"เมื่อจิตเห็นความจริงด้วยปัญญา จิตจะเป็นกลาง จึงพ้นทุกข์ " พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ วรธัมโม 5 กย 67

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2024
  • วันที 5 กันยายน 2567
    เวลา 8.00 น.
    พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ วรธัมโม เทศน์โปรดญาติโยม เรื่อง “ เมื่อจิตเห็นความจริงด้วยปัญญา จิตจะเป็นกลาง จึงพ้นทุกข์ ”
    ณ วัดป่าธัมมปาลวนาราม สกลนคร
    ดูใจเรา รักษาใจเรา มันเป็นบาป มันเป็นบุญ อารมณ์บาป อารมณ์บุญ ดูใจเห็นใจดูใจของเรานี่ ความคิดที่มันเป็นบุญ ความคิดที่มันเป็นบาป ความรู้สึก ถ้าตามไปแล้ว มันเป็นบุญ มันก็มีความสุขเกิดขึ้น ถ้าตามไปแล้วเป็นบาป ความทุกข์มันเกิดขึ้น ถ้าไม่ตามมัน ก็เป็นอัพยากตา อัพยากฤตธรรมความเป็นกลาง ดูให้เห็นความเป็นกลาง
    สังเกตดูว่าบาปมันก็ออกมาจากใจนี้บุญมันออกมาจากใจนี้ แล้วในตัวจิตใจมันเป็นอะไร พูดง่ายๆว่า ทุกความรู้สึก สติกำกับอยู่กับจิต เห็นอากัปกิริยาอาการของจิต กิริยาของจิต อาการของจิต มันจะแสดงอะไรต่างๆขึ้นมา อย่าปล่อยมัน อย่าปล่อยปะละเลยมัน สังเกตเรียนรู้กิริยาอาการของมัน จนกระทั่งมีความเข้าใจว่า
    อ๋อแท้ที่จริงแล้ว อารมณ์ดีใจอารมณ์เสียอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ ดีใจเสียใจ มันเกิดขึ้นมาจากจิตใจ ตัวจิตตัวใจตัวเดียวนั่นนะ เป็นตัวสังขาร
    หลงมากก็ทุกข์มาก หลงน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่หลงยึดเลย ก็ไม่ทุกข์เลย ใช้คำถามว่า ทำอย่างไรเราถึงจะไม่ยึดถือว่า จิตใจนี้เป็นเรา ก็ต้องตอบว่า ก็เห็นว่าจิตใจนี้เป็นตัวสังขาร อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดต่างๆของจิตใจนี่ มันเกิดมันดับอยู่ตลอดเวลา
    ความคิดอยู่ในสภาพแห่งความไม่เที่ยงทั้งภายนอกและภายใน เราสังเกตดูจิตใจของเรานะ อะไรมันปรากฏขึ้น สังเกตปั๊ปๆๆๆ นี่คือว่ารักษาจิต ก็คือดูจิต ดูจนกระทั่งว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ที่มันเกิดขึ้นในนี้ ไม่สมควรยึดมั่นถือมั่น ถ้าไม่สมควรยึดมั่นถือมั่น ว่า เป็นตัวตนของตน ไม่สมควรยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวเราของเรา เป็นสักว่าไป แต่ว่าหลงมากก็ทุกข์มาก หลงน้อยก็ทุกข์น้อยไม่หลงไม่ทุกข์เลย
    สังเกตจนกระทั่งว่าจิตใจนี่มันสร้างได้ทั้งดีทั้งร้าย ดีมันก็สร้างได้ ร้ายมันก็สร้างได้ มันสร้างสังขาร ฟังแต่ว่าปุญญาภิสังขาร ความเป็นบุญออกมาจากจิต อปุญญาภิสังขารความเป็นบาปก็ออกมาจากจิต
    แล้วจิตตัวนั้นเป็นใคร ถ้ายึดถือมาแล้ว มันก็พาบุญ พาบาป พาดี พาชั่ว ก็สังเกตดูว่า เมื่อตามอารมณ์ใด ต้องเป็นอารมณ์นั้น รู้เท่าทันไม่ตามอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้น มันก็ดับลงไป เรียกว่าการภาวนา สังเกตดู สังเกตดู ไม่ว่าภายนอกจะทำกิจกรรมอะไรยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม พูด คิด สติกำกับกับใจนั่นแหละ
    ทำไมถึงต้องกำกับ เพราะต้องต้องการที่จะสังเกตดูว่า พฤติของจิตนะ จิตมันมีความประพฤติอย่างไร มันแสดงอาการต่างๆ ออกมา สังเกตเห็นแล้วก็ว่า อ๋อนี่แต่ละอย่าง แต่ละอย่างออกมาจากจิตใจนี้
    ความคิด ความรู้สึก ความนึก สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุข ไม่ทุกข์บ้าง มันมีอยู่ในจิตใจนี้ ถ้าไม่ยึดถือจิตว่าเป็นเราเสียแล้วนะ สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็เป็นโมฆะไป ไม่เป็นวิบากของจิต เรียกว่ารักษาใจ รักษาใจ ดูจิตดูใจ รักษาจิตรักษาใจของตัว ให้ได้ในทุกๆขณะอธิจิต
    เตจะโยโคเอตัง พุทธานสาสนัง การทำความเพียรทุกขณะจิต ทุกขณะจิต นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทำความเพียรทุกขณะจิต คือคำสอนขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทำความเพียร ดูจิตดูใจนี่แหละ ดูจนกระทั่งเห็นว่าจิตใจก็เป็นจิตใจไปอย่างนั้นเอง ไม่ใช่จิตใจของเรา ไม่สมควรยึดมั่น ไม่สมควรสำคัญหมาย ไม่สมควรดำริว่า อุปาทานว่า
    พอเห็นต้นเหตุแล้วว่าตัวจิตตัวใจเป็นตัวกลับกลอก วางทิ้ง ทั้งจิตทั้งใจตัวนี้แล้วนะ จิตก็เข้าถึงความเป็นอัพยากฤตธรรม
    อัพยากฤตธรรมก็คือพระนิพพานนั่นแหละ ผู้ใดทำจิตให้เป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ด้วยประการทั้งปวง
    การเทศน์ทุกครั้งของพระอาจารย์ จะอธิบายแนวทางการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาจิตผู้ฟังที่ยังเป็นปุถุชน ให้กลายเป็นจิตอริยบุคคล ขั้นต้น (โสดาบัน) ขั้นกลาง (สกิทาคามี) ขั้นสูง ((อนาคามี) และขั้นสูงสุด (อรหันต์ )
    การที่ผู้ฟังจะสามารถปฏิบัติได้หรือไม่? ปฏิบัติได้ถึงขั้นไหน ขึ้นกับบารมีธรรมของแต่ละบุคคล ผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มแล้ว ย่อมพัฒนาจิตได้เร็วกว่า จนสามารถพ้นทุกข์ในชาติปัจจุบันได้
    เทศนาธรรมทุกเรื่องด้วยของพระอาจารย์ อธิบายให้เห็นความจริงด้วยปัญญา เรื่องจิตพระอรหันต์ว่า
    จิตท่านรับรู้ทุกอย่างตามอายตนะ ๑๒ มีตากับรูป หูกับเสียง ฯ ลฯ แต่ท่านไม่สำคัญว่า ดำริว่า หมายว่า เป็นเป็นสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา จิตของท่านจึงว่างจากการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงว่า เป็นตน เป็นของของตน
    จิตของพระอรหันต์บริสุทธิ์ เพราะท่าน :
    - สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ
    - สิ้นตัณหา
    - ละสมมุติได้แล้ว เป็นวิมุตติหลุดพ้น
    จากสิ่งทั้งปวง

ความคิดเห็น •