เกริ่นนำ : บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (Transport Safety Manager)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ก.ค. 2023
  • บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (Transport Safety Manager) สำคัญต่อระบบความปลอดภัยในการขนส่ง อย่างไร ?

ความคิดเห็น • 5

  • @pompambangkruai3477
    @pompambangkruai3477 หลายเดือนก่อน +1

    ผมเห็นว่าอาจารย์พูดได้ดี เป็นระบบและตรงประเด็นครับ

  • @mechokunwetch2657
    @mechokunwetch2657 7 หลายเดือนก่อน +5

    อย่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ในเมื่อสาเหตุส่วนใหญ่มันอยู่ที่คนขับรถ ก็ไปดูที่มาของคนขับรถ กรมฯออกใบอนุญาตขับรถดีหรือยัง ลองไปดูคนขับเครื่องบิน กับตันเครื่องบิน คนขับเรือ กัปตันเรือ ทำไม 2 บุคคลนี้ถึงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัยที่สุด ทำไมคนขับรถถึงมีแต่อุบัติเหตุ ทั้งๆที่ออกข้อกำหนดมาบังคับครั้งแล้วครั้งเล่าละ มันต้องไปดูจุดเริ่มต้นการออกใบขับขี่ จนถึงรายได้ และชั่วโมงทำงานของพนักงานขับรถ ว่ามีคุณภาพแค่ไหน อย่างกรมขนส่ง มีบุคลากรอบรมผู้ประจำรถดีหรือยัง ไม่ให้่ย้ายใครมาทำหน้าที่ในฝ่ายใบขับขี่ก็ได้หมด คนไม่เคยมีประสบการณ์ขับรถ หรือรถจักหน้าที่ผู้ประจำรถดีพอ จะเอามาสอนอบรมพนักงานขับรถมันจะได้ผลที่ดีได้อย่างไร อย่างคนขับรถเป็น กับคนขับรถได้ มันก็ต่างกันแล้ว กรมต้องไปทบทวนตั้งแต่ต้นทาง ไม่ใช่ออกแต่เรื่องการควบปลายเหตุมาแบบนี้ มันต้องสร้างคนขับรถที่มีคุณภาพ ให้เขามีรายได้ที่เพียงพอ และระยะเวลาทำงานที่เหมาะสม แค่นี้มันก็ลดการเกิดอุบัติเหตุไปได้มากแล้ว

    • @Rungsawas
      @Rungsawas 7 หลายเดือนก่อน +2

      เป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบมากกว่า โดยใช้ “การบริหารจัดการเชิงป้องกันอุบัติเหตุจากการขนส่ง” การควบคุมดูแลพนักงานขับรถเป็นแค่ 1 ใน 5 ภารกิจหลักที่ TSM ต้องทำ
      อุบัติเหตุที่สาเหตุมาจากการกระทำของพนักงานขับรถเป็นแค่ส่วนหนึง แต่สาเหตุที่เกิดจากความไม่พร้อมของตัวรถ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ก็มีให้เห็นอยู่เสมอ ซึ่งส่วนนี้พนักงานขับรถอาจช่วยอะไรไม่ได้ รวมทั้งหลักการบริหารที่ต้องมีการกระบวนการควบคุม(ความปลอดภัยจากการขนส่ง) ซึ่งเมื่อก่อนอาจไม่มีเจ้าภาพ หรือเป็นงานฝาก หรือเลวร้ายสุดคือไม่มีใครดูเลย ต้องดูแลตัวเองเอาเอง หน้าที่ TSM จึงจำเป็นเพื่อจุดประสงค์การบริหารจัดการเชิงป้องกัน

    • @suphakritwajakam4111
      @suphakritwajakam4111  7 หลายเดือนก่อน +3

      เรื่อง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนนั้น มีองค์ประกอบจาก ผู้ขับขี่ รถยนต์ ถนนและสภาพแวดล้อม แต่การที่เราจะป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้นนั้น จำเป็นต้องสร้างระบบการจัดการ (Management System) องค์ประกอบ ดังกล่าวข้างต้นให้ดี แสดงว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์ประกอบดังกล่าว จะต้องมีการสร้างระบบในการบริหารจัดการ ผู้ขับขี่ รถยนต์ ถนนและสภาพแวดล้อม ซึ่งภาครัฐมีหน้าที่กำกับดูแลก็ต้องออกกฏหมายมาควบคุมให้ ผู้ประกอบการ บริษัทฯ ผู้ขนส่งต่างๆ สร้างระบบในการบริหารจัดการ (Management System) ในกระบวนการขนส่งของตนเองให้เกิดความปลอดภัย ทั้งต่อบริษัทของตนเอง คู่ค้า ผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย
      เท่าที่เคยทำงานความปลอดภัยในธุรกิจขนส่งมากว่า 15 ปี อุบัติเหตุจากการขนส่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญมากที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดขององค์กร/ผู้ประกอบการ แต่เรื่องความปลอดภัยนั้นใช้เงินและมีต้นทุนในการบริหารจัดการที่ค่อนข้างสูง และหากกระทำแล้วมันไม่เห็นผลเลยทันที ซึ่งอาจทำให้ผู้บริหาร/เจ้าของบริษัทอาจละเลยไม่ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือ หลบเลี่ยงไปปิดเอาตอนเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แทนที่จะสร้างระบบในการควบคุมภายในองค์กร/บริษัท
      การที่กรมฯ ออกกฏหมายให้บริษัทฯจัดให้มี
      " บุคคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง " (Transport Safety Manager-TSM) นั้นถือเป็นจุดเริ่มต้น ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพราะการไม่มีระบบการจัดการ (Management System) ซึ่งอาจจะเกิดจาก
      1. ผู้บริหาร/กรรมการ อาจไม่รู้ว่าการมีระบบการจัดการ (Transport Safety Manager-TSM) ที่ดีมันต้องทำอย่างไร ?
      2. ผู้บริหาร/กรรมการ อาจไม่รู้ว่าการมีระบบการจัดการ (Transport Safety Manager-TSM) ต้นทุนในการทำธุรกิจมันลดลง และเพิ่มกำไรได้ อย่างไร ?
      3. ผู้บริหาร/กรรมการ อาจไม่รู้ว่าการมีระบบการจัดการ (Transport Safety Manager-TSM) มันสร้างโอกาสมากมายในการได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าในธุรกิจพลังงานได้ อย่างไร ?
      ทั้งนี้หากสนใจพูดคุยเรื่อง " Transport Safety Manager " เพื่อแลกเปลี่ยนประสพการณ์ร่วมกัน
      สามารถพบกันได้ที่ Savedee Driver ฉะเชิงเทรา
      ขอบคุณ...และ สวัสดีครับ...

  • @panyapanpiriyamanan1575
    @panyapanpiriyamanan1575 5 หลายเดือนก่อน +1

    TSM ต้องมีความเข้มงวด