเนม น่ารัก

    • @pimsakumsub
      @pimsakumsub ปีที่แล้ว

      เพิ่งสังเกต 😆

    • @samatchaiwangdee9481
      @samatchaiwangdee9481 ปีที่แล้ว

      @@pimsakumsub สังเกตเห็นนานแล้วครับ😆😆

  • @tangthai8371
    @tangthai8371 ปีที่แล้ว

    ที่ไหนก็แบบนี้ มากกว่า 5555

  • @kandanai028
    @kandanai028 ปีที่แล้ว

    ต้องยอมรับความจริงให้ได้ครับเรื่องมหาลัยเป็นแบบนี้ทุกประเทศ ถ้าเรียนที่ไหนก็เหมือนกันคงไม่มีคนที่พยายามจะขวนขวายเพื่อสอบให้ติดมหาลัยดังๆหรอกครับ มันดีมันดังได้เพราะมีคนเก่งๆสร้างชื่อเสียงไว้ตลอด เอาแค่ตอนคัดนักศึกษาเข้าก็ต่างแล้วครับ มหาลัยที่มีแต่เพื่อนชิลล์ไปวันๆ กับมหาลัยที่มีเพื่อนแข่งกันเรียนผลที่ได้มันก็ต่างกันคนละเรื่องแล้วครับ ยังไม่นับรวมถึงบุคลากรต่างๆเช่นอาจารย์หรือที่ปรึกษาต่างๆ ห้องสมุดหรืออุปกรณ์ต่างๆที่สนับสนุนให้นักศึกษาได้ใช้งาน ทุนต่างๆ บลาๆ ยังไงก็ต่างครับ

  • @unic13unic.26
    @unic13unic.26 ปีที่แล้ว +1

    ความภูมิใจ...ในจุฬา❤❤❤

    • @unic13unic.26
      @unic13unic.26 ปีที่แล้ว

      ภูมิใจแค่เรื่องการเรียนนะคะ😁😁😁

  • @user-sm3he5kq8c
    @user-sm3he5kq8c ปีที่แล้ว +1

    บอกตรงไม่เหมือน แต่สุดท้าย อยู่ mind set และเป้าหมาย บรรยากาศห้องเรียนก็สำคัญ เพื่อน อาจารย์ มันต่างกันนะ

  • @sheenchillaP
    @sheenchillaP ปีที่แล้ว

    คนส่วนใหญ่มีเป้าหมายชีวิตจริงๆ คืออยากรวย
    จะรวยได้ ส่วนหนึ่งก็ต้องพยายามหาการศึกษาดีๆ คอนเนคชั่นดีๆ เพื่อกรุยทาง
    ถ้ามองว่าจริงๆแล้วมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งไปถึงเป้าหมาย ก็ถูกนะ
    แต่ในความเป็นจริง คนรวยมีหลายแบคกราวน์มาก และจำนวนมากก็ไม่ได้จบจากสถาบันใดสถาบันนึ่งเป็นพิเศษป่ะ คนจะรวย ถ้ามุ่งมั่น พยายาม ก็รวย
    กลับมาที่กูที่จบจุฬาแล้วยังจนอยู่นี่ไม่ใช่อะไรนะ ขี้เกียดกว่าความอยากรวยเฉยๆ 🤣🤣

  • @amppere8618
    @amppere8618 ปีที่แล้ว

    สรุปได้ดีครับ เห็นด้วยทุกประการ

  • @mirajang3879
    @mirajang3879 ปีที่แล้ว

    เรียนที่ไหนไม่เหมือนกัน สังคม คอนเนคชั่น เวลาไปสมัครงาน โคตรสำคัญ แต่ก็เห็นด้วยกับเรื่องความอึด ออฟฟิศสมัยตอนอยู่ไทยค่อนข้างงานหนักมาก คนที่ทำงานอยู่ได้แบบยาวๆคือเด็กราชภัฏกับเด็กม.ราม ส่วนเด็กม.ท็อป3ท็อป5ของประเทศ ส่วนมากมาทำไม่พ้นโปรกัน หรืออย่างนานสุดคือครบปีก็หนีหายกันหมดแล้ว เราว่าน่าจะเพราะเด็กราชภัฏหรือเด็กราม กว่าจะทำงานหาเงินจนเรียนจบ(ส่วนมากจะหาเงินด้วยตัวเองกัน) ไหนจะผ่านคำดูถูก ฝ่าฟันมาจนได้งาน พอได้ทำงานก็เลยทนสุดๆ(ทั้งที่บางทีก็ไม่ควรทนขนาดนั้น) เทียบกับเด็กม.ท็อปๆที่มีทางเลือกในชีวิตเยอะ สมัครงานได้ง่ายกว่า ต้นทุนฐานะทางครอบครัวก็อาจจะสูงกว่า เวลาเจอที่ทำงานที่ไม่ถูกจริตก็เลยมีอัตราการลาออกสูงกว่า

  • @kritpitako
    @kritpitako ปีที่แล้ว

    เจ็บแต่จริง😭