การเสวนาและนำเสนอผลงาน การแสดงละครรำเบิกโรง เรื่อง วสันตนิยาย (รามสูร, นางเมขลา, พระอรชุน)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ย. 2024
  • การเสวนาและนำเสนอผลงาน การแสดงละครรำเบิกโรง เรื่อง วสันตนิยาย (รามสูร, นางเมขลา, พระอรชุน)
    ผู้ร่วมเสวนา
    ๑. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์
    ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์)(โขนพระ)
    ๒. อาจารย์อัจฉรา สุภาไชยกิจ
    ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ละครนาง)
    ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุลชาติ อรัณยะนาค
    ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป (โขนยักษ์)
    ผู้ดำเนินรายการ
    นายภาคิน วรรณพิรุณ
    นางสาวศศิณัฐ รักสุทธี
    ๙ มีนาคม ๒๕๖๗
    ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
    -------------------------------------
    ละครรำเบิกโรง เรื่อง วสันตนิยาย
    ประวัติความเป็นมาของการแสดง
    ระบำเรื่องหรือการแสดงเบิกโรงด้วยการแสดงโขน และละครรำเป็นชุดสั้น ๆ มูลเหตุเกิดจาก
    พระเจ้าแผ่นดินองค์ใดองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงพระราชดำริให้นางรำเล่นระบำเข้ากับเรื่อง
    ไสยศาสตร์ จึงเกิดการแสดงเบิกโรงชุดรามสูรเมขลา หรือวสันตนิยายในปัจจุบัน (ดำรุงราชานุภาพ,
    สมเด็จ ฯ กรมพระยา, ๒๕๐๗, น.๒๘๐)
    วสันตนิยาย หรือนิยายแห่งฤดูฝน อันเป็นตำนานเก่าแก่ที่เล่าสืบทอดกันมาแต่โบราณถึงสาเหตุ
    ที่มาของฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฝนตก ซึ่งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล เริ่มตั้งแต่เดือน
    พฤษภาคม-สิงหาคม เป็นประจำ ทุกปี จึงเป็นที่รู้ว่าย่างเข้าฤดูฝน เหตุที่เกิดนั้นเล่าว่า มาจากเทพเจ้า
    ๓ องค์ ได้แก่ รามสูร นางเมขลา และพระอรชุน
    -------------------------------------
    รามสูร
    ตอน รามสูรนั่งวิมาน แสดงโดย : นายธาราธีระ สุขสมรูป
    ตอน รามสูรชิงแก้ว แสดงโดย : นายศุภชัย ศาลางาม
    ตอน รามสูรรบพระอรชุน : แสดงโดย นายพิพัฒน์พงศ์ เกี่ยวม่าน
    ประวัติของตัวละคร
    รามสูรเป็นเทพบุตร แต่เป็นเทพบุตรอสูร คือเป็นเทวดาอันธพาล ยังเป็นพวกยักษ์มารอยู่ จึง
    เรียกว่าอสูรเทพบุตรเพราะมีนิสัยกักขฬะทารุณตามสมญาภิธารรามเกียรติ์ของนาคะประทีปกล่าวว่า
    มีร่างกายเป็นสีเขียว ทรงมงกุฎกาบไผ่ มีขวานเพชรเป็นอาวุธและมีฤทธิ์มาก ประกอบด้วยมีนิสัย
    ทารุณร้ายกาจ
    ผู้รับการถ่ายทอดท่ารำ
    นายธาราธีระ สุขสมรูป
    นายศุภกร อบจันทร์ฉาย
    นายพิพัฒน์พงศ์ เกี่ยวม่าน
    นายภาคิน วรรณพิรุณ
    นายศุภชัย ศาลางาม
    นายศรัณย์ กาฬจันทร์
    อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารำ
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุลชาติ อรัณยะนาค
    (ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป (โขนยักษ์)
    ------------------------------------
    นางเมขลา
    ตอน เชิดฉิ่งเมขลานั่งวิมาน แสดงโดย : นางสาวเฟื่องลดา มงคลเฉลิม
    ตอน รามสูรชิงแก้ว แสดงโดย : นางสาวลักษิกา สุภาโชค
    ประวัติของตัวละคร
    นางเมขลา เป็นเทพธิดามีหน้าที่รักษาสมุทร เมื่อมีภัยอันตรายนางเมขลาก็จะช่วยเหลือให้พ้นภัย
    นางมณีเมขลามักเที่ยวร่ายรำ หาความสำราญเสีย ๖ วัน พอวันที่ ๗ ก็จะมาตรวจตราเสียทีหนึ่ง ครั้งหนึ่งปะกับ
    รามสูร ผู้มีนิสัยเหี้ยมโหด เมื่อเห็นนางเมขลาถือดวงแก้วงามแวววับ จึงหมายชิงดวงแก้วนั้นมาเป็นของตน
    นางมณีเมขลาจึงเหาะลดเลี้ยวหลีกหนีอย่างสนุกสนาน ทั้งยังชูดวงแก้วล่อรามสูรอย่างเยาะหยัน รามสูร
    เดือดดาล จึงขว้างขวาน แต่ขวานหาได้ถูกกายนางไม่ เผอิญเทพอรชุนผ่านมาพอดีเลยปะทะกับรามสูรแทน
    นางเมขลาจึงฉวยโอกาสเหาะหนีเข้ากลีบเมฆทันที (พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ, ๒๕๔๘, น. ๑๒๔)
    ผู้รับการถ่ายทอดท่ารำ
    นางสาวลักษิกา สุภาโชค
    นางสาวเฟื่องลดา มงคลเฉลิม
    อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารำ
    อาจารย์อัจฉรา สุภาไชยกิจ
    ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ละครนาง)
    ผู้ช่วยถ่ายทอดท่ารำ
    นางสาวหนึ่งนุช เคหา นาฏศิลปิน อาวุโส
    อาจารย์วีรกร สุขศาสตร์ อาจารย์สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา
    (โขนยักษ์) ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
    ------------------------------------
    พระอรชุน
    แสดงโดย : นายเพ็ญเพชร เฮ้าปั้ง
    ประวัติของตัวละคร
    อรชุนเป็นตัวละครในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นเทวบุตรมีฤทธิ์ มีวิมานอยู่บนเขาจักรวาล
    พระอรชุนจะเสด็จประพาสสวนทุก 7 วัน ครั้งหนึ่งเมื่อทศกัณฐ์เรียนวิชาสำเร็จได้เข้าชมสวนของ
    พระอรชุนหักกิ่งไม้และเด็ดดอกไม้ในสวน พระอรชุนโกรธเข้าสู้กับทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์สู้พระอรชุนไม่ได้
    พระอรชุนแผลงศรเป็นนาคมัดทศกัณฐ์ไว้ แล้วพาทศกัณฐ์ตระเวนประจาน จนฤๅษีโคบุตรมาขอให้
    พระอรชุนยกโทษให้ทศกัณฐ์ซึ่งเป็นศิษย์ของตน ต่อมารามสูรไล่ตามนางเมขลาระหว่างทางพบพระ
    อรชุนเหาะผ่านหน้า รามสูรเห็นพระอรชุนผ่านมาก็โกรธร้องท้าพระอรชุนทั้งสองต่อสู้กัน พระอรชุน
    เสียทีถูกรามสูรจับขาทั้งสองได้ฟาดกับเขาพระสุเมรุ พระอรชุนสิ้นชีพ ส่วนเขาพระสุเมรุก็เอียงทรุด
    พระอิศวรจึงให้พาลีกับสุครีพมายกให้ตั้งตรง
    ผู้รับการถ่ายทอดท่ารำ
    นายเสฏฐวุฒิ บรรดาศักดิ์
    นายเพ็ญเพชร เฮ้าปั้ง
    นายนนทวัฒน์ ขาวคง
    อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารำ
    รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์
    (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์)
    -------------------------------------
    ฝ่ายดุริยางค์
    ปี่ใน
    - ว่าที่ร้อยตรี ธราธิป สิทธิชัย
    ระนาดเอก
    - นายณภัทร ทองงาม
    ระนาดทุ้ม
    - ว่าที่ร้อยตรี วิชัย ภู่เพ็ชร
    ฆ้องวงใหญ่
    - อ.ฤทธิ์พร แก้วดี
    ตะโพน
    - อ.อนิพนธ์ สุขกุล
    กลองทัด
    - นาย ปิยเวศน์ กุลบ่าง
    ฉิ่ง
    - อ.วัชรากร บุญเพ็ง
    นักร้อง
    - นายภวัต จันทร์ดารักษ์
    - นายภัทรเมธา บัวสุวรรณ
    - นางสาวจินตนา สืบสงัด
    - นางสาวอรอนงค์ จตุรภัทรพร
    - นางสาวธนัญญา บุญถึก
    -------------------------------------
    คลิกที่ลิงก์นี้ เพื่ออ่านรายละเอียดของสูจิบัตร
    drive.google.c...
    --------------------------------------
    เชิญชมการนำเสนอผลงานการแสดง รายวิชาเอกัตศิลปิน
    โดยนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต
    สาขาวิชานาฏศิลป์ รุ่น ๑๔
    โครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
    วันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๗
    เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
    ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
    ถนนสามเสน กรุงเทพฯ
    รายการแสดง
    - ละครรำเบิกโรง เรื่อง วสันตนิยาย
    - ฉุยฉายโกมินทร์
    - กราวหนุมาน

ความคิดเห็น •