Doctor talk - การผ่าตัดสมอง น่ากลัวจริงหรือ l โรงพยาบาลนครธน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 ก.ย. 2023
  • 🔹 การผ่าตัดสมองจำเป็นกับคนไข้ทุกรายหรือไม่ 🔹
    โดยหลักการ จะดูจากการดำเนินโรคแต่ละโรค หากปล่อยทิ้งไว้ คนไข้ก็จะมีความผิดปกติ หรือเสียชีวิตในอนาคตแน่นอน จึงจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดสมอง อีกส่วนหนึ่งที่จะต้องพิจารณาร่วมกันก็คือ โรคชนิดนี้ สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ไหม ถ้าสามารถรักษาด้วยการให้ยาได้ หรือการฉายแสงได้ ก็จะส่งผู้ป่วยไปให้ยารักษา หรือฉายแสง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด แต่ในกรณีที่โรคนั้นไม่สามารถให้การรักษาด้วยวิธีอื่นได้ หรือว่าไม่ดีเท่าการผ่าตัด แพทย์จึงจะเสนอการผ่าตัดให้กับผู้ป่วย
    --------------------------------------
    🔹 การผ่าตัดสมอง มีวิธีการอย่างไร 🔹
    สำหรับการผ่าตัดสมอง แบ่งหลักๆ ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
    ✅ การผ่าตัดเปิดกระโหลกศีรษะ
    ✅ การผ่าตัดแบบส่องกล้องเข้าไป
    ✅ การเจาะรู เพื่อที่จะตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเท่านั้น
    การพิจารณาการผ่าตัดแต่ละแบบ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม ยกตัวอย่าง ในหลายๆ ท่านมักจะถามว่า โรคของฉันนั้น สามารถผ่าตัดด้วยการส่องกล้องได้ไหม อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าบริเวณที่ผ่าตัดมีช่องว่างเพียงพอที่จะให้กล้องส่องเข้าไปได้หรือเปล่า ซึ่งโดยปกติแล้วทางทีมแพทย์ ก็จะทราบดีอยู่แล้วว่าตำแหน่งไหนที่จะสามารถทำได้ ก็จะเสนอวิธีการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง แต่ถ้าหากบางตำแหน่งทำไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดใหญ่ หรืออาจแค่เจาะเอาชิ้นเนื้อเล็กๆ มาตรวจก่อน
    --------------------------------------
    🔹 ความเสี่ยงในการผ่าตัดโรคทางสมอง 🔹
    สำหรับการผ่าตัดสมอง ถือว่าเป็นการผ่าตัดที่มีความอันตรายเป็นอันดับต้นๆ เพียงแต่ว่าการผ่าตัดในปัจจุบันก็มีความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยเครื่องมือ องค์ความรู้ และทีมงานต่างๆ ก็มีการฝึกอบรมมาอย่างเชี่ยวชาญ เพราะฉะนั้น ในการผ่าตัดสมองนั้นเปอร์เซ็นต์ที่จะเกิดปัญหารุนแรงอยู่ในเกณฑ์น้อย
    --------------------------------------
    🔹 เครื่องมือสำคัญในการตรวจวินิจฉัย และผ่าตัดสมอง 🔹
    สำหรับเครื่องมือช่วยในการผ่าตัด หรือวินิจฉัย มีตั้งแต่การใช้กล้องส่องเข้าไป เป็นกล้องกำลังขยายสูง เพื่อสามารถส่องเข้าไปผ่าตัดในส่วนที่มีความลึกได้มาก หรือเป็นกล้องเอ็นโดสโคป คือกล้องที่มีขนาดเล็ก ส่องเข้าไปในบริเวณโพรงสมองเพื่อช่วยในการผ่าตัด หรือแม้กระทั่งเครื่อง Angiogram ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ฉีดสี เพื่อการวินิจฉัยโรคทางหลอดเลือด ก็จะมีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทั้งหมด
    --------------------------------------
    🔹 การดูแลผู้ป่วยโรคสมอง และระบบประสาทของโรงพยาบาลนครธน 🔹
    โรงพยาบาลนครธนในแง่ของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคระบบประสาท และสมอง มีทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพที่ช่วยกันดูแล มีทีมดูแลผู้ป่วยวิกฤต (ICU) และทีมงานห้องผ่าตัดที่ผ่านการอบรมมาอย่างดี ส่วนเครื่องมือทางการแพทย์ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไบเพลน (Biplane) ที่เป็น Angiogram กล้องเอ็นโดสโคป หรือกล้องไมโครสโคป ทางโรงพยาบาลนครธนมีเตรียมพร้อม และอุปกรณ์ทันสมัย สามารถดูแลผู้ป่วยโรคทางสมองได้อย่างมีมาตรฐาน
    --------------------------------------
    👉 สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษา ได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท สามารถดูแลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    --------------------------------------
    👩‍🔬 ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์สมองและระบบประสาท
    ผศ.นพ.พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์ (bitly.ws/Uvgd)
    --------------------------------------
    📞 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 1 โรงพยาบาลนครธน โทร. 02 450 9999 ต่อ 1050-1051 (bit.ly/3Zsjznh)
    📢 หากไม่อยากพลาดข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อย่าลืมกด ติดตาม' และ 'กดกระดิ่ง' 🔔 ด้วยนะคะ 📢
    หรือติดตามสาระความรู้เรื่องสุขภาพจากโรงพยาบาลนครธน ในช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
    👉 Facebook : / nakornthon
    👉 Line@ : goo.gl/rbuBMq
    👉 Website : nakornthon.com/
    👉 IG : / nakornthon
    #NakornthonHospital #มั่นใจนครธน #โรคหลอดเลือดสมอง #Biplan #ไบเพลน #ผ่าตัดสมอง #กล้องเอ็นโดสโคป #กล้องไมโครสโคป

ความคิดเห็น • 1

  • @wandidimee5986
    @wandidimee5986 3 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากคะ