14. (มือใหม่) ถาม-ตอบ กับพระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน (ฉบับแก้ไข)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ก.ย. 2024
  • ****ปรับเสียงให้ดังขึ้น****
    กราบระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์ พระธรรม และพระสงฆ์
    กราบขอบคุณครูอาจารย์ทุกท่านที่มอบความรู้เพื่อการนำมาเผยแผ่
    ขอบคุณคลิปต้นฉบับจาก หลักสูตร "เผชิญความตายอย่างสงบ" รพ.สมุทรปราการ และ YBATofficial Audiovisual
    ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและเผยแผ่ ภาพ/เสียง/วีดีโอ ฯลฯ เหล่านี้ไว้ในวาระต่างๆ
    และขออนุญาตนำมาสืบทอดเผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทานสืบต่อกันไป
    ดูคลิปอื่นๆ ใน Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ที่ / @satipunya
    ผู้ที่ไม่เคยฝึกกรรมฐาน หรือสนใจเรียนรู้เรื่องกรรมฐานและการเจริญสติแบบเข้าใจง่าย!! ดูที่ • [คลิกตรงนี้] ส่วนที่ 2...
    ---------------------------------------------------------------------------------
    Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ไม่มีการรับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีการรับรายได้ใดๆ ทั้งสิ้น จาก youtube
    เพราะฉะนั้น เกือบทุกคลิปที่ upload โดย "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" จะไม่มีโฆษณาแทรก
    นอกจาก 2 กรณีดังต่อไปนี้ที่ "อาจจะ" มีโฆษณาแทรก คือ
    1. เป็นคลิปที่เราไม่ได้ upload เอง แต่เป็นการแชร์คลิปมาจาก Channel อื่นๆ ซึ่งคลิปเหล่านั้นมีเงื่อนไขในการโฆษณาติดมากับคลิปด้วย
    2. เป็นคลิปที่เรา upload เอง แต่ไฟล์ต้นฉบับมีภาพหรือเสียงที่เป็นลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
    ในกรณีนี้ youtube และเจ้าของลิขสิทธิ์ อนุญาตให้เราเผยแพร่ได้ แต่ "อาจจะ" มีโฆษณาแทรก
    และรายได้ต่างๆ (หากจะพึงมีเกิดขึ้นตามเงื่อนไขของ youtube) จะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น

ความคิดเห็น • 18

  • @satipunya
    @satipunya  5 ปีที่แล้ว +1

    สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจวิธีในการฝึกฝนเจริญสติ ขอแนะนำให้ดูคลิปใน [ส่วนที่ 1]
    th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
    จะรวบรวมประเด็นที่ผู้ฝึกฝนควรรู้ โดยไล่ดูตามลำดับที่จัดเรียงไว้ ก็จะช่วยลำดับความเข้าใจให้ได้มากขึ้น
    หลวงพ่อเทียนใช้คำว่า "เห็นความคิด ดูความคิด หรือ เห็นจิต ดูจิต"
    ไม่ได้หมายถึง ให้เราเอาจิตใจไปเฝ้าจ้องว่า เมื่อไหร่จะเกิดความคิด
    เมื่อไหร่ใจจะเผลอคิด เผลอไปในอารมณ์ต่างๆ
    หรือ เมื่อเผลอคิดไปแล้ว ก็ไปตามดูความคิด ว่ามันคิดอะไร ไปหาสาเหตุ
    ไปหานิยาม ไปหาทางแก้ หรือหลงไปปรุงแต่งเป็นความรู้สึก/อารมณ์ต่างๆ
    เช่น ไปหงุดหงิด ไปยินดียินร้ายกับมัน ฯลฯ
    ..ไม่ใช่แบบนั้น!!
    แต่หลวงพ่อเทียนต้องการสื่อถึง "การเห็นความคิด หรือดูความคิด"
    โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด ไม่หลงไปตามความคิดหรืออารมณ์ ไม่ไปปรุงแต่งต่อเติม ฯลฯ
    เปรียบเหมือนเราเป็นคนดูมัน เห็นมันห่างๆ จากข้างนอก
    โดยเราไม่ได้เข้าไปคลุกวงในกับมัน ไม่เข้าไปพัวพันกับมัน
    วิธีฝึกฝน ก็เป็นวิธีฝึกเจริญสติ หรือฝึก "ความรู้สึกตัว" ที่ "มือใหม่" ได้ถูกย้ำเตือนบ่อยๆ
    คือ ฝึกให้มี "ความรู้สึกตัว" กับการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกอิริยาบถ
    และ/หรือ ให้เจตนาสร้างการเคลื่อนไหวร่างกาย (สร้างจังหวะ)
    แล้วรู้สึกเบาๆ สบายๆ กับกายที่เคลื่อนไหว
    หรือจะเรียกว่า ให้จิตใจตั้งอยู่กับ "ความรู้สึกตัว" หรือการระลึกรู้ในอาการต่างๆ ของร่างกาย
    (เช่น กายมีการเคลื่อนไหว มีการหยุดนิ่ง มีการตึง/หย่อน มีการกระทบสัมผัสต่างๆ เป็นต้น)
    ...ไม่ใช่เอาจิตใจไปเฝ้าจ้องเพื่อจะเห็นหรือตามดูความคิด/อารมณ์ต่างๆ
    เมื่อ "รู้สึกตัว" ไปสักพัก จิตใจมันจะเผลอคิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติของมัน
    สำหรับผู้ฝึกใหม่ กว่าจะรู้ตัว รู้ทัน หรือระลึกได้ว่า ตัวเองกำลังเผลอคิดอยู่
    ก็อาจจะเผลอคิดไปแล้วนานหลายนาที
    แต่เมื่อฝึกฝนมากๆ เข้า สติแข็งแรงขึ้น
    เราจะรู้ทัน "การเผลอคิด" ได้ไวขึ้น และบ่อยขึ้นเอง
    เมื่อฝึกจนชำนาญมากๆ อีกหน่อยพอเผลอคิดปุ๊บ เราก็รู้ทันปั๊บ!!
    เมื่อ "รู้ทัน-รู้ตัว-ระลึกขึ้นมาได้ว่าตัวเองกำลังเผลอคิด กำลังเผลอไปกับอารมณ์ต่างๆ"
    แล้วควรทำอย่างไรต่อไป?
    ก็ให้ทิ้งความคิด/อารมณ์ต่างๆ ทันที!!
    .. เมื่อใดที่รู้ตัวว่าเผลอคิดปุ๊บ ก็ให้ทิ้งความคิดไปทันที
    ไม่คิดต่อ ไม่ปรุงแต่งต่อเติม ไม่ไหลไปตามความคิด/อารมณ์ต่างๆ
    ไม่ต้องไปหาความหมาย ไม่ต้องไปหาสาเหตุใดๆ ทั้งสิ้น
    ..ให้ทิ้งความคิด/อารมณ์ต่างๆ ทันที!! ..แล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    คือการพาใจกลับมาตั้งไว้กับความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายเช่นเดิม!!
    เดี๋ยวสักพัก ใจก็อาจจะเผลอคิดไปอีก
    พอเรารู้ทันว่าใจมันเผลอไปอีก ก็ทิ้งความคิดทันทีแล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    ทำแบบนี้วนๆ ไปเช่นเดิม
    ฝีกแบบนี้ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนเมื่อสติตั้งมั่น แข็งแรง ว่องไวมากขึ้น
    ก็จะพัฒนาไปสู่ "การเห็นความคิด โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด"
    และจะพาไปสู่การปล่อยวางความคิด/อารมณ์ ได้มากขึ้น
    หรือเมื่อมีอะไรมากระทบกายและใจ ไม่ว่าจะ "เรื่องทุกข์หรือสุข"
    เราก็จะรับรู้สิ่งเหล่านั้นด้วยจิตใจที่เป็นปกติ เป็นกลางๆ
    ใจไม่ไหลจมดิ่งไปกับความทุกข์ และไม่หลงลอยไปกับความสุข
    คลายความยึดมั่นในเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น
    การปรุงแต่งฟุ้งซ่านจะน้อยลงเรื่อยๆ
    และทำให้ใจยอมรับในสัจธรรมของชีวิตได้มากขึ้น
    มีสติปัญญารับมือกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น
    ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันจะเป็นไปเองตามกลไกธรรมชาติ
    ขอเพียงแค่เพียรฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่องมากพอ
    เราสามารถหาโอกาสฝึกการเจริญสติ หรือ ฝึก "ความรู้สึกตัว"
    ให้ผสมผสานกับชีวิตประจำวัน ได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา
    คำแนะนำเพิ่มเติม
    - แนะนำการเจริญสติตามแนวทางหลวงพ่อเทียน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล th-cam.com/video/GWwIGxicOMA/w-d-xo.html
    - หลวงพ่อเทียนสอบอารมณ์ th-cam.com/video/477997jEPdg/w-d-xo.html
    - วิธีเจริญสติง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน th-cam.com/video/qoK88FDoO_E/w-d-xo.html
    - หลักการง่ายๆ ภายใน 1 นาที.."กลับมารู้สึกตัว" th-cam.com/video/df0Nls10qX0/w-d-xo.html
    - ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม th-cam.com/video/0F9Uc8gt1gU/w-d-xo.html
    - เห็นความคิด-อารมณ์ โดยไม่หลงเข้าไป "อิน" จะทำได้อย่างไร? th-cam.com/video/NwSKqJFaE6U/w-d-xo.html
    - ไฮไลท์ คือ เมื่อหลงไป แล้วกลับมาได้ th-cam.com/video/oGLkbmKypBg/w-d-xo.html
    - เจริญสติไม่ยาก แต่ที่ว่ายาก เพราะอยากได้ดั่งใจ th-cam.com/video/ocG1E6O-zGo/w-d-xo.html
    - สภาพเดิมของจิต คือ รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ th-cam.com/video/lVAhyfIoeGg/w-d-xo.html
    - วิธีง่ายๆ เพื่อดับทุกข์ใจ th-cam.com/video/yUyob1-DKlk/w-d-xo.html

    • @satipunya
      @satipunya  5 ปีที่แล้ว

      สำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนเจริญสติ (สติปัฏฐาน) ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      1. การเริ่มต้นฝึกฝนในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      หากสะดวกหรือสนใจที่จะได้เรียนรู้โดยตรงกับครูอาจารย์ต่างๆ
      ก็ลอง search หาใน google ว่าสะดวกจะไปที่ไหน หรือลองดูจาก link นี้
      facebook.com/Sanamnai/photos/a.365802240102946.108142.361998700483300/1319466311403196/?type=3
      เป็นสถานที่ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      2. หรือหากจะเริ่มต้นฝึกฝนโดยดูคลิปต่างๆ จาก channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน"
      ก็ให้เข้าไปที่ [ส่วนที่ 1] th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
      ซึ่งจะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่มือใหม่ควรจะรู้
      เราพยายามจัดเรียงลำดับของคลิปไว้ตามหมายเลข
      เพื่อลำดับความเข้าใจให้มือใหม่ไม่สับสน ไล่ดูไปเรื่อยๆ ตามลำดับที่เรียงไว้
      ไม่เกินคลิปหมายเลข 7.8 หรือใกล้เคียงกันนั้น
      ก็จะเป็นการปูพื้นฐานจนเกือบครบถ้วนแล้ว
      ส่วนคลิปหลังจากนั้น ก็เป็นการขยายความบ้าง
      เป็นส่วนเสริมบ้าง หรือเป็นการตอกย้ำบ้าง
      เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า "มือใหม่"
      จะต้องดูคลิปใน [ส่วนที่ 1] จนหมดให้ครบถึงคลิปสุดท้าย
      แล้วจึงค่อยลงมือเริ่มฝึกฝน ไม่ใช่แบบนั้น!!
      คือ ดูไปเรื่อยๆ สัก 2-3 คลิป จนเริ่มรู้หลักการคร่าวๆ
      รู้วิธีฝึกคร่าวๆ แล้วก็เริ่มเอาวิธีการไปลงมือฝึกได้เลย
      แล้วพอว่างๆ ก็ค่อยๆ มาดูคลิปเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
      เมื่อพอจะเริ่มเข้าใจวิธีฝึก ก็ให้ลงมือฝึกฝนบ่อยๆ
      หากมีข้อสงสัยอะไร ก็ทิ้งคำถามไว้ที่ใต้คลิปนั้น
      เราก็จะพยายามหาคำแนะนำของครูอาจารย์มาช่วยคลี่คลายให้
      3. หรือหากมีเวลาพอสมควร พอที่จะดูคอร์สการบรรยายที่ยาวหน่อยได้
      ก็อยากให้ดูการสอนกรรมฐานแบบเข้าใจง่ายใน [ส่วนที่ 2]
      th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosrqwu1E23iCftSJobZU6sK8.html
      จะช่วยปูพื้นฐานอย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

    • @ttkds7954
      @ttkds7954 3 ปีที่แล้ว +2

      ขอบพระคุณมากค่ะ เพิ่งเริ่มฝึกค่ะ

    • @satipunya
      @satipunya  3 ปีที่แล้ว +1

      @@ttkds7954 ขอส่งกำลังใจให้ผู้ฝึกฝนทุกท่านค่ะ

  • @thaninwattanathamrong8747
    @thaninwattanathamrong8747 2 ปีที่แล้ว

    อนุโมทนาสาธุครับ

  • @tanya5023
    @tanya5023 ปีที่แล้ว

    อนุโมทนาสาธุ ค่ะ คลิปน้ีดีมากเลยค่ะ เข้าใจง่าย ขอบคุณผู้จัดทำมากค่ะ ที่แนะนำมา

    • @satipunya
      @satipunya  ปีที่แล้ว +1

      ขอส่งกำลังใจให้ผู้ฝึกฝนทุกท่านค่ะ

  • @วิภาดารุ่งรัตนพัฒนา

    ดีมากๆค่ะเมื่อตอนหัดใหม่ๆมุ่งที่สมาธิ..ทำไม่ได้จึงทิ้ง..ที่นี้ได้คีย์แล้วจากคลิปนี้...รู้สึกตัวอย่างเดียว/รู้ซื่อๆ/รู้เฉยๆ..สาธุค่ะ...ขอบคุณท่านผู้จัดและทีมงาน

  • @ชมพูนุชจันทร์ตืน
    @ชมพูนุชจันทร์ตืน 4 ปีที่แล้ว +4

    มีกำลังใจขึ้นเยอะเจ้าคะ ฝึกต่อไป

    • @satipunya
      @satipunya  4 ปีที่แล้ว +2

      ขอส่งกำลังใจให้ผู้ฝึกฝนทุกท่านครับ

  • @ชวพรกุมลา-ฤ8ส
    @ชวพรกุมลา-ฤ8ส 2 ปีที่แล้ว

    นอนรุ้สึกตัว มีคำบริกรรม เพื่อเป็นที่มั่นของจิต ..
    รุ้สึกพุทโธ อยุ่ลอย ๆ ไม่ได้อยุ่ตาม ลมหายใจ มีสภาวะเป็น ตัวรุ้ เป็นกลาง เบา ๆ เหมือน ผิวน้ำเย็น ๆ ...
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอารมณ์ เหนือการตาย ไม่เสียดาย ในการตาย..
    แบบนี้ ควรแก้ไข อย่างไรคะ.
    น้อมกราบค่ะ สาธุๆๆ

    • @satipunya
      @satipunya  2 ปีที่แล้ว

      ต้องขออภัยด้วยนะคะ เนื่องจากช่องยูทูบนี้ ไม่มีครูอาจารย์มาตอบคำถามโดยตรง
      ถ้าเป็นเรื่องสภาวธรรมหรือเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ก็อาจจะเกินปัญญาของผู้จัดทำฯ ที่จะตอบได้ค่ะ
      แต่พอจะให้คำแนะนำได้คร่าวๆ ว่า...
      1. การฝึกแบบมีคำบริกรรม ใช้คำบริกรรมเป็นที่ตั้งมั่นของจิต ก็สามารถทำได้ค่ะ ไม่ได้ผิดหลักการอะไร
      ลองดูคำอธิบายในคลิปนี้อีกครั้งนะคะ ดูตั้งแต่ต้นคลิปจนจบเลยก็ได้ค่ะ
      และเน้นย้ำในช่วงนาทีที่ 15:24 ถึง 16:42
      2. หลักการฝึกสติปัฏฐาน ถ้าจะอธิบายแบบสั้นๆ ง่ายๆ คือ
      ตั้งอารมณ์กรรมฐานขึ้นมา โดยพาใจไปตั้งไว้
      หรือ พาใจไประลึกรู้...ในฐานใดฐานหนึ่ง
      ให้ใจระลึกรู้ในฐานนั้น แต่เป็นการระลึกรู้แบบเบาๆ สบายๆ
      ไม่เพ่ง ไม่จดจ่อมากเกินไป
      ใจที่ตั้งมั่นไว้ที่ฐาน ใจมันจะทำหน้าที่แค่ "รู้สึกเฉยๆ"
      เช่น ตั้งฐานการระลึกรู้ไว้ที่ลมหายใจ
      ใจก็จะรับรู้ว่า มีลมหายใจเคลื่อนเข้าๆ ออกๆ
      ใจจะทำหน้าที่แค่ "รู้เฉยๆ" ไม่ได้คิดปรุงแต่งอะไร
      แค่ "รับรู้" เฉยๆ ว่ามีอะไรเกิดขึ้น
      แล้วพอสักพัก มันเป็นเรื่องปกติที่ใจมันจะเผลอหลุดออกจากฐานที่ตั้งไว้
      พอใจมันเผลอหลุดออกจากฐานที่ตั้งไว้
      ใจมันจะเผลอส่งจิตออกนอก
      ใจมันจะเผลอไปสนใจเรื่องอื่น
      ใจมันจะเผลอไปคิดเรื่องอื่นๆ
      ใจมันจะคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องราวต่างๆ
      ปรุงแต่งไปเป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
      ใจมันจะเผลอไปนานแค่ไหน ก็ไม่เป็นไร
      เราทำหน้าที่แค่ ...
      "เมื่อเรารู้ทัน เมื่อเรารู้ตัวว่าใจมันเผลอหลุดออกจากฐานไปแล้ว
      เผลอคิดไปเรื่องอื่นๆ แล้ว
      เราก็ทิ้งความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เหล่านั้นทันที!!
      แล้วพาใจกลับมาตั้งไว้ที่ฐานเช่นเดิม"
      ฝึกแบบนี้วนๆ ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จะเป็นการพัฒนาให้สตินั้นแข็งแรงขึ้น
      เราจะรู้ทันจิตใจที่มันหลุดออกไปจากฐานได้ไวขึ้น ได้บ่อยขึ้น
      นี่เป็นหลักการฝีกสติปัฏฐานแบบสั้นๆ ง่ายๆ ค่ะ
      3. นี่เป็นเทคนิคการฝึกสติปัฏฐานตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      ซึ่งหลวงพ่อเทียนจะสอนให้ตั้งอารมณ์กรรมฐาน โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย
      ไม่ได้ใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์กรรมฐาน ไม่ได้ใช้คำบริกรรม
      แต่ก็เป็นหลักการเดียวกันของสติปัฏฐานค่ะ
      หากเข้าใจหลักสติปัฏฐาน ก็สามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบค่ะ

    • @satipunya
      @satipunya  2 ปีที่แล้ว +1

      เพราะฉะนั้น หากยังสงสัย หรืออยากหาข้อมูลเพิ่มขึ้น
      ก็สามารถทำได้สองทาง คือ
      1. ปรึกษาผู้รู้หรือครูอาจารย์ที่สอนในแนวทางที่ใช้ลมหายใจหรือคำบริกรรม
      ก็จะช่วยให้ผู้ฝึกฝนลดความสับสนได้ค่ะ เพราะถ้ายังไม่แม่นหลักการพื้นฐานในการฝึกสติปัฏฐาน
      แล้วมาฟังการอธิบายซึ่งใช้เทคนิคในการฝึกที่ต่างกันไป ก็อาจทำให้สับสนได้ง่ายค่ะ
      หรือ
      2. หากอยากเรียนรู้เทคนิคของหลวงพ่อเทียน ซึ่งก็เป็นหลักสติปัฏฐานเดียวกันนั่นแหละค่ะ
      ก็สามารถดูรายละเอียดได้ตามข้อมูลด้านล่างนี้ค่ะ
      สำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนเจริญสติ (สติปัฏฐาน) ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      A. การเริ่มต้นฝึกฝนในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      หากสะดวกหรือสนใจที่จะได้เรียนรู้โดยตรงกับครูอาจารย์ต่างๆ
      ก็ลอง search หาใน google ว่าสะดวกจะไปที่ไหน หรือลองดูจาก link นี้
      facebook.com/Sanamnai/photos/a.365802240102946.108142.361998700483300/1319466311403196/?type=3
      เป็นสถานที่ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      B. หรือหากจะเริ่มต้นฝึกฝนโดยดูคลิปต่างๆ จาก channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน"
      ก็ให้เข้าไปที่ [ส่วนที่ 1] th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
      ซึ่งจะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่มือใหม่ควรจะรู้
      เราพยายามจัดเรียงลำดับของคลิปไว้ตามหมายเลข
      เพื่อลำดับความเข้าใจให้มือใหม่ไม่สับสน ไล่ดูไปเรื่อยๆ ตามลำดับที่เรียงไว้
      ไม่เกินคลิปหมายเลข 7.8 หรือใกล้เคียงกันนั้น
      ก็จะเป็นการปูพื้นฐานจนเกือบครบถ้วนแล้ว
      ส่วนคลิปหลังจากนั้น ก็เป็นการขยายความบ้าง
      เป็นส่วนเสริมบ้าง หรือเป็นการตอกย้ำบ้าง
      เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า "มือใหม่"
      จะต้องดูคลิปใน [ส่วนที่ 1] จนหมดให้ครบถึงคลิปสุดท้าย
      แล้วจึงค่อยลงมือเริ่มฝึกฝน ไม่ใช่แบบนั้น!!
      คือ ดูไปเรื่อยๆ สัก 2-3 คลิป จนเริ่มรู้หลักการคร่าวๆ
      รู้วิธีฝึกคร่าวๆ แล้วก็เริ่มเอาวิธีการไปลงมือฝึกได้เลย
      แล้วพอว่างๆ ก็ค่อยๆ มาดูคลิปเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
      เมื่อพอจะเริ่มเข้าใจวิธีฝึก ก็ให้ลงมือฝึกฝนบ่อยๆ
      หากมีข้อสงสัยอะไร ก็ทิ้งคำถามไว้ที่ใต้คลิปนั้น
      เราก็จะพยายามหาคำแนะนำของครูอาจารย์มาช่วยคลี่คลายให้
      C. หรือหากมีเวลาพอสมควร พอที่จะดูคอร์สการบรรยายที่ยาวหน่อยได้
      ก็อยากให้ดูการสอนกรรมฐานแบบเข้าใจง่ายใน [ส่วนที่ 2]
      th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosrqwu1E23iCftSJobZU6sK8.html
      จะช่วยปูพื้นฐานอย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

    • @ชวพรกุมลา-ฤ8ส
      @ชวพรกุมลา-ฤ8ส 2 ปีที่แล้ว +1

      กราบขอบพระคุณ ในความกระจ่างค่ะ
      ขอสาธุ ๆ ๆ ค่ะ🙇‍♀️🙇‍♀️🙇‍♀️

  • @nwkaolin5716
    @nwkaolin5716 5 ปีที่แล้ว

    🙏🙏🙏สาธุ

  • @บ้านหมู-ฬ9จ
    @บ้านหมู-ฬ9จ 3 ปีที่แล้ว

    เข้าใจง่ายครับ

  • @MsPetcharee
    @MsPetcharee 5 ปีที่แล้ว +1

    น้อมกราบสาธุในพระธรรมคำสอนโดยความเคารพเจ้าค่ะ

  • @บ้านหมู-ฬ9จ
    @บ้านหมู-ฬ9จ 3 ปีที่แล้ว

    เข้าใจง่ายครับพระอาจารย์