ระบำย่องหงิด

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 เม.ย. 2017
  • ระบำย่องหงิด
    ประวัติที่มา
    เป็นระบำชุดหนึ่งซึ่งแทรกอยู่ในละครเรื่อง “อุณรุท” ตอน “ศุภลักษณ์วาดรูป” ระบำชุดนี้สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เข้าใจว่าแต่เดิมมีเพียงบทร้อง เพลงยู่หงิด แล้วจบด้วยเพลงเร็ว - ลา ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบำชุดนี้ขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยกรมพิทักษ์มนตรี (พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อย่างสูง สามารถในการประดิษฐ์ท่ารำได้อย่างงดงาม)
    ในการโกนจุกหม่อมหลวงวงศ์ กุญชร บุตรสาวเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์บทละครเรื่อง “อุณรุท” ตอน “อุ้มสมนางอุษา” เพื่อจัดแสดงในงานครั้งนี้ พระองค์ได้นำเอาระบำชุดนี้มาปรับปรุงเพลง บทร้องและท่ารำขึ้นใหม่
    ปัจจุบันระบำย่องหงิดเป็นระบำชุดเบ็ดเตล็ดแบบมาตรฐาน มีท่ารำงดงาม นิยมนำมาแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ (บางครั้งเรียกชื่อเรียกอย่างว่า “ยู่หงิด” ตามชื่อเพลงที่ร้อง)
    การแต่งกาย ยืนเครื่องพระ - นาง
    บทร้องเพลงย่องหงิด
    เพลงรัว
    เมื่อนั้น ฝ่ายฝูงเทพไทถ้วนหน้า
    ขยับย่างนวยนาฏเข้ามา ใกล้ฝูงนางฟ้ายุพาพาล
    แล้วซัดสองกรอ่อนชด ทำท่าพระรถโยนสาร
    เรียงรอคลอเคล้าเยาวมาลย์ ประโลมลานทอดสนิทไปในที
    นางสวรรค์กันกรป้องปัด บิดสบัดเบี่ยงบ่ายชายหนี
    เทพบุตรทำท่าม้าตีคลี ท่วงทีเวียนตามอันดับกัน
    ง ปี่พาทย์ทำเพลงตะเขิ่ง แขกเจ้าเซ็น

ความคิดเห็น • 1