จำเลยรัก 68 Cm 56 ลูกกรุง คาราโอเกะ 9NCN

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 พ.ย. 2024
  • เพลง จำเลยรัก
    คำร้อง - ชาลี อินทรวิจิตร/ทำนอง - สมาน กาญจนะผลิน
    เจ็บแค้นเคืองโกรธ โทษฉันไย
    ฉันทำอะไร ให้เธอเคืองขุ่น
    ปรักปรำ ฉันเป็นจำเลยของคุณ
    นี่หรือพ่อนักบุญ แท้จริงคุณคือคนป่า
    ไม่ขอคุกเข่า เฝ้าง้องอน
    แม้นใจขาดรอน ขอตายดีกว่า
    ไม่ขอ ร้องใครให้กรุณา
    ไม่ขอเศร้าโศกา หรือบีบน้ำตา อ้อนวอนใครๆ
    เชิญคุณ ลงทัณฑ์บัญชา
    จนสมอุรา จนสาแก่ใจ
    ไม่มีวัน ที่ฉันจะร้องไห้
    ร่ำไรเพราะฉันมิใช่ หญิงเจ้าน้ำตา
    กักขังฉันเถิด กักขังไป
    ขังตัว อย่าขังหัวใจดีกว่า
    อย่าขังหัวใจ ให้ทรมา
    ให้ฉันเศร้าโศกา เหมือนว่าฉันเป็น เช่นดังจำเลย
    เพลงนี้ บันทึกแผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ.2506 และถือได้ว่าเป็นเพลงฮิตอีกเพลงหนึ่งของศิลปินแห่งชาติผู้นี้
    ครูชาลี อินทรวิจิตร เขียนเล่าเอาไว้ ใน หนังสือ บันเทิง บางที ชาลี อินทรวิจิตร ถึงความเป็นมาเป็นไปของ เพลงจำเลยรักไว้อย่างน่าติดตาม ว่า...
    “..วงดนตรีประสานมิตร ในความควบคุมของ คุณพิบูล ทองธัช ทำให้ผมได้สัมผัสชีวิตกับ สมาน กาญจนะผลิน ชาลี อินทรวิจิตร, ชาลี อินทรวิจิตร, ประสิทธิ์ พยอมยงค์, สง่า อารัมภีร, ชาลี อินทรวิจิตร
    เป็นเรื่องน่าคิด ที่ชื่อมาคล้องจองกันโดยบังเอิญ ผมร่วมแต่งเพลงกับท่านทั้ง 3 นี้ เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะ คุณสมาน แต่งเพลงด้วยกันมากที่สุด ได้รับรางวัลร่วมกันมากมาย สุดยอดที่เป็นเพลงประจำชาติ ประจำแผ่นดิน ก็คือ เพลงสดุดีมหาราชา ในภาพยนตร์ เรื่อง ลมหนาว ของ ชรินทร์ นันทนาคร
    วิธีการแต่งเพลงของผมกับน้าหมาน ค่อนข้างจะไม่เหมือนใคร
    สมัยนั้น ประมาณ พ.ศ. 2503 มีห้องอัดเสียงอยู่ 3 แห่ง กมลสุโกศล ยีน ซีมอน และ อัศวินการละครและภาพยนตร์
    บังเอิญเพลงภาพยนตร์ต้องรีบอัดก่อน เพราะหนังกำลังใกล้จะฉายแล้ว
    ผมไปขอร้อง ผู้ที่เช่าห้องอัดเสียงในวันนั้น คือ คุณปรีชา เมตไตรย์ หัวหน้าวงดนตรีทหารอากาศว่าผมขอแทรก เพลงจำเลยรัก 1 เพลง เขาบอกว่า อาจจะได้ตอนช่วงบ่ายคล้อยเย็น เพราะ สวลี ต้องร้องอัดถึง 10 เพลง
    10.00 น. เพลงแรกของเขาเริ่มอัดแล้ว ระหว่างรอ ทีมงานกับผมก็เล่นรัมมี่กัน เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ซีเรียส
    น้าหมานมา เอาเนื้อเพลงท่อนแรกจากผม น้าหมานถนัดเอาเนื้อเพลงไปยัดใส่ทำนอง ไม่ใช่เอาทำนองไปใส่เนื้อ ผมเขียนเพลงท่อนแรกว่า “เจ็บแค้นเคืองโกรธ โทษฉันไย ฉันทำอะไร ให้เธอเคืองขุ่น ปรักปรำฉัน เป็นจำเลยของคุณ นี่หรือพ่อนักบุญ แท้จริงคุณคือคนป่า”
    20 นาทีต่อมา น้าหมานเอาแอกคอเดียน มาดีดทำนองที่แต่งแล้ว 1 ท่อน ให้ฟัง ผมขนลุกซู่ด้วยความไพเราะ ครึ่งชั่วโมงต่อมา เนื้อเพลงท่อนสองเสร็จเรียบร้อย...“ไม่ขอคุกเข่า เฝ้าง้องอน แม้ใจ ขาดรอน ขอตายดีกว่า ไม่ขอร้องใคร ให้กรุณา ไม่ขอเศร้าโศกา หรือบีบน้ำตา อ้อนวอนใครๆ”
    ถึงตรงนี้ ผมบอกน้าหมาน ว่า ให้ น้าหมาน แต่งทำนองมาก่อนดีกว่า ถ้าเพราะ ผมจะใส่เนื้อตาม น้าหมาน หายไปชั่วครู่ ก็กลับมาดีดทำนองท่อนแยกให้ฟัง ผมไม่ชอบ เพราะมันคล้ายกับท่อนหนึ่งและท่อนสอง ผมบอกว่าไม่เพราะเลย แกเถียงว่า เพลงไมเนอร์ ทำนองท่อนแยกควรจะเป็นไมเนอร์
    ผมเถียงว่า เปลี่ยนเป็นเมเจอร์มั่งไม่ได้เชียวหรือ ผิดกฎหมาย ถูกตัวหัวคั่งแห้งหรือเปล่า
    “มันต้องทำสะพานทั้งเข้าทั้งออก ไม่งั้นคนร้องจะล่ม” แกบอก
    “ถ้างั้น น้าหมาน ไปสร้างสะพานเพชร สะพานทอง สะพานไม้ได้เลย ผมต้องการท่อนแยกเป็นเมเจอร์”
    ครึ่งชั่วโมงต่อมา ทำนองท่อนแยกก็พลิ้วหวานในคอร์ดเมเจอร์ ดังกระหึ่มจากแอกคอเดียน ผมเขียนเนื้อตาม ด้วยความประทับใจ
    “เชิญคุณลงทัณฑ์ บัญชา จนสมอุรา จนสาแก่ใจ ไม่มีวัน ที่ฉันจะร้องไห้ ร่ำไร เพราะฉันมิใช่ หญิงเจ้าน้ำตา”
    ผมกระซิบกับ น้าหมาน ว่า “เพลงนี้จะดังที่สุด ถ้าไม่ดัง ผมเลิกแต่งเพลงเลย”
    “แล้วท่อนสุดท้าย เมื่อไหร่จะเสร็จ ล่ะ” เขาถาม
    ผมหลิ่วตากับเขา อย่างกระหยิ่มใจ แทนคำตอบ เพราะผมคั่วสเปโตอยู่ ใครทิ้งสเปโต ผมน็อกมืด แต่แล้วเกมนั้น ผมกลับถูกลบมืด เพราะมือเหนือ เขากักสเปโต
    ฉับไว เนื้อเพลงท่อนสุดท้าย ก็วาบขึ้นในสมองทันที “กักขังฉันเถิด กักขังไป ขังตัว อย่าขังหัวใจดีกว่า
    อย่าขัง หัวใจให้ทรมา ให้ฉันเศร้าโศกา เหมือนว่า ฉันเป็นเช่นดังจำเลย” เพลงจบ ผมลบมืด จริงๆ นะ จะบอกให้
    ผลงานเพลง ของ ครู ชาลี อินทรวิจิตร ได้รับ ความนิยมและ ได้รับรางวัลต่างๆมากมายหลายรางวัลด้วยกันอีกหลาย เช่น เพลงกุลสตรี เพลงกว๊านพะเยา เพลงทะเลไม่เคยหลับ เพลงทุ่งรวงทอง เพลงน้ำตานกขมิ้น เพลงมนต์รักดอกคำใต้ เพลงเรือนแพ เพลงยามชัง เพลงหยาดเพชร ฯลฯ
    ในปี พ.ศ. 2536 ครูชาลี อินทรวิจิตร ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง ผู้กำกับภาพยนตร์ ) จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อันถือว่า เป็นเกียรติยิ่งสำหรับ ครูเพลงผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงอันเป็นอมตะ ผู้นี้
    ธารทิพย์ สิทธิเชนทร์ เขียนไว้ ใน ปริญญานิพนธ์ วรรณกรรมเพลง ของ ชาลี อินทรวิจิตร ว่า
    “... ชาลี อินทรวิจิตร เป็นผู้ประพันธ์เพลงที่มีความสามารถ และ มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง ผลงานเพลงของท่าน ได้รับความนิยม และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้รับรางวัลต่างๆมากมาย... วรรณกรรมเพลง ของ ชาลี อินทรวิจิตร นอกจากสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยหลายด้านแล้ว ยังประกอบด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์ เป็นงานประพันธ์ที่ไพเราะ สละสลวยและประณีต ทั้งทางด้านฉันทลักษณ์ และการเลือกสรรถ้อยคำที่ใช้ จนเป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วไป” (เครดิต + kruplengthai ครูชาลี อินทรวิจิตร )

ความคิดเห็น •