จับตาวิกฤตน้ำ! ตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวัง 24 ชม. หลังเขื่อนใหญ่น้ำทะลักเกินเกณฑ์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ก.ย. 2024
  • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ได้จัดตั้ง ศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหารือแผนปฏิบัติศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต เนื่องจากตอนนี้หลายพื้นที่ของไทยเริ่มมีน้ำหลาก ประกอบกับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางหลายแห่ง มีปริมาณน้ำมากกว่าเกณฑ์ควบคุมที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงป้องกัน และไม่ให้เกิดความเสียหายที่เกิดจากน้ำ ทั้งลุ่มน้ำภายในประเทศ และลุ่มน้ำระหว่างประเทศ ในการอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

    สำหรับสถานการณ์น้ำในประเทศ พบมีพื้นที่น่าเป็นห่วงอยู่ 3 เขื่อน คือ 1.เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
    2.เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร
    3.เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี
    ซึ่งขณะนี้ทั้ง 3 เขื่อน มีปริมาณความจุของน้ำเกินปริมาณกักเก็บ แต่ยังไม่อยู่ในระดับล้นเขื่อน ซึ่งภายใน 10 วัน จะบริหารจัดการน้ำทั้ง 3 เขื่อนให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ และเตรียมมาตรการป้องกัน
    ทั้งนี้ วันที่ 3 - 4 สิงหาคมนี้ จะมีฝนตกบริเวณลุ่มน้ำเพชรบุรีมาก คาดว่าน้ำในเขื่อนแก่งกระจานเต็ม 100% อาจประสบปัญหาระบายน้ำไม่ทัน ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณท้ายเขื่อนและบริเวณใกล้เคียง จึงอยากให้ประชาชนเตรียมตัวพร้อมรับกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นด้วย ในส่วนบริเวณ อุทยานแห่งชาติภูพาน จ.สกลนคร และกาฬสินธุ์ ยังมีฝนตกมาก ส่งผลให้ลุ่มน้ำสงครามระบายน้ำลงแม่น้ำโขงได้ช้า จะเกิดน้ำท่วมขังอยู่ในลุ่มน้ำสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนน้ำอูนลงไปสู่ลุ่มน้ำสงคราม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.วานรนิวาส อ.อากาศอำนวย อ.พังโคน และอ.ศรีสงคราม

    สำหรับเขื่อนน้ำอูน ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯ 525 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) มีน้ำล้นทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน ประมาณ 6 เซนติเมตร หรือคิดเป็นปริมาณน้ำล้น 1.22 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน กรมชลฯ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยในการระบายน้ำเพิ่มอีก 15 ชุด จากเดิมมีอยู่ 10 ชุด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำจาก 3.60 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เป็น 4.15 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน
    เขื่อนแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 656 ล้านลบ.ม. มีน้ำมากกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำสูงสุด 219.81 ล้านลบ.ม. และมีการระบายน้ำ 9 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ส่วนการเพิ่มการระบายน้ำยังทำได้ยาก เนื่องจากลุ่มน้ำสงครามซึ่งเป็นทางผ่านน้ำก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง มีปริมาณน้ำฝนและน้ำจากเทือกเขาภูพานที่ไหลมาบรรจบกันจำนวนมาก ทำให้ระบายสู่แม่น้ำโขงได้ช้า นอกจากนี้คาดว่าปริมาณฝนที่จะตกลงมาเพิ่มจะทำให้พื้นที่ในอำเภอวานรนิวาส อากาศอำนวย พังโคน ศรีสงคราม เกิดภาวะน้ำท่วมด้วย
    ส่วนเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 7,298 ล้านลบ.ม. มีน้ำมากกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำสูงสุด 1,038 ล้านลบ.ม. ปัจจุบันมีการระบายน้ำอยู่ที่ 36 ล้านลบ.ม. และทางกรมชลฯ เห็นว่าพื้นที่ท้ายน้ำยังมีช่องว่างรับน้ำได้อีก 140 ล้านลบ.ม. จึงอยากจะปรับการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 43 ล้านลบ.ม. เพื่อให้เขื่อนสามารถรองรับน้ำในช่วงเดือนส.ค.เพิ่มอีก ซึ่งการปรับแผนครั้งนี้จะรีบหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าน้ำจำนวนนี้ถ้าระบายไปแล้ว พื้นท้ายน้ำจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
    ด้าน นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. เปิดเผยว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายจังหวัดบริเวณริมแม่น้ำโขง ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งอยู่ในเกณฑ์มาก จำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำ อาจส่งผลให้ปริมาณน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำและพื้นที่การเกษตร จึงได้ประสานให้จังหวัดที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำโขงเฝ้าระวัง และ เตรียมพร้อมรับมือระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น
    โดยติดตั้งระบบสูบน้ำ บริหารการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นและระบายน้ำออกตามสภาพพื้นที่ พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และจัดหาสถานที่ปลอดภัยรองรับการอพยพประชาชน โดยกำชับให้หน่วยงานในพื้นที่เสี่ยงภัย จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ให้พร้อมความช่วยเหลือประชาชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    ขณะที่ นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ฐานะรับผิดชอบกลุ่มงานด้านสำนักการระบายน้ำ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำที่มีปริมาณน้ำมากในปีนี้ ว่า ได้สั่งการให้สำนักการระบายน้ำจัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและรับมือสถานการณ์ดังกล่าว โดยให้เรียกประชุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นการเร่งด่วน ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.ยังได้จัดประชุมร่วมกับจังหวัดปริมณฑลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมร่วมกัน
    สำหรับข้อกังวลว่าปริมาณน้ำมากกล่าวจะทำให้กทม.เกิดน้ำท่วมหรือไม่นั้น ยังไม่เป็นกังวล แต่กทม.มีการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานผลระดับน้ำทุกวัน
    รายละเอียดเพิ่มเติม :morning-news.be...
    เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ (Morning News) 4 สิงหาคม 2561
    ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารได้ก่อนใครได้ที่นี่
    เรื่องเล่าเช้านี้.com : morning-news.be...
    facebook : / morningnewstv3
    Twitter : / morningnewstv3

ความคิดเห็น • 286