กบนอกกะลา : เรือนไทย วิถีแห่งภูมิปัญญาของชาติ (2) ช่วงที่ 2/4 (29 เม.ย.59)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 พ.ค. 2016
  • หลังจากสัปดาห์ที่แล้วได้ทำความรู้จักกับกับความหมายของคำว่า
    “เรือนไทย” รวมถึงได้ทราบถึงองค์ประกอบและโครงสร้างพื้นฐานของเรือนไทยกันแล้ว ในสัปดาห์นี้ ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญอีก 1 อย่างของเรือนไทย ที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นซึ่งจะไม่กล่าวถึงไม่ได้ นั่นก็คือ “ไม้”
    ในอดีต “ไม้” เป็น วัสดุหลักที่จะนำมาปรุงเรือน เป็นวัสดุพื้นถิ่นที่หาได้ง่าย และไม้ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นไม้เนื้อแข็ง อย่างไม้สักที่เป็นที่นิยมในการนำมาปลูกบ้านสร้างเรือน แต่ในปัจจุบันไม้สักหายากมากขึ้น ราคาจึงสูงขึ้นคนจึงนำไม้ชนิดอื่นมาใช้แทน แต่ก็ยังมีพื้นที่ที่ปลูกไม้สักเป็นไม้เศรษฐกิจ สำหรับการนำไปใช้งานโดยเฉพาะ กบนอกกะลา จึงออกเดินทางไปยัง สวนป่าขุนแม่คำมี อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เพราะที่สวนป่าแห่งนี้ เป็นสวนป่าเศรษฐกิจที่ปลูกต้นสักทั้งหมด ไปดูวิธีและขั้นตอน กว่าจะนำไม้ออกมาใช้งานต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง พร้อมตามไปดูการแปรรูปไม้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการยืดอายุการใช้งานของไม้ พร้อมกับยลโฉมเมืองมัลลิกา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ที่ก่อสร้างเรือนไทยขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้และการนำองค์ความรู้การก่อสร้างเรือนไทยมาต่อยอดเป็นธุรกิจบ้านทรงไทย
    ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
    ติดตามเรื่องราวทั้งหมด ได้ใน “เรือนไทย” วิถีแห่งภูมิปัญญาของชาติ ตอนที่ 2 ในรายการกบนอกกะลา ศุกร์ที่ 29 เมษายน นี้ ทางช่อง 9 MCOT HD และโมเดิร์นไนน์ ทีวี

ความคิดเห็น • 5

  • @user-qw6qy1vd2z
    @user-qw6qy1vd2z ปีที่แล้ว

    ไม้สักทองที่สวยและเนื้อไม้มีคุณภาพมีที่ลำปางครับ โดยเฉพาะ พื้นที่ของค่ายฝึกการรบพิเศษประตูผา

  • @jomsurawong
    @jomsurawong 5 ปีที่แล้ว

    น่าจะมีสวนป่าแบบนี้เยอะ ๆ นะครับ มะค่า พะยุง ชิงชัน ฯลฯ ไม้มีค่าทั้งหลายทำให้เป็นสวนป่าเพื่อหมุนเวียนตัดมาใช้สอยเสีย เป็นการสร้างป่าด้วย สร้างรายได้ และลดการใช้วัสดุทดแทนซึ่งขั้นตอนการผลิตมีแต่สร้างมลภาวะ แต่ป่าไม้ช่วยฟอกอากาศและขั่นตอนการแปรรูปไม่สร้างมลภาวะมากเท่าวัสดุทดแทนอื่น ๆ

  • @sawasiwatdeeabo5344
    @sawasiwatdeeabo5344 4 ปีที่แล้ว

    ไม่มีใบเลยน่าสงสารจังคงหิวอาหารนะ 😢 จะมีตราปลอมไหมคะ ?