#ปราสาทศพล้านนา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 ส.ค. 2024
  • #แนวคิดเรื่องปราสาทศพในล้านนา
    ความหมายของคำว่าปราสาทไว้ว่า ปราสาทศพ น่าจะเป็นคำสามัญชนใช้เรียกพิมานหรือวิมาน ที่ใช้ในพิธีกรรมปลงศพพระภิกษุและเจ้านาย คือเรียก ปราสาท แทนคำว่า เมรุ หรือ วิมาน และคำว่าปราสาทนี้คงจะใช้กันในหมู่พระภิกษุและสามเณรก่อนแล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน อธิบายถึงปราสาทศพไว้ว่าใช้สำหรับเรือนศพที่ตั้งอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย จะทำฐานที่ตั้งปราสาท ทำบันไดขึ้นลงทั้ง 4 ด้าน ปราสาททำเป็นรูปจัตุรมุขมียอด เรียกกันว่า เมรุมาศ ใช้สำหรับศพเจ้านายและพระเถระผู้ใหญ่ ได้จำแนกเรือนเพื่อตั้งศพไว้ก่อนการเผาในล้านนาไทย ดังนี้
    1. ประชาชนธรรมดาจะใช้แมวครอบ เป็นโครงไม้ไผ่สานครอบคล้ายอย่างมุ้งประทุนครอบเด็ก เมื่อทำโครงแล้วนำเอาดอกไม้ต่างๆ ที่หาได้ในหมู่บ้าน แล้วนำครอบศพเพื่อป้องกันไม่ให้อุจาดเพราะไม่ได้ใส่โลงหรือหล้อง ประเพณีนี้นิยมทำกับชาวบ้านทั่วไป หรือคนมีฐานะค่อนข้างยากจน
    2. ประชาชนผู้มีอันจะกิน จะใช้หลังกลาย เป็นเรือนศพที่สร้างขึ้นไว้ใส่โลงศพบุคคลผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เช่น คนที่มีคนนับถือมาก เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้เฒ่าผู้แก่ที่ชาวบ้านเคารพและเป็นผู้มีฐานะดี จึงนิยมทำเรือนศพที่มีหลังคาเลื่อนลงมา แต่ไม่มียอด จะว่าปราสาทก็ไม่ใช่ จะมีรูปเรือนโรงธรรมดาก็ไม่ใช่ จึงใช้ชื่อหลังกลาย คือ ปราสาทนี้จะกลายเป็นปราสาทไปแล้ว
    3. เจ้านายในราชวงศ์และพระสงฆ์ชั้นผู้น้อย มักจะใช้ปราสาทยอดเดี่ยว เป็นเรือนศพรูปปราสาททำเป็นยอดเดียวไม่มีมุข ส่งยอดขึ้นไปเฉยๆ อาจทำลดหลั่นเป็น 5 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้าง เป็นปราสาทสำหรับใส่ข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเจ้านายผู้น้อยของบ้านเมือง หรือทำถวายพระภิกษุสามเณรผู้น้อยที่ถึงแก่มรณภาพ
    4. เจ้าเมือง กษัตริย์ และพระเถระผู้ใหญ่ ครูบาหรือพระสังฆราชา ใช้ปราสาทวางบนหลังนกหัสดิลิงค์ขนาดใหญ่ หลังคาเป็นรูปจัตุรมุข มียอดตรงกลาง มีหน้ามุขออกทั้ง 4 ด้าน วางบนหลังรูปนกหัสดีลิงค์ หรือหลังพระยานาค นิยมทำถวายแก่เจ้าผู้ครองนคร พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ชั้นสูง พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เป็นราชครูหรือสังฆราช(ปัจจุบันชั้นสำหรับพระสงฆ์ผู้ใหญ่อาวุโสมีพรรษามาก) และลากไปสู่ที่เผา เรียกว่า ลากปราสาท
    5. เมรุ ทำลักษณะเดียวกันกับปราสาท ต่างแต่เมรุตั้งอยู่กับที่ไม่เคลื่อนย้าย ทำบันไดขึ้น 4 ด้านสำหรับเป็นทางเดินไปทำการนมัสการและวางดอกไม้สักการะศพ
    #ความหมายไม้ศพ (ปราสาทศพ) ของชาวล้านนานั้นมีรูปลักษณะสัณฐานที่แตกต่างกันตามฐานะทางสังคมของคนตายไว้ 6 แบบดังนี้
    1. แมวควบได้แก่ที่ครอบศพทำด้วยโครงไม้ไผ่สานซึ่งทำเป็นรูปประทุนคล้ายกับหลังคาเรือหรือมุ้งประทุนครอบเด็กแมวควบจะใช้วางครอบศพที่ใส่โลงไม้กระดานหรือศพที่ครอบด้วยเสื่อกะลาไม่ได้ใส่โลงโดยศพที่ไม่ได้ใส่โลงนี้จะห่อด้วยเสื่ออีกทีหนึ่งแล้วผูกศพกับแคร่ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่2ลำวางพาดด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะคล้ายกับเปลสนามสำหรับหามคนป่วยข้างบนเปลก็มีแมวควบเป็นหลังคาเพื่อป้องกันไม่ไห้ดูอุจาดตาการหามแคร่นั้นใช้เชือกปอผูกกับลำไม้ไผ่แล้วนำปลายเชือกอีกข้างหนึ่งผูกกับไม้คานหามซึ่งการหามแคร่ศพที่ครอบด้วยแมวควบนี้ต้องใช้คนหามถึง 8คนสำหรับแมวควบนี้นิยมใช้กับศพชาวบ้านทั่วไปซึ่งมีฐานะยากจน
    2. ปากกระบานได้แก่เรือนศพที่มีแต่หลังคาไม่มีจั่วและยอดสำหรับใส่ศพชาวบ้านธรรมดาสามัญซึ่งไม่นิยมทำหลังคาเป็นรูปปราสาทเหมือนสมัยปัจจุบันเพราะถือว่า“ขึด” (อุบาทว์)เป็นอัปมงคลดังนั้นปากกระบานจึงเป็น“ไม้ศพ”สมัยแรกที่ทำขึ้นมาสำหรับใส่ศพชาวบ้านธรรมดาแต่มีฐานะค่อนข้างดี
    3. หลังกลายได้แก่เรือนศพที่มีจั่ว 4 จั่วแต่ละจั่วมีชั้นเดียวไม่มียอดเหตุที่ได้ชื่อว่าหลังกลายเพราะเป็นเรือนที่หลังคาไม่มีลักษณะเป็นปราสาทเต็มรูปแบบเป็นรูปเรือนโรงธรรมดาไม่มียอดกล่าวคือเรือนไม้ศพนี้จะกลายเป็นปราสาทเรือนศพหลังกลายนี้สร้างสำหรับใส่ศพบุคคลที่เคารพนับถือมากเช่นผู้อาวุโสภายในหมู่บ้านที่มีฐานะดีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นต้น
    4. ปราสาทยอดเดียวได้แก่เรือนที่เป็นรูปปราสาทหลังคาไม่มีหน้ามุขทำหลังคาลดหลั่นเป็น5ชั้นหรือ7ชั้นตามลำดับใหญ่ขึ้นไปหาเล็กแล้วส่งเป็นยอดปราสาทยอดเดียวตรงกลางปราสาทชนิดนี้สร้างขึ้นสำหรับศพเจ้านายชั้นธรรมดาหรือข้าราชการผู้ใหญ่
    5. ปราสาทจัตุรมุขยอด7ชั้นหรือ9ชั้นปราสาทชนิดนี้มีหน้ามุขครบทั้ง4ด้านตั้งอยู่บนหลังรูปนกหัสดีลิงค์หรือหลังของพระยานาคจำลองนิยมสร้างถวายแด่เจ้าผู้สูงศักดิ์เช่นพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองนครหรือเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง
    6. เมรุได้แก่ที่สำหรับเผาศพสร้างลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทมีรั้วรอบมีบันไดขึ้น 4 ด้านสำหรับขึ้นลงไปคารวะศพต่างจากปราสาทคือเมรุตั้งอยู่กับที่ไม่เคลื่อนย้ายหรือชักลากเหมือนกับปราสาทบรรดา“ไม้ศพ”ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นแมวควบปากกระบานและหลังกลายซึ่งใส่ศพชาวบ้านธรรมดานั้นจะต้องใช้คนหามไปเท่านั้นและจะประโคมดนตรีไปไม่ได้เชื่อว่า“ขึด”ถ้ามีการฝ่าฝืนลูกหลานญาติมิตรที่อยู่ข้างหลังจะฉิบหายวายวอด
    #ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    ; มณี พะยอมยงค์ และ ศิริรัตน์ อาศนะ (2549:116)
    ; อภิธาน สมใจ (2541 : 57)
    ; พระมหาจรัญ จิตฺตสํวโร (2553 : 40-41)
    ; แหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (ปราสาทศพ) บ้านร่องบัวลอย
    #ภาพถ่าย : ปราสาทศพสล่าสกุลช่างลำปาง ร้านสมคิดปราสาททองนครลำปาง งานส่งสะก๋ารตานคาบ นายสมพร มงคล สุสานบ้านม้าเหนือ ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
    ❖ #รวมรวมเรียบเรียง
    ดร.กตัญญู เรือนตุ่น
    มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
    ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    #ทำขวัญนาคลำปาง #ทำขวัญบ่าวสาว #พิธีบวงสรวง #ตั้งศาลพระภูมิ #พิธีกรลำปาง #พิธีกรงานแต่งลำปาง #พิธีกรงานศพลำปาง #พิธีกรรมงานศพล้านนา #โฆษกพิธีกร #หนานเอ คนบ่เก่าเข้าบ่ต๋าน #หมายเรื่องเมืองพุทธ #ประเพณีล้านนา #สืบชะตาล้านนา #ศาสนพิธีกร 0931312128

ความคิดเห็น •