อวสานของหุ้นโรงงาน - โลกในมุมมองของ Value Investor โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 พ.ค. 2024
  • 18 พ.ค 2562
    ธุรกิจโรงงานที่ผลิตสินค้าที่เป็นชิ้นส่วนหรือสินค้าสำเร็จรูปให้คนอื่นเพื่อนำไปประกอบเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายหรือนำไปขายในยี่ห้อของคนจ้างที่เรียกว่าเป็น OEM (Original Equipment Manufacturing) นั้น ต้องถือว่าเป็นเครื่องจักรสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยมากว่า 30 ปี
    เริ่มจากการที่ญี่ปุ่นต้อง “ย้ายฐานการผลิต” มายังประเทศไทยเนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าในญี่ปุ่นสูงขึ้นมากอานิสงค์จากค่าเงินเยนที่ถูกบีบให้สูงขึ้นอย่างกระทันหันจากข้อตกลง Plaza Accord ในปี 1985 ที่ทำให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
    และนั่นทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งการผลิตต้นทุนต่ำเพื่อการส่งออกของประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าของโลกที่สำคัญแห่งหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน
    อย่างไรก็ตาม การ “เปิดประเทศ” ของจีนและเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงหลัง ๆ นี้ ได้ทำให้เกิด “คู่แข่ง” มากมายที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าซึ่งทำให้สามารถแย่งการลงทุนไปจากไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันผมคิดว่าไทยไม่น่าจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของคนที่จะมาลงทุนตั้งโรงงานโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเวียตนามและอาจจะรวมถึงอินโดนีเซีย
    อ้างอิง board.thaivi.org/viewtopic.ph...

ความคิดเห็น • 5

  • @user-ew8tk8sd1l
    @user-ew8tk8sd1l 25 วันที่ผ่านมา

    เปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นส่งออกครับ เช่นหุ้นPSL

  • @shg8415
    @shg8415 27 วันที่ผ่านมา

    ขอบคุณมากครับ

  • @user-qy5vd8cg7q
    @user-qy5vd8cg7q 26 วันที่ผ่านมา

    ระบบทุนนิยมทำร้ายการผลิต

  • @user-mn2qs2mh1z
    @user-mn2qs2mh1z 16 วันที่ผ่านมา

    ตกใจนึกว่าหมายถึงหุ้นนิคมอุตสาหกรรม

  • @apinj7831
    @apinj7831 26 วันที่ผ่านมา

    อาจจะเหลือแค่หุ้นที่ให้บริการพื้นที่ตั้งโรงงานที่ยังดี